คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิชัย อภิชาตอำมฤต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับคดีหลังการพิทักษ์ทรัพย์: ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องไม่สามารถใช้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
แม้ผู้ถูกทวงหนี้มิได้ปฏิเสธหนี้เป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งถือว่าเป็นหนี้เด็ดขาดตามกฎหมาย และต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวออกขายโดยวิธีประมูลซึ่งผู้ร้องเป็นผู้ซื้อได้ แต่การขอออกคำบังคับ การขอออกหมายบังคับคดี และการขอให้ศาลมีคำสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินของผู้ถูกทวงหนี้ไว้ชั่วคราวก่อนศาลมีคำสั่งในเรื่องนี้นั้นเป็นอำนาจเฉพาะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ประกอบมาตรา 22 (2) ผู้ร้องในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากลูกหนี้จึงมีเพียงสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อพิพาทที่จะดำเนินการทวงถามและฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันในทางแพ่งต่อไป แต่ไม่อาจขอเข้าสวมสิทธิอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการกู้ยืมเงินธนาคาร โดยเริ่มนับแต่วันที่ผิดสัญญาชำระหนี้ตามข้อตกลง
ผู้กู้ทำสัญญากู้เงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฏมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันโดยยินยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม และตามหนังสือสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏ ข้อ 4 ระบุว่า ผู้กู้ตกลงให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนและเงินพึงได้อื่นได้อื่นใดที่ผู้กู้พึงได้จากนายจ้างเป็นรายเดือนให้ผู้กู้โดยวิธีนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้กู้ที่เปิดไว้ ณ สำนักงานธนาคารผู้ให้กู้เป็นประจำทุกเดือนติดต่อกันตลอดไป จากข้อสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่านิติสัมพันธ์ระหว่าง ผู้กู้กับโจทก์ตามสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏในลักษณะนี้กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้กู้ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2534 หลังจากนั้นผู้กู้หรือหน่วยงานของผู้กู้ก็มิได้นำเงินมาชำระหนี้โจทก์อีกเลย จึงถือว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญา และเมื่อตามหนังสือสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏ ข้อ 4 ระบุว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งหมดคืนได้ทันทีถือได้ว่าระยะเวลา ซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นั้นเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไป หาใช่นับแต่วันครบกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ 5 มกราคม 2547 ที่โจทก์บอกเลิกสัญญาดังที่โจทก์ฎีกาไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2547 จึงเกิน 10 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5602/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย พิจารณา ณ วันยื่นฟ้อง แม้มีการเพิกถอนการขายทอดตลาดภายหลัง
การที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันหรือไม่ จะต้องพิจารณาในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีล้มละลายต่อศาล เมื่อปรากฏว่าก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีแพ่งโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดได้แล้วเช่นนี้ เมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเนื่องจากการฟ้องบังคับจำนองแล้ว จำนองย่อมระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 ดังนั้น ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันไม่จำต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 แต่อย่างใด แม้ต่อมาภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าว ก็หาทำให้โจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีล้มละลายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องมีบุริมสิทธิในมูลหนี้ที่ฟ้องคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) นั้น จะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในมูลหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย เมื่อมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย เป็นคดีที่โจทก์มิได้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 ได้จำนองที่ดิน 2 แปลงไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ในมูลหนี้อื่นที่โจทก์ฟ้องร้องเป็นคดีแพ่ง และอยู่ระหว่างบังคับคดี แต่โจทก์มิได้นำมูลหนี้ดังกล่าวมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายด้วย ดังนี้ โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกัน ไม่ต้องปฎิบัติตามมาตรา 10 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนในคดีล้มละลาย: การรอคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
