พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีจากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทรัพย์สิน
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นเงินได้ของกองทรัพย์สินจำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์และข้อตกลงในหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดเป็นผู้ชำระค่าภาษีต่างๆ แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาขอรับเงินคืนภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์หรือภายใน 20 วัน นับแต่ชำระราคาครบถ้วน หากไม่มาขอคืนภายในกำหนดดังกล่าวถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอรับเงินดังกล่าวคืนนั้น เป็นเพียงเพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของจำเลยดำเนินไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว เมื่อจำหน่ายทรัพย์สินแล้วทรัพย์สินซึ่งเหลือจากที่กันไว้สำหรับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 การทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถกันเงินในส่วนที่ผู้ซื้อทรัพย์จะมาขอรับเงินที่จ่ายเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืนได้ แล้วแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์ทราบ หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่มารับเงินดังกล่าวคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ศาลสั่งปิดคดีเงินดังกล่าวก็จะตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 176 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อตกลงในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์หรือหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินดังกล่าวคืนภายในกำหนดเวลาที่ผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกองทุนรวม และการใช้สิทธิฟ้องล้มละลายโดยชอบตามกฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับจดทะเบียนกองทรัพย์สินของโครงการจัดการกองทุนรวมโจทก์เป็นกองทุนรวมตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 124 วรรคสอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. เป็นผู้แทนโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมชำระหนี้ โจทก์จึงขอศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยและโจทก์ได้ยื่นคำขอตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบ แต่ไม่พบว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะให้ยึดมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เพื่อให้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และนำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนับว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมชำระหนี้ โจทก์จึงขอศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยและโจทก์ได้ยื่นคำขอตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบ แต่ไม่พบว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะให้ยึดมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เพื่อให้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และนำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนับว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากโจทก์ประเมินราคาทรัพย์สินหลักประกันไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้เป็นบุคคลล้มละลายโดยนำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้อง และหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้ ดังนั้น แม้ว่าจำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียว แต่เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดนั้นเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ตลอดจนโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาด ก็โดยสาเหตุที่จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น กรณีจึงมีความเกี่ยวพันกัน และศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยคำฟ้องโจทก์ในส่วนจำเลยที่ 1 ก่อน
การที่โจทก์ฟ้องโดยตีราคาทรัพย์หลักประกันของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 1,806,000 บาท ตามสำเนาบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินซึ่งในการประเมินราคาทรัพย์จำนองที่มีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อนำมาพิจารณาว่าเมื่อหักกับหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องแล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท หรือ 2,000,000 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องตีราคาทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การที่ทรัพย์จำนองเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น แต่โจทก์ประเมินมาเฉพาะราคาที่ดินอย่างเดียว กรณีจึงถือว่าโจทก์ปกปิดทรัพย์หลักประกันซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างอันอยู่บนที่ดิน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ประเมินทรัพย์จำนองให้ครบถ้วน คำฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) และเมื่อกรณีไม่อาจพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจากฟ้องโจทก์ไม่ชอบแล้ว กรณีจึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้
โจทก์ตีราคาทรัพย์หลักประกันเฉพาะที่ดินโดยปกปิดไม่ได้ตีราคาสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ทรัพย์จำนองมาด้วย และจำเลยทั้งสามก็โต้แย้งว่าทรัพย์จำนองดังกล่าวนั้นมีราคาประเมินรวมประมาณ 13,000,000 บาท ประกอบกับคดีแพ่งที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ศาลก็เพิ่งพิพากษาคดีแพ่งก่อนฟ้องคดีล้มละลายเป็นเวลาเพียง 8 เดือนเศษ โจทก์ยังสามารถที่จะนำคำพิพากษาคดีแพ่งไปบังคับแก่จำเลยที่ 2 ได้อยู่ และจำเลยที่ 2 ก็ยังประกอบธุรกิจต่างๆ มีรายได้ที่จะมาชำระหนี้แก่โจทก์ กรณียังมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
