คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกษม วีรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8498/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย พยานหลักฐานสำคัญคือคำให้การและแผนที่สังเขป
แม้ขณะ นางสาว จ. เบิกความตอบอัยการโจทก์จะไม่มีนักจิตวิทยา แต่เมื่อนางสาว จ. เบิกความจบคำซักถามของอัยการโจทก์ นักจิตวิทยาได้เข้าร่วมพิจารณาและที่ปรึกษากฎหมายจำเลยและอัยการโจทก์ได้ถามค้านและถามติงพยานปากนี้ผ่านนักจิตวิทยาดังกล่าวโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดคัดค้าน คำเบิกความของนางสาว จ. จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคหนึ่ง (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8320/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาวุธปืน การรับสารภาพ และการลดโทษเหมาะสมกับพฤติการณ์
ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาและสอบถามจำเลยเรื่องทนายความกับอ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนปืนของเจ้าพนักงานประทับและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง, มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีฯ ส่วนฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปีฯ และฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาได้โดยไม่ต้องสืบพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่เสียไปแม้โจทก์จะยังมิได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8231/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอดีตสามี แม้เปลี่ยนฐานการฟ้องจากบันทึกข้อตกลงเป็น ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามบันทึกข้อตกลงเป็นเงิน 11,000 บาท และจ่ายจากเงินบำนาญครึ่งหนึ่ง หรือให้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันรับเงินบำเหน็จ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการแล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เต็มคำขอโดยตกลงว่า จำเลยยินยอมจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ 11,000 บาท และโจทก์จำเลยไม่ติดใจว่ากล่าวคดีสืบต่อไป ย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยเป็นเงิน 11,000 บาท โดยไม่ติดใจที่จะเรียกให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป ดังนี้ ที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ แม้ในคดีก่อนโจทก์จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอาศัยบันทึกข้อตกลงแต่มูลเหตุของการทำบันทึกข้อตกลงเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาของโจทก์จำเลยตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1461 วรรคสอง นั่นเอง แม้ในคดีก่อนโจทก์จะไม่อ้างบันทึกข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้อยู่แล้ว ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อนจึงเป็นประเด็นและเหตุเดียวกัน คือ การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7705/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก กรณีจอดรถกีดขวางทางและหลบหนีหลังเกิดเหตุ ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 78
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 11 และมาตรา 78 วรรคหนึ่ง ประสงค์ที่จะลงโทษผู้ขับรถในทางในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นโดยไม่เปิดโคมไฟให้แสงสว่าง และลงโทษผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที หาใช่กรณีประสงค์จะลงโทษผู้ขับรถที่จอดรถอยู่ไม่
จำเลยกระทำโดยประมาทจอดรถยนต์บนถนนกีดขวางทางจราจร ทั้งไม่ได้เปิดโคมไฟให้แสงสว่าง เพื่อแสดงว่ามีรถยนต์จอดอยู่ เป็นเหตุให้ผู้ตายและผู้เสียหายซึ่งขับรถจักรยานยนต์และซ้อนท้ายกันมาชนท้ายรถยนต์ของจำเลย แล้วจำเลยหลบหนีไป การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 11, 148 และมาตรา 78, 160 ตามที่โจทก์ฟ้อง ทั้งโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยขับรถโดยมีเครื่องอุปกรณ์ไม่ครบถ้วน ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 6 วรรคสอง ตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้องด้วยจึงไม่ถูกต้อง แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง, 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7705/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก: กรณีจอดรถกีดขวางการจราจร และการพิจารณาโทษจากส่วนประมาทของผู้ตาย
ความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ประสงค์ที่จะลงโทษผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางไม่ว่าจะกระทำโดยประมาทหรือไม่ก็ตาม และก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควรและพร้อมทั้งแสดงตัว และแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดรถอยู่ไม่
แม้จำเลยจะมีอาชีพรับจ้างขับรถบรรทุกและควรจะทราบดีว่าการกระทำของตนจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนน แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์โดยมีผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายมาด้วยความเร็ว เหตุที่เกิดขึ้นผู้ตายจึงมีส่วนประมาทอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยจึงไม่ร้ายแรงมากนัก ทั้งจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายผู้ตายและผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป ถือได้ว่าจำเลยได้พยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงสมควรให้รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับการครอบครองยาเสพติด และข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงคำแก้ฎีกา
คำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่ว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำนวน 112 เม็ด ของกลางนั้น คำแก้ฎีกาดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาเช่นนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7352/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถจักรยานยนต์ ชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณารอการลงโทษจำคุกจากเหตุผลหลายประการ
นอกจากจำเลยทั้งสองจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงลงจากสะพานแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ขับรถโดยฝ่าฝืนกฎจราจรอื่น หรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ร่วมใช้เส้นทางในการประการอื่นอีก ทั้งจุดที่เกิดการชนกันก็เป็นบริเวณช่องเดินรถตามปกติของจำเลยทั้งสองและเกิดขึ้นขณะที่ผู้ตายกำลังข้ามถนนในช่วงที่รถยนต์กำลังแล่นอยู่ ประกอบกับบริเวณที่เกิดเหตุแม้จะมีไฟฟ้าสาธารณะแต่ก็มีแสงสว่างค่อนข้างสลัว ดังนั้นแม้จะเกิดเหตุด้วยความประมาทของจำเลยทั้งสอง แต่ก็เป็นความประมาทที่ไม่ร้ายแรงนัก ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้พยายามบรรเทาความเสียหายให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายด้วยการชดใช้เงินให้บางส่วนแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน กรณีจึงมีเหตุสมควรปราณีโดยการรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 และเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า เหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสอง เป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งอันเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้เงินแก่ฝ่ายผู้เสียหายจำนวน 30,000 บาท และจำเลยที่ 1 มีอาชีพการงานเป็นหลักแหล่ง กับมีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาโดยให้รอการลงโทษไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7217/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตอกเสาเข็ม: ระยะเวลาคืนเงินประกันเมื่อจำเลยไม่ตรวจสอบความเสียหาย
การเปิดหน้าดินเพื่อตรวจสอบความเสียหายของเสาเข็มและการก่อสร้างอาคารเป็นขั้นตอนของงานที่จะต้องดำเนินการต่อหลังจากมีการตอกเสาเข็มเสร็จ ซึ่งแม้จะไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายว่าจะต้องดำเนินการเมื่อใด ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจกันได้ว่าจำเลยจะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควร มิฉะนั้นโจทก์จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการภายในระยะอันพอสมควรเพื่อเปิดหน้าดินและตรวจสอบความเสียหายนั้น จึงต้องถือว่าเสาเข็มที่โจทก์ตอกเสร็จแล้วไม่เกิดความเสียหาย จำเลยจึงต้องคืนเงินประกันให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7185/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ เพราะไม่ได้ยกเหตุผลเดิมในศาลชั้นต้น ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบกิจการค้าใช้ชื่อ "ร้านมะลิทองเภสัช" โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้จดทะเบียนพาณิชย์ระบุว่าเป็นผู้ประกอบกิจการพาณิชยกิจชนิดยาแผนปัจจุบัน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อซื้อสินค้าและชำระราคาให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ได้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หลายครั้งและโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสองครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ชำระราคาให้แก่โจทก์บางส่วน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าสินค้าที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าตามฟ้องจากโจทก์และไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้า พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ยกฟ้องจำเลยที่ 1 โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการดำเนินกิจการแทนตน โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตามข้ออ้างและคำขอบังคับในคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377: การชำระราคาที่ดินเป็นงวดไม่ใช่เงินมัดจำ สิทธิริบเบี้ยปรับ
คำว่า "มัดจำ" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 คือทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ไว้ในวันอื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญาโจทก์ผู้จะซื้อได้วางเงินมัดจำไว้ส่วนหนึ่งเป็นเงิน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือจำนวน 914,000 บาท จะชำระเป็นงวดรายเดือน จำนวน 10 เดือน ดังนั้น เงินที่วางมัดจำไว้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจึงมีเพียง 10,000 บาท เท่านั้น ส่วนเงินค่างวดที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยทั้งสามอีก 10 งวด เป็นเงิน 170,000 บาท นั้น แม้ตามสัญญาจะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำ ก็ไม่ใช่เงินมัดจำตามความหมายดังกล่าว แต่เป็นเพียงการชำระราคาที่ดินบางส่วน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสามบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 10,000 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) ส่วนเงินที่โจทก์ชำระค่าที่ดินบางส่วนดังกล่าว จำเลยทั้งสามต้องให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 แต่การที่โจทก์และจำเลยทั้งสามตกลงกันให้ริบเงินดังกล่าวได้ตามสัญญาข้อ 13 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ถ้าสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
of 28