คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย พงษธา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดเวลาในคดีล้มละลาย: การเพิ่มจำนวนหนี้ไม่ใช่การแก้ไขเล็กน้อย
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคสอง บัญญัติให้คำขอรับชำระหนี้ต้องทำตามแบบพิมพ์โดยมีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้และข้อความระบุถึงหลักฐานประกอบหนี้ เมื่อจำนวนเงินตามคำขอรับชำระหนี้ทั้งในด้านหน้าคำขอรับชำระหนี้ข้อ 4 และด้านหลังตามรายการในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินมีจำนวนตรงกัน แสดงถึงเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะขอรับชำระหนี้ตามจำนวนที่ระบุไว้ในคำขอรับชำระหนี้นั้น โดยไม่มีข้อสงสัยว่าจำนวนเงินดังกล่าวเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อน ทั้งจำนวนเงินที่ผู้ร้องยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มจากเดิมจำนวน 3,854,472.56 บาท เป็น 8,419,095.03 บาท ก็แตกต่างกันมาก มิใช่การแก้ไขเพียงเล็กน้อย หากแต่เป็นการเพิ่มจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่ง ด้วย
การที่กฎหมายล้มละลายกำหนดเวลาเพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ดังกล่าวก็โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทราบถึงจำนวนเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้กับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้แต่ละรายที่ขอรับชำระหนี้โดยแน่ชัด เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายดำเนินการโดยรวดเร็วต่อไป ไม่ว่าในเรื่องการประนอมหนี้ที่ลูกหนี้จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สิน รวมทั้งการนับคะแนนเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเหล่านี้จะดำเนินการต่อไปโดยรวดเร็วได้ ต่อเมื่อได้ทราบจำนวนที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ทั้งสิ้น มิใช่ว่าเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ก็จะสามารถเพิ่มจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในภายหลังได้ก่อนที่ผู้คัดค้านจะเสนอความเห็นในเรื่องหนี้สินต่อศาล ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นย่อมจะมีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วดังเช่นที่กล่าวนั้น ทั้งจะทำให้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่งแล้ว กรณีผู้ร้องประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหรือแก้ไขคำขอรับชำระหนี้เช่นนี้ก็จะต้องกระทำภายในเวลาตามกฎหมายดังกล่าวด้วย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ล่วงเลยกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการทำไม้, ครอบครองไม้หวงห้าม และช่วยซ่อนเร้นของหลีกเลี่ยงอากร
การทำไม้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง (2) และการมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 69 วรรคสอง (2) ส่วนการช่วยซ่อนเร้นหรือรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งของอันตนรู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม ข้อจำกัด เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ ลักษณะของความผิดในแต่ละข้อหาอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้แม้ไม้หวงห้ามที่จำเลยที่ 1 ร่วมกันทำไม้และมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตามการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ กำหนดโทษปรับไว้เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรแล้ว ไม่ใช่สี่เท่าของค่าอากร ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำราคาเลื่อยยนต์ของกลางมารวมคำนวณกับค่าอากร จึงต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4159/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปและไม้สักอันยังมิได้แปรรูปเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (1) ส่วนความผิดฐานมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1) ความผิดทั้งสองฐานอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแยกต่างหากจากกันได้ แม้จำเลยจะมีไม้ของกลางไว้ในครอบครองคราวเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดกฎหมายหลายบทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งจ่ายสินบนนำจับในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และการรอการลงโทษจำคุกสำหรับความผิดฐานเก็บหาของป่า
ที่ศาลล่างทั้งสองจ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับในความผิดฐานเก็บหาของป่าหวงห้ามในเขตอุทยานแห่งชาติตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ นั้น ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ ไม่ได้ให้อำนาจศาลที่จะสั่งจ่ายเงินสินบนนำจับได้ดังเช่น พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4103/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง: การครอบครองและเสนอขายถือเป็นความผิดกรรมเดียว
ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 4 ให้คำนิยามของคำว่า "ค้า" ว่า หมายความว่า ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และหมายความรวมถึงมีหรือแสดงไว้เพื่อขายด้วย ดังนั้น การที่จำเลยมีซากสัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ป่าคุ้มครองของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและวางเสนอขายของกลางดังกล่าว จึงเป็นความผิดฐานค้าซากสัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์คุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเพียงกรรมเดียว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง จำเลยก็ยกขึ้นอ้างในฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-ทำไม้ผิดกฎหมาย: ศาลยืนโทษจำคุก แม้มีภาระครอบครัว เหตุพฤติการณ์ร้ายแรง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานป่าไม้โดยยื่นคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่นาไม่มีต้นไม้เป็นสวนป่า เพื่อจะทำไม้ในป่าแล้วนำมาสวมเข้าเป็นไม้ในสวนป่าของตนที่ยื่นคำขอ และร่วมกับพวกทำไม้ในป่า โดยตัด ฟัน เลื่อย โค่น ไม้สัก ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. จำนวนมากถึง 164 ท่อน ปริมาตร 31.43 ลูกบาศก์เมตร และร่วมกันม่ไม้สักอันยังมิได้แปรรูปจำนวนดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้วร่วมกันใช้ตราสวนป่าซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มาจากการแจ้งความเท็จตีตอกหรือประทับหรือแสดงการเป็นเจ้าของไม้บนไม้สักดังกล่าว ซึ่งมิได้มาจากการทำสวนป่า ลักษณะของการกระทำความผิดเป็นการกระทำที่คำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวและไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย นับเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 มีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว แต่เป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัว จึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะให้ความปรานีแก่จำเลยที่ 1 โดยการรอการลงโทษให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลาย: การรับฟังพยานหลักฐานเพื่อหักล้างหนี้สินและทรัพย์สิน
