พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานประกอบกิจการ/ดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นกรรมต่างกัน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษ
ความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลและความผิดฐานดำเนินการสถานพยาบาล แม้จะมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 57 ด้วยกัน แต่กฎหมายได้บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดทั้งสองกรณีแยกจากกันตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง กรณีหนึ่ง และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง อีกกรณีหนึ่ง โดยมีหลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลและใบอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาลที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นได้ชัดว่าการกระทำความผิดในแต่ละฐานความผิดดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำประกอบด้วยเจตนาต่างกัน สามารถแยกเป็นส่วนต่างหากจากกันได้ ซึ่งหากมีการกระทำฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษเป็นแต่ละกรณีไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่ศาลล่างลงโทษจำเลยเป็นกรรมเดียวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม: ผู้ตายมีส่วนประมาท ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาแทน
เหตุเกิดรถชนกันผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่บ้าง ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดตาม ป.อ. 291 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุพการีผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามมาตรา 5 (2) โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา 30 โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จึงไม่ชอบ และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยมาโดยไม่ชอบจำเลยก็ฎีกาไม่ได้ เนื่องจากเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความความผิดฐานขับรถโดยประมาทและหลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดงผ่านทางร่วมทางแยกเป็นเหตุให้พุ่งเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายที่ 1 ขับ ทำให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหน้า กระดูกเบ้าตาแตกยุบ ลูกนัยน์ตาทั้งสองข้างชอกช้ำมาก สูญเสียลูกนัยน์ตาซ้ายอย่างถาวร (ตาบอด) อันเป็นอันตรายสาหัส และภายหลังที่จำเลยกระทำความผิดดังกล่าว จำเลยไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่ไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส ดังนี้ คำบรรยายฟ้องดังกล่าวยังไม่อาจรับฟังว่าการหลบหนีของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส เนื่องจากผู้เสียหายที่ 1 ต้องได้รับอันตรายสาหัสโดยสูญเสียลูกนัยน์ตาตั้งแต่ขณะถูกรถชนแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง แต่เป็นความผิดตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่โดยตรง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ เมื่อขณะที่จำเลยทั้งสองมาเอารถยนต์แท็กซี่จากโจทก์ไป จำเลยที่ 2 แต่งเครื่องแบบตำรวจเท่านั้น ทั้งตามฎีกาโจกท์ยังยอมรับด้วยว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีอำนาจหน้าที่จะต้องทำแสดงว่าการไปเอารถยนต์แท็กซี่จากโจทก์นั้น มิใช่การกระทำที่เกี่ยวกับหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดสืบพยานในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องโต้แย้งทันที หากไม่ทำจะถูกห้ามอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งห้า เนื่องจากเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ข้อหาความผิดต่อเจ้าพนักงานและยักยอกทรัพย์ การพิพากษาคดีส่วนแพ่งคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับจำนองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์คดีนี้ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าคดีนี้มิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และคดีดังกล่าวศาลยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบ เพียงแต่วินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นจะนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีดังกล่าวมารับฟังในคดีนี้ไม่ได้เพราะยังมีข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำพยานเข้าสืบว่าจำเลยทั้งห้าต้องร่วมกันคืนทรัพย์แก่โจทก์หรือไม่ ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ (ที่ถูกยก) คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้ใหม่โดยให้โจทก์และจำเลยทั้งห้านำพยานเข้าสืบต่อไปนั้น อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากศาลอุทธรณ์เห็นด้วยก็จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งห้าต่อไป เมื่อคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์จึงต้องโต้แย้งคำสั่งไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใดจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ (ที่ถูกยก) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา มิได้ขอให้โจทก์ชนะคดีตามคำฟ้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ (ที่ถูกยก) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา มิได้ขอให้โจทก์ชนะคดีตามคำฟ้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: ขับรถเมาแล้วชนท้ายคันหน้า
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม กับการที่จำเลยขับรถตามหลังรถคันอื่นด้วยความเร็วในระยะกระชั้นชิดจนหยุดรถไม่ทันในขณะเมาสุรา ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยไปชนรถยนต์บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4), 157 เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงให้รถยนต์ดังกล่าวได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้การกระทำความผิดดังกล่าวจะเป็นการกระทำความผิดที่ต้องมีเจตนาและไม่มีเจตนา กับบทลงโทษบัญญัติไว้คนละมาตรา ก็ไม่ทำให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ขับรถเมาแล้วชนท้าย, ความผิดเกี่ยวเนื่อง, ไม่เป็นหลายกรรม
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม กับขับรถตามหลังรถคันอื่นด้วยความเร็วในระยะกระชั้นชิดจนหยุดรถไม่ทันในขณะเมาสุรา ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยไปชนรถยนต์ได้รับความเสียหาย อันเป็นความผิดตามมาตรา 43 (4), 157 เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงให้รถยนต์คันดังกล่าวได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้การกระทำความผิดดังกล่าวจะเป็นการกระทำความผิดที่ต้องมีเจตนาและไม่มีเจตนา กับบทลงโทษบัญญัติไว้คนละมาตราก็ไม่ทำให้เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดียาเสพติดของเยาวชน: การปฏิบัติตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมามีกำหนด 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย (ไม่ริบของกลาง) ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ใช้บังคับเฉพาะกรณีสอบปากคำจำเลยเท่านั้น ไม่ได้ใช้บังคับในการรวบรวมพยานหลักฐานอื่น ๆ ด้วย ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนนำตัวจำเลยไปชี้ที่เกิดเหตุโดยไม่มีบุคคลต่าง ๆ อยู่ด้วย กับไม่มีการบันทึกภาพและเสียงของจำเลยในขณะให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนนั้นการสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันทรัพย์สินเกินกว่าเหตุ: การใช้ไฟฟ้าแรงสูงป้องกันแตงโมเกินสมควร
โจทก์บรรยายฟ้องไว้โดยชัดแจ้งว่าเด็กชาย ค. เข้าไปลักแตงโมในไร่ของจำเลย และจำเลยได้ต่อและปล่อยกระแสไฟฟ้าจากบ้านพักผ่านรั้วลวดหนาม เป็นเหตุให้เด็กชาย ค. ซึ่งสัมผัสรั้วลวดหนามถูกกระแสไฟฟ้าดูดจนถึงแก่ความตาย และจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติได้ตามคำฟ้องของโจทก์ ดังนี้ การที่ผู้ตายเข้าไปลักแตงโมในไร่ของจำเลยดังกล่าว ถือได้ว่าผู้ตายได้กระทำการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายต่อทรัพย์ของจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิที่จะป้องกันทรัพย์สินของตนเองได้ แต่การที่จำเลยต่อและปล่อยกระแสไฟฟ้าซึ่งมีแรงเคลื่อนสูงถึง 220 โวลท์ ที่สามารถทำให้ดูดคนให้ถึงแก่ความตายได้ ทั้งที่ทรัพย์ที่จำเลยมีสิทธิกระทำการป้องกันคือแตงโมมีราคาไม่สูงมากนัก ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำตาม ป.อ. มาตรา 69 ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ และมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ฎีกา แต่ศาลฎีกายกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กำลังป้องกันทรัพย์สินเกินสมควร การกระทำเกินกว่ากรณีจำต้องกระทำตามกฎหมาย
ผู้ตายเข้าไปลักแตงโมในไร่ของจำเลยเป็นการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายต่อทรัพย์ของจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิที่จะป้องกันทรัพย์สินของตนได้ แต่การที่จำเลยต่อและปล่อยกระแสไฟฟ้าซึ่งมีแรงเคลื่อนสูงถึง 220 โวลท์ ที่สามารถดูดคนให้ถึงแก่ความตายได้ ทั้งที่ทรัพย์ที่จำเลยมีสิทธิกระทำป้องกันคือแตงโมมีราคาไม่สูงมากนัก ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำตาม ป.อ. มาตรา 69