คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย พงษธา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8428/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ผู้เช่าในการคัดค้านการฟื้นฟูกิจการ และเหตุผลที่ศาลยกคำร้องขอ
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/9 วรรคสาม บัญญัติว่า"ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้..." และในบทนิยามมาตรา 90/1"เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน" เมื่อพิจารณาบทบัญญัติสองมาตรานี้ประกอบกันแล้ว จึงเห็นได้ว่ากฎหมายล้มละลายส่วนการฟื้นฟูกิจการให้สิทธิเจ้าหนี้ทุกประเภทยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อปกป้องสิทธิของตน ส่วนคำว่า"เจ้าหนี้" นั้น คือ ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ เช่นนี้ เมื่อผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อนำโรงงานในขณะที่ตกอยู่ในภาระการเช่าแก่ผู้คัดค้านที่ 2 มาดำเนินกิจการตามสัญญาเช่าโรงงานดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้เช่าชอบที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในโรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาการเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 537 และมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ให้เช่า จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอดังกล่าวตามมาตรา 90/9 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8428/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการต้องมีเหตุอันสมควรและช่องทางในการดำเนินงาน แม้มีสัญญาเช่าโรงงานก็ไม่เป็นอุปสรรคการคัดค้านของเจ้าหนี้
ในการฟื้นฟูกิจการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวได้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการ หรือปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนิน กิจการตามปกติต่อไปได้ เมื่อลูกหนี้มีกิจการเฉพาะโรงงานผลิตกระดาษและผลิตกล่องกระดาษแต่โรงงานดังกล่าว อยู่ระหว่างสัญญาเช่ากับผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในโรงงานดังกล่าวในขณะที่ยื่น คำร้องขอ ลูกหนี้ยังไม่อาจปรับปรุงฟื้นฟูกิจการในการประกอบกิจการโรงงานดังกล่าวได้ ทั้งการให้เช่าโรงงานของลูกหนี้ ก็มีสัญญาเช่าเพียงรายเดียวคือสัญญาเช่าระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 2 เท่านั้นซึ่งกำหนดค่าเช่าแน่นอน หาใช่กรณีลูกหนี้ประกอบกิจการทำเป็นธุรกิจในการเช่าทรัพย์สินอันจะต้องมีการจัดการบริหารดำเนินงานในทางธุรกิจการค้าไม่ กรณีจึง ไม่มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/10
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม บัญญัติว่า "ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านวันนัด ไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็น ผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้?" และในบทนิยามมาตรา 90/1" "เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน" จึงเห็นได้ว่ากฎหมายล้มละลายส่วนการฟื้นฟูกิจการให้สิทธิเจ้าหนี้ทุกประเภทยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟู กิจการเพื่อปกป้องสิทธิของตน ส่วนคำว่า "เจ้าหนี้" นั้น คือผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
ผู้ร้องขอ (ลูกหนี้) ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อนำโรงงานในขณะที่ตกอยู่ในภาระการเช่าแก่ผู้คัดค้านที่ 2 มาดำเนินกิจการ แต่ตามสัญญาเช่าโรงงานดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้เช่าชอบที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใน โรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาการเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 และมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ให้เช่า จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8303/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความหลังจากการซื้อขายที่ดิน: สิทธิเรียกร้องตามเช็คชำระค่าเสียหาย
ขณะทำหนังสือสัญญาขายที่ดินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้และลูกหนี้ต่างมีเจตนา อันแท้จริงที่จะผูกพันกันตามราคาที่ดินและเงื่อนไขการชำระราคาตามสัญญาจะซื้อขาย ส่วนการทำสัญญาขายที่ดิน เป็นเพียงวิธีดำเนินการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายเพื่อโอนกรรมสิทธิ์กันตามกฎหมายเท่านั้น การที่ลูกหนี้สั่งจ่าย เช็คพิพาทชำระค่าเสียหายอันเนื่องจากเช็คค่าที่ดินเดิมถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยเจ้าหนี้ยินยอมถอนคำร้องทุกข์และไม่ดำเนินคดีอาญาแก่ลูกหนี้ต่อไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ระงับข้อพิพาท ซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน และมีผลให้เจ้าหนี้ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 เจ้าหนี้จึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8299/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบโรคศิลปะโดยไม่ได้รับอนุญาต และการแสดงตนเท็จว่าเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ เป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
