คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย พงษธา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 609 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการบังคับคดีจำนอง: สิทธิเจ้าหนี้ในการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองแม้หนี้ขาดอายุความ
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 3 เมื่อสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีขาดอายุความ อย่างไรก็ตามในมูลหนี้ดังกล่าวลูกหนี้ที่ 3 ได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ และ ป. เจ้าหนี้อื่นในคดีแพ่งได้นำยึดทรัพย์จำนองดังกล่าวไว้แล้ว ต่อมาเจ้าหนี้ในคดีนี้จึงยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ในคดีแพ่งดังกล่าว และศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้ในจำนวนเท่ากับสิทธิของเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่มีการบังคับคดีแล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง โดยมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภายในวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ส่วนหากว่าขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในส่วนที่ขาดจากการบังคับจำนองอันเป็นหนี้สามัญด้วยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบการยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการต่อสิทธิเจ้าหนี้และการชำระหนี้
แม้แผนฟื้นฟูกิจการซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ และคำสั่งที่ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะไม่กระทบถึงการใดที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือผู้บริหารแผนได้กระทำไปแล้วก่อนศาลมีคำสั่งดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 และมาตรา 90/76 ก็ตาม แต่การที่ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมมีผลทำให้คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเป็นอันถูกยกเลิกเพิกถอนไปในตัว ข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งเกิดขึ้นเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมสิ้นผลไปด้วย ทำให้สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้ย่อมกลับไปเป็นดังเดิมที่มีอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
เมื่อข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการในคดีก่อนสิ้นผลไปด้วยเหตุที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ลูกหนี้จะนำเงินบางส่วนที่ได้ชำระหนี้ไปหักกับต้นเงินตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการย่อมไม่ได้ อย่างไรก็ตามการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการไม่มีผลกระทบและถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าการชำระหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด จึงต้องนำไปจัดใช้เป็นค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยตามลำดับเสียก่อน ในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธานตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีบุกรุกที่ดิน: ศาลไม่ต้องกำหนดทุนทรัพย์ หากจำเลยไม่ได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสามบุกรุกที่ดินของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวารกับเรียกค่าเสียหาย 100,000 บาท ในส่วนคำขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวารนั้น ถือว่าเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อจำเลยทั้งสามให้การเพียงว่าไม่เคยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ หาได้ให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของจำเลยทั้งสาม กรณีจึงไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทที่จำต้องตีราคาทรัพย์พิพาทเพื่อให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาล คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดจำนวนทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทก่อนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
โจทก์ฎีกาเฉพาะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแล้วให้ศาลชั้นต้นเริ่มต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เพียงประการเดียว ถือว่าเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14654-14655/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมเป็นที่สุด การบังคับคดี และการขอทุเลา/งดบังคับคดี
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้อง และศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามนั้นแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 138 วรรคสอง ซึ่งจำเลยสามารถอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ จำเลยก็ต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตามยอมนั้น ตามมาตรา 229 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยหาได้อุทธรณ์ไม่ กลับยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอแก้ไขข้อสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีความมุ่งหมายให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าไม่อาจใช้บังคับได้ ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมอันไม่อาจกระทำได้โดยศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความก็หาใช่เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมตามข้อยกเว้นของมาตรา 138 วรรคสอง ที่จำเลยจะอุทธรณ์ได้ไม่ อีกทั้งต่อมาศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งเห็นพ้องด้วยในผลกับศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลย และปัญหาดังกล่าวได้ยุติไปแล้วโดยศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของจำเลยคำพิพากษาคดีนี้จึงเป็นที่สุดแล้ว ปัญหาข้อโต้แย้งด้วยวิธีต่าง ๆ ของจำเลย หาได้ทำให้คำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นที่สุดไปแล้วกลับมาไม่เป็นที่สุดตามที่จำเลยเข้าใจแต่อย่างใดไม่
เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาและขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมจำเลยซึ่งจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายบังคับคดีได้ ทั้งเมื่อคำพิพากษาตามยอมเป็นที่สุดและไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีกับจัดให้มีวิธีคุ้มครองชั่วคราวโดยระงับการออกหมายจับจำเลยและบริวารไว้ก่อนตามคำร้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14001/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการรวมสำนวนคดีและการบังคับคดีข้ามสำนวน ต้องมีคำสั่งรวมกันตามกฎหมาย
แม้คดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 ต่างเป็นสำนวนของศาลชั้นต้นเดียวกัน แม้คู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นบุคคลเดียวกัน และพิพาทกันในมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขาย ฉบับเดียวกันก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็เพียงแต่มีคำสั่งให้นำสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 มาผูกรวมกับสำนวนคดีนี้ โดยมิได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีเหล่านี้รวมกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 28 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด ทั้งสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 ศาลฎีกาก็ได้มีคำพิพากษาเป็นที่สุดไปก่อนในลักษณะวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ต่างสำนวนกันกับคดีนี้ จึงไม่อาจจะถือว่าสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 เป็นส่วนหนึ่งของคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นคดีนี้จะมีคำสั่งข้ามสำนวนไปเพิกถอนการบังคับคดี ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 นั้นได้ และปัญหาเกี่ยวด้วยอำนาจศาลในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่เมื่อเห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12386/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการทางกฎหมายโดยผู้มิได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ทำให้คำฟ้องอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งของลูกหนี้ที่ 1 มี ป. ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ โดยไม่ปรากฏว่า ป. เป็นทนายความของลูกหนี้ที่ 1 หรือเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจจากลูกหนี้ที่ 1 ให้มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาแทนในศาล ทั้งไม่ปรากฏว่าในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายนี้ ลูกหนี้ที่ 1 ได้อ้างส่งหนังสือมอบอำนาจที่มีระบุให้ ป. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนลูกหนี้ที่ 1 และหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วน ที่อยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลได้แล้ว ป. ยังลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ซึ่งตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" และการฝ่าฝืนมาตรา 33 นี้ มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่า ป. เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความหรือเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 การที่ ป. เรียงคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งให้ลูกหนี้ที่ 1 จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวด้วย ดังนั้น คำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งของลูกหนี้ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12386/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้ลงนามไม่ใช่ทนายความ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ
นอกจากคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งของลูกหนี้ที่ 1 มี ป. ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยไม่ปรากฏว่า ป. เป็นทนายความของลูกหนี้ที่ 1 หรือเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจจากลูกหนี้ที่ 1 ให้มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาแทนในศาล ทั้งไม่ปรากฏว่าในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายนี้ ลูกหนี้ที่ 1 ได้อ้างส่งหนังสือมอบอำนาจที่มีระบุให้ ป. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนลูกหนี้ที่ 1 และหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนที่อยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลได้แล้ว ป. ยังลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" และการฝ่าฝืนมาตรา 33 นี้ มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่า ป. เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ หรือเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 การที่ ป. เรียงคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งให้ลูกหนี้ที่ 1 จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวด้วย ดังนั้น คำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งของลูกหนี้ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11223/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับอุทธรณ์และการขยายเวลาอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ถือเป็นที่สุดเมื่อไม่ได้ฎีกา
