คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อร่าม แย้มสอาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9413/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย แม้ไม่มีเจตนาฆ่า ก็เป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290
ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติให้รับโทษหนักขึ้นแตกต่างจากความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ตลอดจนความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามมาตรา 295, 297, และ 391 ตามลำดับอันแสดงให้เห็นถึงกฎหมายเจตนาให้ผู้กระทำต้องรับโทษตามผลของการกระทำนั้นแตกต่างกันไปตามความหนักเบาของผลที่เกิดขึ้น เมื่อจำเลยที่ 2 ใช้มีดดาบไล่ฟันผู้ตายอันเป็นการทำร้ายผู้ตาย เป็นเหตุให้ผู้ตายวิ่งหลบหนีกระโดดลงน้ำจนถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการทำร้ายผู้ตายซึ่งเมื่อมิใช่โดยเจตนาฆ่าแต่เป็นเหตุทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 290 วรรคแรกแล้ว มิใช่เป็นการพยายามกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8895/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ส่งผลให้การริบทรัพย์สินไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยึดทรัพย์ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สำเนาคำร้องดังกล่าวให้ผู้คัดค้าน (จำเลย) แม้คำร้องของผู้ร้องจะเป็นการร้องตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ซึ่งมาตรา 28 ได้บัญญัติให้ศาลสั่งให้ประกาศหนังสือพิมพ์และให้เลขาธิการแจ้งให้ผู้ที่อาจอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้สำเนาให้จำเลยแล้ว จึงต้องนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสารมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ทั้งไม่ปรากฏว่าเลขาธิการได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแต่อย่างใด ส่วนที่ศาลชั้นต้นประกาศคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินในหนังสือพิมพ์นั้น เป็นการประกาศให้บุคคลภายนอกที่อาจมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ขอให้ริบได้ทราบ เพื่อจะได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนคดีถึงที่สุด มิได้หมายถึงผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่ความในคดีและต้องขังอยู่ไม่อาจทราบประกาศแต่อย่างใด ฉะนั้นจะถือว่าผู้คัดค้านทราบคำร้องฉบับนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8895/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาคำร้อง ทำให้จำเลยไม่สามารถคัดค้านการริบทรัพย์สินได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สำเนาคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านและนาย ธ. ให้ผู้คัดค้าน (จำเลย) แต่ผู้คัดค้านยังไม่ได้รับสำเนาเนื่องจากไม่มีการดำเนินการใดตามคำสั่งศาลชั้นต้น ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาในส่วนของการยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสาร ทำให้ผู้คัดค้านไม่อาจยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านได้ จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินส่วนของผู้คัดค้าน ซึ่งแม้คำร้องของผู้ร้องจะเป็นการร้องตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ ซึ่งมาตรา 28 ได้บัญญัติให้ศาลสั่งให้ประกาศหนังสือพิมพ์และให้เลขาธิการแจ้งให้ผู้ที่อาจอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้สำเนาให้จำเลยแล้ว จึงต้องนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. ดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ทั้งไม่ปรากฏว่า เลขธิการได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแต่อย่างใดจึงเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนคืนศาลชั้นต้นให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาในส่วนของการยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสารให้ครบถ้วนเสียก่อน ส่วนที่ศาลชั้นต้นประกาศคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินในหนังสือพิมพ์นั้น เป็นการประกาศให้บุคคลภายนอกที่อาจมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ขอให้ริบได้ทราบเพื่อจะได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนคดีถึงที่สุด มิได้หมายถึงผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่ความในคดีและต้องขังอยู่ซึ่งไม่อาจทราบประกาศได้แต่อย่างใด ฉะนั้น จะถือว่าผู้คัดค้านทราบคำร้องฉบับนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7146/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ: การแทงผู้ชายที่อยู่กินกับภรรยาตนเอง
