พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล และการลดค่าปรับจากสัญญาที่ไม่สมเหตุสมผล
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบงานบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นผู้กระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นจังหวัดโดยผลของกฎหมาย เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ลงลายมือชื่อแต่งให้ ส. อัยการผู้เชี่ยวชาญคดีแพ่ง เขต 8 เป็นทนายความยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ว ไม่ต้องแสดงสิทธิและหน้าที่ตลอดจนวัตถุประสงค์ของโจทก์ว่ามีอำนาจและขอบเขตการใช้อำนาจอย่างไร หรือต้องแสดงเอกสารสำคัญของอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของโจทก์มาในฟ้อง
โจทก์ตระหนักดีอยู่แล้วว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถที่จะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างได้อย่างแน่นอนตั้งแต่ก่อนถึงเวลาครบกำหนดการทำงานตามสัญญาว่าจ้าง การที่โจทก์ทอดเวลาบอกเลิกสัญญาเป็นเวลาถึง 277 วัน เป็นการไม่พยายามบรรเทาความเสียหายลงไปบ้าง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนผิดไม่บอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควร ทำให้จำนวนเบี้ยปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่โจทก์บอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ที่โจทก์คิดค่าปรับวันละ 2,607 บาท เป็นเวลา 277 วัน เป็นเงิน 722,139 บาท จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
โจทก์ตระหนักดีอยู่แล้วว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถที่จะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างได้อย่างแน่นอนตั้งแต่ก่อนถึงเวลาครบกำหนดการทำงานตามสัญญาว่าจ้าง การที่โจทก์ทอดเวลาบอกเลิกสัญญาเป็นเวลาถึง 277 วัน เป็นการไม่พยายามบรรเทาความเสียหายลงไปบ้าง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนผิดไม่บอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควร ทำให้จำนวนเบี้ยปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่โจทก์บอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ที่โจทก์คิดค่าปรับวันละ 2,607 บาท เป็นเวลา 277 วัน เป็นเงิน 722,139 บาท จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลภาครัฐ และการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนจากความล่าช้าในการบอกเลิกสัญญา
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบงานบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นผู้กระทำการแทนโจทก์โดยผลของกฎหมาย เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาโดย ว. ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาในขณะยื่นฟ้องคดีนี้ได้ลงลายมือชื่อ แต่งให้ ส. อัยการผู้เชี่ยวชาญคดีแพ่ง เขต 8 เป็นทนายความยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ว
โจทก์ตระหนักดีอยู่แล้วว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถที่จะทำงานได้แล้วเสร็จตามสัญญาได้อย่างแน่นอนตั้งแต่ก่อนถึงเวลาครบกำหนดการทำงานตามสัญญาว่าจ้าง การทอดเวลาบอกเลิกสัญญาเป็นเวลาถึง 277 วัน ต้องนับว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายลงไปบ้าง ถือว่าโจทก์มีส่วนผิดไม่บอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควรทำให้จำนวนเบี้ยปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่โจทก์บอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย ที่โจทก์คิดค่าปรับวันละ 2,607 บาท เป็นเวลา 277 วัน เป็นเงิน 722,139 บาท จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
โจทก์ตระหนักดีอยู่แล้วว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถที่จะทำงานได้แล้วเสร็จตามสัญญาได้อย่างแน่นอนตั้งแต่ก่อนถึงเวลาครบกำหนดการทำงานตามสัญญาว่าจ้าง การทอดเวลาบอกเลิกสัญญาเป็นเวลาถึง 277 วัน ต้องนับว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายลงไปบ้าง ถือว่าโจทก์มีส่วนผิดไม่บอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควรทำให้จำนวนเบี้ยปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่โจทก์บอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย ที่โจทก์คิดค่าปรับวันละ 2,607 บาท เป็นเวลา 277 วัน เป็นเงิน 722,139 บาท จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของข้อมูลใน พ.ร.บ.ข้อมูลเครดิต: จำเลยมีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลตามกฎหมาย เจ้าของข้อมูลไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ลบข้อมูล
