คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกษม วีรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ การลงโทษ และการแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับการบังคับค่าปรับ
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 50 บาท แต่ ป.อ. มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวัน ฉะนั้น การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 จึงเป็นการไม่ถูกต้อง แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3966/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ขับรถเมาแล้วประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องลงโทษตามบทหนักสุด
การที่จำเลยขับรถยนต์สามล้อขณะเมาสุราอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม กับการที่จำเลยขับรถยนต์สามล้อด้วยความเร็วในขณะเมาสุราจนไม่สามารถควบคุมบังคับรถได้ตามปกติแซงรถจักรยานที่ผู้ตายขี่ ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์สามล้อของจำเลยเฉี่ยวชนรถจักรยานของผู้ตายและผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 นั้น เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลระงับสิทธิเรียกร้องเดิม ข้อตกลงเพิ่มเติมหลังคำพิพากษาเป็นสิทธิเรียกร้องใหม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบุตรว่าประพฤติเนรคุณ ขอถอนคืนการให้ที่ดินต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยและบุตรคนอื่นปลูกบ้านให้โจทก์ และเลี้ยงดูโจทก์โดยส่งเสียเงินให้โจทก์ตามฐานานุรูปของแต่ละคนรวมกันไม่ต่ำกว่าเดือนละ 4,000 บาท ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องถอนคืนการให้ของโจทก์ที่ฟ้องระงับสิ้นไป โจทก์คงได้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามศาลจะต้องบังคับคดีไปตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ส่วนข้อตกลงรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้บนที่ดินและจดทะเบียนโอนที่ดินคืนให้แก่โจทก์ตามรายงานกระบวนพิจารณานั้น เป็นข้อตกลงที่ทำขึ้นใหม่ภายหลังที่ศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ไม่อาจบังคับในคดีนี้ได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติโจทก์ต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอากับจำเลยแยกไปจากคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการร้องขอคืนของกลาง: แม้ใบมอบอำนาจระบุศาลผิดพลาด แต่หากยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาถูกต้อง ก็ถือว่ามีอำนาจดำเนินการได้
ใบมอบอำนาจของผู้ร้องมีข้อความว่าผู้ร้องขอมอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์ที่ถูกริบต่อศาลแขวงนครสวรรค์ในความผิด พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ โดยให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แทนผู้ร้องได้ แต่มิได้มีการระบุเลขคดีและชื่อคู่ความในคดีว่าเป็นผู้ใด ซึ่งในเรื่องนี้ ส. เบิกความตอบคำถามติงของทนายผู้ร้องรับว่าผู้ร้องมีคดีร้องขอคืนของกลางทั้งที่ศาลชั้นต้นและศาลแขวงนครสวรรค์ ผู้ร้องมอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องขอคืนของกลางโดยกระทำพร้อมกันหลายคดี ข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าผู้ร้องมอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องคดีนี้โดยระบุชื่อศาลในใบมอบอำนาจผิดพลาด และการร้องขอคืนของกลางก็เป็นสาขาคดีที่เจ้าของทรัพย์จะต้องยื่นต่อศาลที่มีคำสั่งให้ริบทรัพย์นั้นในคดีหลัก ดังนั้น แม้ใบมอบอำนาจที่ระบุชื่อศาลผิดพลาดไปแต่ได้มายื่นที่ศาลชั้นต้นที่มีอำนาจไต่สวนพิจารณาคำร้องของผู้ร้องตรงตามเจตนาที่แท้จริงของผู้ร้องว่ามอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางคดีนี้แล้ว ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต่อเนื่อง 90 วัน หลักฐานการเป็นสมาชิกต้องน่าเชื่อถือ
ทะเบียนสมาชิกหมายเลข 141781 ซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเป็นหมายเลขสมาชิกของผู้ร้องโดยใช้ชื่อเดิมคือ ส. มีร่องรอยการใช้สีขาวป้ายทับชื่อเดิมแล้วเขียนชื่อผู้ร้องแทน ทำให้ไม่สามารถมองเห็นชื่อเดิมได้ จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อเดิมที่ถูกลบไปนั้นเป็นชื่อ ส. จริงหรือไม่ และไม่มีลายมือชื่อผู้ทำการแก้ไข วัน เดือน ปี ที่ทำการแก้ไขกำกับไว้ จึงไม่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแก้ไขดังกล่าวได้ อันเป็นข้อพิรุธทำให้สมุดทะเบียนสมาชิกพรรคที่ผู้ร้องอ้างไม่น่าเชื่อถือ แม้บันทึกการตรวจสอบทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองจะแสดงว่าเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เข้าไปทำการตรวจสอบทะเบียนสมาชิกของพรรค ป. และผลการตรวจสอบสมาชิกพรรคแบบแบ่งเขตเลือกตั้งปรากฏว่ามีเพียง 5 รายซึ่งไม่ใช่ผู้ร้องที่ไม่มีเอกสารใบสมัครสมาชิก ทะเบียนสมาชิกหรือบัตรสมาชิก แต่เอกสารดังกล่าวเป็นการตรวจสอบภายหลังจากที่มีการประกาศรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จึงไม่อาจรับฟังว่าพรรค ป. ได้รับผู้ร้องเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2533 เมื่อพยานหลักฐานของผู้ร้องไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรค ป. นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้คัดค้านชอบที่จะไม่รับสมัครและไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2010/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 90 วัน - หลักฐานการสมัคร
