พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลาย: ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์และข้อเท็จจริง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา?" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลาย เว้นแต่? (3) คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน?" เช่นนี้ การอุทธรณ์คำสั่งในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 24 วรรคสองดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. ว่าด้วยการฎีกา เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นนี้ไม่เกินสองแสนบาท ประกอบกับอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ในปัญหาว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้หรือไม่เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 และไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะรับคดีนี้ไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 วรรคสี่ อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4650/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการซ้ำ: ศาลยกคำร้องหากช่องทางฟื้นฟูไม่มีสาระสำคัญต่างจากเดิม แม้มีรายละเอียดต่างกัน
บทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำนั้น พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 ที่ว่านำมาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น หมายความถึงว่านำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับกฎหมายล้มละลายส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ป.วิ.พ. บัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไว้ในมาตรา 144 ว่า "เมื่อศาลใดมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น?" บทบัญญัติของกฎหมายล้มละลายส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจไว้ และเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/8 บัญญัติว่า "ผู้ร้องจะขอถอนคำร้องขอไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต แต่ถ้าศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว ศาลจะอนุญาตให้ถอนคำร้องขอไม่ได้ ในกรณีที่ผู้ร้องทิ้งคำร้องขอ หรือขาดนัดพิจารณา หรือศาลอนุญาตให้ถอนคำร้องขอ ก่อนที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดี ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับเพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายและลูกหนี้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน" และมาตรา 90/9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งรับคำร้องขอแล้ว ให้ดำเนินการไต่สวนเป็นการด่วน? กับให้ส่งสำเนาคำร้องขอแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายเท่าที่ทราบ?" จากวัตถุประสงค์และหลักกฎหมายดังกล่าวจึงเห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามมาตรา 90/4 นั้นเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลาย การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟื้นฟูกิจการโดยผู้ร้องขอฟื้นฟูกิจการในคดีหนึ่งถือเสมือนหนึ่งว่า เป็นการกระทำการแทนบุคคลอื่น ๆ ด้วย เช่นนี้หากคดีก่อนศาลได้วินิจฉัยเกี่ยวกับช่องทางในการฟื้นฟูกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วว่าไม่เป็นช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และในคดีหลังมีการเสนอช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่มีสาระสำคัญเหมือนกับคดีก่อน การพิจารณาวินิจฉัยคดีหลังย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
ในคดีก่อนลูกหนี้ขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างเหตุช่องทางการฟื้นฟูกิจการว่า จะพัฒนาพื้นที่ให้เช่าตอบสนองความต้องการของลูกค้า จัดสรรให้มีพื้นที่เช่าสูงสุดเพื่อให้ผลกำไรของลูกหนี้เพิ่มขึ้นโดยมีแผนกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ คือ แผนด้านผลิตภัณฑ์ จะพัฒนาสาธารณูปโภคได้แก่ ไฟฟ้า น้ำประปา ที่จอดรถ การรักษาความปลอดภัย ให้เป็นที่น่าพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการ แผนด้านราคา เน้นการกำหนดราคาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่เช่าและรูปแบบการเช่า อาศัยความได้เปรียบของทำเลที่ตั้งอาคารเปรียบเทียบกับค่าบริการของอาคารให้เช่าอื่น ๆ ในระดับใกล้เคียงกัน แผนด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เน้นที่ความหลากหลายของโครงการ เช่น การจัดนิทรรศการต่าง ๆ ภายในอาคาร เพื่อช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของผู้ใช้บริการในอาคาร ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางดังกล่าวไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้ลูกหนี้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจนเพียงพอที่จะนำมาหมุนเวียนในกิจการและแบ่งสรรไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ในเมื่อผู้ร้องขอก็ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการระดมทุนตลอดถึงแหล่งเงินทุนที่จะมาสนับสนุนวิกฤติการณ์ทางการเงินอันเป็นข้อสำคัญของการฟื้นฟูกิจการ การปรับโครงสร้างหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้ก็ดี การติดตามหนี้สินที่ลูกค้าของลูกหนี้ค้างชำระก็ดี การเจรจากับเจ้าหนี้ภาระค้ำประกันโดยขอให้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ชั้นต้นให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ภาระค้ำประกันก่อนก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่เลื่อนลอยไม่อาจคาดหมายได้ คดีไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอ คดีนี้ผู้ร้องขอเสนอช่องทางฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ว่า จะทำให้กิจการของลูกหนี้เกิดผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ภาระหนี้สินต่อทรัพย์สินอยู่ในอัตราที่เหมาะสมตามแนวทางต่าง ๆ ได้แก่ การเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน โดยปรับปรุงคุณภาพสถานที่เพื่อให้เป็นอาคารสำนักงานที่มีความโดดเด่นที่สุดอาคารหนึ่งในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง ปรับเปลี่ยนพื้นที่เช่าบางส่วนให้เป็นสถานบันเทิงแบบครบวงจร เช่น โรงภาพยนต์ขนาดเล็ก ลานโบว์ลิ่ง หรือลานเบียร์สด โดยอาศัยความได้เปรียบด้านที่ตั้งและพื้นที่ของอาคาร การเพิ่มรายได้ด้านอื่น ๆ คือเพิ่มค่าเช่าสำนักงานและพื้นที่การให้เช่า ให้บริการที่จอดรถ ให้เช่าพื้นที่จัดนิทรรศการต่าง ๆ เรียกเก็บค่าบริการและค่าสาธารณูปโภคจากลูกค้า รับเป็นผู้บริหารอาคารสำนักงานอื่น ๆ ขายพื้นที่หรือเช่าพื้นที่ระยะยาวโดยได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้มีประกัน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การชำระหนี้จะมีการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทั้งหลาย รายละเอียดตามตารางการชำระหนี้ที่จะเสนอภายหลัง ช่องทางฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ผู้ร้องขอเสนอมาดังกล่าวมีความแตกต่างจากช่องทางที่ลูกหนี้เสนอในคดีก่อนเพียงถ้อยคำและรายละเอียดวิธีปฏิบัติตามช่องทาง แต่สาระสำคัญหรือหลักการเหมือนกับคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
ในคดีก่อนลูกหนี้ขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างเหตุช่องทางการฟื้นฟูกิจการว่า จะพัฒนาพื้นที่ให้เช่าตอบสนองความต้องการของลูกค้า จัดสรรให้มีพื้นที่เช่าสูงสุดเพื่อให้ผลกำไรของลูกหนี้เพิ่มขึ้นโดยมีแผนกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ คือ แผนด้านผลิตภัณฑ์ จะพัฒนาสาธารณูปโภคได้แก่ ไฟฟ้า น้ำประปา ที่จอดรถ การรักษาความปลอดภัย ให้เป็นที่น่าพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการ แผนด้านราคา เน้นการกำหนดราคาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่เช่าและรูปแบบการเช่า อาศัยความได้เปรียบของทำเลที่ตั้งอาคารเปรียบเทียบกับค่าบริการของอาคารให้เช่าอื่น ๆ ในระดับใกล้เคียงกัน แผนด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เน้นที่ความหลากหลายของโครงการ เช่น การจัดนิทรรศการต่าง ๆ ภายในอาคาร เพื่อช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของผู้ใช้บริการในอาคาร ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางดังกล่าวไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้ลูกหนี้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจนเพียงพอที่จะนำมาหมุนเวียนในกิจการและแบ่งสรรไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ในเมื่อผู้ร้องขอก็ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการระดมทุนตลอดถึงแหล่งเงินทุนที่จะมาสนับสนุนวิกฤติการณ์ทางการเงินอันเป็นข้อสำคัญของการฟื้นฟูกิจการ การปรับโครงสร้างหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้ก็ดี การติดตามหนี้สินที่ลูกค้าของลูกหนี้ค้างชำระก็ดี การเจรจากับเจ้าหนี้ภาระค้ำประกันโดยขอให้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ชั้นต้นให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ภาระค้ำประกันก่อนก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่เลื่อนลอยไม่อาจคาดหมายได้ คดีไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอ คดีนี้ผู้ร้องขอเสนอช่องทางฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ว่า จะทำให้กิจการของลูกหนี้เกิดผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ภาระหนี้สินต่อทรัพย์สินอยู่ในอัตราที่เหมาะสมตามแนวทางต่าง ๆ ได้แก่ การเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน โดยปรับปรุงคุณภาพสถานที่เพื่อให้เป็นอาคารสำนักงานที่มีความโดดเด่นที่สุดอาคารหนึ่งในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง ปรับเปลี่ยนพื้นที่เช่าบางส่วนให้เป็นสถานบันเทิงแบบครบวงจร เช่น โรงภาพยนต์ขนาดเล็ก ลานโบว์ลิ่ง หรือลานเบียร์สด โดยอาศัยความได้เปรียบด้านที่ตั้งและพื้นที่ของอาคาร การเพิ่มรายได้ด้านอื่น ๆ คือเพิ่มค่าเช่าสำนักงานและพื้นที่การให้เช่า ให้บริการที่จอดรถ ให้เช่าพื้นที่จัดนิทรรศการต่าง ๆ เรียกเก็บค่าบริการและค่าสาธารณูปโภคจากลูกค้า รับเป็นผู้บริหารอาคารสำนักงานอื่น ๆ ขายพื้นที่หรือเช่าพื้นที่ระยะยาวโดยได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้มีประกัน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การชำระหนี้จะมีการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทั้งหลาย รายละเอียดตามตารางการชำระหนี้ที่จะเสนอภายหลัง ช่องทางฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ผู้ร้องขอเสนอมาดังกล่าวมีความแตกต่างจากช่องทางที่ลูกหนี้เสนอในคดีก่อนเพียงถ้อยคำและรายละเอียดวิธีปฏิบัติตามช่องทาง แต่สาระสำคัญหรือหลักการเหมือนกับคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4388/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกัน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94 บัญญัติว่าเจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้ทำสัญญาเช่าอาคารกับลูกหนี้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2544 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 มูลแห่งหนี้จึงเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ สำหรับค่าเช่าล่วงหน้าของเดือนตุลาคม 2544 จำนวน 85,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 2 นั้น เจ้าหนี้ยังเช่าอาคารอยู่โดยนำเงินค่าเช่าที่ต้องชำระให้ลูกหนี้ส่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แสดงว่าลูกหนี้ได้ให้เจ้าหนี้ใช้ประโยชน์ในอาคารที่เช่าตามสัญญาซึ่งรวมถึงเดือนตุลาคม 2544 แล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าล่วงหน้าของเดือนดังกล่าวคืน จึงขอรับชำระหนี้ส่วนนี้ไม่ได้
เงินประกันการเช่าอาคารจำนวน 300,000 บาท และเงินประกันค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ จำนวน 100,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 3 รวมเป็นเงิน 400,000 บาท ลูกหนี้จะคืนให้เจ้าหนี้เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า และได้ส่งมอบอาคารที่เช่าพร้อมทรัพย์สินในอาคารเป็นที่เรียบร้อยถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาเช่าอาคารจะครบกำหนดวันที่ 30 กันยายน 2547 จึงเป็นหนี้ในอนาคตแม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ก็มีสิทธินำมาขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ทั้งขณะที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้สัญญาเช่าอาคารได้ครบกำหนดแล้วก็ตาม
เงินประกันการเช่าอาคารจำนวน 300,000 บาท และเงินประกันค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ จำนวน 100,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 3 รวมเป็นเงิน 400,000 บาท ลูกหนี้จะคืนให้เจ้าหนี้เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า และได้ส่งมอบอาคารที่เช่าพร้อมทรัพย์สินในอาคารเป็นที่เรียบร้อยถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาเช่าอาคารจะครบกำหนดวันที่ 30 กันยายน 2547 จึงเป็นหนี้ในอนาคตแม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ก็มีสิทธินำมาขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ทั้งขณะที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้สัญญาเช่าอาคารได้ครบกำหนดแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายที่ไม่อนุญาตขยายเวลาอุทธรณ์ ถือเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไม่ใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ได้รับยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม และเมื่อไม่มีเหตุที่จะรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคสี่ ศาลฎีกาจึงไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการและผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้และการบังคับชำระหนี้
เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ ย่อมมีผลทำให้คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนของศาลล้มละลายกลางเป็นอันถูกยกเลิกเพิกถอนไปในตัว ข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการที่ให้จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการอันเป็นความผูกพันตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งเกิดขึ้นเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วยสิทธิและหน้าที่ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมกลับเป็นไปดังเดิมที่มีกันอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
ส่วนที่โจทก์ได้ดำเนินการชำระหนี้ตามแผนครบถ้วนแล้วนั้น เมื่อการชำระหนี้เป็นเพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่จำเลยขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ จึงหาทำให้โจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปไม่ การชำระหนี้บางส่วนดังกล่าว มีผลเพียงทำให้หนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยเป็นอันระงับไปเท่าจำนวนที่จำเลยได้รับชำระ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดต่อจำเลยต่อไป
การที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สภาวะพักการชำระหนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาย่อมสิ้นสุดลง ข้อห้ามมิให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่บังคับชำระหนี้ได้เองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (7) ย่อมสิ้นสุดลงด้วย เมื่อโจทก์มีหนี้ภาษีอากรค้างที่ต้องชำระแก่จำเลยอยู่ จำเลยย่อมมีอำนาจในการบังคับชำระหนี้ในส่วนที่ค้างชำระตามอำนาจที่มีอยู่ตาม ป. รัษฎากร ต่อไป โดยผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่ชอบด้วยแผนและมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยถอนการยึดและอายัดและส่งมอบโฉนดที่ดินคืนให้แก่โจทก์เพื่อนำไปจัดการตามแผนฟื้นฟูกิจการย่อมเป็นอันระงับไป
ส่วนที่โจทก์ได้ดำเนินการชำระหนี้ตามแผนครบถ้วนแล้วนั้น เมื่อการชำระหนี้เป็นเพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่จำเลยขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ จึงหาทำให้โจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปไม่ การชำระหนี้บางส่วนดังกล่าว มีผลเพียงทำให้หนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยเป็นอันระงับไปเท่าจำนวนที่จำเลยได้รับชำระ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดต่อจำเลยต่อไป
การที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สภาวะพักการชำระหนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาย่อมสิ้นสุดลง ข้อห้ามมิให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่บังคับชำระหนี้ได้เองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (7) ย่อมสิ้นสุดลงด้วย เมื่อโจทก์มีหนี้ภาษีอากรค้างที่ต้องชำระแก่จำเลยอยู่ จำเลยย่อมมีอำนาจในการบังคับชำระหนี้ในส่วนที่ค้างชำระตามอำนาจที่มีอยู่ตาม ป. รัษฎากร ต่อไป โดยผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่ชอบด้วยแผนและมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยถอนการยึดและอายัดและส่งมอบโฉนดที่ดินคืนให้แก่โจทก์เพื่อนำไปจัดการตามแผนฟื้นฟูกิจการย่อมเป็นอันระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และขอบเขตการใช้ดุลพินิจในการฎีกา
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย คดีที่จำเลยนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ และมีผู้อื่นร้องขัดทรัพย์ก็ถือว่าเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีร้องขัดทรัพย์ต่อไปหรือไม่ยอมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะใช้ดุลพินิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่กองทรัพย์สินของจำเลย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ของจำเลย เป็นกรณีตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 กรณีหาใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่ หรือถอนฟ้องคดีที่จำเลยได้ยื่นฟ้องไว้แล้วตามมาตรา 145 (4) จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้หรือกรรมการเจ้าหนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ของจำเลย เป็นกรณีตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 กรณีหาใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่ หรือถอนฟ้องคดีที่จำเลยได้ยื่นฟ้องไว้แล้วตามมาตรา 145 (4) จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้หรือกรรมการเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4164/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความตามสัญญาจ้าง: สิทธิรับชำระหนี้มีเงื่อนไขการได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้