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตฯ ได้บัญญัติให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลจากสมาชิกหรือจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูล การแจ้งข้อมูลหรือส่งข้อมูลของสมาชิกของจำเลยที่ 1 อันเป็นหน้าที่อันพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งกฎหมายดังกล่าวมิได้ให้อำนาจเจ้าของข้อมูลที่จะยกเลิกเพิกถอนหรือให้ลบข้อมูลได้ การกระทำทั้งสิบไม่ยกเลิก เพิกถอนหรือลบข้อมูลของโจทก์ตามคำร้องของโจทก์จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของข้อมูลเครดิต: กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิยกเลิก/ลบข้อมูล การไม่ลบข้อมูลไม่ถือเป็นการละเมิด
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 มาตรา 25 กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลที่จะดำเนินการอันใดได้บ้างทั้งนี้โดยไม่มีข้อกำหนดหรือให้สิทธิเจ้าของข้อมูลที่ยกเลิกเพิกถอนหรือให้ลบข้อมูลของตนได้ ฉะนั้น เมื่อการจัดเก็บข้อมูลของจำเลยที่ 1 ตลอดจนการแจ้งหรือส่งข้อมูลของสมาชิกของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 เป็นหน้าที่อันต้องพึงปฏิบัติตามกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 ให้อำนาจเจ้าของข้อมูลที่จะกระทำการยกเลิกถอนหรือให้ลบข้อมูลได้ การที่จำเลยทั้งสิบไม่ยกเลิกเพิกถอนหรือลบข้อมูลของโจทก์ตามคำร้องขอของโจทก์ จึงมิใช่การกระทำอันเป็นละเมิดที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีมีดุลพินิจเหมาะสมในการไม่อนุญาตขยายเวลาเพิ่มเติม
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์ทั้งหลายต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของประกาศการขายทอดตลาดเป็นสำคัญเมื่อปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์เคยขอขยายระยะเวลาการวางเงินมาแล้วถึง 2 ครั้ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีก็อนุญาตให้ขยายได้ทั้ง 2 ครั้ง รวมเป็นระยะเวลา 60 วัน ตามระเบียบคำสั่งและวิธีปฏิบัติของกรมบังคับคดีที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตได้ โดยจะครบกำหนดวันที่ 30 สิงหาคม 2547 เมื่อผู้ซื้อทรัพย์มาขออนุญาตขยายระยะเวลาการวางเงินเป็นครั้งที่ 3 อีก 30 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามคำร้องโดยเห็นว่าไม่มีเหตุสมควรนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว เนื่องเพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ผู้ซื้อทรัพย์ขยายระยะเวลาไปอีกก็จะเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อการบังคับคดี ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมีน้ำหนักกว่าการซื้อเพื่อขายต่อ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลง โดยจดทะเบียนซื้อมาจาก ย. และ ป. ตามลำดับ เมื่อโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแล้วได้ปลูกพืชผลต่างๆ จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้ามาครอบครองที่ดินพิพาทปลูกมันสำปะหลัง ปลูกกระต๊อบเป็นที่พักและทำลาย ทำให้เสียหายที่ดินและต้นไม้ของโจทก์ เป็นเงินทั้งสิ้น 359,250 บาท และมีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าเสียหาย ให้โจทก์นับถึงวันฟ้องเป็นเงิน 359,250 บาท และร่วมกันชำระค่าเสียหาย ค่าที่ดิน และต้นไม้ในอัตราไร่ละ 500 บาท ต่อปี ในที่ดิน 52 ไร่ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งหกและบริวารได้ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทในสภาพเรียบร้อยแก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่ได้มีคำขอบังคับขับไล่จำเลยทั้งหกและบริวารออกจากที่ดินพิพาท แต่ที่โจทก์ระบุว่าจนกว่าจำเลยทั้งหกและบริวารได้ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์นั้น เป็นกรณีพอแปลความหมายได้ว่า จนกว่าจำเลยทั้งหกจะออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้ขับไล่จำเลยทั้งหกและบริวารออกจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการหักชำระหนี้จากบัญชีเงินเดือนตามสัญญา การฟ้องภายใน 10 ปีนับจากวันสะดุดหยุดยังคงมีอายุความ
