คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย พงษธา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยต้องปฏิบัติตามมาตรา 234 วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมหรือหาประกัน
แม้คำร้องของจำเลยจะได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่จำต้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์และเหตุที่ทำให้จำเลยเข้าใจผิดพลาดในกำหนดวันครบอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นมาด้วยก็ตาม แต่ข้อความแรกอันเป็นชื่อคำร้องนั้น จำเลยได้ระบุยืนยันว่าเป็นเรื่องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์เท่านั้น ข้อความอันเป็นส่วนเนื้อหาของคำร้องจำเลยก็มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์แต่อย่างใด ทั้งคำขอบังคับจำเลยก็สรุปเพียงพอขอให้ศาลมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาเท่านั้น คำร้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงแสดงโดยแจ้งชัดว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หาใช่เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์แต่อย่างใด จำเลยจึงต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันมาให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2801/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถบรรทุกของกลาง ผู้ซื้อไม่ต้องรับผลกระทบจากการกระทำผิดของผู้เช่าเดิม หากผู้เช่าไม่มีส่วนรู้เห็น
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ว. เจ้าของรถบรรทุกของกลางมิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการที่จำเลยนำรถบรรทุกดังกล่าวไปกระทำความผิดกฎหมาย ซึ่งโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านในข้อนี้จึงต้องฟังเป็นยุติตามนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาแล้ววินิจฉัยว่า ว. รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซื้อรถบรรทุกของกลางจาก ว. เจ้าของเดิมที่มิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในกิจการของผู้ร้อง กรณีไม่อาจถือว่าผู้ร้องใช้สิทธิขอคืนรถบรรทุกของกลางโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของและมีสิทธิขอคืนรถบรรทุกของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ถูกโต้แย้งหลังมีคำพิพากษา: การร้องขอเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
การที่ผู้ร้องนำคำพิพากษาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ย่อมถือได้ว่าเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ ชอบที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
กรณีนี้ผู้คัดค้านซึ่งไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก จึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ร้อง คำพิพากษาที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ถูกโต้แย้งจากการครอบครอง: การร้องขอเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครอง การที่ผู้ร้องนำคำพิพากษาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนถือได้ว่าเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ ชอบที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีในศาลชั้นต้น ถือได้ว่าเป็นบุคคลภายนอก จึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ร้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันผู้คัดค้านตามมาตรา 145(2) โดยไม่ต้องให้ผู้คัดค้านไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ศาลชั้นต้นต้องรับคำร้องขอของผู้คัดค้านไว้เพื่อวินิจฉัยข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดประชุมเจ้าหนี้, การแก้ไขแผน, และดุลพินิจศาลในการเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ
ในการนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนสามารถแบ่งแยกการนัดประชุมเจ้าหนี้ออกเป็น 2 ช่วง คือ การนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกและการนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไป ในการประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อย 1 ฉบับล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 10 วันตามมาตรา 90/44 วรรคหนึ่งใช้เฉพาะกับการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับแผนพร้อมสำเนาจากผู้ทำแผนเพื่อปรึกษาลงมติว่าจะยอมรับแผนหรือไม่หรือจะแก้ไขอย่างไรเท่านั้นส่วนในการนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปนั้น หากว่าในการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกได้ดำเนินการโดยชอบตามมาตรา 90/44 วรรคหนึ่งแล้ว การนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปนั้น ก็ไม่ต้องประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันอีก ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 เวลา 13.00 นาฬิกา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณากำหนดการประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันแล้ว ต่อมาผู้ทำแผนและลูกหนี้ขอแก้ไขแผนและในวันประชุมเจ้าหนี้ ลูกหนี้และเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาตให้เลื่อนไปนัดประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2543 เวลา 13.00 นาฬิกา เช่นนี้ การประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนมา จึงไม่ต้องดำเนินการโฆษณากำหนดการประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอีก
วิธีการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการนั้นพระราชบัญญัติล้มละลายฯหมวด 3/1 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำพระราชบัญญัติล้มละลายฯ หมวด 1ส่วนที่ 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 90/2 วรรคสอง ซึ่งในบทบัญญัติส่วนดังกล่าวมาตรา 30 ได้กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นประธานในการประชุม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นผู้เสนอหัวข้อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาและควบคุมการประชุมเจ้าหนี้ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย แม้ว่าคำขอแก้ไขแผนของลูกหนี้จะมีประเด็นต่าง ๆ รวม20 ประเด็น แต่เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ได้เสนอ ให้ลงมติเป็นรายประเด็นหรือรวมกัน จึงเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะพิจารณาตัวประเด็นต่าง ๆ ในคำขอแก้ไขแผนฉบับดังกล่าวตลอดจนความเกี่ยวพันของประเด็นเหล่านั้นในคำขอว่าจะให้ลงมติแยกหรือรวมก็ได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ให้เจ้าหนี้ลงมติคำขอแก้ไขแผนของลูกหนี้รวมกันไปทั้ง 20 ประเด็น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/57 ไม่ได้บังคับศาลว่าจะต้องดำเนินการไต่สวนคดีทุกคดีก่อนที่จะมีคำสั่งว่าเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเปิดโอกาสให้เป็นดุลพินิจของศาลในการที่จะพิจารณาว่า ข้อสาระสำคัญในการที่จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยแผนนั้นมีอยู่ครบถ้วนหรือไม่ หากศาลเห็นว่าครบถ้วนแล้วก็ไม่ต้องไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อให้คดีฟื้นฟูกิจการล่าช้าออกไป การที่ศาลล้มละลายกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนประกอบกับพยานเอกสารที่คู่ความได้อ้างมานั้นเพียงพอในการวินิจฉัยที่จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยแผนแล้วก็ไม่จำต้องไต่สวนพยานอีก คำสั่งงดไต่สวนของศาลล้มละลายกลางจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงด/ลดเบี้ยปรับ/เงินเพิ่มภาษีสรรพสามิต ต้องชำระภาษีครบตามกฎกระทรวง และไม่สละสิทธิคัดค้าน
หลักเกณฑ์ในการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 29(พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ซึ่งให้ทำได้เฉพาะกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องชำระภาษีให้ครบจำนวนภายในกำหนดระยะเวลาตามที่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้กำหนดไว้ในข้อ 5 และข้อ 6 มิใช่เพียงแต่ยื่นคำร้องเป็นหนังสือตกลงยินยอมชำระภาษีและของดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อลูกหนี้ยังมิได้ชำระภาษีให้ครบจำนวนภายในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงลูกหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม นอกจากนั้นเมื่อลูกหนี้ได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าหนี้แล้วลูกหนี้มิได้ยื่นคำคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจึงเป็นการสละการใช้สิทธิคัดค้านต่ออธิบดี สละสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และสละสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 86,89 และ96 หนี้ภาษีของลูกหนี้ย่อมถึงที่สุด การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้กรมสรรพสามิตเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้โดยไม่งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงด/ลดเบี้ยปรับ/เงินเพิ่มภาษีสรรพสามิต ต้องยื่นขอตามหลักเกณฑ์กฎกระทรวง และไม่สละสิทธิคัดค้านการประเมิน
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ลูกหนี้ยังมิได้ชำระหนี้ภาษีให้ครบจำนวนภายในระยะเวลาตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 29 (2536) ออกตามความในพ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 138 ลูกหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม นอกจากนี้เมื่อลูกหนี้ได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าหนี้แล้ว ลูกหนี้มิได้ยื่นคำคัดค้าน การประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงเป็นการสละการใช้สิทธิคัดค้านต่ออธิบดี สละสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และสละสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล ตามพ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 86, 89, และ 96 หนี้ภาษีของลูกหนี้ย่อมถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานต่างประเทศ: จำเลยต้องประกอบธุรกิจจริง จึงจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง และมาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า จัดหางานหมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างโดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ฉะนั้น การที่จะเป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้จะต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางาน โจทก์จึงต้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางาน หรือดำเนินการเพื่อส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศแต่โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดหางานในต่างประเทศให้แก่ผู้เสียหายได้ เพราะจำเลยไม่เคยไปติดต่อหาสถานที่ทำงานในต่างประเทศมาก่อนเลย แสดงว่าจำเลยมิได้ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30วรรคหนึ่งและมาตรา 82 แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ต้องยื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้มีเหตุสุดวิสัยก็ต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันยึดทรัพย์
จำเลยไม่อาจยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตาม คำพิพากษา เพราะจำเลยไปประกอบอาชีพที่จังหวัดลำปาง โดยจำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในสิบห้าวัน นับจากจำเลยทราบประกาศการขายทอดตลาดทรัพย์ ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ก็ตาม แต่การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวได้ล่วงพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์ ของจำเลยแล้ว ซึ่งกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหาใช่หกเดือนนับแต่ทราบว่าถูกฟ้องดังที่จำเลยฎีกาไม่ เมื่อจำเลยมิได้ ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามกำหนดระยะเวลา ทำให้ไม่อาจยกคดีขึ้นพิจารณาได้
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว หากคดีอาญาพิพากษาเสร็จแล้ว ให้โจทก์แถลงเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปภายใน 15 วัน มิฉะนั้นศาลจะไม่ยกคดีขึ้นพิจารณา โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล เมื่อโจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์มิได้แถลงต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาตามคำสั่งศาล และเพิ่งมายื่นคำร้องต่อศาลให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปหลังจากทราบคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วประมาณ6 เดือน แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจปฏิบัติตามคำสั่งศาลกรณีจึงไม่มีเหตุสมควรยกคดีขึ้นพิจารณา
of 61