การที่โจทก์ฟ้องโดยตีราคาทรัพย์หลักประกันของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 1,806,000 บาท ตามสำเนาบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินซึ่งในการประเมินราคาทรัพย์จำนองที่มีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อนำมาพิจารณาว่าเมื่อหักกับหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องแล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท หรือ 2,000,000 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องตีราคาทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การที่ทรัพย์จำนองเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น แต่โจทก์ประเมินมาเฉพาะราคาที่ดินอย่างเดียว กรณีจึงถือว่าโจทก์ปกปิดทรัพย์หลักประกันซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างอันอยู่บนที่ดิน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ประเมินทรัพย์จำนองให้ครบถ้วน คำฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) และเมื่อกรณีไม่อาจพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจากฟ้องโจทก์ไม่ชอบแล้ว กรณีจึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้
โจทก์ตีราคาทรัพย์หลักประกันเฉพาะที่ดินโดยปกปิดไม่ได้ตีราคาสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ทรัพย์จำนองมาด้วย และจำเลยทั้งสามก็โต้แย้งว่าทรัพย์จำนองดังกล่าวนั้นมีราคาประเมินรวมประมาณ 13,000,000 บาท ประกอบกับคดีแพ่งที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ศาลก็เพิ่งพิพากษาคดีแพ่งก่อนฟ้องคดีล้มละลายเป็นเวลาเพียง 8 เดือนเศษ โจทก์ยังสามารถที่จะนำคำพิพากษาคดีแพ่งไปบังคับแก่จำเลยที่ 2 ได้อยู่ และจำเลยที่ 2 ก็ยังประกอบธุรกิจต่างๆ มีรายได้ที่จะมาชำระหนี้แก่โจทก์ กรณียังมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงใหม่เกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท เนื่องจากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยแถลงข่าวเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินอยู่ในทำนองคลองธรรมและเป็นไปในทางสุจริต มีความชอบธรรมที่จะเปิดเผยให้ประชาชนทราบถึงข้อเท็จจริงเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตลอดจนแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีอคติใดๆ กับโจทก์ จึงมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ตาม ป.อ. มาตรา 329 นั้น ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการประสงค์ให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ ซึ่งเท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าการแถลงข่าวของจำเลยที่ 1 ว่าโจทก์ได้รับผลประโยชน์จำนวนมากจากโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซี.ดี.เอ็ม.เอ ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าการแถลงข่าวเช่นนั้นเป็นเรื่องไม่จริง โจทก์จะได้รับความเสียหายถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ค้ำประกันหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: มูลหนี้เกิดก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 มีต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์และที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารที่สถานีรถไฟเชียงใหม่และลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญาเช่ากับการรถไฟแห่งประเทศไทยก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเช่นนี้ มูลแห่งหนี้ที่ผู้คัดค้านที่ 2 ต้องรับผิดจึงเกิดก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด และเมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชั้นต้นมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 และเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าก่อนขอหักกลบลบหนี้ ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ใช้หนี้ให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 จึงสามารถนำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกับหนี้เงินฝากตามสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาซื้อขายที่ดิน: สิทธิเรียกร้องอาจบังคับได้ทันทีเมื่อทำสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินโดยในสัญญากำหนดเรื่องการโอนไว้ว่า ผู้ขายจะโอนสิทธิให้ผู้ซื้อในภายหลังเมื่อผู้ซื้อต้องการให้โอน เป็นกรณีที่เวลาอันจะพึงชำระหนี้มิได้กำหนดลงไว้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงอาจบังคับได้ตั้งแต่วันทำสัญญา เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องบังคับตามสัญญาเกิน 10 ปีนับแต่วันทำสัญญา ฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 193/30
เมื่อโจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้โอนตามสัญญาได้เพราะคดีขาดอายุความ จึงมีผลให้ไม่อาจขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินต่อไปให้จำเลยที่ 3 ได้ และแม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นกรณีเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 3 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
เมื่อโจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้โอนตามสัญญาได้เพราะคดีขาดอายุความ จึงมีผลให้ไม่อาจขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินต่อไปให้จำเลยที่ 3 ได้ และแม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นกรณีเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 3 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินภารยทรัพย์และการกระทำละเมิดจากการเทคอนกรีตถาวร โดยไม่คำนึงถึงภาระจำยอม
จำเลยทำทางลาดในที่ดินภารยทรัพย์ของโจทก์เพราะจำเลยต้องใช้รถบรรทุกถังแก๊สเข้าไปจอดในร้านเพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินภารยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 จำเลยไม่มีสิทธิกระทำเช่นนั้นได้ ทั้งจำเลยสามารถทำทางขึ้นลงเป็นการชั่วคราวแทนการเทคอนกรีตเป็นการถาวรได้ การที่จำเลยทำทางลาดเข้ามาในที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2111/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้บางส่วนและการปลดหนี้ลูกหนี้ร่วม ทำให้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกหนี้รายนั้นได้