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน คดีนี้ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรค ป. วันที่ 8 มกราคม 2529 โดยมีหลักฐานสำคัญที่ผู้ร้องแสดงต่อศาลคือ สำเนาทะเบียนรายชื่อสมาชิกพรรค สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิก และบันทึกผลการตรวจสอบทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง แต่ในสมุดทะเบียนสมาชิกพรรค ปรากฏว่าชื่อผู้ร้องมีรอยลบข้อความเดิม แล้วเขียนชื่อผู้ร้องขึ้นใหม่ โดยใช้หมึกที่แตกต่างจากชื่ออื่น และลายมือเขียนก็เป็นของคนละคนกัน ซึ่งไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงมีการแก้ไขชื่อผู้ร้องเช่นนั้น และมีการแก้ไขชื่อผู้ร้องดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด นับเป็นข้อพิรุธเกี่ยวกับข้อเท็จจริงการเป็นสมาชิกพรรค ป. ของผู้ร้อง แม้ผลการตรวจสอบสมาชิกพรรคแบบแบ่งเขตเลือกตั้งปรากฏว่ามีเพียง 5 ราย ซึ่งไม่ใช่ผู้ร้องที่ไม่มีเอกสารใบสมัครสมาชิก ทะเบียนสมาชิก หรือบัตรสมาชิกพรรคก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นการตรวจสอบเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ไม่อาจรับฟังได้ว่า พรรค ป. ได้รับผู้ร้องเป็นสมาชิกวันที่ 8 มกราคม 2529 จริงตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง สำหรับบัตรประจำตัวสมาชิกซึ่งผู้ร้องอ้างว่าบัตรเดิมสูญหาย จึงมีการจัดทำบัตรขึ้นใหม่ภายหลังจากที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว โดยวันที่ออกบัตร คือ วันที่ 8 มกราคม 2529 นั้น เป็นไปตามทางปฏิบัติของพรรค ป. จึงไม่อาจใช้เป็นหลักฐานแสดงว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรค ป. วันที่ 8 มกราคม 2549 ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง เมื่อข้อเท็จจริงไม่อาจรับฟังว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรค ป. ผู้ร้องจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมอาคาร: ความผิดฐานดัดแปลงอาคารต้องเป็นไปตามเงื่อนไขรื้อถอน ไม่ใช่โทษทางอาญาโดยตรง
กรณีที่จะมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามที่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 67 กำหนดโทษไว้นั้น จะต้องเป็นกรณีฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 (1) และคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใด ๆ ของอาคารตามมาตรา 40 (2) ส่วนกรณีตามมาตรา 40 (3) นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานพิจารณาเพื่อที่จะมีคำสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 ต่อไปภายหลังจากที่เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 (1) ไปแล้ว พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ไม่ได้บัญญัติไว้ในที่ใดว่า หากฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานตามมาตรา 41 ที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องแล้วจะต้องได้รับโทษทางอาญา คงบัญญัติเป็นเงื่อนไขไว้ในมาตรา 42 ว่าถ้าเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องตามมาตรา 41 ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้น ซึ่งหากเจ้าของอาคารฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารนี้โดยมิได้รื้อถอนภายในกำหนดก็จะมีโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 66 ทวิ ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องตามมาตรา 67 ประกอบมาตรา 40 (3) จึงไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับเป็นการลงโทษโดยมิชอบ กรณีจึงต้องยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องเสีย ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานในคดีก่อสร้าง จำเป็นต้องมีบทบัญญัติรองรับโดยตรง