วิธีการนำสืบพยานหลักฐานในคดีล้มละลายนั้น พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153 (เดิม) ซึ่ง จาก ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) และ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 14 แสดงว่า เพื่อให้ศาลพิจารณาให้ได้ความจริง และจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 88 กฎหมายให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ และการที่จำเลยนำสืบพยานเอกสารซึ่งเป็นสำเนาสมุดเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และมิได้ส่งสำเนาบัญชีระบุพยานให้แก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 ก็เพื่อหักล้างคำพยานโจทก์ที่นำสืบถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่กฎหมายสันนิษฐานว่า มีหนี้สินล้นพ้นตัว และให้เห็นว่าตนมีเงินซึ่งพอชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือไม่ควรตกเป็นบุคคลล้มละลายอันถือได้ว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลล่างทั้งสองจึงมีอำนาจที่จะรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับชำระหนี้ค่าธรรมเนียมค้ำประกันค้างชำระในคดีฟื้นฟูกิจการ แม้เจ้าหนี้ชั้นต้นได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันรวม 3 ฉบับ ในมูลหนี้ค้ำประกันคงเหลือ และค่าธรรมเนียมค้ำประกันค้างชำระ การพิจารณาถึงสิทธิในการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงต้องแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ในภาระค้ำประกันคงเหลืออันเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน ลูกหนี้จะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้รายที่ 190 ซึ่งเป็นการขอรับชำระหนี้ตามภาระค้ำประกันที่คงเหลือในจำนวนที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในภายหน้า เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ที่ 190 ขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ส่วนนี้อีกตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/27 วรรคสอง ส่วนหนี้ค่าธรรมเนียมค้ำประกันค้างชำระ เป็นหนี้ค่าตอบแทนแก่เจ้าหนี้ที่ลูกหนี้ตกลงจ่ายให้ในการขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือค้ำประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้รายที่ 190 จึงเป็นการขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้โดยตรง เจ้าหนี้จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้เพียงใดจะต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนครอบครองและเสพ ศาลฎีกาแก้โทษตามกฎหมายใหม่ และให้รอการลงโทษ
คดีนี้โจทก์มิได้นำสายลับที่อ้างว่าเป็นผู้ซื้อเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด จากจำเลยมาเป็นพยาน โจทก์คงมีนายดาบตำรวจ พ. และนายดาบตำรวจ ถ. ซึ่งเป็นผู้จับกุมจำเลยมาเป็นพยาน แต่พยานโจทก์ทั้งสองปากนี้มิได้รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะที่มีการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนระหว่างสายลับกับจำเลย เหตุที่ทราบว่าจำเลยเป็นผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ในราคาเม็ดละ 120 บาท เพราะสายลับเป็นผู้บอก ดังนี้ คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นพยานบอกเล่า มีน้ำหนักน้อย แม้จะพบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนอยู่ในกระเป๋าที่วางอยู่หน้าตักจำเลยก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยรับธนบัตรดังกล่าวไว้เนื่องจากการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนดังที่สายลับอ้าง เพราะสายลับอาจมอบธนบัตรดังกล่าวให้แก่จำเลยด้วยเหตุอื่นก็ได้ ทั้งจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอดว่า ไม่ได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ประกอบกับได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมยังยึดได้อุปกรณ์ที่ใช้ในการเสพเมทแอมเฟตามีนในห้องพักที่เกิดเหตุ เมื่อตรวจปัสสาวะจำเลยก็มีสีม่วง จำเลยจึงอาจมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อเสพดังที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาก็ได้ พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมามีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง คงรับฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น แม้เมทแอมเฟตามีนของกลางมีเพียง 12 เม็ด จึงมีจำนวนไม่มากนัก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันสมควรปรานีเพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไปโดยการรอลงโทษให้จำเลย แต่ให้ลงโทษปรับและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติจำเลยไว้ด้วย
อนึ่ง ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) ฯ มาตรา 8, 19 และ 26 ยกเลิกความในมาตรา 15, 67 และ 91 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยในส่วนนี้ ส่วนกำหนดโทษนั้น ตามกฎหมายเดิมมาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท สำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่า แม้ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษจำคุกเท่ากัน และตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลย สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนนั้น มาตรา 91 ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากมาตรา 91 ตามกฎหมายเดิมซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท จะเห็นได้ว่ากรณีโทษจำคุกขั้นสูงตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 91 เดิม ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการละเมิดอำนาจศาลต้องไต่สวนพยานหลักฐานก่อนตัดสิน หากไม่มีการไต่สวน ถ้อยคำของพยานยังไม่เป็นที่รับฟัง
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลซึ่งมิได้กระทำต่อหน้าศาล และผู้ถูกกล่าวหาให้การปฏิเสธ ศาลต้องไต่สวนพยานหลักฐานหาข้อเท็จจริงเสียก่อนให้ได้ความว่ามีการกระทำดังกล่าวหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นเพียงสอบถามปากคำของ ด. และผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่ปรากฏว่า ด. ได้สาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 112 ถ้อยคำของ ด. จึงรับฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ถูกกล่าวหามิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
of 61