จำเลยทั้งห้ายื่นอุทธรณ์เป็น 2 ฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทั้งห้ายื่นอุทธรณ์ใหม่เป็นฉบับเดียวกัน ต่อมาจำเลยทั้งห้านำอุทธรณ์คำพิพากษาและอุทธรณ์คำสั่งฉบับใหม่มายื่นต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ หากจำเลยทั้งห้าไม่เห็นพ้องด้วยและประสงค์จะให้มีการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ แต่จำเลยทั้งห้าก็มิได้กระทำ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้านั้น ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดเป็นที่ยุติว่าไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายระยะเวลาได้และเห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าก็มิได้ฎีกาโต้แย้ง จึงมีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 234 ดังนี้ ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทั้งห้ายื่นอุทธรณ์ฉบับใหม่และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าว่าไม่ชอบอย่างไร ก็ไม่อาจมีผลกระทบถึงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าซึ่งถึงที่สุดไปแล้วได้ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งห้าจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10777/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหลังหมดกำหนดในคดีล้มละลาย ไม่อาจกระทำได้ แม้จะเพิ่งพบสัญญา
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 บัญญัติไว้ว่า "เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัตินี้..." ซึ่งตามหมวด 4 วิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนที่ 1 การขอรับชำระหนี้ มาตรา 91 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด... คำขอรับชำระหนี้นั้นต้องทำตามแบบพิมพ์ โดยมีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สิน..." บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษแล้วว่า เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์ โดยมีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด รวมทั้งการขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้และหรือมูลหนี้ แม้จะเกี่ยวข้องกันพอที่รวมการสอบสวนและทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าด้วยกันได้ก็ตาม เจ้าหนี้ก็จะต้องยื่นคำร้องหรือคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเช่นกัน ทั้งนี้เพราะกฎหมายล้มละลายมีเจตนารมณ์ให้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายดำเนินการไปโดยถูกต้องและรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ลูกหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้อง สำหรับการขอรับชำระหนี้หากให้เจ้าหนี้แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้ในส่วนจำนวนหนี้และหรือมูลหนี้ภายหลังพ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว ย่อมทำให้คดีต้องล่าช้าและเป็นการขยายระยะเวลาการขอรับชำระหนี้ให้เจ้าหนี้นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ทั้งกระทบต่อกระบวนการพิจารณาในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อาทิ การประนอมหนี้ การนับคะแนนเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกและครั้งอื่น เป็นต้น ซึ่งจะต้องทราบจำนวนเจ้าหนี้และหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้บัญญัติกระบวนพิจารณาเรื่องการขอรับชำระหนี้ไว้เป็นกรณีเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ได้
แม้เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดให้เจ้าหนี้ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นซึ่งเสมือนหนึ่งเป็นวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ตาม เมื่อพิจารณาว่าคำขอรับชำระหนี้และบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินที่เจ้าหนี้ยื่นไว้เดิมภายในกำหนดระบุหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมที่เจ้าหนี้ยื่นระบุหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ อันเป็นหนี้คนละมูลหนี้และไม่เกี่ยวข้องกันกับมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เดิมและเพิ่มเติมจำนวนหนี้มาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเจ้าหนี้สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้รวมกับคำขอรับชำระหนี้ที่ยื่นไว้เดิมได้ แต่เมื่อเจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้จึงกระทำมิได้
การที่เจ้าหนี้อ้างว่า เจ้าหนี้เพิ่งตรวจสอบพบว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้เนื่องจากเจ้าหนี้ตกแต่งอาคารและสถานที่ทำงานทำให้ต้องขนย้ายสิ่งของและเอกสารรวมทั้งสัญญาต่าง ๆ จากชั้น 2 ไปยังชั้น 10 และพบสัญญารับสภาพหนี้จึงรีบยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมนั้น เจ้าหนี้เพิ่งกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวในภายหลังขณะนำพยานมาสืบในชั้นไต่สวนคำร้อง พฤติการณ์ดังกล่าวมิใช่เหตุสุดวิสัย หากจะฟังว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษเจ้าหนี้ก็ต้องขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดให้บรรดาเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 แต่เจ้าหนี้ก็มิได้ดำเนินการ จึงไม่อาจขยายระยะเวลาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำร้องนี้ได้ การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมมูลหนี้และจำนวนหนี้เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4966/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดทางประกันภัย: สิทธิของผู้รับประกันภัยย่อมมีเท่ากับผู้เอาประกันภัย
โจทก์ฟ้องโดยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ผู้รับประกันภัยจึงมีเท่ากับสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่โดยมูลหนี้ต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย
of 61