การที่จำเลยยังคงติดตามให้ จ. กลับไปอยู่กับจำเลยและบุตรเมื่อจำเลยไปพบเห็น จ. กับผู้เสียหายอยู่กันตามลำพังในห้องน้ำในคืนเกิดเหตุ นับได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่ผู้เสียหายได้กระทำการอันเป็นการข่มเหงในทางจิตใจของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและจำเลยย่อมเกิดอารมณ์หึงหวงในฐานะที่ตนเองเป็นสามีของ จ. อยู่และบันดาลโทสะขึ้นในขณะนั้นจึงได้ใช้มีดแทงผู้เสียหาย ซึ่งแม้จำเลยแทงผู้เสียหายครั้งแรกในห้องน้ำ และแทงผู้เสียหายครั้งต่อๆ มาที่ประตูหน้าบ้าน แต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องติดพันกันอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตามประมวลอาญา มาตรา 72
จ. ยังเป็นภริยาจำเลย แต่การที่จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเพื่อตามหา จ. โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายมีความสัมพันธ์กันในทางใด ทั้งจำเลยก็ไม่เคยพักอาศัยอยู่กับผู้เสียหาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยพลการ จึงเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งมิได้วางแผนเตรียมมีดของกลางเพื่อที่จะไปแทงผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุ แต่เมื่อจำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายแล้วจำเลยไปพบว่าผู้เสียหายอยู่ในห้องน้ำกับ จ. เพียงสองต่อสอง จึงหยิบมีดที่พบวางอยู่ไปแทงผู้เสียหาย การบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายกับการแทงผู้เสียหายจึงเป็นเจตนาที่มิได้เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่เกิดขึ้นเป็นสองครั้งแยกจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน โดยเป็นความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืนกรรมหนึ่งและพยายามฆ่าอีกกรรมหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6815/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องคดีข่มขืนใจผู้อื่น เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เชื่อมโยงจำเลยกับเหตุการณ์ และการคืนของกลางแก่เจ้าของ
ตามคำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์ไม่ปรากฏว่าทั้งก่อนหรือขณะที่ ส. ชักอาวุธปืนพกออกมาจี้ที่หน้าอกของผู้เสียหาย จำเลยทั้งสองซึ่งอยู่ห่าง 3 ถึง 4 เมตร ได้กระทำการอย่างใดที่เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในการที่ ส. ชักอาวุธปืนพกออกมาจี้ผู้เสียหาย กรณีจึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ ส. กระทำความผิดหรือไม่ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกา แต่ข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 เกี่ยวพันเป็นอันเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 2 ให้พ้นจากความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยมีอาวุธได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185, 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 215 และ 225
สำหรับคำขอคืนของกลางอื่นที่เหลือแก่เจ้าของ ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดเครื่องยนต์ดีเซล 1 เครื่อง หลังคารถขนาดเล็กพับได้ 1 หลัง ท่อไอเสียเฮดเดอร์รถยนต์ 1 ชุด กันชนหน้าและกันชนหลังรถยนต์ 1 ชุด อันเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาไปเป็นของกลางและขอให้คืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของ คำขอดังกล่าวเป็นคำขอให้ศาลมีคำสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของเมื่อศาลพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 มิใช่คำขอส่วนแพ่งที่ให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 43 และยกคำขอดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องโดยให้คืนของกลางอื่นแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6300/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดี: ผู้ร้องต้องพิสูจน์ความไม่สามารถชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่น
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง เป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่า ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ ผู้ร้องมีพยานบุคคลเพียงปากเดียวเบิกความว่าได้มีการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพียงมีหนังสือสอบถามเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและเงินฝากในธนาคารของจำเลยเท่านั้น ผู้ร้องไม่มีพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดๆ แสดงให้ปรากฏต่อศาลว่า ผู้ร้องได้กระทำการอย่างอื่นอันจะถือได้ว่าเป็นการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้อีก การดำเนินการของผู้ร้องเพียงเท่านี้ เห็นว่า ไม่พอเพียงที่ศาลจะฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่นๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6225/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสถานีบริการน้ำมัน: การบอกเลิกสัญญา, ค่าชดเชย, และค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์สิน
