พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกิดสัญญาบริการวิทยุคมนาคมจากการเปิดสัญญาณ แม้ไม่มีการบอกกล่าวสนองรับโดยตรง และเขตอำนาจศาล
สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมเกิดขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์สนองรับคำเสนออันได้แก่คำขอใช้บริการที่จำเลยได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ด้วยการเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมให้จำเลยใช้บริการที่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ การพิจารณาอนุมัติคำขอและเปิดสัญญาคลื่นวิทยุคมนาคมของสำนักงานใหญ่ของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลยตามคำขอที่ได้ยื่นขอใช้บริการ แม้จะเป็นการแสดงเจตนาต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมกระทำกันในลักษณะนี้โดยไม่จำต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปยังจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก เมื่อสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นและโจทก์ฟ้องขอบังคับชำระหนี้จากสัญญาดังกล่าว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สัญญาบริการวิทยุคมนาคมเกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ จึงถือเป็นเขตอำนาจศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมมาขอใช้บริการจากสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์จะเสนอคำขอ / สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมมาให้สำนักงานใหญ่ของโจทก์พิจารณาอนุมัติ ย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยกรอกข้อความแล้วยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าว เป็นการทำคำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ ส่วนการพิจารณาอนุมัติคำขอและเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมของสำนักงานใหญ่ของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลยตามคำขอที่ได้ยื่นขอใช้บริการ แม้จะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็เป็นตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคม การกระทำในลักษณะนี้ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้สนองรับคำเสนอโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมจากโจทก์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก ดังนั้น สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (6) และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ติดตามผลการส่งหมายและการเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล
จำเลยยื่นคำแถลงขอวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์พร้อมกับขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และให้จำเลยนำส่งให้โจทก์แก้ภายใน 15 วัน หากส่งไม่ได้ให้จำเลยแถลงภายใน 7 วัน เมื่อคำแถลงของจำเลยมีข้อความประทับว่า "ให้มาทราบคำสั่งถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบแล้ว" และทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าว แม้ทนายจำเลยจะไม่มาทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งที่ศาลได้สั่งในคำแถลงและในอุทธรณ์ของจำเลยโดยชอบแล้ว ทั้งจำเลยมีหน้าที่ต้องติดตามผลการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ โดยศาลไม่จำต้องแจ้งผลของการส่งหมายให้จำเลยทราบอีก
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ศาลชั้นต้นมีอำนาจกำหนดวิธีการส่งหมายได้ แม้ว่าในคำแถลงของจำเลยจะขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมายก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีธรรมดาก่อน เท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์โดยวิธีปิดหมายตามที่จำเลยขอ กรณีหาเป็นเรื่องที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่ เมื่อเจ้าพนักงานศาลรายงานว่า ได้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์แล้ว แต่ส่งไม่ได้ แต่จำเลยมิได้แถลงต่อศาลเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาล จึงถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ศาลชั้นต้นมีอำนาจกำหนดวิธีการส่งหมายได้ แม้ว่าในคำแถลงของจำเลยจะขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมายก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีธรรมดาก่อน เท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์โดยวิธีปิดหมายตามที่จำเลยขอ กรณีหาเป็นเรื่องที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่ เมื่อเจ้าพนักงานศาลรายงานว่า ได้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์แล้ว แต่ส่งไม่ได้ แต่จำเลยมิได้แถลงต่อศาลเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาล จึงถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่แถลงผลการส่งหมายนัดภายในกำหนด และผลของการประทับข้อความ 'ให้มาทราบคำสั่ง'
จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2545 พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2545 จำเลยยื่นคำแถลงขอวางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมกับขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2545 ว่า "รับอุทธรณ์ สำเนาให้โจทก์แก้ให้จำเลยนำส่งภายใน 15 วัน นับแต่วันนี้ ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน" เมื่อคำแถลงของจำเลยฉบับดังกล่าวมีข้อความประทับไว้ว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 20 กันยายน 2545 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" และนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าวต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2545 ทั้งจำเลยมีหน้าที่ต้องติดตามผลการส่งหมายโดยศาลไม่จำเป็นต้องแจ้งผลการส่งหมายให้จำเลยทราบอีก แม้จำเลยจะขอให้ส่งโดยวิธีปิดหมายแต่ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการส่งหมายตามมาตรา 79 ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อนนั้นเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งโดยวิธีปิดหมายอยู่ในตัว ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานศาลรายงานว่าได้นำหมายไปส่งให้แก่โจทก์ในวันที่ 20 ตุลาคม 2545 แต่ส่งให้ไม่ได้ การที่จำเลยมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลา 7 วัน ตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนทรัพย์สินริบจำกัดเฉพาะเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้น ผู้ใช้รถยนต์ในการกระทำผิดไม่ถือเป็นเจ้าของ
ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งริบ เมื่อรถยนต์กระบะซึ่งถูกพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งริบเป็นทรัพย์สินของบิดามารดาของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนทรัพย์สินริบในคดียาเสพติดสงวนเฉพาะเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่มีสิทธิ
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ให้บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งริบ ดังนั้น เมื่อรถยนต์กระบะซึ่งถูกเจ้าพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งริบเป็นทรัพย์สินของบิดามารดาของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านซึ่งมิใช่เจ้าของทรัพย์สินจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจากความขัดแย้งหลังหย่าร้าง ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลชั้นต้น
แม้จำเลยจะไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายและผู้ตายมาก่อนก็ตาม แต่ได้ความว่าจำเลยกับผู้เสียหายเคยเป็นสามีภริยากัน ก่อนเกิดเหตุประมาณ 5 เดือน จำเลยและผู้เสียหายได้หย่าร้างกัน ผู้เสียหายได้แต่งงานอยู่กินกับผู้ตาย ภายหลังหย่าร้างจำเลยเคยไปขอคืนดีกับผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายไม่ยินยอมพฤติการณ์ที่จำเลยพกพาอาวุธมีดไปนั่งรอที่บริเวณที่เกิดเหตุก่อนเกิดเหตุเป็นเวลานาน จำเลยมีโอกาสคิดทบทวนล่วงหน้าก่อนจะกระทำความผิด แล้วจำเลยบุกรุกตรงเข้าไปใช้มีดฟันและแทงผู้ตายและผู้เสียหายในทันที โดยมิได้พูดคุยเกี่ยวกับการที่ผู้เสียหายนำไม้ของจำเลยไปสร้างบ้านหรือเรื่องที่ผู้เสียหายให้บุตรออกจากโรงเรียนทั้งหมด ตลอดถึงเรื่องที่จำเลยยอมหย่ากับผู้เสียหายแล้วผู้เสียหายยอมให้จำเลยอยู่ด้วยกันตามปกติ แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้วางแผนและตระเตรียมการที่จะฆ่าผู้ตายและผู้เสียหายมาก่อนแล้ว จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายบ้านหลังผู้ขายไม่สร้างบ้านตามสัญญา แม้ไม่มีกำหนดเวลาชัดเจน
สัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้มีข้อตกลงว่าจำเลยจะสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใดทั้งโจทก์และนางสาว ส. ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในสัญญาจะซื้อจะขายและเป็นผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลยในโครงการเดียวกันกับโจทก์เบิกความเพียงว่า โครงการจะสร้างเสร็จภายในปลายปี 2540 จึงยังไม่พอถือได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายมีกำหนดเวลาสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ ที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ระบุว่าผู้จะขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้จะซื้อเมื่อผู้จะซื้อได้ชำระเงินดาวน์ให้ผู้จะขายครบถ้วน สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาไว้โดยปริยายนั้น ยังไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน และโจทก์ได้ชำระเงินค่างวดให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่สร้างบ้านและส่งมอบให้โจทก์ตามสัญญา และถึงแม้สัญญาดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปลูกสร้างบ้านให้แล้วเสร็จไว้โดยชัดเจนก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ว่าจำเลยจะสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ความพอใจของจำเลย เมื่อโจทก์ชำระเงินตามงวดให้จำเลยไปแล้ว 220,300 บาท ทั้งได้มีหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาและชำระหนี้จนถึงวันที่โจทก์มีหนังสือขอให้บฏิบัติตามสัญญาและชำระหนี้ไปยังจำเลยครั้งสุดท้ายนับเป็นเวลา 5 ปีเศษ จำเลยยังไม่สามารถก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ซึ่งการบอกกล่าวให้จำเลยดำเนินการภายในกำหนด 15 วัน มิเช่นนั้นให้คืนเงินที่ชำระไปแล้ว พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์นับจากเวลาดังกล่าว ในกรณีนี้ต้องนับว่าเป็นระยะเวลาอันสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง คดีเช็ค
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ซื้อบุหรี่จากโจทก์ร่วมและออกเช็คพิพาทชำระหนี้ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นตัวแทนของโรงงานยาสูบย่อมฟังไม่ขึ้น ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ร่วมเป็นตัวแทนของโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายนั้น เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมเป็นตัวแทน เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ไม่สมบูรณ์แต่เกิดจากความยินยอมของผู้กู้ ไม่ถือเป็นเอกสารปลอม ผู้กู้ต้องรับผิดตามสัญญา
โจทก์จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นแชร์โดยโจทก์เป็นนายวงแชร์ ตามข้อตกลงเมื่อจำเลยประมูลแชร์ได้ จำเลยจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้ภายหลังที่จำเลยได้รับเงินแชร์จากโจทก์ ดังนั้น ข้อความในสัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกก็คือจำนวนเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องชำระคืนแก่โจทก์ พฤติการณ์เท่ากับว่าจำเลยได้ยินยอมให้โจทก์กรอกจำนวนเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องรับผิดชำระคืนตามความเป็นจริงนั่นเอง เมื่อได้ความว่า จำเลยจะต้องชำระคืนเงินค่าแชร์เป็นจำนวน 82,800 บาท และโจทก์กรอกจำนวนเงินกู้ลงในสัญญากู้ตรงกับมูลหนี้ที่แท้จริง สัญญากู้จึงไม่ใช่เอกสารปลอม จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้แก่โจทก์