จำเลยที่ 1 ยอมให้หน่วยงานของตนนำเงินเดือนหรือเงินได้อื่นใดของจำเลยที่ 1 ทุกเดือนเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 เมื่อมีการนำเงินเข้าบัญชีแล้ว โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธินำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้กู้ไปจากโจทก์ตามข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้กับโจทก์ตามสัญญากู้ ดังนั้น เมื่อมีการถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวจึงเป็นผลให้จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นลูกหนี้ของโจทก์ การที่หน่วยงานต้นสังกัดของจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวทุก ๆ เดือน และโจทก์นำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่กับโจทก์เป็นปกติตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันมา อายุความจึงสะดุดหยุดลงทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าบัญชี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า หน่วยงานต้นสังกัดของจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 ครั้งสุดท้ายวันที่ 30 มิถุนายน 2537 โจทก์นำเงินดังกล่าวตัดบัญชีเพื่อชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระในวันดังกล่าว อายุความในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2537 และเริ่มนับอายุความใหม่วันที่ 1 กรกฎาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 28 มิถุนายน 2547 ภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่อายุความสะดุดหยุดลง ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4614/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาเช่าตามเจตนาจริงและข้อยกเว้นการริบเงินประกันความเสียหายเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยหรือความผิดของผู้เสียหาย
แม้สัญญาเช่าจะระบุว่า ถ้าอาคารที่เช่าเกิดอัคคีภัยขึ้นไม่ว่าเพราะเหตุใดก็ตามมากน้อยเท่าใดก็ตาม สัญญาเช่านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลงทันทีและผู้เช่ายินยอมให้ผู้ให้เช่าริบเงินประกันการเช่าได้ทั้งสิ้น แต่ข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้ร่างสัญญาเช่าดังกล่าวว่าเงื่อนไขของสัญญาเช่าในข้อดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ให้โจทก์ต้องใช้ความระมัดระวังดูแลทรัพย์ที่เช่ามิให้เกิดอัคคีภัยขึ้น ดังนั้น การตีความตามสัญญาต้องตีความตามเจตนาแท้จริงของคู่สัญญาคือเงินประกันความเสียหายดังกล่าวเป็นเงินที่วางไว้เพื่อเป็นหลักประกันว่าโจทก์จะไม่ทำความเสียหายให้เกิดแก่ทรัพย์ที่เช่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยที่ 1 ตรงกันว่าเหตุไฟไหม้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรในขณะที่ทรัพย์ที่เช่าอยู่ในครอบครองของโจทก์ กระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ โจทก์จึงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายคือจำเลยที่ 1 แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า ความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายคือจำเลยที่ 1 โจทก์จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิริบเงินประกันความเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของภริยาที่มีสามี และการบังคับตามสัญญากู้เงินที่เกิดจากหนี้ค่าทอง
การฟ้องและการดำเนินคดีไม่อยู่ในบังคับของการจัดการสินสมรสที่ ป.พ.พ. มาตรา 1476 บัญญัติให้สามีและภริยาต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งตามมาตรา 1477 ยังได้บัญญัติรับรองให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้ด้วย ดังนั้น แม้จะได้ความตามข้อนำสืบของจำเลยโดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่าโจทก์เป็นหญิงมีสามีโดยชอบด้วยกฎหาย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต่างตอบแทน ผู้ขายผิดนัดก่อสร้างบ้าน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืน
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับ บ. เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยและ บ. จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่กันและกัน โดย บ. ผ่อนชำระให้จำเลยแล้วบางส่วน อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่จำเลยไปแล้ว จำเลยก็ต้องทำการชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงต้องทำภายในเวลาอันสมควร อันได้แก่การต้องลงมือก่อสร้างบ้านตามที่ตกลงไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยยังไม่ได้ลงมือก่อนสร้างบ้าน ถือว่า จำเลยไม่ปฏิบัติการชำระหนี้เป็นการตอบแทน จำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญาตั้งแต่นั้นมา จึงไม่ต้องคำนึงว่าระยะเวลา 15 วัน ที่โจทก์กำหนดไว้ในหนังสือให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเป็นเวลาพอสมควรหรือไม่ แม้หนังสือบอกเลิกสัญญาไม่ระบุข้อความว่า บ. พร้อมที่จะชำระเงินดาวน์ส่วนที่เหลือ ก็ไม่ทำให้หนังสือบอกเลิกสัญญามาชอบแต่อย่างใด เพราะข้อความดังกล่าวไม่ใช่สาระสำคัญของการบอกเลิกสัญญาหนังสือบอกเลิกสัญญาชอบแล้ว