โจทก์และจำเลยพิพาทกันตามสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการโรงแรมภายใต้ชื่อ (THANI) ซึ่งเดิมเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบริษัท ด. กับจำเลยและต่อมาได้โอนสิทธิให้โจทก์ มีข้อสัญญาเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการไว้ในข้อ 9 ว่า หากมีข้อโต้แย้งใดๆ เกิดขึ้นจากการตีความหรือเกี่ยวกับหน้าที่หรือความรับผิดชอบตามสัญญานี้ จะพยายามทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาระหว่างกันเองก่อน หากข้อโต้แย้งนั้นยังไม่อาจตกลงกันได้ ก็ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันใช้วิธีระงับข้อพิพาทตามสัญญาโดยให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 และโจทก์ได้นำข้อพิพาทเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดแล้ว ถ้าคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดข้อพิพาทอย่างไรก็จะมีผลผูกพันโจทก์จำเลยไปตามคำชี้ขาดนั้น ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มิใช่ผูกพันกันตามสัญญาที่พิพาทกันอยู่ ดังนั้นตราบใดที่คณะอนุญาโตตุลาการไม่มีคำชี้ขาดย่อมไม่อาจถือได้ว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ในระหว่างนี้โจทก์ยังฟ้องจำเลยให้ล้มละลายไม่ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากสัญญาและการระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการ: การฟ้องล้มละลายต้องรอคำชี้ขาด
โจทก์จำเลยตกลงกันใช้วิธีระงับข้อพิพาทตามสัญญาโดยให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ฯ และโจทก์นำข้อพิพาทเสนอต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อตัดสินชี้ขาดแล้ว ถ้าคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดข้อพิพาทไปอย่างไรก็จะมีผลผูกพันโจทก์จำเลยไปตามคำชี้ขาดนั้น ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มิใช่ผูกพันกันตามสัญญาเดิม ตราบใดที่คณะอนุญาโตตุลาการยังไม่มีคำชี้ขาดย่อมไม่อาจถือได้ว่าหนี้ตามสัญญานั้นเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์ยังฟ้องจำเลยให้ล้มละลายไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 9 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนในคดีล้มละลาย: ผลของการระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
โจทก์จำเลยตกลงกันใช้วิธีระงับข้อพิพาทตามสัญญาโดยให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ และโจทก์ได้นำข้อพิพาทเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดแล้ว ถ้าคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดข้อพิพาทไปอย่างไรก็จะมีผลผูกพันโจทก์จำเลยไปตามคำชี้ขาดนั้นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มิใช่ผูกพันกันตามสัญญาที่พิพาทกันอยู่นั้นแต่อย่างใด ดังนั้น ตราบใดที่คณะอนุญาโตตุลาการไม่มีคำชี้ขาดย่อมไม่อาจถือได้ว่า หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ในระหว่างนี้โจทก์ยังฟ้องจำเลยให้ล้มละลายไม่ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นายจ้างไม่ถือเป็นการเลิกจ้างลูกจ้าง สิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวจึงยังไม่เกิดขึ้น
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ไม่มีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ผู้เป็นนายจ้างกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วย ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้วลูกจ้างของลูกหนี้หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไป ดังนั้น แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ของลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของลูกหนี้อยู่ กรณียังไม่ถือว่ามีการเลิกจ้างเจ้าหนี้ในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 สิทธิในการรับเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงยังไม่เกิดขึ้นในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด หนี้ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงมิได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด จึงต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิค่าชดเชยเกิดขึ้นหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดมีผลเพียงทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการหรือกระทำการแทนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22, 24 หามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ผู้เป็นนายจ้างกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นลูกจ้างสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่ ทั้งในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้ได้รับอนุญาตให้ลางานเพื่อไปรับราชการทหาร โดยไม่ปรากฏว่ามีการเลิกจ้างเจ้าหนี้ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ดังนั้น กรณียังไม่ถือว่ามีการเลิกจ้างเจ้าหนี้ในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 หนี้ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงมิได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด จึงต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง สิทธิค่าชดเชยจึงไม่เกิดขึ้น
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด มีผลเพียงทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการหรือกระทำการแทน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 22 และ 24 หามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ผู้เป็นนายจ้างกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นลูกจ้างสิ้นสุดไปด้วยไม่ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้วลูกจ้างของลูกหนี้หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไป แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของลูกหนี้อยู่นั่นเอง กรณียังไม่ถือว่ามีการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 118 สิทธิในการรับเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงไม่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดและต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 94
of 11