คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกษม วีรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 276 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2310/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานทำไม้ผิดกฎหมาย, มีเลื่อยโซ่ยนต์ผิดกฎหมาย และการริบของกลาง
การคัดสำเนา พ.ร.ฎ.กำหนดไม้หวงห้ามฯ ประกาศไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 5 นั้นไม่ใช่องค์ประกอบความผิดข้อหาใดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ หากแต่เป็นเพียงวิธีการให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำเพื่อมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดโต้แย้งว่ายังไม่ทราบ พ.ร.ฎ. ดังกล่าวเท่านั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายเรื่องการคัดสำเนา พ.ร.ฎ. ดังกล่าวมาในฟ้องด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายเรื่องการคัดสำเนา พ.ร.ฎ. ดังกล่าวมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ไม้สักไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชอาณาจักรเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 7 วรรคหนึ่ง การตัดฟันจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 11 หากฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง (1) ส่วนการมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขาย ก็มีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง (1) เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานทำไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม้ของกลางจึงเป็นไม้อันได้มาจากการกระทำความผิดต้องริบตามมาตรา 74
ความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับความผิดฐานรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร เนื่องจากการรับไว้โดยประการใด ๆ และการมีไว้ในครอบครองซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางมีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องเป็นการกระทำเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 5 ในสองฐานความผิดดังกล่าว จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 90 เมื่อความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีเท่ากันแต่คดีนี้ราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเป็นเงิน 6,259 บาท หากมีการลงโทษปรับสูงสุดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ จะลงโทษปรับได้เป็นเงิน 25,036 บาท แต่ตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง ลงโทษปรับได้สูงสุดหนึ่งแสนบาท จึงถือว่าโทษปรับตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง เป็นบทที่มีโทษหนักกว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งฟ้องอุทธรณ์โดยผู้ไม่ได้เป็นทนายความ และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี รวมถึงการพิจารณาโทษคดีบุกรุกป่าสงวน
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้กระทำในฐานเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์กรของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" ซึ่งการฝ่าฝืนมาตรา 33 นี้มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่ปรากฎว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 การที่จำเลยที่ 2 เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ครบองค์ประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158 (7) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองและค้ำประกันหนี้: สัญญาบังคับใช้ได้แม้จำนองก่อนรับเงินกู้ การปฏิเสธลายมือชื่อไม่ถือเป็นข้อโต้แย้ง
โจทก์มีหนังสือสัญญากู้ 2 ฉบับ ที่จำเลยทั้งสามเถียงว่า โจทก์ลวงให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อผูกผันเป็นผู้กู้ไว้ก่อน อีกทั้ง อ. พยานโจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการด้านสินเชื่อสาขาหาดใหญ่ของโจทก์มาเบิกความรับรองด้วยว่า หลังจากโจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 กู้จำเลยที่ 1 ก็ได้รับเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วโดยจำเลยที่ 1 ลงชื่อรับเงินไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิเสธว่า ลายมือชื่อผู้กู้มิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 จึงถือว่าโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามกฎหมายแล้ว
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องสัญญาค้ำประกันไว้แต่อย่างใดจึงนอกคำให้การของจำเลยที่ 2 และนอกประเด็น
แม้การจดทะเบียนจำนองและจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นประกันหนี้จะทำขึ้นก่อนเวลาที่โจทก์จะส่งมอบเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 707 ว่าด้วยจำนอง บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้นท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร" กล่าวโดยเฉพาะ ตามนัยมาตรา 681 ที่ว่าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ในอนาคตย่อมทำสัญญาค้ำประกันได้ ดังนั้น เมื่อต่อมาโจทก์มอบเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนแก่จำเลยที่ 1 หลังจากทำสัญญาจำนองกันดังกล่าวหนี้เงินกู้ในส่วนนั้นก็สมบูรณ์ การจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวล่วงหน้าจึงบังคับแก่กันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้, สัญญาค้ำประกัน, การพิสูจน์ลายมือชื่อ, และการบังคับจำนอง
ป.พ.พ. มาตรา 707 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร" กล่าวโดยเฉพาะตามนัยมาตรา 681 ที่ว่าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ในอนาคตย่อมทำสัญญาค้ำประกันได้ ดังนั้นเมื่อโจทก์มอบเงินกู้แก่จำเลยที่ 1 ภายหลังจากทำสัญญาจำนองหนี้เงินกู้ในส่วนนั้นย่อมสมบูรณ์ การจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวล่วงหน้าจึงบังคับแก่กันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.ป่าไม้: การครอบครองไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต และการสนับสนุนการกระทำผิด
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่ารับจ้างคนรู้จักกันบรรทุกไม้ของกลาง จึงมีความผิดเพียงสนับสนุนการกระทำความผิดของบุคคลอื่น และจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ซื้อไม้ของกลางจากบุคคลอื่นเนื่องจากต้องการไม้เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย จึงเป็นเพียงการสนับสนุนให้เจ้าของไม้ของกลางเดิมกระทำความผิดนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ ข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างในฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ฟ้อง่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตรวมปริมาตร 3.09 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งรวมปริมาตรไม้เกินสองลูกบาศก์เมตรอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (2) ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาก็สามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ไม่เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้ยืมที่มีการแก้ไขจำนวนเงิน ศาลพิจารณาจากจำนวนเงินที่ตกลงกันแต่แรก
โจทก์มีหนังสือสัญญากู้ยืมที่จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ระบุว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 20,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิดแม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้นเป็น 120,000 บาท ซึ่งไม่เป็นไปตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกัน แต่ก็ไม่ทำให้หลักฐานกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์ต้องเสียไป จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เท่าที่กู้ไปจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญากู้, สิทธิสวัสดิการข้าราชการ, การปรับอัตราดอกเบี้ยผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, ลดค่าปรับ
พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 มาตรา 6 บัญญัติเป็นนัยว่า เมื่อรัฐมนตรีกำหนดดอกเบี้ยตามมาตรา 4 แล้ว มิให้นำมาตรา 654 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้ จึงมีผลให้ข้อตกลงในสัญญากู้ ข้อ 1 ที่ว่า "ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้" เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 654
เมื่อปรากฏรายละเอียดตามรายการปรับอัตราดอกเบี้ยว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยครั้งแรกเพียงร้อยละ 4.75 ต่อปี แสดงว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับกระทรวงยุติธรรม จึงบ่งชี้ว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์โดยได้รับสิทธิเงินกู้สวัสดิการตามข้อตกลงดังกล่าว เมื่อโจทก์กลับกำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ถึงร้อยละ 19 ซึ่งแม้ไม่เป็นโมฆะ แต่ก็ไม่เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับกระทรวงยุติธรรม จึงไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลย คงบังคับกันได้ตามอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตามที่กำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี
จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 หลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้ชำระหนี้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี การที่โจทก์ปรับใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังกล่าว เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาอันเป็นการใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ ซึ่งเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง จึงเข้าลักษณะเป็นเบี้ยปรับและศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับดังกล่าวลงได้ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องไม่เป็นที่ดินของผู้อื่น และผลของการถอนฟ้องคดีก่อนที่มีต่อการฟ้องคดีใหม่
ป.พ.พ. มาตรา 1382 บัญญัติว่า "บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น...ฯลฯ..." คำว่าผู้อื่นตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นใครผู้ใดก็ได้ แต่ต้องมิใช่ผู้ครอบครองปรปักษ์เอง ดังนั้น การครอบครองปรปักษ์จะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่าที่พิพาทเป็นของตนเอง จึงไม่อาจมีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์
ปัญหาว่าอำนาจฟ้องของโจทก์ระงับไปด้วยการถอนฟ้องในคดีก่อนหรือไม่เป็นปัญหาสำคัญทั้งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงย่อมอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาได้ไม่ต้องห้ามแม้ว่าจำเลยทั้งสองจะมิได้ยกขึ้นอ้างในคำให้การ โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลตามคดีแพ่งของศาลชั้นต้นซึ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ โดยมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้วก็ตาม แต่ในการถอนฟ้องนั้น โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยอ้างเพียงว่าได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นแล้ว และแถลงว่าอยู่ระหว่างจดทะเบียนโอนสิทธิโดยโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไว้หากโอนไปแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 อีก โจทก์มิได้ร้องหรือแถลงไว้ในคดีดังกล่าวว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้อีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งพึงถือว่าโจทก์ได้ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เกี่ยวกับการยื่นฟ้องใหม่ อันเป็นการผูกมัดตัวโจทก์ และแม้โจทก์เองจะเบิกความในคดีนี้โดยตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า "ในการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินไปแล้ว จะไม่นำคดีมาฟ้องอีก ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง" คำเบิกความของโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่ใช่กระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว ส่วนที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์ว่า "ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องเพื่อทำฟ้องที่สมบูรณ์มายื่นต่อศาลใหม่อีก ทั้งโจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าได้ขายที่ดินให้ผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องแล้วหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก" ก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลชั้นต้นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ซื้อทีดินที่โจทก์อ้างในดคีก่อน ชำระราคาแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จึงยังมิได้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์แก่กันให้บริบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการถอนฟ้อง: สิทธิฟ้องไม่ระงับแม้ถอนฟ้องก่อน หากการซื้อขายไม่บริบูรณ์
จำเลยทั้งสองให้การทำนองเดียวกันอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2941 โดยทางราชการออกเอกสารสิทธิให้ถูกต้องตามกฎหมาย และแม้จะฟังว่าทับที่ดินมีโฉนดของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ก็ครอบครองโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์ ดังนี้ คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงต้องถือว่ามีข้อเถียงขัดแย้งกันเอง เนื่องเพราะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 บัญญัติว่า "บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น..." ซึ่งคำว่าผู้อื่นตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นใครผู้ใดก็ได้ แต่ต้องมิใช่ผู้ครอบครองปรปักษ์เอง ดังนั้น เมื่อฝ่ายจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่าที่พิพาทเป็นของตนเอง จึงไม่อาจมีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ดังที่จำเลยทั้งสองเถียงในฎีกา
แม้ได้ความว่าโจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเกี่ยวกับที่พิพาทในคดีนี้และมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้แล้วก็ตาม แต่ในการถอนฟ้องนั้นได้ความว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยอ้างเพียงว่าได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นแล้ว และแถลงว่าอยู่ระหว่างจดทะเบียนโอนสิทธิโดยโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไว้ หากโอนไปแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 อีก โดยโจทก์มิได้ร้องหรือแถลงไว้ในคดีดังกล่าวว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เกี่ยวกับการยื่นฟ้องใหม่อันเป็นการผูกมัดโจทก์ แม้ในคดีนี้โจทก์เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า "ในการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินไปแล้ว จะไม่นำคดีมาฟ้องอีก ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง" คำเบิกความของโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่ใช่กระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว ส่วนที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์ว่า "ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องเพื่อทำฟ้องที่สมบูรณ์มายื่นต่อศาลใหม่อีก ทั้งโจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าได้ขายที่ดินให้ผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องโดยหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก" ก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลชั้นต้นเอง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า ถ. ผู้ซื้อที่ดินของโจทก์ชำระราคาแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จึงยังมิได้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์แก่กันให้บริบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่แก้คำพิพากษาเดิมต่อคำบังคับคดี และสิทธิในการขอออกคำบังคับใหม่หลังมีคำพิพากษาใหม่
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำบังคับตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมเป็นอันสิ้นผลไปโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับใหม่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
of 28