พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการตายลูกหนี้: ทายาท/ผู้ค้ำประกันมีสิทธิยกอายุความได้ หากเจ้าหนี้ไม่ฟ้องภายใน 1 ปี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากยังไม่ได้มีการจัดการมรดกของลูกหนี้แล้วเจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกได้แม้พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้จึงมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นมาต่อสู้โจทก์ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ นอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ และตามสัญญาค้ำประกันจะได้ระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นในเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้หรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม แต่ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ นอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ และตามสัญญาค้ำประกันจะได้ระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นในเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้หรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม แต่ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีหนี้ เจ้ามรดก ผู้ค้ำประกัน และผลของการไม่ฟ้องร้องภายในกำหนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากยังไม่ได้มีการจัดการมรดกของลูกหนี้แล้วเจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกได้แม้พ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้จึงมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นมาต่อสู้โจทก์ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688, 689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ นอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ และตามสัญญาค้ำประกันจะได้ระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นในเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้หรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม แต่ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688, 689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ นอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้ และตามสัญญาค้ำประกันจะได้ระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นในเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้หรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม แต่ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: เจ้าหนี้ฟ้องหลัง 1 ปีจากรู้ถึงการเสียชีวิตของลูกหนี้ ย่อมถูกยกข้อต่อสู้ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากยังไม่ได้มีการจัดการมรดกของลูกหนี้แล้วเจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกได้แม้พ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกผู้กู้จึงมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นมาต่อสู้ได้ แม้ยังมิได้มีการจัดการมรดก
ความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ตอนแรกที่บัญญัติว่าภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 นั้นหมายถึงความในมาตรา 1754วรรคสาม ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้ในมาตรา 193/27 ซึ่งใช้สิทธิเจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้ได้แม้หนี้นั้นจะขาดอายุความแล้วก็ตาม มิใช่ว่าความในมาตรา 1754 วรรคสามบังคับใช้เฉพาะเจ้าหนี้มีประกัน ไม่ใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญ
การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกแม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิตามมาตรา 694 ที่จะยกข้อต่อสู้ทั้งหลาย ซึ่งเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้
ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันที่ระบุว่า ผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ตามสัญญา ผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนให้ทั้งสิ้น เพียงแต่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับไปแล้วหรือผู้กู้ไม่ชำระหนี้เท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดรวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นผู้ค้ำประกันจึงมีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้เมื่อผู้กู้ถึงแก่กรรม
ความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ตอนแรกที่บัญญัติว่าภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 นั้นหมายถึงความในมาตรา 1754วรรคสาม ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้ในมาตรา 193/27 ซึ่งใช้สิทธิเจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้ได้แม้หนี้นั้นจะขาดอายุความแล้วก็ตาม มิใช่ว่าความในมาตรา 1754 วรรคสามบังคับใช้เฉพาะเจ้าหนี้มีประกัน ไม่ใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญ
การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกแม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิตามมาตรา 694 ที่จะยกข้อต่อสู้ทั้งหลาย ซึ่งเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้
ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันที่ระบุว่า ผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ตามสัญญา ผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนให้ทั้งสิ้น เพียงแต่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับไปแล้วหรือผู้กู้ไม่ชำระหนี้เท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดรวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นผู้ค้ำประกันจึงมีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้เมื่อผู้กู้ถึงแก่กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4349/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์นายจ้างโดยใช้เอกสารเท็จ: การกระทำเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ฉ้อโกง
การที่ธนาคารโจทก์ร่วมยอมให้มีการโอนเงินไปตามเอกสารใบถอนเงินที่จำเลยกระทำ มิได้ขึ้นอยู่กับข้อความในเอกสารเป็นความจริงหรือความเท็จ แต่เป็นเพราะเอกสารใบถอนเงินที่จำเลยได้รับมอบอำนาจให้กระทำได้มีรายการครบถ้วนและมีลายมือชื่อกับรหัสประจำตัวของจำเลย การอนุมัติให้มีการโอนเงินออกไปจากบัญชีของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการที่จำเลยหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความในเอกสารอันเป็นเท็จ การที่จำเลยทำเอกสารใบถอนเงิน โดยมีข้อความอันเป็นเท็จแล้วเสนอไปตามขั้นตอนเพื่อให้มีการอนุมัติโอนเงินตามเอกสารนั้น จึงเป็นเพียงวิธีการที่จะทำให้จำเลยเอาเงินของโจทก์ร่วมออกไปจากบัญชีของโจทก์ร่วมโดยทุจริต มิใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมรดก: การพิสูจน์กรรมสิทธิ์และการสันนิษฐานตามกฎหมาย
