คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย พงษธา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบริการสรรหาตัวแทนประกันภัยที่มีการจ่ายเงินล่วงหน้าและเงื่อนไขคืนเงิน ถือเป็นสัญญาต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต
จำเลยที่ 1 รับจ้างให้บริการสรรหา ฝึกอบรมบุคคลเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทน ผู้บริหารงานขายให้เป็นตัวแทนของโจทก์ ทำหน้าที่หาลูกค้าที่สนใจเข้ามาทำประกันภัยกับโจทก์ โดยมีเป้าหมายสำหรับเบี้ยประกันภัยรับปีแรกหลังหักเบี้ยประกันภัยรับที่มีการยกเลิกกรมธรรม์และอื่น ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องทำให้ได้ตามเป้าหมาย และโจทก์ได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 โดยได้ระบุค่าตอบแทนในการจัดสรรหาตัวแทนและผู้บริหารงานขาย รวมทั้งเงื่อนไขที่กำหนดในกรณีที่ตัวแทนและผู้บริหารงานขายไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่โจทก์จะเรียกคืนค่าตอบแทนในอัตราส่วนต่างๆ ที่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่ 1 ดำเนินงานตามสัญญาบริการต่อไปหรือไม่ ตามสัญญาบริการเอกสารหมาย จ.4 จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าเป็นค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จำเลยที่ 1 ต้องทำให้แก่โจทก์ หาใช่เป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ไม่ต้องด้วยลักษณะดังกล่าว สัญญาบริการเอกสารหมาย จ.4 จึงเป็นสัญญาต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 (7) ที่ห้ามมิให้บริษัทกระทำการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอันใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัทนั้น เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์จึงหาเรียกคืนเงินนั้นได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบริการสรรหาตัวแทนประกันภัยที่มีการจ่ายเงินล่วงหน้าขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต และเป็นโมฆะ
พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 (7) บัญญัติห้ามมิให้บริษัทกระทำการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัทนั้น ก็ด้วยประสงค์มิให้นายหน้าแสวงหาลูกค้าเข้ามาทำสัญญาประกันชีวิตเพื่อมุ่งหวังค่าตอบแทนจากผลงานเบี้ยประกันภัย โดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์อันแท้จริงของลูกค้าที่จะได้รับจากการทำสัญญาประกันชีวิตที่อาศัยเหตุความทรงชีพหรือมรณะของลูกค้าผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ เพราะมิฉะนั้นแล้วจะเป็นการให้บริษัทผู้รับประกันภัยไปสร้างแรงจูงใจแก่นายหน้าประกันชีวิตเพื่อมุ่งหวังค่าตอบแทน โดยมีเป้าหมายเพียงให้บริษัทได้รับเบี้ยประกันภัยเป็นจำนวนมากเท่านั้น ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของการทำสัญญาประกันชีวิตตามกฎหมาย เมื่อสัญญาบริการที่จำเลยที่ 1 รับจ้างให้บริการสรรหา ฝึกอบรมบุคคลเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทน ผู้บริหารงานขายให้เป็นตัวแทนของโจทก์ทำหน้าที่หาลูกค้าที่สนใจเข้ามาทำประกันภัยกับโจทก์ โดยมีเป้าหมายสำหรับเบี้ยประกันภัยรับปีแรกหลังหักเบี้ยประกันภัยรับที่มีการยกเลิกกรมธรรม์และอื่น ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องทำให้ได้ตามเป้าหมายจำนวน 5,000,000 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท โดยได้ระบุค่าตอบแทนในการจัดสรรหาตัวแทนและผู้บริหารงานขายในรอบระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวนตัวแทนและผู้บริหารงานขาย เป้าหมายผลงานประจำปี ระยะเวลาในการคำนวณผลงาน ค่าตอบแทนเพิ่มเติมจะได้รับภายหลังล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าว รวมทั้งเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรณีที่ตัวแทน และผู้บริหารงานขายไม่สามารถบรรลุเป้าหมายผลงานที่โจทก์จะเรียกคืนค่าตอบแทนในอัตราส่วนต่างที่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่ 1 ดำเนินงานตามสัญญาบริการต่อไปหรือไม่ ตามเอกสารแนบท้ายสัญญาบริการ สอดคล้องกับที่ ศ. ผู้จัดการอาวุโสแผนกปฏิบัติการตัวแทน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลบริหารงานตัวแทนของโจทก์เบิกความว่า ตามสัญญาบริการ โจทก์จะให้เงินค่าตอบแทนจำเลยเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้จำเลยสามารถทำผลงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในสัญญา หากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด โจทก์ก็จะคำนวณให้ผลตอบแทนตามสัดส่วนที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา และจำเลยที่ 1 จะต้องคืนผลตอบแทนบางส่วนที่ได้รับล่วงหน้าไปแล้ว การที่โจทก์จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าเป็นค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จำเลยที่ 1 จะต้องทำให้แก่โจทก์ หาใช่เป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ไม่ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด สัญญาบริการ จึงเป็นสัญญาที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 (7) เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การที่โจทก์จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไปตามสัญญาดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี โจทก์หาอาจจะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินนั้นได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 411 จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานอกเหนือจากอุทธรณ์: ประเด็นการชดใช้ค่าเสียหายจากประกันภัยและการถอนฟ้องกระทบสิทธิเรียกร้อง
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 4 แต่ต่อมากลับถอนฟ้องจำเลยที่ 4 โดยอ้างว่าจะไปดำเนินคดีต่างหาก ถ้ารับฟังว่ามีการรับประกันภัยจริง เท่ากับสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 มีผลให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่โจทก์ต้องไปรับชดใช้จากจำเลยที่ 4 เอง การถอนฟ้องดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เหตุดังกล่าวจึงเป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ด้วย จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จนเป็นที่พอใจ ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 อีก จึงเข้าเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดใด ๆ กับโจทก์มีผลให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยเช่นกัน ทั้งจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 ไม่ถูกต้อง นั้น ถือเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากอุทธรณ์เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อพาร์ตเมนต์ไม่ถือเป็นโรงแรม: การรับผิดในความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ของผู้เช่า
พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 มาตรา 4 โรงแรม หมายความว่า สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน ดังนี้ สถานที่อื่นทำนองเช่นว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 674 จะต้องเป็นสถานที่ซึ่งให้บริการทำนองเดียวกันกับโรงแรมหรือโฮเต็ล คือเป็นสถานที่ซึ่งมีลักษณะให้บริการเป็นที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใด สำหรับอพาร์ตเม้นท์ของจำเลยนั้น ศ. เช่าห้องพักของจำเลยสำหรับอยู่อาศัยและเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปสถานศึกษา แม้จะมีบุคคลอื่นเช่าห้องพักดังกล่าวในลักษณะเดียวกัน แต่เห็นได้ว่าการให้บริการห้องพักของจำเลยมีลักษณะเป็นการให้เช่าพักอยู่อาศัยโดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนขึ้นไปเท่านั้น มิใช่เป็นการให้เช่าบริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลใด ดังนี้ การประกอบธุรกิจของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เข้าลักษณะสถานที่อื่นทำนองเช่นว่านั้น กล่าวคือ เช่นดังเจ้าสำนักโรงแรมหรือโฮเต็ลที่จะนำบทบัญญัติวิธีเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรมตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับให้จำเลยต้องรับผิดตามคำฟ้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19692/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ และอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าก๊าซและเบี้ยปรับ
โจทก์มีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 ถือว่าโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 มาตรา 46 (9) และ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.2540 มาตรา 4 กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดเข้าว่าต่างและแก้ต่างคดีแทนโจทก์ได้ และพนักงานอัยการเป็นผู้ปฏิบัติราชการให้สำนักงานอัยการสูงสุด โดยอำนาจและหน้าที่ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 (เดิม) มาตรา 11 กำหนด เมื่อโจทก์แต่งตั้งพนักงานอัยการให้ทำหน้าที่ทนายความ พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2)
จำเลยประกอบกิจการอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายกระดาษ จำเลยซื้อก๊าซจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าและความร้อนภายในโรงงานของจำเลยเพื่อผลิตกระดาษอันเป็นกิจการของจำเลย จึงเป็นกรณีโจทก์ ผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้จำเลยทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยนั้นเอง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในเงินค่าก๊าซที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
แม้พฤติการณ์ที่โจทก์ปิดวาล์วก๊าซ ถือว่าโจทก์ในฐานะคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายก๊าซแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แต่กรณีก็เป็นการเลิกสัญญาเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายก๊าซของจำเลย ซึ่งได้เกิดขึ้นและยังมีอยู่ตลอดไปจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสิ้นเชิง การเลิกสัญญาดังกล่าวหาได้ทำให้สิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากจำเลยระงับไปไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายก๊าซจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19395/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ด้วยตั๋วแลกเงินที่ซื้อมาในราคาต่ำโดยมีเจตนาไม่สุจริต ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5
จำเลยมิใช่ผู้รับโอนตั๋วแลกเงินมาจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและรับรองตั๋วแลกเงินโดยตรง แต่รับสลักหลังโอนมาจากผู้ทรงซึ่งรับสลักหลังโอนมาจากผู้ทรงคนเดิมที่โจทก์ได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปแล้วโดยขณะจำเลยรับสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินมานั้น จำเลยซึ่งเป็นธนาคารอันเป็นสถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้กำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ย่อมทราบว่า โจทก์ได้ประสบปัญหาด้านการเงินและถูกระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการ อันเป็นที่เห็นได้โดยสุจริตว่าตั๋วแลกเงินที่จำเลยรับสลักหลังโอนมาในขณะนั้น มีมูลค่าลดน้อยลงไปกว่าราคาที่ผู้ทรงคนเดิมรับสลักหลังโอนมาเป็นจำนวนมาก หรือนัยหนึ่งตั๋วแลกเงินดังกล่าวน่าจะไม่มีมูลค่าเพียงพอที่จะจูงใจให้มีการซื้อขายเพื่อสลักหลังโอนกันตามปกติแล้ว ทั้งกรณีที่ผู้ทรงประสงค์จะได้รับชำระหนี้ตามตั๋วแลกเงิน ก็ชอบที่จะต้องนำมูลหนี้ตามตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปขอรับชำระหนี้ต่อองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) หรือต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในกรณีที่โจทก์ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งจักได้ชำระบัญชีหรือดำเนินการรวบรวมทรัพย์สินของโจทก์มาจัดสรรชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของโจทก์ ให้ได้รับส่วนแบ่งโดยทัดเทียมกันอย่างเป็นธรรมตามสัดส่วนแห่งหนี้ พฤติการณ์การรับสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินมาดังกล่าว จึงมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าจำเลย มิได้รับสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวมาตามธุรกรรมที่เป็นปกติธุระของจำเลย แต่เป็นการรับสลักหลังโอนโดยซื้อมาในราคาต่ำ โดยมีเจตนามุ่งหมายจะนำมูลหนี้ตามตั๋วแลกเงินนั้น ไปหักกลบลบหนี้กับหนี้อันเกิดจากการซื้อขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลย อันจะมีผลให้จำเลยได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดจากการเป็นลูกหนี้โจทก์ การที่จำเลยรับสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวและขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิแห่งตนโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5 จำเลยจึงไม่อาจนำมูลหนี้ ตามตั๋วแลกเงินทั้ง 11 ฉบับ มาหักกลบหนี้กับหนี้การซื้อขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐล่วงหน้าที่จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16250/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำทางอาญา: การหมิ่นประมาทจากหนังสือร้องเรียนและให้สัมภาษณ์ ศาลระงับคดีเนื่องจากมีคำพิพากษาแล้ว
