คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย พงษธา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันฟ้องล้มละลาย ต้องระบุการสละหลักประกันหรือตีราคาทรัพย์ หากไม่ปฏิบัติตามคำฟ้องไม่ชอบ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายโดยมิได้กล่าวในฟ้องถึงการสละหลักประกันหรือตีราคาหลักประกันหักกับจำนวนหนี้ของตน เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 แม้ต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องมาเป็นคำฟ้องแบบเจ้าหนี้มีประกัน โดยตีราคาที่ดินที่จำนองของจำเลยทั้งสองหักกับจำนวนหนี้แล้ว จำเลยทั้งสองยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทก็ตาม แต่การขอแก้ไขคำฟ้องคดีล้มละลายไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 คดีนี้จำเลยทั้งสองไม่ยื่นคำให้การจึงไม่มีการชี้สองสถาน การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องจากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันเป็นการขอแก้ไขในสาระสำคัญ โจทก์จะต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ปรากฏว่าคดีนี้ศาลล้มละลายกลางสืบพยานโจทก์ฝ่ายเดียวเสร็จสิ้นในวันเดียวกันเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2551 โจทก์ขอผัดส่งเอกสารภายใน 30 วัน และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 จึงล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ทั้งปรากฏว่าในคดีแพ่งนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการขายทอดตลาดก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องคดีล้มละลายเป็นเวลา 6 เดือนเศษ การที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในฟ้องถึงฐานะการเป็นเจ้าหนี้มีประกัน หรือขอแก้ไขคำฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเกิดจากความบกพร่องของโจทก์เอง จึงไม่มีเหตุอันสมควรและไม่อาจอ้างอำนาจฟ้องว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมาเป็นเหตุขอแก้ไขคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันหลังการฟื้นฟูกิจการ, การโอนสิทธิเรียกร้อง, และดอกเบี้ยทบต้น
การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจำเลยที่ 1 ก็เพื่อให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนินกิจการตามปกติต่อไปได้ อันเป็นเรื่องที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้โดยเฉพาะ หาได้มีผลต่อความรับผิดของจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องในคดีนี้แต่อย่างใด ทั้งการที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เด็ดขาด ก็มีผลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามามีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 59 (2) ที่ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 4 ด้วย
การโอนสิทธิเรียกร้องคดีนี้เป็นการโอนอันเนื่องมาจากการรวมกิจการของธนาคารพาณิชย์กับสถาบันการเงิน ระหว่างธนาคาร ส. โจทก์ กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท ตามที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันแถลงแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน โดยกำหนดให้โจทก์รับโอนกิจการจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ดังนี้ กรณีจึงต้องด้วย พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 38 ตรี วรรคสอง ที่บัญญัติยกเว้นไว้ให้ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่ง ป.พ.พ.
คำสั่งศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวใช้สิทธิขอรับชำระหนี้หรือได้รับชำระหนี้บางส่วนในระหว่างดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ หาได้ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดไม่ คงมีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ลดลงตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว ซึ่งมีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 4 ลดลงตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น
การฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยเป็นการฟ้องให้ผู้กู้ปฏิบัติตามสัญญา ทั้งนี้โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาก่อน ตามหนังสือขอให้ชำระหนี้นั้นมีเนื้อหาระบุไว้เพียงว่า จำเลยทั้งสี่เป็นหนี้อยู่จำนวนเท่าใดและขอให้จัดการชำระหนี้ทั้งหมด ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา หนังสือดังกล่าวจึงเป็นเพียงแต่การทวงถามหรือเตือนให้ชำระหนี้เท่านั้น ไม่อาจแปลหรือถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่ตกลงในสัญญาและนำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่า 1 ปี ทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ตามข้อตกลงแม้ลูกหนี้ผิดนัดแล้วก็ตาม เมื่อโจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นแล้วดอกเบี้ยที่ทบนั้นก็กลายเป็นต้นเงินไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวต่อเนื่อง: กระทำชำเราโทรมเด็กหญิงหลายครั้ง ความผิดต่อเนื่องในวาระเดียวกัน
หลังจากจำเลยกับพวกกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงที่ขนำที่เกิดเหตุครั้งแรกแล้ว จำเลยกับพวกยังคงควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้โดยพาผู้เสียหายไปที่ขนำอีกแห่งหนึ่งแล้วร่วมกันกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงในครั้งต่อไปถือว่าผู้เสียหายยังไม่หลุดพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวก ดังนั้น การกระทำชำเราของจำเลยกับพวกอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงทั้งสองครั้งจึงต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ในวาระเดียวกัน โดยเจตนาเดิมไม่ขาดตอนจากกันจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15791/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความยักยอก, การร้องทุกข์, กรรมเดียวผิดหลายบท, และการใช้เอกสารปลอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในอายุความและพนักงานสอบสวนได้สอบสวนแล้ว ย่อมสันนิษฐานได้ว่ามีการร้องทุกข์และมีการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อชั้นพิจารณาจำเลยไม่ได้คัดค้านโดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่า ไม่มีข้อคัดค้าน
ตามหนังสือขอแจ้งความเพิ่มเติม กรณีการปลอมแปลงลายมือชื่อของโจทก์ร่วมที่มีต่อพนักงานสอบสวน ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญการกระทำความผิดของจำเลยไว้ โดยสรุปใจความว่า เมื่อวันเกิดเหตุจำเลยได้ปลอมแปลงลายมือชื่อของ ย. แล้วเบิกถอนเงินฝากจำนวน 14,000 บาท จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของ ย. ไป ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลยตามกฎหมาย อันมีความแจ้งชัดอยู่ในตัวว่า เป็นการขอให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าว โดยวิธีการปลอมแปลงลายมือชื่อเบิกถอนเงินของโจทก์ร่วมจากบัญชีเงินฝากของ ย. อันเป็นความผิดฐานยักยอกแล้วด้วย โจทก์ร่วมไม่จำต้องระบุอ้างฐานความผิดมาด้วยแต่อย่างใด รูปคดีจะเป็นความผิดฐานใดย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งแล้วแต่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจที่จะวินิจฉัย
แม้การปลอมใบถอนเงินฝากออมทรัพย์ และใช้เอกสารดังกล่าวถอนเงินไปจากโจทก์ร่วม แล้วยักยอกเงินนั้นเป็นของตนจะเป็นการกระทำที่มีลักษณะแตกต่างกัน ต่างเป็นความผิดสำเร็จในตัวก็ตาม แต่การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินของโจทก์ร่วมที่จำเลยมุ่งประสงค์จะยักยอกเป็นของตนเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13063/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วมาขอแก้ไขบทลงโทษในภายหลัง เป็นการขัดต่อหลักวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้องหรือจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 และมาตรา 198 แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิดังกล่าวกลับมายื่นคำร้องขอให้ศาลแก้ไขปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยใหม่ โดยเลี่ยงอ้างว่าเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนี้ หากศาลฟังตามที่จำเลยอ้างแล้ววินิจฉัยให้ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไข คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ที่บัญญัติห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11963/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานวางเพลิงเผาโรงเรือน: การพิจารณาความสำเร็จของความผิดและข้อจำกัดในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 217, 83 จำเลยมิได้อุทธรณ์ กลับแก้อุทธรณ์ของโจทก์และขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกันวางเพลิงเผาโรงเรือนที่คนอยู่อาศัยตาม ป.อ. มาตรา 218 (1), 83 ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาว่าพยานโจทก์ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้ ขอให้ยกฟ้อง จึงเป็นฎีกาในข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายและครอบครัวย้ายจากบ้านที่เกิดเหตุ ไม่มีใครพักอาศัยอยู่ แต่ผู้เสียหายยังคงไปๆ มาๆ ที่บ้านที่เกิดเหตุ และมีเตียงนอน อุปกรณ์เครื่องนอน โทรทัศน์สีและกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าสำหรับใช้ประโยชน์ในการมาพักอาศัยเป็นครั้งคราวอยู่ด้วย จึงรับฟังได้ว่าบ้านที่เกิดเหตุเป็นโรงเรือนที่คนอยู่อาศัย
การกระทำที่จะเป็นความผิดสำเร็จฐานวางเพลิงเผาทรัพย์นั้นไม่หมายความเพียงว่า เอาเพลิงไปวางเท่านั้น หากต้องเป็นการเผาทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์นั้นติดไฟขึ้นด้วย จากสภาพในที่เกิดเหตุ ทรัพย์สินที่ถูกเผาไหม้เสียหายมีเพียงเตียงนอนและเบาะนอน ส่วนฝาบ้านชั้นล่างมีเพียงรอยเกรียม ดำ ยังไม่ไหม้ไฟ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จ คงเป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามวางเพลิงเผาโรงเรือนที่คนอยู่อาศัย ตาม ป.อ. มาตรา 218 (1) ประกอบมาตรา 80, 83 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7309/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบังคับคดีหลังล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจดำเนินการแทนลูกหนี้ในคดีแพ่งเดิม
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ม. เป็นโจทก์ในคดีของศาลแพ่งกรุงเทพใต้หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ม. ดำเนินการบังคับคดีและยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาด เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ม. เด็ดขาด มีผลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ม. แต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 กล่าวคือในส่วนคดีแพ่งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจขอเข้าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการที่จะบังคับตามสิทธิในคดีแพ่งต่อไป การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งโต้แย้งว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ม. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวไม่มีสิทธิในการบังคับคดีต่อไป เนื่องจากมีการโอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาให้แก่บริษัท พ. ไปก่อนแล้วและขอให้คืนทรัพย์ที่ยึดแก่ผู้ร้องนั้น เป็นข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิในการบังคับคดีในคดีแพ่ง ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องในคดีแพ่ง และอำนาจในการพิจารณาว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ม. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีแพ่งนั้นจะมีสิทธิบังคับคดีหรือไม่ย่อมเป็นอำนาจของศาลในคดีแพ่ง ผู้ร้องจะยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางโดยอ้างว่าเป็นการคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7309/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการบังคับคดีหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการโต้แย้งสิทธิเรียกร้องในคดีแพ่ง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดอันมีผลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 22 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 กล่าวคือในส่วนคดีแพ่งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจขอเข้าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการที่จะบังคับตามสิทธิในคดีแพ่งต่อไป การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งโต้แย้งว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวไม่มีสิทธิในการบังคับคดีต่อไป เนื่องจากมีการโอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาให้แก่บริษัท พ. ไปก่อนแล้ว และขอให้คืนทรัพย์ที่ยึดแก่ผู้ร้องนั้นเป็นข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิในการบังคับคดี ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องในคดีแพ่งดังกล่าว และอำนาจในการพิจารณาว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีแพ่งนั้นจะมีสิทธิบังคับคดีหรือไม่ย่อมเป็นอำนาจของศาลในคดีแพ่ง ผู้ร้องจะยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางโดยอ้างว่าเป็นการคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือหลังการแปลงหนี้เป็นหุ้นตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 วรรคสอง การที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่หลุดพ้นจากหนี้ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนจำเลยในคดีนี้ซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันนั้น จะต้องรับผิดอีกหรือไม่ อย่างไรเป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ที่ว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง
ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ในแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดให้มีการชำระหนี้แก่โจทก์โดยการออกหุ้นเพื่อชำระหนี้เช่นนี้ ในส่วนของผู้ค้ำประกันนั้นจะหลุดพ้นความรับผิดก็แต่เฉพาะเท่ากับมูลค่าตลาดที่แท้จริงของหุ้นที่โจทก์ได้รับชำระหนี้มาส่วนที่เหลือจากราคาดังกล่าวโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องชำระหนี้ค่าไฟฟ้า, สัญญาใช้ไฟฟ้า, การคำนวณค่าไฟฟ้าเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าไฟฟ้า เพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริง จึงเป็นการฟ้องให้ชำระหนี้ให้ถูกต้องหาใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานลาภมิควรได้ เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นกิจการสาธารณูปโภค โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่เป็นการฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าส่วนที่ขาดเพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าบกพร่องซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีจึงไม่อยู่ภายใต้กำหนดอายุความฐานลาภมิควรได้
การที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริงเนื่องจากมีการตัดสายควบคุมกระแสไฟฟ้าเส้นสีเขียวที่คอสายในกล่องหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า แต่ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำของผู้ใด ทำให้การชำระค่าไฟฟ้าของจำเลยไม่ถูกต้อง เมื่อจำเลยเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าและได้ประโยชน์ในการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าตั้งแต่เริ่มแรกใช้ไฟฟ้าตลอดมา แม้โจทก์จะมิได้ตรวจสอบเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าในเวลาอันสมควรก็ตาม แต่จำเลยได้ให้สัญญาในแบบขอใช้ไฟฟ้าว่า จำเลยยินยอมชำระเงินค่าไฟฟ้า ค่าเสียหาย เบี้ยปรับตามที่การไฟฟ้านครหลวงเรียกเก็บในกรณีที่มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริงตามแบบขอใช้ไฟฟ้า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าไฟฟ้าให้ถูกต้องตามข้อสัญญาดังกล่าว
of 61