พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญา: การพิสูจน์ปริมาณสารบริสุทธิ์ในยาเสพติดมีผลต่อบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีน 400 เม็ด น้ำหนัก 38.54 กรัม โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีน 400 เม็ด ที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด แม้โจทก์นำสืบถึงรายงานการตรวจพิสูจน์ตามเอกสารหมาย จ.1 ในชั้นพิจารณาก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่ปรากฏในชั้นพิจารณานั้นก็มิใช่ส่วนหนึ่งของคำฟ้อง จะนำมาประกอบคำฟ้องเป็นองค์ประกอบความผิดที่จะทำให้จำเลยที่ 1 รับโทษหนักขึ้นหาไม่ได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ญาติสนิท - พยานแวดล้อมน่าเชื่อถือ - รับสารภาพ - บังคับคดีตามศาลชั้นต้น
ส. พยานโจทก์เบิกความว่า พยานพบกับผู้เสียหาย ผู้เสียหายบอกว่าจำเลยลักสร้อยคอทองคำและพระเลี่ยมทองของผู้เสียหายไป ขอให้พยานช่วยทวงคืนให้พยานไปหาจำเลยและสอบถาม จำเลยรับว่าได้นำสิ่งของของผู้เสียหายไปจำนำไว้ เช้าวันรุ่งขึ้นพยานสอบถามจำเลยอีก จำเลยบอกว่าตั๋วจำนำอยู่ที่เพื่อน ประกอบกับ ช. และ น. พยานโจทก์อีกสองปากเบิกความตรงกันว่า ตอนเช้าวันที่ผู้เสียหายทราบว่าทรัพย์ของตนถูกลักไป จำเลยนำสร้อยคอและพระเลี่ยมทองของผู้เสียหายมาให้พยานทั้งสองดู และบอกว่าเก็บได้จากห้องน้ำหลังบ้าน พยานทั้งสองเป็นญาติสนิทกับผู้เสียหายและจำเลยพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน กับทั้งไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนจึงไม่มีเหตุที่จะเบิกความกลั่นแกล้งปรักปรำจำเลย ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของผู้เสียหาย นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ ง. และ ว. พยานอีกสองปากที่เบิกความว่าจำเลยเคยเล่าให้ฟังว่าเก็บสร้อยคอและพระเลี่ยมทองของผู้เสียหายได้ แต่ยังไม่คืนให้เพราะจะแกล้งผู้เสียหาย หากจำเลยไม่ได้ลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป จำเลยก็น่าจะปฏิเสธกับ ส. ตั้งแต่แรก แต่จำเลยกลับรับว่าเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปจำนำไว้ แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความยืนยันการกระทำผิดของจำเลย มีเพียงแต่พยานแวดล้อม แต่พยานโจทก์ทุกปากเบิกความไม่มีข้อพิรุธน่าสงสัย ทำให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนล่าช้าก็คงเป็นเพราะผู้เสียหายเป็นญาติสนิทกับจำเลย ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยหากได้ทรัพย์ที่ถูกลักไปคืน หาเป็นข้อพิรุธแต่อย่างใดไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยลักทรัพย์ผู้เสียหายตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2287/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายที่มิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งตาม กม.ล้มละลาย พ.ศ.2542 ต้องห้ามอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้มีคำสั่งว่าจำเลยมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญา ซื้อขายที่ดินของจำเลยตลอดจนมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้คืนโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยอันเป็นผลของการยกเลิกการล้มละลายนั้น มิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง ที่จะอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ทั้งไม่มีกรณีจำต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการต้องแสดงมูลค่าสินทรัพย์ที่แท้จริง การปรับลดมูลค่าโดยไม่สมเหตุผลทำให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์
การพิจารณาปัญหาว่าเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 (3) หรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาประกอบข้อมูลจากแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนรายการรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สินและภาระผูกพันต่าง ๆ ที่แท้จริงของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/42 (2) เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ในชั้นพิจารณาแผนว่าการลงรายการในแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนสินทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ถูกต้อง ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่นำสืบว่าแผนนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้วและศาลควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน
เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานใดแน่ชัดตามแผนฟื้นฟูกิจการและคำชี้แจงของผู้ทำแผนว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ของลูกหนี้ที่มีต่อบริษัทย่อยของลูกหนี้และบริษัทที่เกี่ยวข้องในทางบัญชีถือได้ว่าเป็นหนี้สูญที่ลูกหนี้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้วยังมิได้รับชำระ หรือเป็นหนี้สงสัยจะสูญที่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่ลูกหนี้คาดได้ว่ามิอาจเรียกเก็บได้แล้ว การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดมูลค่าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวจำนวน 607,652,315 บาท ให้เป็นศูนย์ทั้งหมด ทั้งที่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวยังคงเป็นสินทรัพย์ที่แม้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ยังอาจดำเนินการทวงหนี้และขอต่อศาลให้บังคับคดีบริษัทดังกล่าวชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 และมาตรา 119 