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองพยานพร้อมยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และการให้สัมภาษณ์หรือให้ข้อมูลแก่ผู้สื่อข่าวโดยมีข้อความใส่ความโจทก์ว่า โจทก์กับพวกคุกคามข่มขู่จำเลยกับพยาน เป็นข้อความที่เกี่ยวเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกันต่อเนื่องด้วยเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แม้จำเลยจะจัดส่งหนังสือร้องเรียนดังกล่าวไปให้บุคคล และคณะบุคคลต่างรายกันก็หาทำให้เกิดผลเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทในคดีก่อนต่อศาลแขวงดุสิตในเรื่องที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนดังกล่าว แล้วโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทในคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก เมื่อคดีของศาลแขวงดุสิตที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อน ศาลมีคำพิพากษาแล้ว แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาภายหลังศาลแขวงดุสิตได้มีคำพิพากษาแล้ว แม้คดียังไม่ถึงที่สุดก็ถือได้ว่าศาลแขวงดุสิตได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7724/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และการบังคับคดีเอาคืนการครอบครอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทบริเวณที่ระบายด้วยสีเขียวตามแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าหน้าที่ศาลได้ทำขึ้นตามคำสั่งศาลชั้นต้น เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 1/24 ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ที่โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครอง จำเลยได้เข้าไปยึดถือแย่งการครอบครอง แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเอาคืนภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีเอาคืนการครอบครอง โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาปีหนึ่ง จึงมีสิทธิฟ้องคดี จำเลยไม่ได้แก้อุทธรณ์ตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6816/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา ต้องมีการกระทำใกล้ชิดถึงขั้นพยายามสอดใส่ มิใช่แค่การลวนลาม
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิด และต้องใช้บังคับแก่คดี เนื่องจากกฎหมายที่แก้ไขในภายหลังไม่เป็นคุณแก่จำเลยนั้น มิได้ให้คำนิยามของการกระทำชำเราไว้ แต่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ที่แก้ไขในภายหลัง ให้คำนิยามของการกระทำชำเราไว้ว่า หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำ กระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือ ช่องปากของผู้อื่น หรือ การใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น ซึ่งเป็นเพียงการขยายความแต่ก็ยังคงเทียบเคียงการกระทำชำเราหญิงตามกฎหมายเดิมได้
ความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงนั้น ผู้กระทำจะต้องใช้อวัยวะเพศของตนกระทำในลักษณะใกล้ชิดพร้อมที่จะใช้อวัยวะเพศสอดใส่กับอวัยวะเพศของหญิงผู้ถูกกระทำ การกระทำของจำเลยที่ใช้แรงกายบังคับฉุดกระชากลากตัวผู้เสียหายเข้าไปในห้องน้ำ ล๊อกประตูห้องน้ำ ถอดกางเกงชั้นนอกและกางเกงในของผู้เสียหายออก แล้วจับนมและอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ซึ่งถือเป็นการกระทำการลวนลามผู้เสียหายแล้ว แต่จำเลยยังไม่ได้ถอดกางเกงที่ตนเองสวมใส่ออก การกระทำของจำเลยจึงยังไม่ถึงขั้นที่พยายามใช้อวัยวะเพศของตนเองสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย จึงถือว่าลักษณะการกระทำความผิดของจำเลยยังไม่อยู่ในวิสัยที่จะกระทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดเพียงฐานกระทำอนาจารผู้เสียหายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาความผิดฐานมีและจำหน่ายยาเสพติด การลดโทษ และการไม่ริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่า 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลางที่พยานโจทก์ทั้งสามยึดได้ในขณะจับกุมจำเลยทั้งสองที่ห้องพักโรงแรมที่เกิดเหตุถูกแบ่งมาจาก 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตรวจค้นได้ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 มี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลาง 1 เม็ด ดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ที่ยึดได้จากห้องพักของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
ความผิดของจำเลยที่ 1 ฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด และ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่โจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด และ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เท่ากับโจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด รวมกันมาเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91 ได้ เนื่องจากเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แต่ศาลมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้
of 61