พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านที่ได้รับการรับรอง และการพิสูจน์บุคคลตามชื่อในสัญญา
สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งมีนายทะเบียนอำเภอรับรองถูกต้อง ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง กรณีจึงไม่จำเป็นต้องนำพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับรองสำเนานั้นมาเป็นพยานเบิกความรับรองอีก และแม้โจทก์เพิ่งส่งต่อศาลเมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ส่งเป็นพยานหลักฐานต่อศาล จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดบริษัทเพื่อหลอกลวงทำสัญญา และความผิดสัญญาพัฒนาที่ดิน
ในวันที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัตนาที่ดินกับจำเลย จำเลยได้จัดการให้โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างรั้วกับบริษัท ค. โดยทำที่สำนักงานของจำเลย ซึ่งสัญญาทั้งหมดมี พ. ผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้าของจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะผู้จะขายและผู้รับจ้างทั้งสองสัญญา นอกจากนี้จำเลยและบริษัท ค. มีกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นบุคคลชุดเดียวกัน และในการทำสัญญาจองที่ดินก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทำสัญญาก่อสร้างรั้วกับบริษัท ค. โจทก์เพิ่งรู้จักชื่อบริษัท ค. ในวันเดียวกับวันทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินกับจำเลย ดังนั้น โจทก์และลูกค้ารายอื่นย่อมีเหตุผลเชื่อว่า จำเลยและบริษัท ค. ได้ร่วมประกอบธุรกิจหาผลประโยชน์ในกิจการเดียวกัน ฟังได้ว่า จำเลยได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญว่าจ้างก่อสร้างรั้ว โจทก์จึงหลงผิดเข้าทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างรั้วโดยเชื่อว่าบริษัท ค. ร่วมประกอบธุรกิจกับจำเลยจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบริษัท ค. เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821
สัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ชำระค่างวดให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่พัฒนาที่ดินโดยการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกตามสัญญา ถึงแม้สัญญาจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาการพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จไว้โดยชัดเจนก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าจำเลยจะดำเนินการให้เสร็จเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ความพอใจของจำเลย โจทก์ชำระค่างวดให้จำเลยไปแล้ว 499,900 บาท และนับแต่ทำสัญญาจนถึงวันที่โจทก์มีหนังสือขอคืนเงินมัดจำเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2541 เป็นเวลา 2 ปีเศษ จำเลยยังไม่สามารถพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จ ทั้งๆ ที่จำเลยโฆษณาไว้ว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2540 ถือว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ชำระค่างวดให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่พัฒนาที่ดินโดยการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกตามสัญญา ถึงแม้สัญญาจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาการพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จไว้โดยชัดเจนก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าจำเลยจะดำเนินการให้เสร็จเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ความพอใจของจำเลย โจทก์ชำระค่างวดให้จำเลยไปแล้ว 499,900 บาท และนับแต่ทำสัญญาจนถึงวันที่โจทก์มีหนังสือขอคืนเงินมัดจำเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2541 เป็นเวลา 2 ปีเศษ จำเลยยังไม่สามารถพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จ ทั้งๆ ที่จำเลยโฆษณาไว้ว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2540 ถือว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์โดยปริยายจากการปล่อยให้บุตรใช้รถเป็นเวลานาน โดยศาลพิจารณาเจตนาการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
การที่ผู้ร้องมิได้ทักท้วงในกรณีที่ผู้ขายใส่ชื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลาง และปล่อยให้จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางจนถึงวันเกิดเหตุซึ่งเป็นเวลานานถึงประมาณ 11 เดือน โดยในระหว่างนั้นจำเลยที่ 2 ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางขับไปเรียนหนังสือนั้น แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้ร้องมีเจตนาที่จะยกรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เป็นยานพาหนะในการไปศึกษาเล่าเรียน อันถือได้ว่าเป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลาง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลยกฟ้องคดีที่ประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์ที่ 1 กับ ม. เป็นโจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 ม. และ ป. แต่ จ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับโจทก์ที่ 1 และ ม. ได้ไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นชื่อของ จ. โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าได้มาโดยการรับมรดกจากบิดามารดา เมื่อ จ. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ได้โอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองและให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท หากเพิกถอนไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ทั้งสองและเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ จ. โดย ป. ยกให้ ต่อมา จ. ขายให้แก่จำเลยที่ 2 แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนเนื่องจากจำเลยที่ 2 ชำระราคาไม่ครบถ้วน หลังจาก จ. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 ได้ชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของ จ. โดย ป. ยกให้ เมื่อ จ. ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทตกได้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาท จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ คดีถึงที่สุดแล้วผลของคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความคือโจทก์ที่ 1 และ ม. รวมทั้งโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ม. ในฐานะทายาทโดยธรรมมิให้โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกับจำเลยทั้งสองอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้อีกก็เพื่อต้องการให้พิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทกันอีกครั้งหนึ่ง ถือว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำตามมาตรา 148 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์เนื่องจากไม่มาศาลตามกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 220 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มาศาลตาม ป.วิ.อ. มาตา 166 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาลตามกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 220 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มาศาลตามมาตรา 166 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้เงินปลอม: สัญญาที่ไม่ได้รับความยินยอมไม่ใช้เป็นหลักฐานได้
จำเลยกู้เงินโจทก์จำนวน 10,000 บาท และได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบไว้ให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้กรอกข้อความและจำนวนเงินในหนังสือสัญญากู้เงินว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 300,000 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยสัญญากู้เงินตามฟ้องจึงเป็นเอกสารปลอม โจทก์จึงไม่อาจอ้างเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความหลังเกิดเหตุทำให้สิทธิฟ้องอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ระงับ
กระจกบานเกล็ดหน้าต่างที่จำเลยทำแตกเสียหายเป็นทรัพย์สินของ อ. เจ้าของหอพัก ซึ่งหลังเกิดเหตุจำเลยได้นำกระจกบานเกล็ดมาเปลี่ยนแทนบานเกล็ดที่แตก โดยความรับรู้ของ ส. สามีของ อ. ซึ่งเป็นผู้ดูแลหอพัก และจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ส. เป็นเงิน 500 บาท แล้ว แสดงว่า จำเลยกับเจ้าของหอพักซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เสียหายได้ยอมความกันโดยชอบมาแต่แรกหลังเกิดเหตุ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์จึงระงับไปตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ซึ่งบัญญัติไว้เป็นสาระสำคัญว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ผู้เสียหายย่อมไม่มีสิทธิร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: บุกรุกเพื่อข่มขืน ไม่ถือเป็นอนาจาร
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยกับพวกบุกรุกเคหสถานของผู้เสียหายที่ 1 และจำเลยไปพบผู้เสียหายที่ 2 จำเลยกับพวกจึงกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยบรรยายแยกการกระทำของจำเลยออกเป็นหลายกรรมต่างกัน และจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยกับพวกบุกรุกเคหสถานของผู้เสียหายที่ 1 เป็นไปโดยมีเจตนากระทำการอย่างอื่น นอกจากข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยกับพวกบุกรุกเคหสถานของผู้เสียหายที่ 1 ตามฟ้องจึงเป็นไปโดยมีเจตนาข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 เท่านั้น การกระทำของจำเลยกับพวกตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนทั้งสองข้างของผู้เสียหายที่ 2 ชูไว้บนศีรษะ กดให้ผู้เสียหายที่ 2 นอนหงาย และใช้มือปิดปากผู้เสียหายที่ 2 มิให้ร้อง พร้อมกับถอดกางเกงผู้เสียหายที่ 2 ออก ก็เพื่อจำเลยกับพวกจะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 เท่านั้น จำเลยกับพวกมิได้กระทำการอย่างใดต่อผู้เสียหายที่ 2 อีก ดังนี้ จะถือว่าจำเลยกับพวกกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ด้วย หาได้ไม่ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดังกล่าวได้
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนทั้งสองข้างของผู้เสียหายที่ 2 ชูไว้บนศีรษะ กดให้ผู้เสียหายที่ 2 นอนหงาย และใช้มือปิดปากผู้เสียหายที่ 2 มิให้ร้อง พร้อมกับถอดกางเกงผู้เสียหายที่ 2 ออก ก็เพื่อจำเลยกับพวกจะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 เท่านั้น จำเลยกับพวกมิได้กระทำการอย่างใดต่อผู้เสียหายที่ 2 อีก ดังนี้ จะถือว่าจำเลยกับพวกกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ด้วย หาได้ไม่ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1520/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา การวางค่าธรรมเนียม และการคืนค่าธรรมเนียมศาล
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้สืบพยานโจทก์ต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องชำระให้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ภายใน 15 วัน จำเลยไม่นำเงินมาวาง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ก็เป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 234 เมื่อจำเลยไม่นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงการสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย จึงต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงการสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย จึงต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง