คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย พงษธา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยการปฏิบัติตามคำสั่งศาลจำหน่ายคดีชั่วคราว ทำให้สิทธิในการยกคดีขึ้นพิจารณาอีกครั้งหมดไป
โจทก์ได้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งศาลที่ให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความชั่วคราว หากคดีอาญาของ ศาลแขวงธนบุรี ศาลพิพากษาเสร็จแล้ว ให้โจทก์แถลงเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปภายใน 15 วัน มิฉะนั้นศาลจะไม่ ยกคดีขึ้นพิจารณา โจทก์จึงทราบและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลดังกล่าว โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกา คดีดังกล่าว โดยโจทก์ได้ไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเอง แต่โจทก์กลับมิได้ดำเนินการแถลงต่อศาลภายในกำหนด ระยะเวลาตามคำสั่งศาลแต่อย่างใด เพิ่งมายื่นคำร้องต่อศาลให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ซึ่งเป็นระยะเวลาเนิ่นนานหลังจากทราบคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วประมาณ 6 เดือน แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจปฏิบัติตามคำสั่งศาล ทั้งคำสั่งศาลดังกล่าวก็ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรยกคดีขึ้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินให้ผู้เสียหายไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาฐานฉ้อโกงยังไม่ระงับ
ฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่ายังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินเพื่อแลกอิสรภาพไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ตามคำฟ้องฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่า ผู้เสียหายได้รับเงินคืนจากจำเลยแล้ว แต่ยังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันหลอกลวงจัดหางาน: จำเลยเพียงโอ้อวดความสามารถบุตรเขย ไม่ร่วมวางแผนหลอกลวง
จำเลยที่ 1 เป็นคนชนบท มีอาชีพทำนา ถ้ามีบุตรหลานหรือญาติพี่น้องเป็นคนมีฐานะ มีความรู้ความสามารถหรือมีหน้าที่การงานดีย่อมจะทำให้จำเลยที่ 1 พลอยมีหน้ามีตา ส. เป็นคนกรุงเทพมหานครเพิ่งจะแต่งงานเป็นบุตรเขยจำเลยที่ 1 ได้ประมาณ 2 เดือนเศษ เมื่อ ส. มาเยี่ยมและอ้างว่าสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ จำเลยที่ 1ย่อมจะชื่นชมยินดีและอยากโอ้อวดให้บุคคลอื่นทราบ การที่จำเลยที่ 1พูดเรื่องไปทำงานในต่างประเทศให้ผู้เสียหายทั้งห้าและบุคคลทั่ว ๆ ไปว่าผู้ใดอยากไปทำงานต่างประเทศให้ไปพบ ส. ที่บ้านจำเลยที่ 1ก็เป็นถ้อยคำที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่ต้องการจะโอ้อวดให้ผู้อื่นรู้ว่า ส. มีความรู้ความสามารถส่งคนไปทำงานในต่างประเทศได้เท่านั้นส่วนที่จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรไปบอกให้ผู้เสียหายทั้งห้านำเงินไปชำระแก่ ส. และพูดขึ้นว่าเงินแค่นี้ ส. ไม่โกง ถ้าโกงก็คงโกงมากกว่านี้นั้น ก็ได้ความว่านอกจากจำเลยทั้งสองแล้ว ส. ไม่รู้จักใครจึงติดต่อประสานกับผู้เสียหายทั้งห้า นอกจากนี้ยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งจะไปทำงานเช่นเดียวกับผู้เสียหายทั้งห้าก็ถูก ส. หลอกเอาเงินเช่นกัน โดยจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายทั้งห้าตลอดจนไม่ทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการติดต่อและประเทศที่จะส่งคนหางานไปทำงาน การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้ ส. ใช้บ้านของตนเป็นสถานที่ติดต่อพูดคุยกับผู้เสียหายทั้งห้าซึ่งเป็นคนหมู่บ้านเดียวกัน จึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 1ร่วมกับ ส. หลอกลวงผู้เสียหายทั้งห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ฐานฝ่าฝืนกฎหมายและบทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบันการเงิน, อายุความ, และการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และโจทก์ได้นำสืบถึงการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกที่กระทำแต่ละกรรมอย่างละเอียดแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทำความผิดไปได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัท ช. มีหน้าที่ในการบริหารงานต่าง ๆของบริษัทให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ทั้งเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกคำสั่งให้บริษัท ช. ปฏิบัติตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในนามของบริษัทและต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทอยู่แล้ว แม้บริษัทจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายก็เป็นเรื่องการแบ่งงานภายในของบริษัทเท่านั้น และแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะไม่อยู่ปฏิบัติงานที่บริษัทดังกล่าวก็ตาม ก็หาปฏิเสธความรับผิดต่าง ๆที่เกิดขึ้นแก่บริษัท ช. ที่ตนเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบบริหารงานได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายทั้งการที่คณะกรรมการไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 ไม่เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 หาได้ไม่
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดร่วมกับบริษัทดังกล่าว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯมาตรา 75 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี จึงมีอายุความสิบปี เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อความผิดตาม พ.ร.บ.ธุรกิจเงินทุนฯ แม้ไม่ได้ปฏิบัติงานประจำ และประเด็นอายุความ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทและเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกคำสั่งให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในนามบริษัทและต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทอยู่แล้ว แม้บริษัทดังกล่าวจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีผู้รับผิดชอบใน แต่ละฝ่ายก็เป็นเรื่องการแบ่งงานภายในของบริษัทเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะไม่อยู่ปฏิบัติงานที่บริษัทก็ตาม ก็หาปฏิเสธความรับผิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแก่บริษัทที่ตนเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบได้ไม่
ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ มิใช่เป็นบทบังคับให้ คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ทั้งการที่คณะกรรมการดังกล่าวไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 144 ไม่ เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก ซึ่งเป็นกรรมการให้รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ตามบทมาตราต่าง ๆ และมาตรา 75 วรรคหนึ่งและวรรคสองแห่ง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งมาตรา 75 วรรคหนึ่งบัญญัติให้รับผิดมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ส่วนวรรคสอง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองถึงห้าปี และตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) บัญญัติถึงความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปีให้มีอายุความสิบปีนับแต่วันกระทำความผิด ดังนี้ เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2531 โดยโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2539 ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยวินิจฉัยประเด็นหนี้ภาษีแล้ว และจำนวนหนี้ใหม่ไม่เพียงพอต่อการฟ้องล้มละลาย
โจทก์เคยนำหนี้ภาษีการค้ามาฟ้องให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าแม้จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย จึงพิพากษายกฟ้องแต่ต่อมาโจทก์นำหนี้ภาษีการค้าดังกล่าวรวมกับหนี้เงินเพิ่มภาษีการค้าและหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งศาลดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ทั้งสามจำนวนนั้น แต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายอีก ดังนั้น การที่โจทก์นำหนี้ภาษีการค้าจำนวนเดิมรวมกับหนี้ภาษีจำนวนใหม่มาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนี้จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ส่วนหนี้เงินเพิ่มภาษีการค้าและหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นหนี้จำนวนใหม่ เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนเพียง 40,000 บาทเศษไม่เข้าองค์ประกอบที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 9(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่โต้แย้งเฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้น
เนื้อหาในฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำวินิจฉัยพยานหลักฐานและคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลชั้นต้น มิได้คัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายไม่ชอบอย่างไร และจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยเพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลาย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนและผลกระทบต่อสินสมรส: การถือว่าการสมรสยังสมบูรณ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาศาล
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับ ร. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2516 ต่อมาผู้ร้องจดทะเบียนสมรสซ้อนกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2521 และจดทะเบียนหย่าจากกันเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2526 จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 การสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อในระหว่างที่ผู้ร้องจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทยังไม่มีผู้มีส่วนได้เสียคนใดร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1495 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นที่บัญญัติว่า คำพิพากษาศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ จึงต้องถือว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ยังมีผลสมบูรณ์อยู่ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาระหว่างสมรสกับ ร. และจำเลยที่ 1 จึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนและสินสมรส: ที่ดินที่ได้มาระหว่างสมรสยังเป็นสินสมรสแม้การสมรสจะตกเป็นโมฆะ
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับ ร. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2516 ในระหว่างสมรสผู้ร้องมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2521 ผู้ร้องซื้อและจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจาก จ. เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2523 ต่อมาวันที่ 10มีนาคม 2526 ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่าขาดกันกรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งแม้ผู้ร้องจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วอันจะทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อในระหว่างที่ผู้ร้องจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมายังไม่มีผู้มีส่วนได้เสียคนใดร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา 1495(เดิม) ต้องถือว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ยังมีผลสมบูรณ์อยู่ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาระหว่างสมรสกับ ร. และจำเลยที่ 1 จึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ด้วย โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นหรือออกเงินช่วยผู้ร้องชำระราคาที่ดินพิพาทหรือไม่แม้ภายหลังผู้ร้องกับจำเลยที่ 1จะจดทะเบียนหย่าขาดจากกันก็ต้องจัดการแบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องตามสิทธิที่ผู้ร้องมีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 และ 1533 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยึดที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาดำเนินการตามที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้
of 61