การที่จำเลยซึ่งมิได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะนำใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะของบุคคลอื่น และหนังสือรับรองของโรงพยาบาลซึ่งรับรองว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่พยาบาลมาแสดงเพื่อให้บุคคลอื่นและประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะ โดยกระทำการตรวจโรค วินิจฉัยโรค และบำบัดโรคให้แก่ประชาชนตาม พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 มาตรา 30, 57 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียว คือ เพื่อจะทำการประกอบโรคศิลปะเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานทำการประกอบโรคศิลปะอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำคุก 6 เดือน ฐานกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะ จำคุก 4 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 10 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 5 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่าความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตและความผิดฐานกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เป็นกรรมเดียวให้ลงโทษตามความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดให้จำคุก 6 เดือน รวมจำเลยจำคุก 1 ปี 3 เดือน เป็นกรณีแก้ไขเล็กน้อยและยังคงจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงและการฟ้องเกิน 1 ปี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ด. บิดาจำเลย ต่อมาก่อน ด. จะถึงแก่ความตาย ด. ได้ขายให้โจทก์โดยการส่งมอบ โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตลอดมา จึงได้สิทธิครอบครอง จำเลยให้การว่า ด. ไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อทำกินต่างดอกเบี้ย มิได้ครอบครองเพื่อตน หลังจาก ด. ถึงแก่ความตายโจทก์จำเลยฟ้องร้องกันเป็นคดีอาญาและต่างฝ่ายต่างถอนฟ้องไปแล้วจำเลยได้กลับเข้าครอบครองที่ดินพิพาท เพราะเป็นของจำเลย แสดงว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้นไม่เคยตกเป็นของโจทก์ กรณีจึงไม่อาจมีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่น จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8074/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก เมื่อกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งข้อความที่เป็นผลร้ายให้แก่จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่คัดค้าน โดยรายงานการสืบเสาะและพินิจดังกล่าวปรากฏว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในครั้งที่สองให้ลงโทษจำคุก 1 เดือนและปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบ 1 ปีจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษในคดีนี้ก็ตาม ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าวมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎหมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และกรณีมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเพื่อขอใบแทนโฉนดที่ดิน ศาลฎีกาแก้ไขโทษเป็นกรรมเดียว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่าได้ทำโฉนดที่ดินของจำเลยรวม 3 ฉบับสูญหายไป ซึ่งความจริงแล้วโฉนดที่ดินทั้งสามฉบับไม่ได้สูญหายไป และแจ้งให้พนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เจตนาของจำเลยก็เพื่อนำเอกสารรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวไปใช้และแสดงอ้างอิงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน กับแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าโฉนดที่ดิน 3 ฉบับสูญหายไปเพื่อขอรับใบแทนโฉนดที่ดินทั้งสามฉบับ การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นการกระทำคนละวันและต่อเจ้าพนักงานคนละหน่วยงานกันแต่เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันคือเจตนาเพื่อขอรับโฉนดที่ดินทั้งสามฉบับนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7806/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุจำเลยแถลงข้อเท็จจริงปฏิเสธความผิด ไม่ได้คัดค้านดุลพินิจศาลอุทธรณ์
แม้ฎีกาของจำเลยที่ 2 จะได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 ได้ไปติดต่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 1 และพวกตลอดทั้งพฤติการณ์ที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 และหลอกลวงให้ทำบันทึกคำรับสารภาพไว้ โดยละเอียดก็ตาม แต่ฎีกาของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการแถลงข้อเท็จจริงปฏิเสธความผิดของตนโดยมิได้ยกเหตุขึ้นคัดค้านหรือกล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อใดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7780/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม-การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2539 เวลากลางวันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวได้เดินทางจากประเทศกานาผ่านประเทศมาเลเซีย เข้ามาในราชอาณาจักรทางชายแดนภาคใต้บริเวณตำบล อำเภอ จังหวัดใดไม่ปรากฏชัด โดยไม่เดินทางเข้ามาตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองที่รัฐมนตรีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา ฯลฯ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนี้ฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดในข้อหาเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไว้โดยชัดแจ้ง โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่พอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว ไม่จำต้องกล่าวในรายละเอียดว่าจำเลยลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ณ ท้องที่ชายแดนในเขตตำบลอำเภอ หรือจังหวัดใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7684/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ต้องพิจารณาโทษจำคุกที่เคยได้รับจริง หากยังไม่เคยได้รับโทษจริง แม้จะเคยรอการลงโทษ ก็ไม่สามารถเพิ่มโทษได้
คดีอาญาของศาลชั้นต้นที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุกจำเลย 6 เดือนและปรับ5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี ปรากฏตามคำพิพากษาศาลฎีกาท้ายฎีกาจำเลยเมื่อคดีก่อนจำเลยไม่ได้รับโทษจำคุกจึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยพ้นโทษแล้วภายใน 5 ปีกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจึงเพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ไม่ได้
of 61