คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกษม วีรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณา และการปิดหมายแจ้งคำฟ้องโดยไม่มีพยาน
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 2 ไปอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่ทราบว่าถูกฟ้อง ถือไม่ได้ว่าจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยการปิดหมายที่ไม่มีพยานรู้เห็นเป็นการไม่ชอบนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การปิดหมายตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ไม่ต้องมีพยานรู้เห็นในการปิดหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12510/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 90 ศาลทำได้แม้โจทก์มิได้ขอ ชี้การกระทำเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 90 มิใช่บทกฎหมายที่ใช้ลงโทษตรง หากแต่เป็นเพียงบทกฎหมายที่กำหนดวิธีการลงโทษซึ่งเป็นวิธีการที่ศาลจะใช้เอง โดยโจทก์มิต้องขอมาในคำขอท้ายฟ้อง การที่ศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยโดยอ้างหลักเกณฑ์ตามมาตรา 90 จึงชอบแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12445/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถือเป็นการส่งโดยชอบแล้ว หากผู้รับเป็นพนักงานของจำเลยที่มีที่อยู่เดียวกัน
คดีนี้หมายเรียกและสำเนาคำฟ้องได้ส่งให้แก่จำเลยโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ จึงมีผลเสมือนว่าเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 73 ทวิ ดังนั้น เมื่อ อ. พนักงานของจำเลยซึ่งมีอายุ 45 ปี และอยู่บ้านหรือสำนักงานเดียวกันได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 ย่อมถือได้ว่ามีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยชอบแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง และจำเลยอาจยื่นคำให้การได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 9 ตุลาคม 2545 การที่จำเลยยื่นคำให้การวันที่ 24 ตุลาคม 2545 จึงเกินกำหนด 15 วัน ตามกฎหมายนั้น ทั้งการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับเช่นนี้ หาใช่เป็นการส่งโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12009/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทจอดรถกีดขวางการจราจรและไม่จัดโคมไฟสัญญาณ ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ศาลแก้ไขโทษเป็นกักขัง
การที่จำเลยจอดรถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแบ็คโฮโดยมีแขนของรถแบ็กโฮ ยื่นออกมาด้านท้ายรถและเกินความยาวของตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีที่จำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถและในลักษณะกีดขวางการจราจร จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนบริเวณแขนรถแบ็กโฮอย่างแรงได้รับอันตรายสาหัส แสดงให้เห็นว่า จำเลยจอดรถด้วยความประมาทขาดสำนึกและขาดความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนนรายอื่น จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายของผู้อื่น ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเหมาะสมแล้ว แต่เมื่อจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นการบรรเทาผลร้ายแล้ว ประกอบกับจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงเห็นควรลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก
การที่จำเลยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณแสงแดงที่ตอนปลายสุดของรถบรรทุกและจอดรถยนต์บรรทุกดังกล่าวที่ไม่ได้ติดตั้งโคมไฟสัญญาณแสงแดงไว้ข้างทางริมถนนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ชน ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสนั้น การกระทำของจำเลยที่ไม่ได้จัดให้มีโคมไฟสัญญาณ เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและตาม ป.อ. มาตรา 300 และฐานไม่จัดโคมไฟสัญญาณแสงตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาตรา 61, 151 เป็นสองกรรม จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9251/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์และปล้นทรัพย์: การกระทำต่อเนื่องจากลักทรัพย์ไปสู่การใช้กำลังข่มขู่เพื่อเอาทรัพย์สิน
จำเลยกับพวกอีก 5 คน มีเจตนาที่จะเอาเครื่องเชื่อมโลหะและเครื่องปั๊มลมซึ่งจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไปเพื่อเป็นประโยชน์ของตน โดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอม เมื่อจำเลยกับพวกขนเครื่องเชื่อมโลหะและเครื่องปั๊มลมขึ้นบนรถยนต์กระบะ ถือได้ว่าการลักทรัพย์สำเร็จอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ในเวลาต่อเนื่องกัน บ.เจ้าของรวมคนหนึ่งที่รู้เห็นการกระทำของจำเลยกับพวก ได้เข้าขัดขวางโดยขึ้นไปบนรถยนต์กระบะเพื่อเอาเครื่องปั๊มลมกลับคืน จึงถูกจำเลยผลักและพวกของจำเลยใช้เสียมตีที่ศีรษะเป็นเหตุให้ บ.หมดสติไป การที่จำเลยกับพวกอีก 5 คนร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย บ.ขณะที่การลักทรัพย์ยังไม่ขาดตอน ย่อมถือได้ว่าเป็นการชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9203/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 229 จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ซึ่งจะมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปมีผลเท่ากับ เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยมาจึงมิชอบ เช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 ถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9187/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบฉันทะ: การฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการปฏิบัติหน้าที่ตามมอบหมาย