เจ้าหนี้ ลูกหนี้ที่ 2 ส. และ ว. ได้ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 กับโจทก์ จึงต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และมาตรา 682 วรรคสอง ถ้าเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามมาตรา 693 วรรคหนึ่ง และรับช่วงสิทธิของโจทก์ไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันได้ตามส่วนเท่าๆ กันตามมาตรา 229 (3) และมาตรา 296 อีกด้วย เมื่อลูกหนี้ที่ 1 และที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่ลูกหนี้ที่ 1 และที่ 2 ในภายหน้าได้ทั้งจำนวนหรือตามส่วนแล้วแต่กรณี เว้นแต่โจทก์ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนอันมีต่อลูกหนี้ที่ 1 หรือที่ 2 แล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 เมื่อบริษัท พ. ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ชั้นต้นอันมีต่อลูกหนี้ที่ 1 และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค้ำประกันอันมีต่อลูกหนี้ที่ 2 ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าต่อลูกหนี้ที่ 2 ได้
เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยยอมรับผิดต่อบริษัท ท. อย่างลูกหนี้ร่วม เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229 และมาตรา 296 การที่บริษัท ท. ยอมรับการชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท และปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะลูกหนี้ที่ 2 คงเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ปลดไปเท่านั้น ส่วนลูกหนื้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อบริษัท ท. อีกต่อไป เพราะหนี้ส่วนที่เหลือสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ระงับไปแล้วตามมาตรา 340 ดังนั้นหากต่อมาเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท. ไปเพียงใดก็ไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ได้อีกต่อไป เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้
เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยยอมรับผิดต่อบริษัท ท. อย่างลูกหนี้ร่วม เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229 และมาตรา 296 การที่บริษัท ท. ยอมรับการชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท และปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะลูกหนี้ที่ 2 คงเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ปลดไปเท่านั้น ส่วนลูกหนื้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อบริษัท ท. อีกต่อไป เพราะหนี้ส่วนที่เหลือสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ระงับไปแล้วตามมาตรา 340 ดังนั้นหากต่อมาเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท. ไปเพียงใดก็ไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ได้อีกต่อไป เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2111/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้บางส่วนและการปลดหนี้ลูกหนี้ร่วมในคดีล้มละลาย สิทธิการขอรับชำระหนี้ของผู้ค้ำประกัน
เจ้าหนี้และลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 โดยยอมรับผิดต่อบริษัท ท. อย่างลูกหนี้ร่วม เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 จึงเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง ประกอบมาตรา 229, 296 การที่บริษัท ท. ยอมรับการชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ 2 และปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะลูกหนี้ที่ 2 ในคดีแพ่ง ก็คงเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ปลดหนี้ไปเท่านั้น ส่วนลูกหนี้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อบริษัท ท. อีกต่อไป เพราะหนี้ส่วนที่เหลือสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ระงับไปแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 ดังนั้น หากต่อมาเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท. ไปเพียงใดก็ไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ได้อีกต่อไป และมิใช่กรณีเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันลูกหนี้ที่ 2 มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายสำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 101 เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการจากการลงทุนผิดนโยบาย และผลกระทบต่อการชำระหนี้
ลูกหนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงินการลงทุนลูกหนี้ในฐานะตัวแทนต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝืมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ และสมควรจะต้องใช้ในการนำเงินของเจ้าหนี้ไปลงทุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 807 วรรคสอง ประกอบมาตรา 659 วรรคสาม การที่ลูกหนี้นำเงินของเจ้าหนี้ไปซื้อลดตั๋วแลกเงินที่ออกโดยบริษัท ก. และเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินสั่งจ่ายให้แก่ ม. กับมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เป็นผู้อาวัล เป็นการลงทุนโดยไม่ปฏิบัติตามหนังสือยืนยันนโยบายการลงทุนที่ลูกหนี้มีถึงประธานคณะกรรมการของเจ้าหนี้ว่า จะลงทุนในตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรองจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจตามที่ตัวการได้มอบหมาย ซึ่งผลปรากฏต่อมาว่าเจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นได้ แม้เจ้าหนี้ได้ยื่นฟ้องเรียกเงินตามตั๋วแลกเงินจากผู้สั่งจ่าย ผู้อาวัล และผู้สลักหลัง กับได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้อาวัลและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้ว แต่ไม่เป็นที่แน่นอนว่าเจ้าหนี้จะได้รับเงินครบถ้วนหรือไม่ การกระทำของลูกหนี้จึงเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เจ้าหนี้