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 67 จะต้องเป็นกรณีฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 (1) และคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใด ๆ ของอาคารตามมาตรา 40 (2) ส่วนกรณีตามมาตรา 40 (3) เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานพิจารณาเพื่อที่จะมีคำสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 ต่อไป ภายหลังจากที่เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 (1) ไปแล้ว พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าหากฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานตามมาตรา 41 ที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องแล้วจะต้องได้รับโทษทางอาญาคงบัญญัติเป็นเงื่อนไขไว้ในมาตรา 42 ว่าถ้าเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องตามมาตรา 41 ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้น ซึ่งหากเจ้าของอาคารฝ่าฝืนคำสั่งที่ให้รื้อถอนอาคารนี้โดยมิได้รื้อถอนอาคารภายในกำหนดก็จะมีโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 66 ทวิ ดังนั้น ที่ศาลลงโทษจำเลยฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องตามมาตรา 67 ประกอบมาตรา 40 (3) จึงไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับ เป็นการลงโทษโดยมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมแยกออกจากกัน คือ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของผู้ควบคุมอาคารได้ก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง, 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าในอาคารที่ก่อสร้างดัดแปลงเป็นความผิดตามมาตรา 40 (2), 67 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างดัดแปลงเป็นความผิดตามมาตรา 42, 66 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ดังนั้น เมื่อความผิดทั้งสามกระทงดังกล่าวเกิดขึ้นต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมลักทรัพย์: การส่งกุญแจและช่วยเหลือผู้กระทำผิดแสดงเจตนาในการร่วมกระทำความผิด
จำเลยกับ ส. เป็นเพื่อนสนิทกัน ก่อนเกิดเหตุ ส. เคยบอกจำเลยว่า ส. ไม่มีรถใช้ อยากได้รถจักรยานยนต์ไว้ใช้สักคัน ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบว่า ส. ประสงค์จะลักรถจักรยานยนต์มาใช้ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุแล้ว ขณะที่จำเลยกับ ส. พากันกลับไปที่ด้านหน้าบริษัท ย. ที่จำเลยจอดรถจักรยานยนต์ของตนไว้ ส. เห็นมีรถจักรยานยนต์หลายคันจอดอยู่ในบริเวณดังกล่าว ส. ได้บอกจำเลยว่าอยากได้รถจักรยานยนต์ไปใช้สักคัน ดังนั้น การที่จำเลยส่งกุญแจรถจักรยานยนต์ให้แก่ ส. ไปทดลองไขดูและยังยืนอยู่ในที่เกิดเหตุพร้อมที่จะช่วยเหลือ ส. ได้ทันที ทั้งเมื่อ ส. ใช้กุญแจไขและติดเครื่องรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายได้แล้ว จำเลยกับ ส. ก็ขับรถจักรยานยนต์หลบหนีออกไปจากที่เกิดเหตุพร้อมกัน นอกจากนี้เมื่อพากันกลับไปถึงที่ทำงานของ ส. แล้ว ส. ยังได้พูดขอจำเลยเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไว้ใช้เอง ตามพฤติการณ์จึงถือได้ว่า จำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กับ ส. ด้วย มิใช่เป็นผู้ใช้หรือเป็นเพียงผู้สนับสนุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. – การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต่อเนื่อง 90 วัน – พยานหลักฐานไม่สอดคล้อง
ผู้ร้องแถลงว่าได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2548 หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าอนุมัติให้เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าหมายเลขสมาชิก 011400 และขึ้นทะเบียนสมาชิกพรรคไว้แล้วเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 นั้น หากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้าง หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าก็น่าจะระบุชื่อผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าคนหนึ่งในจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองที่เพิ่มขึ้นในรอบปี 2548 ที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 เนื่องจากได้ขึ้นทะเบียนผู้ร้องเป็นสมาชิกไว้แล้ว และทะเบียนสมาชิกพรรคดังกล่าวเป็นหน้าที่ของหัวหน้าพรรคการเมืองที่จะต้องจัดทำให้ตรงตามความเป็นจริงและเก็บรักษาไว้ ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคการเมือง และพร้อมที่จะให้นายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตรวจสอบได้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง ส่วนที่อ้างว่าหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าไม่ได้ระบุชื่อผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าที่เพิ่มขึ้นในรอบปี 2548 เนื่องจากใบสมัครสมาชิกพรรคบางส่วนซึ่งมีใบสมัครสมาชิกพรรคของผู้ร้องอยู่ด้วยหาไม่พบระยะหนึ่งเนื่องจากมีการย้ายที่ทำการพรรคนั้น เป็นคำแถลงที่ไม่ประกอบด้วยเหตุผล เพราะหากมีการขึ้นทะเบียนผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 ตามที่อ้างจริง แม้จะหาใบสมัครสมาชิกพรรคไม่พบก็น่าจะแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นในรอบปี 2548 โดยอาศัยทะเบียนสมาชิกพรรคได้ ข้ออ้างและพยานหลักฐานของผู้ร้องจึงมีพิรุธไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้านับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องไม่มีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)
of 28