จึงเป็นการปกปิดมูลค่าที่แท้จริงของกิจการลูกหนี้โดยการปรับลดสินทรัพย์ทางบัญชีซึ่งเมื่อรวมกับสินทรัพย์รายการอื่นที่ถูกกำหนดจำนวนเป็นศูนย์เช่นเดียวกันตามตารางผลตอบแทนในกรณีศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในแผนฟื้นฟูกิจการส่วนที่ 13 รายการสินทรัพย์ของลูกหนี้ที่กำหนดจำนวนเป็นศูนย์ในแผนทั้งหมดจึงมียอดเงินเป็นจำนวนมากรวม 662,201,701 บาท ทั้งผู้ทำแผนปรับลดสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นศูนย์แล้วมิได้กำหนดให้นำสินทรัพย์ดังกล่าวมาจัดสรรชำระหนี้ในแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมเป็นผลทำให้เจ้าหนี้ทุกกลุ่มได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการในอัตราส่วนที่น้อยกว่าปกติ และไม่อาจนำสินทรัพย์ที่มีการปรับลดโดยไม่ปรากฏเหตุผลอันสมควรดังกล่าวมาประมาณการเปรียบเทียบให้ถูกต้องได้ว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนใดกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว พยานหลักฐานของผู้ทำแผนจึงไม่มีน้ำหนักนำมารับฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 (3)
เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานใดแน่ชัดตามแผนฟื้นฟูกิจการและคำชี้แจงของผู้ทำแผนว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ของลูกหนี้ที่มีต่อบริษัทย่อยของลูกหนี้และบริษัทที่เกี่ยวข้องในทางบัญชีถือได้ว่าเป็นหนี้สูญที่ลูกหนี้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้วยังมิได้รับชำระ หรือเป็นหนี้สงสัยจะสูญที่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่ลูกหนี้คาดได้ว่ามิอาจเรียกเก็บได้แล้ว การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดมูลค่าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวจำนวน 607,652,315 บาท ให้เป็นศูนย์ทั้งหมด ทั้งที่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวยังคงเป็นสินทรัพย์ที่แม้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ยังอาจดำเนินการทวงหนี้และขอต่อศาลให้บังคับคดีบริษัทดังกล่าวชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 และมาตรา 119 จึงเป็นการปกปิดมูลค่าที่แท้จริงของกิจการลูกหนี้โดยการปรับลดสินทรัพย์ทางบัญชีซึ่งเมื่อรวมกับสินทรัพย์รายการอื่นที่ถูกกำหนดจำนวนเป็นศูนย์เช่นเดียวกันตามตารางผลตอบแทนในกรณีศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในแผนฟื้นฟูกิจการส่วนที่ 13 รายการสินทรัพย์ของลูกหนี้ที่กำหนดจำนวนเป็นศูนย์ในแผนทั้งหมดจึงมียอดเงินเป็นจำนวนมากรวม 662,201,701 บาท ทั้งผู้ทำแผนปรับลดสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นศูนย์แล้วมิได้กำหนดให้นำสินทรัพย์ดังกล่าวมาจัดสรรชำระหนี้ในแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมเป็นผลทำให้เจ้าหนี้ทุกกลุ่มได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการในอัตราส่วนที่น้อยกว่าปกติ และไม่อาจนำสินทรัพย์ที่มีการปรับลดโดยไม่ปรากฏเหตุผลอันสมควรดังกล่าวมาประมาณการเปรียบเทียบให้ถูกต้องได้ว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนใดกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว พยานหลักฐานของผู้ทำแผนจึงไม่มีน้ำหนักนำมารับฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลล้มละลายยกคำร้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าช่วงเป็นคำสั่งที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ยกคำร้องขอปฏิบัติตามสัญญาเช่าช่วงที่ดิน ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้คดีก่อนจำหน่ายเนื่องจากขาดนัด และจำเลยยังผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์เคยนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในคดีก่อน แต่โจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์แล้วโดยที่ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องดังกล่าว ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
นอกจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้เดิมที่มีต่อจำเลยโดยทำสัญญาซื้อขายสินทรัพย์กับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยชอบแล้ว จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่วินิจฉัยว่า ปรส. มีอำนาจในการขายสินทรัพย์จนกว่าคำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย จำเลยจึงเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวและเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้ว แม้จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวและคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ กรณีก็ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
นอกจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้เดิมที่มีต่อจำเลยโดยทำสัญญาซื้อขายสินทรัพย์กับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยชอบแล้ว จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่วินิจฉัยว่า ปรส. มีอำนาจในการขายสินทรัพย์จนกว่าคำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย จำเลยจึงเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวและเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้ว แม้จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวและคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ กรณีก็ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำคัดค้านในคดีล้มละลาย: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากประเด็นยังคงเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้แก้ไขคำคัดค้าน ศาลแพ่งมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้คัดค้านยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2546 