ที่ดินมีโฉนดมีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้คัดค้านจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ส่วนบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่เป็นส่วนควบของที่ดินและเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านตามมาตรา 144 ด้วย หากผู้ร้องโต้แย้งว่าบ้านเป็นของบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้จึงไม่ถือว่าเป็นส่วนควบของที่ดินแล้ว ผู้ร้องต้องมีภาระการพิสูจน์ในเรื่องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: ทรัพย์สินไม่ใช่ของตาย ผู้ร้องต้องพิสูจน์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าบ้านและที่ดินทั้งสามแปลงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านอ้างว่าบ้านและที่ดินทั้งสามแปลงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบ้านและที่ดินทั้งสามแปลงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งตามคำร้องขอไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นใดอีก จึงไม่มีเหตุขัดข้องที่จะตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ฝากรับเงินธนาณัติ - แก้ไขระเบียบไปรษณีย์ - การแจ้งผู้ฝาก - การโอนเงินเป็นสิทธิของจำเลย
ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ.2526 ข้อ 238 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางส่งธนาณัติคืนให้แก่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางเพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้ฝากส่งเมื่อผู้รับไม่ไปติดต่อขอรับเงินธนาณัติภายในกำหนดตามข้อ 235.1 และเมื่อที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางได้รับธนาณัติคืนแล้ว ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ.2526 (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 9 พ.ศ.2535) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางตรวจสอบแบบ ธน.31 ท่อนที่ 1 ซึ่งได้รับคืนกับแบบ ธน.1 ของธนาณัตินั้นและแยกเก็บไว้เพื่อรอการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้น ทั้งไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2539 ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 235 เมื่อโจทก์ไม่ได้ไปติดต่อขอรับเงินคืนในกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงดำเนินการประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนและโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ไม่ไปติดต่อขอรับเงินตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2539 ข้อ 204 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไปรษณีย์ธนาณัติ: หน้าที่ผู้ฝากติดตามรับเงินเอง เมื่อไปรษณีย์ไม่ต้องแจ้ง
ระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ธนานัติในประเทศ พ.ศ. 2526 ข้อ 241.1 ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ. 2526(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9 พ.ศ. 2535) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการต้นทางเพียงแต่ตรวจสอบแบบ ธน.31ท่อนที่1ซึ่งได้รับคืนแบบธน.1ของธนาณัติฉบับนั้น และแยกเก็บไว้เพื่อรอการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้น ทั้งไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบดังกล่าว ข้อ 235 เมื่อโจทก์ผู้ฝากไม่ได้ไปขอรับเงินคืนในกำหนดเวลาดังกล่าว การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยจึงดำเนินการประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนและโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลย เพราะโจทก์ไม่ไปขอรับเงินตามระเบียบ ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539 ข้อ 204 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ฝากติดตามรับเงินธนาณัติเมื่อผู้รับไม่มารับ และสิทธิจำเลยโอนเงินเข้ากองทุนเมื่อพ้นกำหนด
กรณีที่โจทก์ผู้ฝากส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศไปให้ผู้รับแต่ผู้รับไม่ไปขอรับเงินภายในกำหนด 2 เดือน นับต่อจากเดือนที่ฝากส่ง ไปรษณีย์ปลายทางจึงส่งไปรษณีย์ธนาณัติคืนไปรษณีย์ต้นทางตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทยของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ. 2526(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9 พ.ศ. 2535) ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการต้นทางเพียงแต่ตรวจสอบแบบ ธน. 31ท่อนที่ 1 ซึ่งได้รับคืนกับแบบ ธน.1ของธนาณัติฉบับนั้น และแยกเก็บไว้เพื่อการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้นทั้งไปรษณีย์นิเทศฯ ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ข้อ 235 เมื่อโจทก์ผู้ฝากไม่ได้ไปขอรับเงินคืนในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนอีกแต่โจทก์ก็ไม่ไปขอรับเงินคืนตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศฯข้อ 204 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเงินธนาณัติคืนให้จำเลยเมื่อผู้รับไม่ไปรับเงิน และหน้าที่ของผู้ฝากในการติดต่อขอรับเงินคืน
ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศพ.ศ. 2526 ข้อ 238 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางส่งธนาณัติคืนให้แก่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางเพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้ฝากส่งเมื่อผู้รับไม่ไปติดต่อขอรับเงินธนาณัติภายในกำหนดตามข้อ 235.1 และเมื่อที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางได้รับธนาณัติคืนแล้ว ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ. 2526(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9 พ.ศ. 2535) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางตรวจสอบแบบ ธน.31ท่อนที่1ซึ่งได้รับคืนกับแบบธน.1ของธนาณัตินั้นและแยกเก็บไว้เพื่อรอการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้น ทั้งไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 235 เมื่อโจทก์ไม่ได้ไปติดต่อขอรับเงินคืนในกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงดำเนินการประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนและโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ไม่ไปติดต่อขอรับเงินตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539 ข้อ 204 ได้