พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: การโอนภายใน 3 ปี, เจตนาทุจริต, ราคาต่ำกว่าประเมิน
ในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดแรกศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้ตรวจคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดิน ข้อคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสองแล้ว เห็นว่าพอวินิจฉัยได้ให้งดไต่สวนพยานทั้งสองฝ่าย นัดฟังคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เช่นนี้เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสอง มิได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 24 และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองมิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6012/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: ดุลพินิจและสิทธิโจทก์
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 160 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำการสอบสวนและทำความเห็นคดีอาญาในฐานะพนักงานสอบสวนได้นั้นจะต้องปรากฏว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดในทางอาญาเกิดขึ้นในระหว่างดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย แต่ทั้งนี้ไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. ที่จะสอบสวนกรณีเดียวกันนี้ได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจรายงานการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกและบันทึกการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยในสำนวนแล้วมีคำสั่งไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยและกรรมการบริษัทจำเลยตามคำร้องของโจทก์ ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตรวจสอบเบื้องต้นแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยหรือผู้หนึ่งผู้ใดกระทำผิดในทางอาญาเกี่ยวกับการล้มละลายจึงมิได้ทำการสอบสวนผู้ใด ซึ่งเป็นดุลพินิจและอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 160 วรรคหนึ่ง แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนหรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7), 2 (8) ประกอบมาตรา 28 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ทรงเช็คหรือได้รับมอบอำนาจจากผู้ทรงเช็ค
จำเลยและ ป. ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากบริษัท ร. ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นกรรมการ เช็คพิพาททั้งสี่ฉบับแม้จะเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ซื้อ แต่เป็นเช็คที่จำเลยและ ป. ร่วมกันออกเพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่บริษัท ร. มิใช่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมเป็นส่วนตัว บริษัท ร. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท แม้โจทก์ร่วมจะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ร. โจทก์ร่วมในฐานะส่วนตัวก็ไม่อยู่ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาท และมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจร้องทุกข์ขอให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยได้ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902-4904/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าตอบแทนผู้ทำแผนในคดีฟื้นฟูกิจการ และอำนาจศาลในการพิจารณาหลังยกเลิกคำสั่งฟื้นฟู
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ทำแผนในขณะคดีฟื้นฟูกิจการอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและเป็นการกำหนดตามที่ศาลได้มีคำสั่งเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตรวจสอบเบื้องต้นโดยให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 เช่นนี้ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวจึงอาจถูกคัดค้านโต้แย้งได้ภายในกำหนด 14 วัน หาเป็นที่สุดไม่ แม้ในวันเดียวกันนั้นศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว แต่ผลของคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวยังมีผลกระทบต่อสิทธิของลูกหนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นและเมื่อบุคคลดังกล่าวยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลแล้ว ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาคำร้องคัดค้านต่อไปได้ ทั้งคำร้องคัดค้านดังกล่าวที่ขอให้กลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
ผู้ทำแผนจะมีฐานะเป็นผู้ทำแผนและมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/17 ก่อนหน้านั้นหาได้มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ระหว่างลูกหนี้ซึ่งมิได้เป็นผู้ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกับผู้ทำแผนไม่ แต่หากว่ามีหนี้ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนซึ่งเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนในฐานะเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 ประกอบมาตรา 90/27 ในส่วนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนนั้น ศาลจะพิจารณาให้ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ศาลต้องพิจารณาถึงผลสำเร็จในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่าแผนดังกล่าวมีหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายหรือไม่ แผนสามารถนำไปใช้ในการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ แผนดังกล่าวที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนและศาลได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ และศาลต้องพิจารณาถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ทำแผนสมควรใช้ประกอบคุณภาพและความสำเร็จของงาน รวมทั้งความสามารถของผู้ทำแผนในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ว่าลูกหนี้มีสถานะหรือผลประกอบการดีขึ้นเพียงใด
ผู้ทำแผนจะมีฐานะเป็นผู้ทำแผนและมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/17 ก่อนหน้านั้นหาได้มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ระหว่างลูกหนี้ซึ่งมิได้เป็นผู้ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกับผู้ทำแผนไม่ แต่หากว่ามีหนี้ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนซึ่งเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนในฐานะเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 ประกอบมาตรา 90/27 ในส่วนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนนั้น ศาลจะพิจารณาให้ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ศาลต้องพิจารณาถึงผลสำเร็จในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่าแผนดังกล่าวมีหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายหรือไม่ แผนสามารถนำไปใช้ในการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ แผนดังกล่าวที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนและศาลได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ และศาลต้องพิจารณาถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ทำแผนสมควรใช้ประกอบคุณภาพและความสำเร็จของงาน รวมทั้งความสามารถของผู้ทำแผนในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ว่าลูกหนี้มีสถานะหรือผลประกอบการดีขึ้นเพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902-4904/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ต้องพิจารณาผลสำเร็จการจัดทำแผนและผลประกอบการหลังเข้ารับหน้าที่
ในการกำหนดค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ทำแผนนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดในขณะที่คดีฟื้นฟูกิจการอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและเป็นการกำหนดตามที่ศาลได้มีคำสั่งเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตรวจสอบกลั่นกรองในเบื้องต้นและศาลยังได้กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียสามารถร้องคัดค้านได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 146 เช่นนี้ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ถูกคัดค้านโต้แย้งได้ภายในกำหนดเวลา 14 วัน หาเป็นที่สุดไม่ แม้ในวันเดียวกันนั้นศาลจะมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแต่เมื่อคำสั่งดังกล่าวยังมีผลที่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ทั้งสามหรือผู้มีส่วนได้เสียอื่น และบุคคลผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลล้มละลายกลางแล้ว ศาลจึงมีอำนาจในการที่จะพิจารณาคำร้องคัดค้านต่อไปได้
การที่ผู้ทำแผนจะมีฐานะเป็นผู้ทำแผนและมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามเริ่มตั้งแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/17 ก่อนหน้านั้นหาได้มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างลูกหนี้ทั้งสามซึ่งมิได้เป็นผู้ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกับผู้ทำแผนไม่ เช่นนี้ผู้ทำแผนจะขอเรียกค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนซึ่งเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนหาได้ไม่ หากว่าหนี้ดังกล่าวจะมีอยู่จริงก็เป็นหนี้ซึ่งลูกหนี้ทั้งสามได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนในฐานะเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 ประกอบมาตรา 90/27 หาใช่เบิกจ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสาม ในส่วนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนซึ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้วนั้น เมื่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กำหนดให้ศาลเข้ามากำกับและตรวจสอบการกระทำการต่างๆ ได้ ทั้งนี้เพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไป ทั้งมีอำนาจในการตั้งผู้ทำแผนและให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตำแหน่งกรณีจึงรวมถึงการอนุญาตหรือมีคำสั่งใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย เมื่อเกิดปัญหาประการใดๆ เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คณะกรรมการ เจ้าหนี้ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลได้โดยตรง ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้มีการจ่ายเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนได้
เนื่องจากหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วผู้ทำแผนมีหน้าที่ในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการส่งแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/43 และผู้ทำแผนมีหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 90/25 ในการจ่ายค่าตอบแทนผู้ทำแผนเนื่องจากการกระทำหน้าที่ดังกล่าวในส่วนของการทำแผนฟื้นฟูกิจการนั้นศาลจะพิจารณาให้ผู้ทำแผนมีสิทธิเรียกค่าตอบแทนได้เป็นจำนวนเท่าใด ศาลต้องพิจารณาถึงผลสำเร็จในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่าแผนดังกล่าวที่ผู้ทำแผนได้จัดทำนั้นมีหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการที่ผู้ทำแผนได้จัดทำขึ้นมาแล้วนั้นสามารถนำมาใช้ในการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ อีกทั้งเมื่อมีการนำแผนฟื้นฟูกิจการมาเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลแล้ว แผนฟื้นฟูกิจการนั้นที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนและศาลได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ ทั้งในการพิจารณาดังกล่าวศาลจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ทำแผนสมควรจะใช้เมื่อพิจารณาประกอบคุณภาพของงานและความสำเร็จของงาน อัตราค่าตอบแทนผู้ทำแผนศาลอาจจะกำหนดเป็นหน่วยรายชั่วโมงหรือกำหนดเหมารวมเป็นรายชิ้นงานไปก็ได้ ในส่วนที่ผู้ทำแผนได้เข้าไปจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามนั้นศาลจะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการดำเนินกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามในระหว่างที่ผู้ทำแผนเข้ามาจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสาม ผู้ทำแผนได้ทำให้กิจการของลูกหนี้ทั้งสามมีสถานะหรือผลประกอบการดีขึ้นเพียงใด มีรายได้รับเพิ่มขึ้นหรือไม่ ในส่วนค่าใช้จ่ายซึ่งได้แก่ ค่าที่ปรึกษากฎหมายที่ผู้ทำแผนได้จ่ายไป ศาลจะต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายอันจำเป็นตามปกติในการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ทั้งสามทั้งยังจะต้องพิจารณาว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินส่วนนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามไปดำเนินการเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้ทั้งสามโดยแท้จริงหรือไม่ทั้งค่าที่ปรึกษากฎหมายที่จะพิจารณาให้เบิกนั้นก็ย่อมอยู่ในกรอบเฉพาะค่าที่ปรึกษากฎหมายในส่วนที่ผู้ทำแผนได้ปรึกษากับที่ปรึกษากฎหมายเพื่อดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการหรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสาม
คดีนี้ผู้ร้องทั้งสามและลูกหนี้ทั้งสามได้ร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้กำหนดค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ทำแผนตามคำสั่งอันเป็นการโต้แย้งกระบวนการในคดีฟื้นฟูการเพื่อให้ศาลมีอำนาจในการกำกับดูแลคดีฟื้นฟูกิจการได้ควบคุมกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการให้เป็นไปอย่างเหมาะสม กรณีถือได้ว่าเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้ 200 บาท
การที่ผู้ทำแผนจะมีฐานะเป็นผู้ทำแผนและมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามเริ่มตั้งแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/17 ก่อนหน้านั้นหาได้มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างลูกหนี้ทั้งสามซึ่งมิได้เป็นผู้ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกับผู้ทำแผนไม่ เช่นนี้ผู้ทำแผนจะขอเรียกค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนซึ่งเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนหาได้ไม่ หากว่าหนี้ดังกล่าวจะมีอยู่จริงก็เป็นหนี้ซึ่งลูกหนี้ทั้งสามได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนในฐานะเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 ประกอบมาตรา 90/27 หาใช่เบิกจ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสาม ในส่วนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนซึ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้วนั้น เมื่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กำหนดให้ศาลเข้ามากำกับและตรวจสอบการกระทำการต่างๆ ได้ ทั้งนี้เพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไป ทั้งมีอำนาจในการตั้งผู้ทำแผนและให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตำแหน่งกรณีจึงรวมถึงการอนุญาตหรือมีคำสั่งใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย เมื่อเกิดปัญหาประการใดๆ เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คณะกรรมการ เจ้าหนี้ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลได้โดยตรง ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้มีการจ่ายเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนได้
เนื่องจากหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วผู้ทำแผนมีหน้าที่ในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการส่งแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/43 และผู้ทำแผนมีหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 90/25 ในการจ่ายค่าตอบแทนผู้ทำแผนเนื่องจากการกระทำหน้าที่ดังกล่าวในส่วนของการทำแผนฟื้นฟูกิจการนั้นศาลจะพิจารณาให้ผู้ทำแผนมีสิทธิเรียกค่าตอบแทนได้เป็นจำนวนเท่าใด ศาลต้องพิจารณาถึงผลสำเร็จในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่าแผนดังกล่าวที่ผู้ทำแผนได้จัดทำนั้นมีหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการที่ผู้ทำแผนได้จัดทำขึ้นมาแล้วนั้นสามารถนำมาใช้ในการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ อีกทั้งเมื่อมีการนำแผนฟื้นฟูกิจการมาเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลแล้ว แผนฟื้นฟูกิจการนั้นที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนและศาลได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ ทั้งในการพิจารณาดังกล่าวศาลจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ทำแผนสมควรจะใช้เมื่อพิจารณาประกอบคุณภาพของงานและความสำเร็จของงาน อัตราค่าตอบแทนผู้ทำแผนศาลอาจจะกำหนดเป็นหน่วยรายชั่วโมงหรือกำหนดเหมารวมเป็นรายชิ้นงานไปก็ได้ ในส่วนที่ผู้ทำแผนได้เข้าไปจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามนั้นศาลจะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการดำเนินกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามในระหว่างที่ผู้ทำแผนเข้ามาจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสาม ผู้ทำแผนได้ทำให้กิจการของลูกหนี้ทั้งสามมีสถานะหรือผลประกอบการดีขึ้นเพียงใด มีรายได้รับเพิ่มขึ้นหรือไม่ ในส่วนค่าใช้จ่ายซึ่งได้แก่ ค่าที่ปรึกษากฎหมายที่ผู้ทำแผนได้จ่ายไป ศาลจะต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายอันจำเป็นตามปกติในการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ทั้งสามทั้งยังจะต้องพิจารณาว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินส่วนนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามไปดำเนินการเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้ทั้งสามโดยแท้จริงหรือไม่ทั้งค่าที่ปรึกษากฎหมายที่จะพิจารณาให้เบิกนั้นก็ย่อมอยู่ในกรอบเฉพาะค่าที่ปรึกษากฎหมายในส่วนที่ผู้ทำแผนได้ปรึกษากับที่ปรึกษากฎหมายเพื่อดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการหรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสาม
คดีนี้ผู้ร้องทั้งสามและลูกหนี้ทั้งสามได้ร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้กำหนดค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ทำแผนตามคำสั่งอันเป็นการโต้แย้งกระบวนการในคดีฟื้นฟูการเพื่อให้ศาลมีอำนาจในการกำกับดูแลคดีฟื้นฟูกิจการได้ควบคุมกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการให้เป็นไปอย่างเหมาะสม กรณีถือได้ว่าเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้ 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899-4901/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้ทำแผนและหน้าที่คืนเงินค่าตอบแทนส่วนเกินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/25 โดยอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 90/12 (9) กล่าวคือหากผู้ทำแผนจะกระทำการจำหน่าย จ่าย โอนหรือชำระหนี้ ก่อหนี้หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินนอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้แล้วจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการก่อน เมื่อการขอเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ลดจำนวนเงินที่ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ลง แต่ผู้ทำแผนได้เบิกเงินเกินจำนวนที่ศาลมีคำสั่งไปก่อนแล้ว ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่ต้องส่งคืนเงินส่วนที่เบิกเกินไปให้แก่ลูกหนี้ และถือได้ว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นคำสั่งซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีศาลจึงมีอำนาจออกคำบังคับให้ผู้ทำแผนปฏิบัติตามได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 272 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย มาตรา 14 หากผู้ทำแผนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับดังกล่าวผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899-4901/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการบังคับให้ผู้ทำแผนคืนเงินค่าตอบแทนที่เบิกเกินจริงในคดีฟื้นฟูกิจการ
เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในการกำกับตรวจสอบดูแลกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการรวมทั้งให้ศาลมีอำนาจในการตั้งผู้ทำแผนและควบคุมดูแลการทำงานของผู้ทำแผนให้เป็นไปตามกฎหมาย และในการดำเนินการฟื้นฟูกิจการนั้น พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25 ให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ทำแผนดังกล่าวให้นำบทบัญญัติมาตรา 90/12 (9) มาใช้บังคับแก่ผู้ทำแผนโดยอนุโลมด้วย เช่นนี้หากผู้ทำแผนจะกระทำการจำหน่าย จ่าย โอน ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินนอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้แล้วจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการก่อน เมื่อการขอเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนในคดีนี้ปรากฏว่าผู้ทำแผนได้เบิกเงินเกินจำนวนที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวไปก่อนแล้ว ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่ต้องส่งคืนเงินส่วนที่เบิกเกินไปให้แก่ลูกหนี้ทั้งสาม และถือได้ว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นคำสั่งซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีและศาลมีอำนาจออกคำบังคับให้ผู้ทำแผนปฏิบัติตามได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 272 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 และหากผู้ทำแผนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับดังกล่าว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7356/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งดการพิจารณาคดีล้มละลายเนื่องจากคดีฟื้นฟูกิจการยังไม่สิ้นสุด
ระหว่างการพิจารณาคดีล้มละลายคดีนี้ของศาลฎีกา ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งในอีกคดีหนึ่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลย และคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ศาลฎีกาจึงต้องงดการพิจารณาคดีล้มละลายไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) จนกว่าเหตุที่ต้องงดการพิจารณาคดีดังกล่าวจะสิ้นสุดลง