พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องคดีล้มละลายจำกัดเฉพาะการเปลี่ยนแปลงข้อหา/จำนวนทุนทรัพย์/จำเลยเดิม ไม่สามารถเพิ่ม/เปลี่ยนตัวจำเลยได้
การแก้ไขคำฟ้องคดีล้มละลายต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 โดยจะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างที่มีต่อจำเลยโดยการเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ มิใช่เป็นการเพิ่มหรือเปลี่ยนตัวจำเลย ซึ่งเป็นตัวบุคคลที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (2) คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นการแก้ไขโดยเปลี่ยนตัวจำเลยซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะขอแก้ไขได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4258/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษา: การบังคับคดีตามลำดับก่อนใช้ราคาแทนรถยนต์เช่าซื้อ และผลต่อการเป็นบุคคลล้มละลาย
หนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่กำหนดให้จำเลยส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้จำเลยใช้ราคารถยนต์เป็นเงิน 1,250,000 บาท เป็นการกำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องบังคับคดีไปตามลำดับในคำพิพากษา เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่และโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยคืนได้ ซึ่งหากการคืนรถยนต์ยังอยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบังคับให้ใช้ราคาแทน กรณีจึงไม่แน่ชัดว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องรอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาสัญญาเช่าก่อน จึงจะยื่นคำขอได้
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นค่าเสียหายจำนวน 17,500,000 บาท โดยระบุในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินฯ ด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ว่าให้ผู้ชำระบัญชีหรือผู้มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ทำสัญญาเช่าที่ดินรวม 17 แปลง กับเจ้าหนี้ และจดทะเบียนการเช่าเป็นเวลา 15 ปี หากปฏิบัติไม่ได้ให้ชำระค่าเสียหายตามที่ขอรับชำระหนี้โดยเจ้าหนี้อ้างสิทธิตามสัญญาเช่าฉบับเดิมว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้น เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ชอบที่จะดำเนินการให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) ปฏิบัติตามสัญญาตามมาตรา 122 วรรคหนึ่ง ก่อน หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่ทราบ เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าเสียหายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 92 ประกอบมาตรา 122 วรรคสอง เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันทีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: การขอรับชำระหนี้ตามสัญญาเช่าและการดำเนินการตามกฎหมาย
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นค่าเสียหายจำนวน 17,500,000 บาท โดยระบุในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินฯ ด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ว่าให้ผู้ชำระบัญชีหรือผู้มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ทำสัญญาเช่าที่ดินรวม 17 แปลง กับเจ้าหนี้ และจดทะเบียนการเช่าเป็นเวลา 15 ปี หากปฏิบัติไม่ได้ให้ชำระค่าเสียหายตามที่ขอรับชำระหนี้โดยเจ้าหนี้อ้างสิทธิตามสัญญาเช่าฉบับเดิมว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้น เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ชอบที่จะดำเนินการให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) ปฏิบัติตามสัญญาตามมาตรา 122 วรรคหนึ่ง ก่อน หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่ทราบ เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าเสียหายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 92 ประกอบมาตรา 122 วรรคสอง เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันทีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2979/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ หากเจ้าหนี้ไม่ได้รับแจ้งตามหลักเกณฑ์ แม้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนด ก็ยังสามารถรับคำขอได้
ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่า 2 ฉบับ ตามมาตรา 90/20 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ ทั้งยังต้องแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายตามบัญชีรายชื่อเจ้าหนี้ที่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้เสนอต่อศาลและเจ้าหนี้อื่นเท่าที่ทราบตามมาตรา 90/24 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้โดยทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ แต่ส่งไม่ได้เนื่องจากบ้านปิดและไม่ไปรับภายในกำหนด จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยังไม่ได้รับประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในเรื่องดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนวันที่ 22 เมษายน 2547 ที่เจ้าหนี้อ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันถัดมา กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย เมื่อเจ้าหนี้รายอื่นยื่นคำขอรับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เต็มจำนวนที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดแล้ว ดังนั้น หนี้ที่ผู้ค้ำประกันยื่นคำขอรับชำระหนี้จึงมิใช่จำนวนหนี้ที่แท้จริงที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้ายและวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของผู้ค้ำประกันที่เจ้าหนี้รายอื่นยื่นคำขอรับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
กรณีของเจ้าหนี้เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ขอใช้สิทธิที่ตนจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้ของลูกหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันอันเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 101 แม้เจ้าหนี้ถูกฟ้องต่อศาลแพ่งและศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชำระหนี้แล้ว ผลของคดีแพ่งก็ไม่กระทบถึงสิทธิของบรรดาเจ้าหนี้ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่อย่างใดในเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เพราะในที่สุดกฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้รายใดของลูกหนี้ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นไว้ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ของลูกหนี้ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เต็มจำนวนที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดแล้ว ดังนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้มาจึงมิใช่จำนวนหนี้ที่แท้จริงที่เจ้าหนี้จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้ายและวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2707/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีตามลำดับ หากไม่สามารถบังคับเอารถคืนได้ จึงบังคับใช้ราคาแทน หนี้ยังไม่แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
มูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งพิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากส่งคืนไม่ได้ให้ร่วมกันใช้ราคาแทนเป็นเงิน 800,000 บาท เป็นเรื่องคำพิพากษากำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องบังคับคดีไปตามลำดับในคำพิพากษา โดยจะต้องบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนก่อน หากไม่สามารถบังคับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาได้จึงจะสามารถบังคับเอาราคาใช้แทนจำนวน 800,000 บาท ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าการบังคับเอากับตัวรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่สามารถกระทำได้ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีตามลำดับในคำพิพากษา กรณีจึงไม่แน่ชัดว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2707/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องบังคับคดีตามลำดับ หากยังไม่สามารถบังคับเอารถได้ ยังไม่ถือเป็นหนี้ที่จำนวนแน่นอนตามกฎหมายล้มละลาย
หนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายศาลพิพากษาให้จำเลยส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนรถไม่ได้จึงให้จำเลยใช้ราคารถเป็นเงิน 800,000 บาท เป็นการกำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้ซึ่งโจทก์จะต้องบังคับคดีไปตามลำดับในคำพิพากษา ไม่ปรากฏว่าการบังคับเอากับตัวรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งหากการคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อยังสามารถที่จะกระทำได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้ราคาใช้แทน จึงไม่แน่ชัดว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10(2) โดยแสดงการสละหลักประกัน หรือจำนวนหนี้ที่ยังขาดอยู่
ปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันได้บรรยายฟ้องถูกต้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์รวม 4 แปลง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องสัญญาจำนองยังไม่ระงับ โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในทางจำนองเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 การฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) คือต้องกล่าวมาในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ล้มละลายแล้วโจทก์จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่สำหรับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อความตามมาตรา 10 (2) ดังกล่าวแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา
จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์รวม 4 แปลง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องสัญญาจำนองยังไม่ระงับ โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในทางจำนองเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 การฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) คือต้องกล่าวมาในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ล้มละลายแล้วโจทก์จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่สำหรับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อความตามมาตรา 10 (2) ดังกล่าวแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา