คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย พงษธา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลายตามกฎหมายเดิม แม้มีการแก้ไขกฎหมายภายหลัง ศาลต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง
การจะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองสมควรล้มละลายหรือไม่ ต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่มีการยื่นฟ้องและคดีนั้นยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาล ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 34 ที่บัญญัติว่า "บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาล? ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" เมื่อคดีนี้ยื่นฟ้องก่อนที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับและได้ความว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้โจทก์กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท จึงเข้าองค์ประกอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (เดิม) ประกอบกับในการพิจารณาคดีล้มละลายต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 (เดิม) หรือมาตรา 10 (เดิม) ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ยกฟ้อง ฉะนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์นำสืบได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ และจำเลยทั้งสองนำสืบไม่ได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด ลำพังเหตุที่มีการแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยเพิ่มจำนวนหนี้ที่จะฟ้องล้มละลายให้สูงขึ้น ยังไม่พอฟังว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิจัดการทรัพย์สินก่อนล้มละลายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อกล่าวอ้างไม่ชัดเจน
การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่า พระราชบัญญัติล้มละลายฯที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายอาจจะเป็นการจำกัดสิทธิของจำเลยในการจัดการทรัพย์สินของตนเอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 29 วรรคหนึ่งนั้น ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นการโต้แย้งที่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและไม่อาจถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งโดยชัดแจ้งว่า พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ทุกมาตราให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้และห้ามมิให้ลูกหนี้เข้าจัดการทรัพย์สินของตนขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องรอการพิจารณาพิพากษาไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของจำเลยไปศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายน้ำเยื่อกระดาษ: การกำหนดจุดส่งมอบและหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
หนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระเป็นการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในการขายน้ำเยื่อกระดาษผ่านทางท่อที่ลูกหนี้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า โดยมีวิธีการส่งน้ำเยื่อกระดาษผ่านท่อซึ่งมีมิเตอร์วัดปริมาณตลอด 24 ชั่วโมง และส่งมอบแก่ลูกค้ารายเดียว จึงสามารถกำหนดปริมาณได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบกันปริมาณเท่าใดเมื่อใด เทียบเคียงได้กับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงแก่สายการบินซึ่งจะทราบปริมาณการส่งมอบได้ในแต่ละครั้งที่เติมและเจ้าหนี้อนุโลมให้ออกใบกำกับภาษีได้ครั้งเดียวใน 1 วัน แตกต่างจากการขายกระแสไฟฟ้าและน้ำประปา ซึ่งเป็นสินค้าสาธารณูปโภค มีลูกค้าหลายรายและเป็นจำนวนมาก ไม่แน่นอนว่าลูกค้าแต่ละรายจะบริโภคปริมาณมากน้อยเพียงใดในแต่ละวัน จึงไม่สามารถกำหนดจุดส่งมอบได้แน่นอน ลูกหนี้จึงต้องรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 มิใช่กรณีที่ลูกหนี้และลูกค้าไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใดอันจะมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเมื่อได้รับชำระราคาสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78/3 (1) และข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ.2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในบางกรณี ฉะนั้น เมื่อมีแนวปฏิบัติเป็นการภายในของเจ้าหนี้ที่อนุโลมให้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มครั้งเดียวใน 1 วัน จึงเป็นธรรมและเหมาะสมแล้วแม้การมีมิเตอร์วัดปริมาณที่ท่อส่งน้ำเยื่อกระดาษและการขายสินค้าให้แก่ลูกค้ารายเดียวจะมิใช่เหตุผลที่จะนำมาพิจารณาว่า สามารถกำหนดจุดส่งมอบได้แน่นอน หรือมิใช่การขายสินค้าในลักษณะเดียวกับกระแสไฟฟ้าหรือน้ำประปา แต่เมื่อนำเหตุทั้งสองมาพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ได้ความก็สามารถกำหนดจุดส่งมอบและชี้ให้เห็นข้อแตกต่างในเรื่องลักษณะของการขายสินค้าว่าจัดอยู่ในประเภทใดได้แน่นอนชัดเจนยิ่งขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายน้ำเยื่อกระดาษผ่านท่อ: การกำหนดจุดส่งมอบและหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
การขายน้ำเยื่อกระดาษผ่านทางท่อที่ลูกหนี้จำหน่ายให้ลูกค้าโดยมีวิธีการส่งน้ำเยื่อกระดาษผ่านท่อซึ่งมีมิเตอร์วัดปริมาณตลอด24 ชั่วโมง และส่งมอบแก่ลูกค้ารายเดียว จึงสามารถกำหนดปริมาณได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบกันปริมาณเท่าใด เมื่อใด เทียบเคียงได้กับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงแก่สายการบินซึ่งจะทราบปริมาณการส่งมอบได้ในแต่ละครั้งที่เติม และเจ้าหนี้อนุโลมให้ออกใบกำกับภาษีได้ครั้งเดียวใน 1 วัน ตามหนังสือตอบข้อหารือในสำนวน แตกต่างจากการขายกระแสไฟฟ้าและน้ำประปาซึ่งเป็นสินค้าสาธารณูปโภค มีลูกค้าหลายรายและเป็นจำนวนมากไม่แน่นอนว่าลูกค้าแต่ละรายจะบริโภคปริมาณมากน้อยเพียงใดในแต่ละวันจึงไม่สามารถกำหนดจุดส่งมอบได้แน่นอน ลูกหนี้จึงต้องรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 78 มิใช่กรณีที่ลูกหนี้และลูกค้าไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใด อันจะมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเมื่อได้รับชำระราคาสินค้าตามมาตรา 78/3(1) และข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 189ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9590/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมผู้ต้องหาในสภาพเมามายและการใช้กำลังเกินความจำเป็นของเจ้าพนักงาน
โจทก์เมาสุราส่งเสียงดัง เดินเตะเก้าอี้และพูดจาระรานจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ทั้งขณะที่อยู่ในร้านอาหารและขณะเดินกลับออกจากร้านเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 378 จำเลยทั้งสามจึงมีอำนาจจับกุมโจทก์ โจทก์ดิ้นรนขัดขืนไม่ยอมให้จับกุมโดยดี จึงเป็นมูลความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ได้ การที่จำเลยทั้งสามแจ้งต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีต่อโจทก์ในข้อหาเสพสุราจนเป็นเหตุให้เมาประพฤติวุ่นวายในสาธารณสถานและต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงาน จึงมิใช่การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 310 แต่ในการจับกุมโจทก์ซึ่งอยู่ในสภาพเมามายครองสติไม่ได้และโจทก์ขัดขวางการจับกุม จำเลยทั้งสามมีอำนาจใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับกุมซึ่งจำเลยทั้งสามควรใช้วิธีการจับตัวและจับมือโจทก์เพื่อใส่เครื่องพันธนาการไม่ให้หลบหนีเท่านั้น จำเลยที่ 1 หาได้มีอำนาจที่จะชกต่อยทำร้าย ร่างกายโจทก์ไม่ การที่โจทก์ได้รับบาดเจ็บโดยมีบาดแผลบวมที่โหนกแก้มขวาและตามัว ซึ่งเกิดจากการที่ถูกจำเลยที่ 1
ชกในขณะจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9301/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลต้องพิจารณาบริบทการกระทำผิด หากไม่ได้เกิดขึ้นในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจลงโทษ
จำเลยมิได้กระทำความผิด แต่เข้ามายอมรับว่าเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนผู้ตายแทนผู้อื่น เพื่อประโยชน์ที่บิดามารดาผู้ตายจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยดังที่พนักงานคุมประพฤติรายงานก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมิได้ไต่สวนให้ฟังได้ว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่พนักงานคุมประพฤติรายงาน และแม้จำเลยกระทำการดังกล่าวจริง การกระทำของจำเลยก็เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้น อันถือว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจ ศาลชั้นต้นเท่านั้น แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามฟ้องแล้ว จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลย ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์จะลงโทษจำเลยฐานละเมิดอำนาจศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9301/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลต้องเกิดขึ้นในศาลชั้นต้นเท่านั้น การกระทำหลังมีคำพิพากษาไม่ถือเป็นละเมิดอำนาจศาล
จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่เข้ามายอมรับว่าเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนผู้ตายแทนผู้อื่น เพื่อประโยชน์ที่บิดามารดาของผู้ตายจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยผู้รับประกันภัยรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุ เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้น อันถือว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลชั้นต้นเท่านั้น แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยจะได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9จะลงโทษจำเลยฐานละเมิดอำนาจศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9190/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ศาลฎีกาพิพากษายืนฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 กรณีประเด็นสิทธิมรดกซ้ำกับคดีเดิม
แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้เป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีเดิม แต่จำเลยที่ 4 ก็เป็นทนายความของจำเลยที่ 2 ในคดีเดิม ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่าคู่ความหมายความรวมถึงทนายความของโจทก์หรือจำเลยด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 4 เป็นคู่ความในคดีเดิมเช่นกัน
คู่ความในคดีเดิมกับคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน มรดกที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายรายเดียวกัน คำขอของโจทก์ในคดีหลังที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันจดทะเบียน โอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งมีข้อต้องวินิจฉัยเบื้องแรกว่ามีพินัยกรรมของผู้ตายฉบับโจทก์อ้าง หรือไม่ก่อน แล้วจึงจะวินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยทั้งสี่สมคบกันปิดบังพินัยกรรมดังกล่าว อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และโอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ต่อไปได้ คดีเดิมกับคดีนี้ต่างมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า ในระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 2 ใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อในคดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดวินิจฉัยว่าไม่มีพินัยกรรม ของผู้ตายฉบับที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์กลับนำคดีนี้มารื้อร้องฟ้องกันว่ามีพินัยกรรมฉบับดังกล่าวอีก ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9087/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องอาญา: วันเวลาเกิดเหตุและข้อเท็จจริงต่างกัน
ฟ้องของโจทก์ได้ระบุวันวันเวลาที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ส่วนกรณีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง เป็นเพียงข้อที่ศาลอาจถือเป็นเหตุยกฟ้องในชั้นพิพากษาคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 เท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางวันและข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบก็ได้ความว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่เวลากลางวันต่อเนื่องไปจนถึงเวลากลางคืน ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: ศาลต้องพิจารณาช่องทางฟื้นฟูที่แตกต่างจากคดีก่อน หากมีเหตุใหม่สนับสนุน
แม้ว่าในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการทุกคดีจะต้องระบุถึงช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/6(3) แต่การที่จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้พิจารณาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการ ตลอดจนแนวทางการฟื้นฟูกิจการอย่างเดียวกันด้วยในคดีล้มละลายคดีก่อนซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ได้อ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการว่าลูกหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินเกือบทุกรายมีการประชุมเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ ภายใต้กรอบของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ศาลล้มละลายกลางมีคำวินิจฉัยว่านอกจากสัญญาเช่าที่ลูกหนี้ทำกับผู้เช่าอาคารซึ่งมีกำหนดเวลา 1 ปี ถึง 3 ปี ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถปรับอัตราค่าเช่าให้สูงขึ้นหรือจัดหาผู้เช่าให้เช่าให้เต็มพื้นที่ได้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่มีแนวทางหรือมาตรการอื่นใดที่จะดำเนินการให้มีกำไรหรือรายได้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันจึงเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับศักยภาพในการชำระหนี้ของลูกหนี้ส่วนที่ลูกหนี้คาดว่าจะสามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยให้เจ้าหนี้ลดยอดหนี้และเพิ่มวงเงินหมุนเวียนก็เป็นเรื่องที่ไม่มีความชัดเจนแน่นอนจึงไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงให้ยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการว่าได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินและสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สินส่วนใหญ่ของลูกหนี้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันและมีหนี้รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.40 ของจำนวนหนี้ของลูกหนี้ทั้งหมด ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งสามรายมีมติร่วมกันในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และมีการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ลดจำนวนหนี้ลงให้เหมาะสมไม่เกินกำลังความสามารถของลูกหนี้จึงเห็นได้ว่าสาระสำคัญในเหตุที่อ้างอันเป็นช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการในคดีนี้แตกต่างจากคดีก่อนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีเหตุซึ่งเกิดใหม่อันจะเป็นผลดีในการที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อีกหลายประการ รวมทั้งยังมีหนังสือของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่าขอให้การสนับสนุนในการยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการ และยินยอมที่จะลดยอดหนี้ให้ลูกหนี้ถึงร้อยละ 80 ของจำนวนหนี้ที่ค้างอยู่ เช่นนี้ ข้อเท็จจริงอันเป็นข้ออ้างในช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของคดีนี้จึงแตกต่างจากคดีก่อน การรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งผู้ร้องขอได้ยื่นไว้พิจารณาจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
of 61