คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พินิจ สายสอาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของข้อมูลใน พ.ร.บ.ข้อมูลเครดิต: จำเลยมีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลตามกฎหมาย เจ้าของข้อมูลไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ลบข้อมูล
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตฯ ได้บัญญัติให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลจากสมาชิกหรือจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูล การแจ้งข้อมูลหรือส่งข้อมูลของสมาชิกของจำเลยที่ 1 อันเป็นหน้าที่อันพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งกฎหมายดังกล่าวมิได้ให้อำนาจเจ้าของข้อมูลที่จะยกเลิกเพิกถอนหรือให้ลบข้อมูลได้ การกระทำทั้งสิบไม่ยกเลิก เพิกถอนหรือลบข้อมูลของโจทก์ตามคำร้องของโจทก์จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของข้อมูลเครดิต: กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิยกเลิก/ลบข้อมูล การไม่ลบข้อมูลไม่ถือเป็นการละเมิด
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 มาตรา 25 กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลที่จะดำเนินการอันใดได้บ้างทั้งนี้โดยไม่มีข้อกำหนดหรือให้สิทธิเจ้าของข้อมูลที่ยกเลิกเพิกถอนหรือให้ลบข้อมูลของตนได้ ฉะนั้น เมื่อการจัดเก็บข้อมูลของจำเลยที่ 1 ตลอดจนการแจ้งหรือส่งข้อมูลของสมาชิกของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 เป็นหน้าที่อันต้องพึงปฏิบัติตามกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 ให้อำนาจเจ้าของข้อมูลที่จะกระทำการยกเลิกถอนหรือให้ลบข้อมูลได้ การที่จำเลยทั้งสิบไม่ยกเลิกเพิกถอนหรือลบข้อมูลของโจทก์ตามคำร้องขอของโจทก์ จึงมิใช่การกระทำอันเป็นละเมิดที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีมีดุลพินิจเหมาะสมในการไม่อนุญาตขยายเวลาเพิ่มเติม
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์ทั้งหลายต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของประกาศการขายทอดตลาดเป็นสำคัญเมื่อปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์เคยขอขยายระยะเวลาการวางเงินมาแล้วถึง 2 ครั้ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีก็อนุญาตให้ขยายได้ทั้ง 2 ครั้ง รวมเป็นระยะเวลา 60 วัน ตามระเบียบคำสั่งและวิธีปฏิบัติของกรมบังคับคดีที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตได้ โดยจะครบกำหนดวันที่ 30 สิงหาคม 2547 เมื่อผู้ซื้อทรัพย์มาขออนุญาตขยายระยะเวลาการวางเงินเป็นครั้งที่ 3 อีก 30 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามคำร้องโดยเห็นว่าไม่มีเหตุสมควรนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว เนื่องเพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ผู้ซื้อทรัพย์ขยายระยะเวลาไปอีกก็จะเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อการบังคับคดี ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมีน้ำหนักกว่าการซื้อเพื่อขายต่อ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลง โดยจดทะเบียนซื้อมาจาก ย. และ ป. ตามลำดับ เมื่อโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแล้วได้ปลูกพืชผลต่างๆ จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้ามาครอบครองที่ดินพิพาทปลูกมันสำปะหลัง ปลูกกระต๊อบเป็นที่พักและทำลาย ทำให้เสียหายที่ดินและต้นไม้ของโจทก์ เป็นเงินทั้งสิ้น 359,250 บาท และมีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าเสียหาย ให้โจทก์นับถึงวันฟ้องเป็นเงิน 359,250 บาท และร่วมกันชำระค่าเสียหาย ค่าที่ดิน และต้นไม้ในอัตราไร่ละ 500 บาท ต่อปี ในที่ดิน 52 ไร่ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งหกและบริวารได้ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทในสภาพเรียบร้อยแก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่ได้มีคำขอบังคับขับไล่จำเลยทั้งหกและบริวารออกจากที่ดินพิพาท แต่ที่โจทก์ระบุว่าจนกว่าจำเลยทั้งหกและบริวารได้ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์นั้น เป็นกรณีพอแปลความหมายได้ว่า จนกว่าจำเลยทั้งหกจะออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้ขับไล่จำเลยทั้งหกและบริวารออกจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากคู่สมรส แม้แยกกันอยู่และมีการเปลี่ยนแปลงฐานะ
ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสองและมาตรา 1598/38 เป็นบทบัญญัติให้ความคุ้มครองแก่สามีหรือภริยาโดยให้ฝ่ายที่มีฐานะดีช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามฐานะและความสามารถ ถ้าฝ่ายหนึ่งมีความสามารถที่จะอุปการะเลี้ยงดูแล้วไม่อุปการะเลี้ยงดู อีกฝ่ายย่อมมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (6) แต่ถ้าไม่ประสงค์จะฟ้องหย่า ก็ฟ้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1598/38 ในเมื่ออีกฝ่ายที่ควรได้รับไม่ได้รับการเลี้ยงดูตามอัตภาพมิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นเมื่อฟ้องหย่า