การพิจารณาว่าจำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อตกลงแต่งตั้งผู้ประกอบการระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสำคัญซึ่งระบุไว้ในข้อ 10 ของสัญญาดังกล่าวว่า "ในระหว่างระยะเวลาการเช่าตามข้อ 6 หากผู้ประกอบการไม่ประสงค์จะดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากต่อไป หรือสัญญานี้เลิก หรือสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาตามข้อ 1 เนื่องจากความผิดของผู้ประกอบการ บริษัทบางจากฯ มีสิทธิที่จะจัดผู้อื่นเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการแทนโดยจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ประกอบการ..." ข้อเท็จจริงได้ความว่า ก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา โจทก์ประสบภาวะขาดทุนโจทก์จึงมีหนังสือแจ้งจำเลยว่าไม่ประสงค์จะดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากต่อไปขอให้จำเลยรีบดำเนินการจ่ายเงินชดเชยค่าใช้ประโยชน์ในที่ดินและเงินชดเชยค่าก่อสร้างให้โจทก์ และเหตุที่โจทก์ประสบภาวะขาดทุนเป็นผลมาจากโจทก์ไม่สามารถซื้อน้ำมันจากจำเลยตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาจึงถูกจำเลยปรับ ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าไม่ประสงค์จะดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากต่อไปจึงเป็นผลมาจากความผิดของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิตามสัญญาข้อ 10 ที่จะจัดผู้อื่นเข้ามาดำเนินการแทนโดยจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ประกอบการ สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิของฝ่ายจำเลยที่จะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้เพราะข้อสัญญาไม่ได้บังคับไว้ เมื่อจำเลยไม่ใช้สิทธิดังกล่าว จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ ในส่วนที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งว่ายินดีที่จะใช้สิทธิเข้าดำเนินการสถานีบริการน้ำมันต่อไปและชำระค่าชดเชยแก่โจทก์ หนังสือนั้นจึงมีลักษณะเป็นคำสนองรับการไม่ประสบจะดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากของโจทก์ แต่คำสนองของจำเลยดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญว่าจำเลยจะชำระค่าชดเชยแก่โจทก์ และจำเลยจะจัดทำบันทึกข้อตกลงเพื่อใช้สิทธิเข้าดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากจากโจทก์และจะนัดหมายโจทก์มาลงนามรับข้อตกลงต่อไป จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไข ถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของจำเลยเมื่อโจทก์ไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและมีหนังสือโต้แย้งจำนวนค่าชดเชยและวิธีการคำนวณค่าชดเชย หนังสือดังกล่าวจึงเป็นการบอกปัดคำเสนอของจำเลย คำเสนอของจำเลยจึงสิ้นความผูกพัน
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 12 ไม่ให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ การที่จำเลยทำสัญญาแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2536 ก่อนวันที่ พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับ จึงนำ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาปรับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5927/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความและผลกระทบจากการตัดถนน-การจดทะเบียนสิทธิ
โจทก์ทั้งสี่ใช้ลำรางพิพาทในการชักน้ำเข้านาที่ดินพิพาท แล้วขุดเป็นบ่ออยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าว จากนั้นโจทก์ทั้งสี่ใช้ระหัดวิดน้ำหรือใช้เครื่องสูบน้ำชักน้ำเข้าไปยังที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ด้วยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้มาซึ่งภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปี แล้ว แม้จะได้ความว่ามีลำรางพิพาทถึงที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น ส่วนที่ดินแปลงอื่น ๆ ดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มีการชักน้ำเข้าไปโดยการใช้ระหัดวิดน้ำหรือเครื่องสูบน้ำจากที่ดินพิพาทแต่ก็อยู่ในลักษณะที่ลำรางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งสามต้องรับกรรม หรือรับภาระเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 และที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ที่อยู่ถัดไปด้วยเช่นกัน เพราะสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ถ้าการที่ต้องภาระจำยอมนั้นมีลักษณะเป็นภาระแก่อสังหาริมทรัพย์อื่น จะเป็นแปลงหนึ่งหรือหลายแปลงก็ดี จะมีอสังหาริมทรัพย์อื่นคั่นอยู่ก็ดี ก็ตกเป็นภาระจำยอมได้ ที่ดินของจำเลยทั้งสามจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ทั้งหกแปลงในการใช้ลำรางพิพาทโดยอายุความ
สิทธิตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1299 ต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกันแต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิ ซึ่งเป็นสิทธิคนละประเภทกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้สิทธิภาระจำยอมลำรางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจะต้องรับรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1387 จึงไม่อาจนำมาตรา 1299 วรรคสองมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5927/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ลำรางพิพาทเพื่อชักน้ำเข้าที่ดินหลายแปลง ย่อมก่อให้เกิดภาระจำยอมแก่ที่ดินเจ้าของลำราง
โจทก์ทั้งสี่ใช้ลำรางพิพาทในการชักน้ำเข้านาที่ดินโฉนดเลขที่ 3191 แล้วขุดเป็นบ่ออยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าว จากนั้นโจทก์ทั้งสี่ใช้ระหัดวิดน้ำหรือใช้เครื่องสูบน้ำชักน้ำเข้าไปยังที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ด้วยความสงบ และเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้มาซึ่งภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปี แล้ว แม้จะได้ความว่ามีลำรางพิพาทถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 3191 ของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น ส่วนที่ดินแปลงอื่น ๆ ดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มีการชักน้ำเข้าไปโดยการใช้ระหัดวิดน้ำหรือเครื่องสูบน้ำจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3191 แต่ก็อยู่ในลักษณะที่ลำรางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งสามต้องรับกรรม หรือรับภาระเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 และที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ที่อยู่ถัดไปด้วยเช่นกัน เพราะสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ถ้าการที่ต้องภาระจำยอมนั้นมีลักษณะเป็นภาระแก่อสังหาริมทรัพย์อื่น จะเป็นแปลงหนึ่งหรือหลายแปลงก็ดี จะมีอสังหาริมทรัพย์อื่นคั่นอยู่ก็ดี ก็ตกเป็นภาระจำยอมได้ ที่ดินของจำเลยทั้งสามจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ทั้งหกแปลงในการใช้ลำรางพิพาทโดยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิด: การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากเหตุทำร้ายร่างกาย, การประเมินค่าเสียหาย, ค่าทนายความ และค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นผู้เยาว์และเป็นผู้เสียหาย โดยมีโจทก์ที่ 2 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะส่วนตัวและในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจ เป็นการละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และบรรยายฟ้องถึงค่าเสียหาย 3 ประการ คือ ประการที่ 1 ค่ารักษาพยาบาลตัวโจทก์ที่ 1 ที่โรงพยาบาล บ. เป็นเงิน 3,120 บาท ประการที่ 2 ค่ารถยนต์แท็กซี่ในการเดินทางของโจทก์ที่ 1 จากบ้านไปโรงเรียนหรือโรงพยาบาลเป็นเงิน 6,300 บาท และประการที่ 3 ค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 ที่ไม่สามารถใช้มือซ้ายยกเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้เหมือนคนปกติตลอดชีวิตเป็นเงิน 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 309,420 บาท ซึ่งการที่โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 2 ถูกจำเลยที่ 1 บุตรของจำเลยที่ 2 ใช้มีดฟันที่ข้อมือซ้ายได้รับบาดเจ็บสาหัส โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีหน้าที่ดูแลจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าเดินทางต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เมื่อต้องเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว โจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จ่ายไปจากผู้ที่ทำละเมิดคือจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ได้ เพราะเป็นค่าเสียหายส่วนตัวโดยตรง แม้ในคำฟ้องระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยมิได้ระบุว่าโจทก์ทั้งสอง แต่คำว่าโจทก์ย่อมหมายถึงโจทก์ทั้งสอง ซึ่งรวมถึงโจทก์ที่ 2 ด้วย โจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายประการที่ 1 และประการที่ 2 จากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นค่าเสียหายส่วนตัวโดยตรง ส่วนค่าเสียหายประการที่ 3 โจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียหายโดยตรง โดยโจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายในส่วนนี้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเฉพาะประการที่ 3 จากจำเลยทั้งสองเท่านั้น
of 16