พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4614/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาเช่าตามเจตนาจริงและข้อยกเว้นการริบเงินประกันความเสียหายเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยหรือความผิดของผู้เสียหาย
แม้สัญญาเช่าจะระบุว่า ถ้าอาคารที่เช่าเกิดอัคคีภัยขึ้นไม่ว่าเพราะเหตุใดก็ตามมากน้อยเท่าใดก็ตาม สัญญาเช่านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลงทันทีและผู้เช่ายินยอมให้ผู้ให้เช่าริบเงินประกันการเช่าได้ทั้งสิ้น แต่ข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้ร่างสัญญาเช่าดังกล่าวว่าเงื่อนไขของสัญญาเช่าในข้อดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ให้โจทก์ต้องใช้ความระมัดระวังดูแลทรัพย์ที่เช่ามิให้เกิดอัคคีภัยขึ้น ดังนั้น การตีความตามสัญญาต้องตีความตามเจตนาแท้จริงของคู่สัญญาคือเงินประกันความเสียหายดังกล่าวเป็นเงินที่วางไว้เพื่อเป็นหลักประกันว่าโจทก์จะไม่ทำความเสียหายให้เกิดแก่ทรัพย์ที่เช่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยที่ 1 ตรงกันว่าเหตุไฟไหม้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรในขณะที่ทรัพย์ที่เช่าอยู่ในครอบครองของโจทก์ กระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ โจทก์จึงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายคือจำเลยที่ 1 แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า ความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายคือจำเลยที่ 1 โจทก์จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิริบเงินประกันความเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของภริยาที่มีสามี และการบังคับตามสัญญากู้เงินที่เกิดจากหนี้ค่าทอง
การฟ้องและการดำเนินคดีไม่อยู่ในบังคับของการจัดการสินสมรสที่ ป.พ.พ. มาตรา 1476 บัญญัติให้สามีและภริยาต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งตามมาตรา 1477 ยังได้บัญญัติรับรองให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้ด้วย ดังนั้น แม้จะได้ความตามข้อนำสืบของจำเลยโดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่าโจทก์เป็นหญิงมีสามีโดยชอบด้วยกฎหาย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ทำให้สัญญาค้ำประกันเดิมระงับ และศาลพิพากษาเกินคำฟ้อง
การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดใช้หนี้ที่ ป. มีต่อโจทก์ด้วยการทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญากู้เงินขึ้นใหม่ ทั้งสัญญากู้เงินฉบับใหม่และหนังสือรับสภาพหนี้ระบุจำนวนหนี้ใหม่โดยรวมต้นเงินกู้เดิมและดอกเบี้ยเข้าด้วยกัน ย่อมเห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 2 ว่า ต้องการจะทำให้หนี้ตามสัญญากู้เงินเดิมระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ การแปลงหนี้ดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 2 จะทำสัญญากันโดยลำพัง ไม่ต้องให้ ป. ลูกหนี้คนเดิมเข้าเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ เพราะการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ห้ามแต่เพียงว่าจะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมไม่ได้เท่านั้น เมื่อ ป. กู้เงินเพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปลงทุน กรณีจะทำโดยขืนใจ ป. ลูกหนี้เดิมย่อมไม่มี เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เงินระงับไปแล้ว จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน มิได้ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน มิได้ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น ป.พ.พ. มาตรา 350 ห้ามแต่เพียงว่าจะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมไม่ได้เท่านั้น เมื่อได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ว่า ป. กู้เงินเพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปลงทุนด้วยแล้ว กรณีจะทำโดยขืนใจ ป. ลูกหนี้เดิมย่อมไม่มี เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เงินระงับไปแล้ว จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันมิได้ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญากู้เงิน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทจ่ายเช็คพิรุธ, ผู้ฝากประมาทเลินเล่อตรวจสอบบัญชี, ความรับผิดทางละเมิดและสัญญาฝากทรัพย์