ใบมอบฉันทะของโจทก์ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ได้มอบอำนาจให้ ว. ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลในคดีนี้โดยมิได้ระบุว่าให้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในวันเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว. ก็ยังมีอำนาจฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อยู่จนกว่าโจทก์จะถอนหรือยกเลิกใบมอบฉันทะ การที่ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เวลา 16.15 นาฬิกา หลังจากที่ศาลมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 10 นาฬิกา แล้วให้เลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไปเป็นวันที่ 11 มีนาคม 2546 เวลา 9 นาฬิกา และออกหมายจับจำเลยรวมทั้งปรับนายประกันแล้วก็ต้องถือว่า ว. ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบฉันทะจากโจทก์ มิใช่กระทำโดยพลการดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ ว. ฟังก็ต้องถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้โจทก์ฟังโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9015/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจให้รับฟังคำพิพากษาแทนโจทก์: อำนาจยังคงอยู่จนกว่าจะมีการอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น แม้มีการเลื่อนนัด
ใบมอบฉันทะของโจทก์ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ว. ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลในคดีนี้โดยมิได้ระบุว่าให้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในวันเวลาใด การมอบฉันทะดังกล่าวก็เพื่อให้ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แทนโจทก์จนเสร็จการนั้นเอง ตราบใดที่ยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว. ก็ยังมีอำนาจฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อยู่จนกว่าโจทก์จะถอนหรือยกเลิกใบมอบฉันทะดังกล่าว การที่ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 16.15 นาฬิกา หลังจากที่ศาลมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 10 นาฬิกา ให้เลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไปเป็นวันที่ 11 มีนาคม 2546 เวลา 9 นาฬิกา และออกหมายจับจำเลยรวมทั้งปรับนายประกันแล้วเช่นนี้ ก็ต้องถือว่า ว. ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบฉันทะจากโจทก์ มิใช่กระทำโดยพลการตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ ว. ฟังก็ต้องถือว่าได้อ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้โจทก์ฟังโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8872/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลตามนัด แม้มีเหตุพนักงานอัยการป่วย ศาลไม่ยกฟ้อง เหตุโจทก์ละเลยการมอบหมายสำนวน
โจทก์เคยขอเลื่อนคดีมาครั้งหนึ่งแล้ว โดยอ้างเหตุไม่มีพยานมาศาล เพราะโจทก์ยังไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ซึ่งศาลชั้นต้นอาศัยหลักประโยชน์แห่งความยุติธรรมอนุญาตให้เลื่อนคดี เมื่อถึงวันนัดซึ่งโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้ว แต่โจทก์ก็ยังไม่มาศาลอีก โดยข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนได้ความว่า โจทก์ยังไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน นอกจากนี้ศาลชั้นต้นได้ให้เจ้าหน้าที่ประกาศเรียกโจทก์หลายครั้งตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา จนถึง 11.50 นาฬิกา และยังให้เจ้าหน้าที่ติดตามโจทก์ตามห้องพิจารณาต่าง ๆ อีกตั้งแต่เวลา 11 นาฬิกา ถึง 11.50 นาฬิกา ทั้งยังได้โทรศัพท์แจ้งโจทก์ถึงเหตุที่ไม่มาศาลเพื่อให้โจทก์ดำเนินการอย่างไรต่อไปกับคดีนี้ที่สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด แต่โจทก์ก็ยังไม่มาศาล แม้โจทก์จะอ้างว่า ก. พนักงานอัยการโจทก์เจ้าของสำนวนเจ็บป่วยซึ่งโดยพยาธิสภาพของ ก. ทำให้หลงลืมที่จะมอบสำนวนคดีนี้ให้พนักงานอัยการคนอื่นดำเนินการแทน กรณีเป็นเรื่องภายในของโจทก์ที่จะต้องมอบหมายสำนวนให้พนักงานอัยการผู้อื่นดำเนินคดีแทน ซี่งสามารถกระทำได้ เพราะวันดังกล่าว ก. ยังมาทำงานที่สำนักงานอัยการอยู่ ถ้าป่วยเจ็บจนถึงขนาดไม่สามารถมาศาลเพื่อสีบพยานโจทก์ได้ ก็น่าจะมอบหมายให้พนักงานอัยการผู้อื่นทำหน้าที่แทนหากกลับบ้านไปพักรักษาตัว แต่ก็หาได้กระทำไม่ อันเป็นความบกพร่องของโจทก์เอง พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มาศาลเพราะไม่สนใจต่อเวลานัดของศาลและไม่ได้มาศาลตามกำหนดนัด หาใช่ไม่ได้มาศาลเพราะมีเหตุอันสมควรไม่ จึงไม่มีเหตุจะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8684/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่นำเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ทำให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้
ป.วิ.พ. มาตรา 229 เป็นบทบังคับทั้งคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งกำหนดให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์มิได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลแล้วศาลก็ชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที เพราะมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ซึ่งศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ การที่ศาลอุทธรร์ภาค 4 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 229
of 28