พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5730/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังพ้นกำหนด: เหตุสุดวิสัย vs. ความประมาทเลินเล่อของทนาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 ครบกำหนดอุทธรณ์วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 ในวันครบกำหนดอุทธรณ์จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 19 มีนาคม 2547 ต่อมาวันที่ 22 มีนาคม 2547 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะอุทธรณ์แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์พร้อมยื่นอุทธรณ์อ้างเหตุว่าเป็นความผิดของทนายความที่ไม่ได้ติดตามดูสำนวนให้จำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นควรอนุญาตให้ตามขอ และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย กรณีของจำเลยดังกล่าวเป็นกรณีที่ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดแล้ว ซึ่งจำเลยจะขอขยายระยะเวลาได้เฉพาะในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ทนายจำเลยไม่ได้ติดตามดูสำนวนให้จำเลยเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วได้ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 22 มีนาคม 2547 จึงเกินกำหนดระยะเวลาขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยและที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยก็ไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเจ้าหนี้เรียกร้องจากทายาทหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้ถึงการเสียชีวิต
นอกจากโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นการสบคบกันฉ้อฉลเพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้อง โจทก์ยังฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ ส. เจ้ามรดกได้ทำไว้กับโจทก์ด้วย จึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ฟ้องร้องคดีนี้หลังจากได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกเกินกว่า 1 ปี แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามสัญญากับทายาท: สิทธิของทายาทและผู้รับโอนที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ส. เจ้ามรดกให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ ส. ทำไว้กับโจทก์ จึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755 วรรคสาม มีอายุความ 1 ปี เมื่อโจทก์ฟ้องคดีหลังจากได้รู้ถึงความตายของ ส. เกินกว่า 1 ปี แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท จึงมีสิทธิยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้ได้ตามมาตรา 1755 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5648/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีโดยมิชอบ แม้ตามกฎหมายจะไม่อนุญาตให้ขอพิจารณาคดีใหม่ได้ ศาลฎีกาเห็นว่ากระทบความสงบเรียบร้อย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 กันยายน 2541 โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่มาศาล ส่วนจำเลยที่ 3 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าทนายจำเลยที่ 3 ป่วยเป็นไข้หวัดไม่อาจมาศาลได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ให้จำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์นั้นเป็นการสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 (เดิม) ซึ่งมีผลห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ และมิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งโดยผิดหลงตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอพิจารณาคดีใหม่ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องของโจทก์ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนคำร้องและให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีแล้วนัดสืบพยานโจทก์ต่อไป ซึ่งมีผลเท่ากับให้โจทก์มีโอกาสนำพยานเข้าสืบใหม่ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 (เดิม) การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นมานั้นย่อมไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทจำกัดตามคำให้การ การนำสืบพยานนอกเหนือข้อต่อสู้ต้องห้าม
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่าไม่เคยกู้เงินและทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ โดยมิได้ให้การต่อสู่ว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์แล้ว ดังนี้คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว แม้จำเลยทั้งสองจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบก็เป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การปฏิเสธหนี้และการนำสืบพยานหลักฐานนอกประเด็นข้อต่อสู้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่าไม่เคยกู้เงินและทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์แล้ว ดังนี้คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว แม้จำเลยทั้งสองจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบก็เป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5355/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษอาญาตามกฎหมายใหม่และการใช้คำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐาน
คดีนี้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และเมื่อฟังพยานโจทก์จนพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริงก็พิพากษาลงโทษจำเลย เมื่อจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ต้องวินิจฉัยตามข้ออ้างข้อเถียงในอุทธรณ์ของจำเลยว่ามีเหตุผลให้รับฟังหรือไม่ และเมื่อรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใดแล้ว หากปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีกฎหมายที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 หามีกรณีต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งหากอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกไม่เกิน 5 ปี จะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพของจำเลยโดยไม่ต้องพิจารณาพยานโจทก์ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน 18 ปี และการแก้ไขคำพิพากษาเดิมเมื่อจำเลยพ้นสภาพผู้เยาว์ รวมถึงการริบของกลาง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จนกว่าจำเลยจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยมีอายุครบ 18 ปีแล้ว จึงไม่อาจส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74 (5) ได้ จึงเห็นควรมอบตัวจำเลยให้บิดามารดาจำเลยโดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาจำเลยปฏิบัติตามและกำหนดวิธีการดำเนินการและเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 80, 288, 371 และขอให้ริบปลอกมีดของกลาง แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และการริบทรัพย์สินของกลางไม่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 เมื่อปลอกมีดของกลางเป็นส่วนประกอบของมีดที่จำเลยใช้กระทำความผิด จึงให้ริบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 80, 288, 371 และขอให้ริบปลอกมีดของกลาง แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และการริบทรัพย์สินของกลางไม่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 เมื่อปลอกมีดของกลางเป็นส่วนประกอบของมีดที่จำเลยใช้กระทำความผิด จึงให้ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกซ้ำและการไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทิน เนื่องจากประวัติเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ก่อนคดีนี้ จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 20 ปี ในความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้อาวุธปืนและยานพาหนะ เป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4881/2536 ของศาลชั้นต้น ปัจจุบันจำเลยอยู่ในระหว่างการพักการลงโทษและจะพ้นโทษและพ้นจากการพักการลงโทษในวันที่ 22 กรกฎาคม 2547 อันเป็นวันภายหลังวันที่ 10 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 จะมีผลบังคับใช้กับจำเลยได้ จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเลยยังคงเป็นผู้ที่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 ที่ศาลฎีกาจะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าทดรองจ่ายในสัญญาจ้างทำของ: ผู้ว่าจ้างเรียกเงินจากผู้รับจ้าง ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้ก่อสร้างถนน สัญญาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของโจทก์ได้ออกเงินชำระ ค่าของที่ใช้ในการก่อสร้างให้แก่ร้านค้าแทนจำเลยไปก่อน แล้วโจทก์นำเงินดังกล่าวมาหักกับค่าจ้างที่จำเลยจะได้รับจากโจทก์ จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ โจทก์จึงขอบังคับให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวคืน ดังนี้ มิใช่เรื่องที่โจทก์เป็น ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้รับจ้างเรียกเงินที่ตนได้ทดรองจ่ายไปในการทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้างจาก ผู้ว่าจ้างตามมาตรา 193/34 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี แต่กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างเรียกเงินที่ตนได้ทดรองจ่ายแทนผู้รับจ้างไปจากผู้รับจ้าง ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30