จำเลยเป็นผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร การจ่ายเงินตามเช็คเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำจึงย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบรายการในเช็คว่าถูกต้องหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งจะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คบางฉบับให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ในเช็คมีความพิรุธปรากฏอยู่ จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์ จำเลยจะยกข้อตกลงยกเว้นความรับผิดตามที่ระบุไว้ในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เมื่อเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เพียงใดนั้นจึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรเมื่อความพิรุธในเช็คที่น่าจะตรวจสอบพบมีหนึ่งในสาม ส่วนอีกสองในสามมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ไม่ประจักษ์ในข้อสำคัญ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หนึ่งในสามส่วนของความเสียหายที่โจทก์ได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974-2975/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนด ผู้ครอบครองต้องพิสูจน์การครอบครองโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ
การที่ผู้ร้องครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิการเช่าจากเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมและเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทต่อไป ผู้ร้องก็ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อโดยอาศัยสิทธิการเช่าจากเจ้าของที่ดินพิพาทรายต่อๆ ไป การครอบครองที่ดินพิพาทในลักษณะดังกล่าวของผู้ร้องไม่ว่าจะนานเพียงใดก็ไม่ใช่การครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ภายหลัง ส. เจ้าของที่ดินพิพาทถึงแก่กรรม ก็ต้องถือว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าจากทายาทของ ส. อยู่ตลอดไปจนกว่าผู้ร้องจะได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังเจ้าของที่ดินพิพาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือแทนต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เมื่อไม่มีพยานหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแล้วจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาบอกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลในการบอกเลิกและสถานะของคู่สัญญา
ปัญหาว่าข้อตกลงในสัญญาเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องยึดหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคสาม ซึ่งได้ยกตัวอย่างของคำจำกัดความไว้ เช่น เป็นข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นข้อตกลงให้สัญญาสิ้นสุดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือให้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ เป็นต้น
ก่อนที่โจทก์จะรับเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของจำเลย โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์จากบริษัทในต่างประเทศซึ่งเป็นรถยนต์ที่มีราคาสูงเช่นเดียวกับรถยนต์ของจำเลย อีกทั้งจำเลยได้ส่งร่างสัญญาตัวแทนให้แก่โจทก์ตรวจสอบก่อนที่จะเข้าทำสัญญากับจำเลย ตามสัญญาข้อ 11.2 กำหนดให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเช่นเดียวกับที่ให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามข้อสัญญาข้อ 11.3 โจทก์จึงไม่ตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบหรือจำยอมก่อนจะเข้าทำสัญญากับจำเลย ถือว่าการเข้าทำสัญญากับจำเลยเป็นไปด้วยความสมัครใจของโจทก์และอยู่บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันทั้งสองฝ่าย ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบซึ่งกันและกัน และจำเลยได้นำสืบสาเหตุแห่งการบอกเลิกสัญญารวมถึงพฤติการณ์อื่นๆ จะถือว่าจำเลยบอกเลิกสัญญาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรไม่ได้ ดังนั้น ข้อตกลงที่ให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 11.3 จึงไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้โจทก์ปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนพึงคาดหมายได้ตามปกติ หรือเป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้จำเลยได้เปรียบโจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 จำเลยบอกเลิกสัญญาตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ทั้งสองฉบับชอบแล้ว เมื่อการบอกเลิกสัญญามีเหตุสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
ก่อนที่โจทก์จะรับเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของจำเลย โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์จากบริษัทในต่างประเทศซึ่งเป็นรถยนต์ที่มีราคาสูงเช่นเดียวกับรถยนต์ของจำเลย อีกทั้งจำเลยได้ส่งร่างสัญญาตัวแทนให้แก่โจทก์ตรวจสอบก่อนที่จะเข้าทำสัญญากับจำเลย ตามสัญญาข้อ 11.2 กำหนดให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเช่นเดียวกับที่ให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามข้อสัญญาข้อ 11.3 โจทก์จึงไม่ตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบหรือจำยอมก่อนจะเข้าทำสัญญากับจำเลย ถือว่าการเข้าทำสัญญากับจำเลยเป็นไปด้วยความสมัครใจของโจทก์และอยู่บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันทั้งสองฝ่าย ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบซึ่งกันและกัน และจำเลยได้นำสืบสาเหตุแห่งการบอกเลิกสัญญารวมถึงพฤติการณ์อื่นๆ จะถือว่าจำเลยบอกเลิกสัญญาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรไม่ได้ ดังนั้น ข้อตกลงที่ให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 11.3 จึงไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้โจทก์ปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนพึงคาดหมายได้ตามปกติ หรือเป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้จำเลยได้เปรียบโจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 จำเลยบอกเลิกสัญญาตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ทั้งสองฉบับชอบแล้ว เมื่อการบอกเลิกสัญญามีเหตุสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาตัวแทนจำหน่าย สัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม การพิสูจน์เหตุบอกเลิกสัญญา
สัญญาตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ข้อ 11.3 กำหนดเพียงว่า จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ โดยการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือล่วงหน้า 90 วัน และจะมีผลเป็นการเลิกสัญญาเมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่ได้รับการบอกกล่าวแล้วเท่านั้น หาได้กำหนดเงื่อนไขหรือเหตุที่จะทำให้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแต่อย่างใดไม่ และข้อ 11.2 ยังกำหนดให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเช่นเดียวกับตามสัญญาข้อ 11.3 เหมือนกัน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 4 หรือไม่ ต้องยึดหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรคสาม ว่าเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้โจทก์ปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติเป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้จำเลยได้เปรียบโจทก์หรือไม่ เช่น เป็นข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นข้อตกลงให้สัญญาสิ้นสุดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือให้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ เป็นต้น โจทก์จึงไม่ได้ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบหรือจำยอมก่อนจะเข้าทำสัญญากับจำเลยแต่อย่างใด ถือว่าการเข้าทำสัญญากับจำเลยเป็นไปด้วยความสมัครใจของโจทก์และอยู่บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันทั้งสองฝ่าย ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบซึ่งกันและกัน ทั้งว่าจำเลยก็ได้นำสืบถึงสาเหตุแห่งการบอกเลิกสัญญา จะถือว่าจำเลยบอกเลิกสัญญาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือบอกเลิกสัญญาโดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำด้วยประการใดๆ ที่เป็นการผิดสัญญาหรือผิดข้อตกลงตามสัญญาไม่ได้ ข้อตกลงข้อ 11.3 จึงไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้โจทก์ปฏิบัติ หรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ หรือเป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้จำเลยได้เปรียบโจทก์ จึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินติดจำนอง การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงหลังสัญญา และการรับฟังพยานหลักฐาน
สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อความว่าเนื่องจากที่ดินพิพาทติดจำนองกับธนาคาร ถ้าโจทก์ไถ่ถอนจำนองเมื่อไรจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยทันที สัญญาซื้อขายฉบับนี้จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรายนี้ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร มีข้อความว่าโจทก์รับราคาดังกล่าวไปจากจำเลยเสร็จแล้วตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2541 การรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่า ความจริงแล้วโจทก์ได้รับค่าที่ดินเพียง 90,000 บาท เงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้จำเลยไปชำระต่อธนาคาร พ. เพื่อชำระหนี้ที่โจทก์จำนองที่ดินดังกล่าวไว้แก่ธนาคารไม่ได้ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารและการรับฟังพยานหลักฐาน
สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อความว่า เนื่องจากที่ดินพิพาทติดจำนองกับธนาคาร ถ้าโจทก์ไถ่ถอนจำนองเมื่อไรจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยทันที สัญญาซื้อขายฉบับนี้จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ...หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ เมื่อสัญญาจะซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรมีข้อความว่าโจทก์รับราคาดังกล่าวไปจากจำเลยเสร็จแล้วตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2541 การรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่า ความจริงแล้วโจทก์ได้รับเงินค่าที่ดินเพียง 90,000 บาท เงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้จำเลยไปชำระต่อธนาคาร พ. เพื่อชำระหนี้ที่โจทก์จำนองที่ดินดังกล่าวไว้แก่ธนาคารไม่ได้ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้น