คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกษม วีรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7451/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกและปรับตามกฎหมายอาญา, การบวกโทษรอการลงโทษ, และขอบเขตการเพิ่มโทษปรับ
การเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 จะเพิ่มโทษได้เฉพาะโทษจำคุกเท่านั้น เมื่อจำเลยกระทำความผิดและศาลเพียงแต่ลงโทษปรับ จึงเพิ่มโทษปรับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7349/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำคุกตาม ป.อ.มาตรา 56 พิจารณาจากโทษจำคุกในคดีก่อน ไม่ใช่ประเภทความผิด
บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 56 มีความหมายว่า ผู้ที่กระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกและศาลลงโทษจำคุกไม่เกินสามปี ศาลจะรอการลงโทษได้ก็ต่อเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อนคดีที่ศาลจะมีคำพิพากษา เว้นแต่เป็นโทษจำคุกสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ แสดงว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่คำนึงถึงการลงโทษจำคุกในคดีก่อนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้กระทำความผิดที่เคยได้รับโทษจำคุกมาแล้วและหวนกลับมากระทำความผิดอีกเข็ดหลาบไม่กล้ากระทำความผิดอีกอันเป็นการป้องปรามผู้กระทำความผิด และบทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่าความผิดที่ศาลจะลงโทษในคดีหลังต้องเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยเจตนา จึงไม่อาจตีความได้ว่าการกระทำความผิดในคดีหลังต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนจำเลยได้รับโทษจำคุกในความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยโดยให้เหตุผลว่ากรณีของจำเลยไม่อาจรอการลงโทษได้ตาม ป.อ. มาตรา 56 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7349/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56: การพิจารณารอการลงโทษจำคุกสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำ โดยไม่จำกัดประเภทความผิด
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มีเจตนารมณ์ที่คำนึงถึงการลงโทษจำคุกในคดีก่อนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้กระทำความผิดที่เคยได้รับโทษจำคุกมาแล้วและหวนกลับมากระทำความผิดอีกเข็ดหลาบไม่กล้ากระทำความผิดอีกอันเป็นการป้องปรามผู้กระทำความผิด และบทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่าความผิดที่ศาลจะลงโทษในคดีหลังต้องเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยเจตนา จึงไม่อาจตีความได้ว่าการกระทำความผิดในคดีหลังต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาเท่านั้น แม้การกระทำความผิดในคดีหลังจะเป็นการกระทำความผิดโดยประมาท ศาลจะไม่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แต่ความผิดฐานบุกรุกยังคงมีผลบังคับใช้
แม้ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์จะเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลล่างลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดและความผิดฐานดังกล่าวไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 358 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6234/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาคดีอาญา – ศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน
คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีผู้พิพากษานายเดียวลงนามให้จำคุกจำเลย 1 ปี ในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ซึ่งจะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6226/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินทดรองจากบัตรเครดิต: เริ่มนับจากวันผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์และประกอบธุรกิจให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ โดยสมาชิกสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้แทนเงินสดในการชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ ให้แก่ร้านค้าหรือสถานบริการที่เป็นสมาชิกของโจทก์ เมื่อร้านค้าหรือสถานบริการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการจากการใช้บัตรเครดิต โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินภายหลังจากสมาชิก การประกอบธุรกิจดังกล่าวมีลักษณะเป็นการทำกิจการงานให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการซื้อสินค้าและการใช้บริการ ส่วนการให้สมาชิกเบิกเงินสดล่วงหน้าด้วยบัตรเครดิตถือเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าวซึ่งโจทก์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการในการเบิกเงินสดล่วงหน้าด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก การที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนก็ดีหรือให้สมาชิกเบิกเงินสดล่วงหน้าแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลังก็ดี ถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไป การฟ้องเรียกเงินทดรองของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6006/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่ & การขออนุญาตสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์: เงื่อนไขและข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
อุทธรณ์ของผู้ร้องได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้ว ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงอื่นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น การที่ผู้ร้องได้กล่าวอ้างถึงสำเนาสูติบัตรที่ได้มาภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา มิใช้เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องอ้างเอกสารเพิ่มเติมเพื่อให้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เท่านั้น อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 แล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (2) ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้อุทธรณ์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ผู้ร้องขอพิสูจน์สัญชาติและอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าเอกสารท้ายคำร้องเป็นเอกสารที่ผู้ร้องติดตามได้มาภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดี และเป็นเอกสารสำคัญที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องเกิดในประเทศไทยเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารเพิ่มเติม จะต้องทำเป็นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นพร้อมกับบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวตามมาตรา 88 วรรคสาม ศาลจึงจะวินิจฉัยได้ว่าสมควรอนุญาตหรือไม่ เมื่อผู้ร้องเพียงอ้างในอุทธรณ์ว่ามีสำเนาสูติบัตรเอกสารท้ายอุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเอกสารดังกล่าวและพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานดังกล่าวและบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนา ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้ผู้ร้องอ้างพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ได้ ทำให้คดีไม่มีพยานหลักฐานใหม่ จึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามมาตรา 240 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6006/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย มิเช่นนั้นศาลไม่มีอำนาจรับพิจารณา
การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารเพิ่มเติมโดยอ้างว่าเพิ่งค้นพบภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจะต้องทำเป็นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม ศาลจึงจะวินิจฉัยได้ว่าสมควรอนุญาตตามคำร้องหรือไม่ แต่คดีนี้ผู้ร้องเพียงอ้างระบุในอุทธรณ์ว่ามีสำเนาสูติบัตร ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเอกสารดังกล่าวและมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานดังกล่าวและมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนา ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้ผู้ร้องอ้างพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ได้ ทำให้คดีไม่มีพยานหลักฐานใหม่ ไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 กรณีทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่า 200,000 บาท แม้เป็นการฎีกาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้จำนวน 69,956.72 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 54,596.43 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์อุทธรณ์โดยขอให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ฎีกาว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ไม่จงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลชั้นต้น อันจะเป็นการทิ้งฟ้อง ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้จะเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพาทตามคำฟ้อง คำให้การ ฟ้องแย้ง และคำให้การแก้ฟ้องแย้งก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 69,956.72 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เมื่อไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากการเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ฎีกาคัดค้านคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ อ้างเหตุว่าไม่จงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลชั้นต้นอันจะเป็นการทิ้งฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง แม้จะเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพากษาตามคำฟ้อง คำให้การ ฟ้องแย้งและคำให้การแก้ฟ้องแย้ง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามตามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 28