ศาลแพ่งสั่งรับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2547 ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2548 ศาลแพ่งตรวจพบว่าผู้คัดค้านมิได้ใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ซึ่งไม่ถูกต้อง ให้เพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่ให้คืนคำร้องให้ผู้คัดค้านทำอุทธรณ์มาใหม่ภายใน 7 วัน ผู้คัดค้านนำอุทธรณ์มายื่นในวันที่ 27 มกราคม 2548 ถือได้ว่าผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์ก่อนวันที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ใช้บังคับ แต่ศาลแพ่งยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ จึงต้องบังคับตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ให้ถือว่าอุทธรณ์ของผู้คัดค้านเป็นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนเกิน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบถึงมูลเหตุเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยขอตัดข้อความเดิมในเรื่องอายุความทั้งหมดและแก้ไขใหม่เป็นว่า การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ต้องร้องขอภายใน 1 ปี นับแต่รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และ 240 โจทก์รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 จึงขาดอายุความ ประเด็นที่ผู้คัดค้านต่อสู้ตามคำคัดค้านที่ขอแก้ไขใหม่เป็นประเด็นเดียวกับที่ผู้คัดค้านต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง โดยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่อ้างว่าโจทก์ทราบถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 เท่านั้น และได้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้แก้ไขคำคัดค้าน
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนเกิน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบถึงมูลเหตุเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยขอตัดข้อความเดิมในเรื่องอายุความทั้งหมดและแก้ไขใหม่เป็นว่า การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ต้องร้องขอภายใน 1 ปี นับแต่รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และ 240 โจทก์รู้ถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 จึงขาดอายุความ ประเด็นที่ผู้คัดค้านต่อสู้ตามคำคัดค้านที่ขอแก้ไขใหม่เป็นประเด็นเดียวกับที่ผู้คัดค้านต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง โดยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่อ้างว่าโจทก์ทราบถึงมูลเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 เท่านั้น และได้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้แก้ไขคำคัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารต่างประเทศเป็นพยานหลักฐานได้ แม้ไม่มีคำแปล หากศาลไม่ได้สั่งให้แปล
เอกสารภาษาต่างประเทศที่โจทก์ยื่นต่อศาลโดยไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย แต่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวีธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทำคำแปลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7739/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์ แม้ตราประทับไม่ตรงกับที่จดทะเบียน หากมีลักษณะคล้ายคลึงและกรรมการลงชื่อถูกต้อง
แม้ตราที่ประทับของบริษัทโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจจะมิใช่ตราประทับอันเดียวกับตราที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่ก็มีรูปลักษณ์ ขนาดและตัวอักษรชื่อบริษัทโจทก์เช่นเดียวกับที่จดทะเบียนไว้ ทำให้สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นตราของโจทก์ เมื่อกรรมการ 2 ใน 5 คน ลงชื่อกระทำการแทนบริษัทโจทก์ตามข้อบังคับถูกต้อง หนังสือมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ใช้บังคับผูกพันโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินในคดีล้มละลาย: ศาลวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอนและกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
ในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดแรกวันที่ 29 เมษายน 2545 ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้ตรวจคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดิน ข้อคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสองแล้ว เห็นว่าพอวินิจฉัยได้ให้งดไต่สวนพยานทั้งสองฝ่าย นัดฟังคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีในวันที่ 24 พฤษภาคม 2545 เช่นนี้เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสอง มิได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 24 และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองมิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 (เดิม)
การกระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามบทบัญญัติมาตรา 114 (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 คือ ก่อนมีการฟ้องขอให้ล้มละลาย เมื่อการโอนที่ดินพิพาทในคดีนี้กระทำเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2538 จึงเป็นการโอนภายในระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย
การกระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามบทบัญญัติมาตรา 114 (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 คือ ก่อนมีการฟ้องขอให้ล้มละลาย เมื่อการโอนที่ดินพิพาทในคดีนี้กระทำเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2538 จึงเป็นการโอนภายในระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย