พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการค้ำประกัน และสิทธิในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้นั้นเนื่องมาจากลูกหนี้ที่ 1 ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือค้ำประกันผลงานและหนังสือค้ำประกันเงินเบิกล่วงหน้าของบริษัท ฮ. ต่อบริษัท ก. ต่อมาเจ้าหนี้ถูกบริษัท ก. ฟ้องเป็นคดีแพ่งและศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีแพ่งดังกล่าวรับผิดต่อบริษัท ก. ภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่บริษัท ก. แล้วจึงมายื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ดังนั้นการที่ลูกหนี้ที่ 1 ขอให้เจ้าหนี้ค้ำประกันผลงานและค้ำประกันเงินเบิกล่วงหน้าของบริษัท ฮ. ต่อบริษัท ก. โดยลูกหนี้ที่ 1 รับรองกับเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันว่าถ้าเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างใด ๆ ในการค้ำประกันนั้น ลูกหนี้ที่ 1 จะใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันทั้งสิ้น การรับรองเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาค้ำประกันแต่ถือได้ว่าเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่มีผลบังคับได้ในระหว่างเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือค้ำประกัน เมื่อเจ้าหนี้ต้องเสียหายโดยชำระหนี้แทนบุคคลที่ตนค้ำประกันไปตามคำพิพากษาของศาล เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 1 ใช้เงินนั้นได้ตามสัญญา เมื่อต่อมาปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและไม่ต้องห้ามที่จะขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายซ้ำหลังเจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิเจ้าหนี้เดิมไม่ได้
จำเลยที่ 1 ขอสินเชื่อจาก บ. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาไว้แก่โจทก์อีกว่า หากโจทก์ต้องชำระหนี้แก่ บ. แทนจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้แก่โจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวันที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาไว้แก่โจทก์นั้นมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อาจถูก บ. เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญารับจะชำระหนี้ในเวลาภายหน้าได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดโจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่โจทก์อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 และ 101 ปรากฏว่า บ. ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย แต่การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ บ. ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดและปลดจากล้มละลายแล้วมีผลให้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของ บ. ไปใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 229 โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ล้มละลายซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: การรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้เดิม และข้อจำกัดในการยื่นคำขอรับชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ขอสินเชื่อจาก บ. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาไว้แก่โจทก์อีกว่า หากโจทก์ต้องชำระหนี้แก่ บ. แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้แก่โจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ปรากฏว่าในวันที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาไว้แก่โจทก์นั้น มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อาจถูก บ. เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่ บ. ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงเป็นผู้ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญารับจะชำระหนี้ในเวลาภายหน้าได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาด โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่โจทก์อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 และ 101 แต่ บ. ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย แต่การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ บ. ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมีผลให้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของ บ. ไปใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 โจทก์จะนำหนี้ที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมาฟ้องให้จำเลยดังกล่าวล้มละลายซ้ำอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลายตามหนี้คำพิพากษา & ข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย มิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ดังนั้น เมื่อศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำพิพากษาคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538 โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์คดีดังกล่าวจึงถึงที่สุดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2538 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 จึงอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์มีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษานั้นมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้
เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และจำเลยทั้งสองถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ทั้งจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดตามมาตรา 14
เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และจำเลยทั้งสองถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ทั้งจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดตามมาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาการยื่นคำร้องคัดค้านการส่งหมาย
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายกล่าวอ้างว่าการส่งหมายนัดไต่สวนคำร้องของธนาคารผู้รับจำนองที่ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างพฤติการณ์การไม่ปฏิบัติตามบทบัญญติในข้อที่ว่าด้วยการส่งคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวได้ แม้เป็นระยะเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งแล้ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อตามคำร้องผู้ร้องยอมรับว่าได้ทราบว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2546 การที่ผู้ร้องเพิ่งยื่นคำร้องยกข้อคัดค้านเรื่องผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2546 อันเป็นเวลาเกินกว่า 8 วัน จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่ล่าช้าเกิน 8 วัน นับแต่ทราบข้อเท็จจริง
คำร้องของผู้ร้องที่กล่าวอ้างว่าการส่งหมายนัดไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างพฤติการณ์การไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่ว่าด้วยการส่งคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวได้ แม้เป็นระยะเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งแล้ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ตามคำร้องของผู้ร้องยอมรับว่า ได้ทราบว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2546 การที่ผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2546 เกินกว่า 8 วัน จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วมกันและผลกระทบต่อการล้มละลาย
โจทก์กับจำเลยที่ 2 และ 3 ต่างเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อบรรษัทเงินทุน อ. แม้วงเงินค้ำประกันจะไม่เท่ากัน โจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อบรรษัทเงินทุน อ. อย่างลูกหนี้ร่วมกับ ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่บรรษัทเงินทุน อ. แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้ว4,838,567.40 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของบรรษัทเงินทุน อ. ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตามส่วนเท่าๆ กัน ตามมาตรา 229 (3) และมาตรา 296 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์คนละ 1,612,855.80 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินให้แก่บรรษัทเงินทุน อ. จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902-4904/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าตอบแทนผู้ทำแผนในคดีฟื้นฟูกิจการ และอำนาจศาลในการพิจารณาหลังยกเลิกคำสั่งฟื้นฟู
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ทำแผนในขณะคดีฟื้นฟูกิจการอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและเป็นการกำหนดตามที่ศาลได้มีคำสั่งเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตรวจสอบเบื้องต้นโดยให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 เช่นนี้ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวจึงอาจถูกคัดค้านโต้แย้งได้ภายในกำหนด 14 วัน หาเป็นที่สุดไม่ แม้ในวันเดียวกันนั้นศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว แต่ผลของคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวยังมีผลกระทบต่อสิทธิของลูกหนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นและเมื่อบุคคลดังกล่าวยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลแล้ว ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาคำร้องคัดค้านต่อไปได้ ทั้งคำร้องคัดค้านดังกล่าวที่ขอให้กลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
ผู้ทำแผนจะมีฐานะเป็นผู้ทำแผนและมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/17 ก่อนหน้านั้นหาได้มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ระหว่างลูกหนี้ซึ่งมิได้เป็นผู้ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกับผู้ทำแผนไม่ แต่หากว่ามีหนี้ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนซึ่งเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนในฐานะเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 ประกอบมาตรา 90/27 ในส่วนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนนั้น ศาลจะพิจารณาให้ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ศาลต้องพิจารณาถึงผลสำเร็จในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่าแผนดังกล่าวมีหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายหรือไม่ แผนสามารถนำไปใช้ในการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ แผนดังกล่าวที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนและศาลได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ และศาลต้องพิจารณาถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ทำแผนสมควรใช้ประกอบคุณภาพและความสำเร็จของงาน รวมทั้งความสามารถของผู้ทำแผนในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ว่าลูกหนี้มีสถานะหรือผลประกอบการดีขึ้นเพียงใด
ผู้ทำแผนจะมีฐานะเป็นผู้ทำแผนและมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/17 ก่อนหน้านั้นหาได้มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ระหว่างลูกหนี้ซึ่งมิได้เป็นผู้ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกับผู้ทำแผนไม่ แต่หากว่ามีหนี้ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนซึ่งเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนในฐานะเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 ประกอบมาตรา 90/27 ในส่วนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนนั้น ศาลจะพิจารณาให้ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ศาลต้องพิจารณาถึงผลสำเร็จในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่าแผนดังกล่าวมีหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายหรือไม่ แผนสามารถนำไปใช้ในการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ แผนดังกล่าวที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนและศาลได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ และศาลต้องพิจารณาถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ทำแผนสมควรใช้ประกอบคุณภาพและความสำเร็จของงาน รวมทั้งความสามารถของผู้ทำแผนในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ว่าลูกหนี้มีสถานะหรือผลประกอบการดีขึ้นเพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899-4901/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้ทำแผนและหน้าที่คืนเงินค่าตอบแทนส่วนเกินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/25 โดยอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 90/12 (9) กล่าวคือหากผู้ทำแผนจะกระทำการจำหน่าย จ่าย โอนหรือชำระหนี้ ก่อหนี้หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินนอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้แล้วจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการก่อน เมื่อการขอเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ลดจำนวนเงินที่ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ลง แต่ผู้ทำแผนได้เบิกเงินเกินจำนวนที่ศาลมีคำสั่งไปก่อนแล้ว ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่ต้องส่งคืนเงินส่วนที่เบิกเกินไปให้แก่ลูกหนี้ และถือได้ว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นคำสั่งซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีศาลจึงมีอำนาจออกคำบังคับให้ผู้ทำแผนปฏิบัติตามได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 272 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย มาตรา 14 หากผู้ทำแผนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับดังกล่าวผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4667/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ภาษีในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมหากลูกหนี้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีถูกต้อง
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้ก็แต่โดยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจที่จะตรวจคำขอรับชำระหนี้ และสอบสวนพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องว่ามูลหนี้นั้นเจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ แล้วทำความเห็นเสนอต่อศาล และศาลมีอำนาจตามมาตรา 106, 107 ที่จะพิจารณามีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือให้ยกคำขอรับชำระหนี้นั้นตามที่ได้ความจากการสอบสวนก็ได้ เจ้าหนี้จะดำเนินการแจ้งการประเมินตามวิธีการที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรเพื่อเรียกให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 82/2542 ข้อ 9 ให้เริ่มใช้บังคับสำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2542 จึงไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะจากรายรับของเดือนภาษี ธันวาคม 2541 และมกราคม 2542
การที่ลูกหนี้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะโดยมีฐานภาษีจากรายรับการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ก่อนหักรายจ่ายซึ่งเป็นราคาซื้อขายกันในขณะนั้น จึงเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในราคาตลาดตามความหมายของ ป.รัษฎากร มาตรา 91/16 และมาตรา 91/1 (3) แล้ว ประกอบกับการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้เป็นการดำเนินการโดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นองค์การของรัฐและดำเนินการในช่วงเวลาที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังถดถอย จึงอาจขายได้ราคาไม่เท่ากับในภาวะเศรษฐกิจปกติ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการสมรู้ในการประมูลราคาแล้ว จึงต้องฟังว่าเป็นการขายทอดตลาดในราคาตลาดโดยชอบ
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 82/2542 ข้อ 9 ให้เริ่มใช้บังคับสำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2542 จึงไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะจากรายรับของเดือนภาษี ธันวาคม 2541 และมกราคม 2542
การที่ลูกหนี้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะโดยมีฐานภาษีจากรายรับการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ก่อนหักรายจ่ายซึ่งเป็นราคาซื้อขายกันในขณะนั้น จึงเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในราคาตลาดตามความหมายของ ป.รัษฎากร มาตรา 91/16 และมาตรา 91/1 (3) แล้ว ประกอบกับการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้เป็นการดำเนินการโดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นองค์การของรัฐและดำเนินการในช่วงเวลาที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังถดถอย จึงอาจขายได้ราคาไม่เท่ากับในภาวะเศรษฐกิจปกติ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการสมรู้ในการประมูลราคาแล้ว จึงต้องฟังว่าเป็นการขายทอดตลาดในราคาตลาดโดยชอบ