หลังจากจดทะเบียนสมรส โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันที่บ้านบิดาของโจทก์ แม้จำเลยไปรับราชการต่างจังหวัดก็กลับมาบ้านดังกล่าวที่โจทก์อยู่กับบุตร โจทก์เป็นแม่บ้านไม่มีรายได้ เหตุที่โจทก์กับจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ตั้งแต่ปี 2539 ก็เนื่องจากจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ ที่สำคัญจำเลยไปอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นฉันภริยาตลอดมา การสมัครใจแยกกันอยู่จึงมิใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยซึ่งอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตลอดมาและอยู่ในฐานะที่สามารถอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ได้ จึงมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายมีความสามารถหรือฐานะน้อยกว่าและแยกไปอยู่โดยสุจริตจึงชอบที่จะได้รับการช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา แม้แยกกันอยู่และมีภาระหนี้สิน
วัตถุประสงค์ของการสมรสก็เพื่อให้ชายหญิงได้อยู่กินกันฉันสามีภริยา ป.พ.พ. มาตรา 1461 บัญญัติให้สามีภริยาช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันตามความสามารถและฐานะตน และมาตรา 1598/38 บัญญัติว่า ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นอีกฝ่ายสามารถเรียกได้ในเมื่อได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ อันแสดงว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจกำหนดให้เพียงใดก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับตามพฤติการณ์แห่งกรณี จึงเป็นบทบัญญัติคุ้มครองแก่สามีภริยาให้ฝ่ายที่มีฐานะดีต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง มิฉะนั้น อีกฝ่ายย่อมมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (6) แต่ถ้าไม่ประสงค์จะฟ้องหย่าก็ฟ้องเรียกเฉพาะค่าเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1598/38 ดังนั้น สิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงหาใช่เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นเมื่อมีการฟ้องหย่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการหักชำระหนี้จากบัญชีเงินเดือนตามสัญญา การฟ้องภายใน 10 ปีนับจากวันสะดุดหยุดยังคงมีอายุความ
จำเลยที่ 1 ยอมให้หน่วยงานของตนนำเงินเดือนหรือเงินได้อื่นใดของจำเลยที่ 1 ทุกเดือนเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 เมื่อมีการนำเงินเข้าบัญชีแล้ว โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธินำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้กู้ไปจากโจทก์ตามข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้กับโจทก์ตามสัญญากู้ ดังนั้น เมื่อมีการถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวจึงเป็นผลให้จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นลูกหนี้ของโจทก์ การที่หน่วยงานต้นสังกัดของจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวทุก ๆ เดือน และโจทก์นำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่กับโจทก์เป็นปกติตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันมา อายุความจึงสะดุดหยุดลงทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าบัญชี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า หน่วยงานต้นสังกัดของจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 ครั้งสุดท้ายวันที่ 30 มิถุนายน 2537 โจทก์นำเงินดังกล่าวตัดบัญชีเพื่อชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระในวันดังกล่าว อายุความในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2537 และเริ่มนับอายุความใหม่วันที่ 1 กรกฎาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 28 มิถุนายน 2547 ภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่อายุความสะดุดหยุดลง ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงอำนาจปกครองบุตรและแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูตามพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
การที่บุคคลจะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งโดยการยื่นเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขออย่างหนึ่งอย่างใด มิได้พิจารณาว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่มีทุนทรัพย์
ตามคำร้องขอของผู้ร้องนอกจากมีคำขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แล้ว ยังขอให้มีคำสั่งถอนอำนาจปกครองของ ป. และแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองด้วย อันส่งผลกระทบต่อค่าอุปการะเลี้ยงดู เพราะหากศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้ร้องก็ไม่จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่ ป. ตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าอีกต่อไป ซึ่งศาลมีอำนาจแก้ไขได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และถือได้ว่าคำขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่เป็นคำขอหลัก ส่วนคำขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นคำขอรอง นอกจากนี้แม้ตามข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าจะกำหนดให้ ป. เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่ถ้าภายหลังพึงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจ ศาลก็มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566 (5) แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาล แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้โดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทและทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ด้วย ผู้ร้องจึงชอบที่จะเสนอคดีขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่โดยทำเป็นคำร้องขอ รวมทั้งชอบที่จะเสนอคดีขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งเกี่ยวเนื่องกันเข้ามาในคำร้องขอฉบับเดียวกันได้
ป.พ.พ. มาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้ ดังนั้น แม้บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าจะกระทำขึ้นโดยชอบด้วยความสมัครใจของคู่กรณี ถ้าต่อมาพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป ศาลก็มีอำนาจแก้ไขในเรื่องดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและการถอนอำนาจปกครอง ศาลมีอำนาจแก้ไขได้ตามพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
การที่บุคคลจะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งโดยการยื่นเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขออย่างหนึ่งอย่างใดนั้น หาใช่พิจารณาว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่มีทุนทรัพย์ไม่ ตามคำร้องขอของผู้ร้องนอกจากมีคำขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแล้ว ยังขอให้มีคำสั่งถอนอำนาจปกครองของ ป. และแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ทั้งสองด้วย อันย่อมส่งผลกระทบต่อค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าวเนื่องเพราะหากศาลมีคำสั่งตามคำร้องขอให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้ร้องก็ไม่จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่ ป. ตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าอีกต่อไป ซึ่งศาลมีอำนาจแก้ไขได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ถือได้ว่าคำขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่เป็นคำขอหลัก ส่วนคำขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นคำขอรองที่เกี่ยวกับคำขอหลัก นอกจากนี้แม้ตามข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าจะกำหนดให้ ป. เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองก็ตาม แต่ถ้าภายหลังพึงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจปกครองศาลก็มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566 (5) แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาล แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้โดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทและทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและรักษาประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องจึงชอบที่จะเสนอคดีขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่ โดยทำเป็นคำร้องขอรวมทั้งชอบที่จะเสนอคดีขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองซึ่งเกี่ยวเนื่องกันเข้ามาในคำร้องขอฉบับเดียวกันได้
แม้บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าจะกระทำขึ้นโดยชอบด้วยความสมัครใจของคู่กรณี กล่าวโดยเฉพาะเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองนี้ ถ้าต่อมาพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป ศาลก็มีอำนาจแก้ไขในเรื่องดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง และพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีนั้นก็หาได้จำกัดหมายถึงผู้ร้องลำพังไม่ ดังเห็นได้จากมาตรา 1598/38 ที่ว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้ร้องและพฤติการณ์แห่งกรณีด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4680/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินซื้อด้วยเงินบิดา จดชื่อบุตรเป็นเจ้าของ ถือเป็นสินส่วนตัว
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าเงินที่ชำระราคาในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทรัพย์พิพาทดังที่หนังสือมอบอำนาจและหนังสือสัญญาขายที่ดิน ระบุว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อ เป็นเงินของบิดาจำเลย ไม่ใช่เงินของจำเลยหรือของโจทก์คู่สมรส เป็นเพียงการนำสืบอธิบายให้เห็นถึงข้อความจริงเกี่ยวกับเงินที่ซื้อที่ดินดังกล่าวว่าเป็นของใครจำนวนเท่าใด เพื่อให้ศาลจะได้วินิจฉัยต่อไปว่าที่ดินดังกล่าวซึ่งมีชื่อจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้มีชื่อมานั้นเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวอันเป็นประเด็นข้อพิพาทโดยตรงในคดีเท่านั้น จึงมิได้เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความใดในเอกสารสัญญาและหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแต่อย่างใด ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
of 11