ข้อสัญญาจ้างว่าความที่ตกลงให้ผู้ว่าจ้างชำระค่าจ้างส่วนที่ 2 อีกร้อยละ 10 ของยอดหนี้ทุนทรัพย์ที่ฟ้องและจากทุกจำนวนที่ผู้รับจ้างได้ดำเนินการจนผู้ว่าจ้างได้รับชำระหนี้ เป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาในการกำหนดหลักเกณฑ์การคิดคำนวณค่าทนายความในส่วนที่ 2 ตามเจตนาของคู่สัญญา โดยกำหนดหน้าที่ของผู้รับจ้างที่จะต้องดำเนินการให้ผู้ว่าจ้างได้รับชำระหนี้ก่อน จึงจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 10 จากจำนวนเงินที่ผู้ว่าจ้างได้รับ แต่ทั้งนี้ไม่เกินร้อยละ 10 ของทุนทรัพย์ที่ฟ้องแต่ละคดี ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ทนายความฯ และประกาศข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความฯ ทั้งไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ: เงื่อนไขช่วงเวลาเกิดหนี้ และการแจ้งความประสงค์แก่ผู้ทำแผน/ผู้บริหารแผน
การที่กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ขอหักกลบลบหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/33 นั้น เป็นระบบการจัดการทรัพย์สินในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ที่จะนำหนี้ที่ตนมีภาระต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อยู่แล้วในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไปหักกับหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้
มาตรา 90/33 ที่บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้น เจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี
มาตรา 90/33 ที่บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้น เจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: เงื่อนไขหนี้ก่อน-หลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
การที่กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ขอหักกลบลบหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/33 นั้น เป็นระบบการจัดการทรัพย์สินในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ที่จะนำหนี้ที่ตนมีภาระต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อยู่แล้วในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไปหักกับหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้
มาตรา 90/33 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนึ่งซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้นเจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี
มาตรา 90/33 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนึ่งซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้นเจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุไม่สมควรให้ล้มละลาย: ความรับผิดชอบชำระหนี้, อาชีพมั่นคง, มีความสามารถหารายได้ชำระหนี้
จำเลยที่ 1 กับเพื่อนได้ร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์เพื่อใช้เป็นทุนในการเปิดคลินิกทันตแพทย์ ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ต่อสู้คดีเพราะเห็นว่าเป็นหนี้โจทก์จริง หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ติดต่อชำระหนี้แก่โจทก์อีกหลายครั้งแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ และเมื่อถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย จำเลยที่ 1 ก็ได้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์อีกเพื่อขอผ่อนชำระหนี้ ปัจจุบันจำเลยที่ 1 ได้ทำงานประจำที่คลินิกทันตกรรม มีรายได้ประมาณไม่ต่ำกว่าเดือนละ 60,000 บาท กรณีเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์มาเพื่อลงทุนในการประกอบอาชีพโดยสุจริต แม้ไม่ประสบความสำเร็จก็ยังพยายามติดต่อขวนขวายชำระหนี้แก่โจทก์เรื่อยมา การกระทำดังกล่าวย่อมแสดงถึงความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ในภาระหนี้ที่มีต่อโจทก์ เมื่อพิจารณาถึงฐานะของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบอาชีพทันตแพทย์และมีรายได้ในการประกอบอาชีพที่แน่นอน ประกอบกับความพยายามโดยสุจริตในการที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้บุคคลอื่นอีก จำเลยที่ 1 ยังอยู่ในวิสัยที่จะใช้ความรู้ความสามารถของตนหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ กรณีจึงถือเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย