พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11234/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การจำแนกประเภทหนี้ค่าเสียหาย, เบี้ยปรับ, และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันทำให้หนี้เดิมระงับไปและเปลี่ยนมาเป็นหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแทน ซึ่งตามสัญญาดังกล่าวจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าปรับของยอดซื้อผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่อเดือนต่ำกว่าจำนวนที่จำเลยได้ให้คำรับรองไว้ จำนวนเงินดังกล่าวถือว่าเป็นค่าเสียหายอันจำเลยยอมรับผิดชดใช้แก่โจทก์ ถือว่าเป็นมูลหนี้เกี่ยวกับค่าเสียหายตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความแจ้งชัดแล้ว มิใช่ค่าเสียหายที่คู่ความตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการไม่ชำระหนี้จึงมิใช่เบี้ยปรับ จำเลยต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้
แต่ในส่วนที่เป็นเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ของหนี้ค่าซื้อผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมค้างชำระ โจทก์และจำเลยมิได้ตกลงหรือกำหนดเบี้ยปรับดังกล่าวไว้เป็นจำนวนที่แน่นอนแจ้งชัดในขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ยอมรับว่าเป็นหนี้เบี้ยปรับ
ส่วนค่าเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของต้นเงินที่ยังไม่ชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมนั้น เป็นการที่จำเลยสัญญาแก่โจทก์ไว้ล่วงหน้าว่าจำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายกรณีที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับอันศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
แต่ในส่วนที่เป็นเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ของหนี้ค่าซื้อผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมค้างชำระ โจทก์และจำเลยมิได้ตกลงหรือกำหนดเบี้ยปรับดังกล่าวไว้เป็นจำนวนที่แน่นอนแจ้งชัดในขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ยอมรับว่าเป็นหนี้เบี้ยปรับ
ส่วนค่าเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของต้นเงินที่ยังไม่ชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมนั้น เป็นการที่จำเลยสัญญาแก่โจทก์ไว้ล่วงหน้าว่าจำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายกรณีที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับอันศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9822/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อ - ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำผิดของผู้เช่าซื้อ - การใช้สิทธิเรียกร้องคืนรถ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ทุกประเภทแก่บุคคลทั่วไป ส. นำรถยนต์ของกลางมาทำสัญญาเช่าซื้อไว้กับผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมไม่อาจจะรู้ว่าจำเลยที่ 2 พี่สาวของผู้เช่าซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีจะนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด และตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ก็ระบุความโดยสรุปว่า หากรถถูกใช้เป็นพาหนะในการกระทำความผิด หรือใช้รถในลักษณะที่ผิดกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับใด ๆ หรือใช้รถโดยประการอื่นใด เป็นเหตุให้รถถูกริบ ยึด อายัด ตกเป็นของรัฐ ให้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุดลงทันที และผู้เช่าซื้อจะต้องชดใช้ค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ตามสัญญาข้อ 5 วรรคสอง และเมื่อผู้ร้องมีหนังสือยืนยันการเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว การที่ในช่วงเวลาต่อเนื่องกันมาผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง ก็เป็นการที่ผู้ร้องใช้สิทธิดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ซึ่งเป็นช่องทางการเยียวยาและบรรเทาความเสียหายของผู้ร้องทางหนึ่ง ไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ติดตามรถยนต์ของกลางทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่ามีการนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายหรือยื่นคำร้องเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลขายทรัพย์สิน: สิทธิในการริบเงินมัดจำและเรียกค่าเสียหายเมื่อผู้ชนะไม่ชำระราคา
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 516 เป็นเพียงการกำหนดความรับผิดชอบชดใช้เงินส่วนที่ขาดไปหากนำทรัพย์สินนั้นออกขายซ้ำอีกครั้งหนึ่งแล้วได้เงินไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินใหม่อีกครั้งหนึ่งเสมอไป เพราะเมื่อพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา 510 ประกอบด้วยแล้วจะเห็นว่า ผู้ทอดตลาดสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในคำโฆษณาบอกขายและตามความข้ออื่น ๆ ก็ได้ โดยโจทก์ได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ให้จำเลยและบุคคลอื่นที่เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินของโจทก์ทราบก่อนแล้ว และจำเลยก็ได้ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกำหนดดังกล่าวของโจทก์และจำเลยจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของโจทก์ทุกประการตามใบเสนอราคาทรัพย์สินของจำเลย เมื่อจำเลยในฐานะผู้ชนะการประมูลราคาทรัพย์สินของโจทก์เพราะจำเลยเป็นผู้ให้ราคาสูงสุด แต่จำเลยไม่ชำระราคาทรัพย์สินภายในเวลาที่กำหนดจึงถือว่าจำเลยสละสิทธิในการประมูลดังกล่าวและโจทก์มีสิทธิริบเงินมัดจำซองกับมีสิทธิให้ ช. ผู้ให้ราคาประมูลสูงสุดเป็นอันดับที่สอง เป็นผู้ชนะการประมูลทรัพย์สินของโจทก์ต่อไปและโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินส่วนต่างที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลยอีกด้วย เพราะการที่โจทก์ประกาศข้อกำหนดการประมูลราคาทรัพย์สินโดยไม่ได้ประกาศอีกครั้งหนึ่งนั้นเป็นข้อสัญญาเฉพาะรายที่กำหนดขึ้นไว้เพื่อประโยชน์แก่การประมูลขายทรัพย์สินเท่านั้น ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 516 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5420/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือพจนานุกรม: พยานหลักฐานสอดคล้องน่าเชื่อถือ การนำสืบพยานต้องกระทำต่อหน้าศาล
พยานโจทก์และโจทก์ร่วม 2 ปาก กับจำเลยที่ 1 มีความคุ้นเคยกันอย่างดี แม้มีเหตุอันควรเชื่อว่าพยานดังกล่าวย่อมต้องเบิกความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าข้อเท็จจริงที่นำสืบมาจะไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น หากทางนำสืบมีความสมเหตุผลและสอดคล้องต้องกัน เมื่อไม่ปรากฏข้อพิรุธในคำเบิกความของพยานดังกล่าวเบิกความปรักปรำจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องนำสืบพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่อ้างถึงที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าพยานเพื่อสนับสนุนข้ออ้าง หรือนำสืบพยานหลักฐานอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนข้ออ้างดังกล่าว ลำพังคำเบิกความลอย ๆ ของจำเลยที่ 2 ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะหักล้างพยานหลักฐานโจทก์และโจทก์ร่วมได้
ในส่วนที่จำเลยที่ 2 นำสืบเอกสารคำให้การของพยาน แต่ข้อเท็จจริงในเอกสารคำให้การดังกล่าวจะเป็นจริงเพียงใด จำเลยที่ 2 ผู้อ้างอิงเอกสารชอบที่จะนำพยานซึ่งได้ให้การไว้มาเบิกความต่อศาล ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ถามค้านข้อเท็จจริงที่ได้ให้การดังกล่าวมา เมื่อผู้ที่ให้การนั้นไม่มาเบิกความต่อศาล ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่าไม่อาจรับฟังได้
ในส่วนที่จำเลยที่ 2 นำสืบเอกสารคำให้การของพยาน แต่ข้อเท็จจริงในเอกสารคำให้การดังกล่าวจะเป็นจริงเพียงใด จำเลยที่ 2 ผู้อ้างอิงเอกสารชอบที่จะนำพยานซึ่งได้ให้การไว้มาเบิกความต่อศาล ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ถามค้านข้อเท็จจริงที่ได้ให้การดังกล่าวมา เมื่อผู้ที่ให้การนั้นไม่มาเบิกความต่อศาล ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่าไม่อาจรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดทำให้การอุทธรณ์คำสั่งชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นอันตกไป
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ถือว่าคำพิพากษาดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์เกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดเจ้าของสัตว์: ต้องพิสูจน์การควบคุมดูแลและการปล่อยปละละเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 46 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 111 ซึ่งบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวบัญญัติในทำนองเดียวกันว่า ผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นผู้ที่ขี่ จูง ไล่ต้อน ปล่อย หรือเลี้ยงสัตว์บนทางหรือทางจราจร โดยไม่มีบทสันนิษฐานให้ถือว่าเจ้าของสัตว์เป็นผู้กระทำความผิด หรือบัญญัติให้เจ้าของสัตว์จะต้องรับผิดตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว แม้จะมิได้เป็นผู้ขี่ จูง ไล่ต้อน ปล่อยหรือเลี้ยงสัตว์ด้วยตนเองก็ตาม ดังนี้ นอกจากโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าของโคตัวที่ก่อเหตุแล้ว โจทก์ยังต้องนำสืบให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้ควบคุมดูแลโคตัวดังกล่าวและปล่อยให้วิ่งขึ้นไปบนทางจราจรหรือจำเลยปล่อยให้โคเดินไปตามลำพังและวิ่งขึ้นไปบนทางจราจรโดยจำเลยมิได้ควบคุมดูแลหรือมอบหมายให้บุคคลใดช่วยควบคุมดูแล แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลโคในขณะเกิดเหตุอย่างไร และโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า มีบุคคลอื่นควบคุมดูแลโคแทนจำเลยหรือจำเลยมิได้ควบคุมดูแลโคของตนเองแต่ปล่อยให้โคเดินไปตามลำพังไปรวมกับฝูงโคของบุคคลอื่น พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่พอให้รับฟังว่า จำเลยเป็นผู้ที่ขี่ จูง ไล่ต้อน ปล่อย หรือเลี้ยงสัตว์ บนทางหรือทางจราจรอันเป็นความผิดตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4353/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหลายกรรมต่างวาระ และการใช้ดุลพินิจลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
พ. ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 3 ช่วยเก็บรักษาเมทแอมเฟตามีนไว้ให้ เป็นเงิน 2,000,000 บาท หลังจากนั้น 2 ถึง 3 วัน พ. โทรศัพท์หาจำเลยที่ 3 บอกว่า มีเมทแอมเฟตามีนอีก 1 ล็อต ช่วยเก็บรักษาไว้ให้ด้วย โดย พ. จะจ่ายค่าจ้างเพิ่มให้อีก 1,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 3,000,000 บาท กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 รับฝากเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองจาก พ. ต่างกรรมต่างวาระกัน โดยจำเลยที่ 3 ได้รับค่าตอบแทนการรับฝากเพิ่มจากจำนวนที่เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้สถานที่ตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนก็ต่างสถานที่กัน ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ย่อมเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 มีเจตนาในการมีไว้ในครอบครองเมทแอมเฟตามีนสองจำนวนดังกล่าวแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระตาม ป.อ. มาตรา 91 จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายรวมสองกรรม
การลงโทษผู้กระทำความผิดให้น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 เป็นการให้อำนาจแก่ศาลในการใช้ดุลพินิจลงโทษมิใช่บทบังคับแต่อย่างใด
การลงโทษผู้กระทำความผิดให้น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 เป็นการให้อำนาจแก่ศาลในการใช้ดุลพินิจลงโทษมิใช่บทบังคับแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน สิทธิในที่ดินยังเป็นของผู้กู้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การตอนแรกว่า ต. และจำเลยที่ 1 ไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่สัญญาซื้อขายตามฟ้องเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ที่ ต. และจำเลยที่ 1 กู้เงินไปจากโจทก์ จึงเป็นคำให้การที่แสดงการปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ รวมทั้งอ้างเหตุแห่งการนั้น ว่าสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การตอนหลังว่า สัญญาซื้อขายตามฟ้องมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ และตัดฟ้องโจทก์ว่าโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความนั้น ก็มิใช่ว่าเป็นคำให้การที่ยอมรับหรือถือว่า ต. และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์จริง จึงมิได้ขัดแย้งกันเองหรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงแสดงโดยชัดแจ้งว่าปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมด รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธินำพยานเข้าสืบหักล้างสัญญาซื้อขายตามฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
การที่โจทก์ปล่อยปละละเลยให้เวลาล่วงเลยมานานเกือบ 20 ปี นับแต่ที่อ้างว่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาจาก ต. และจำเลยที่ 1 โดยมิได้จัดให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนในที่ดินพิพาททั้งสองซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติที่ไม่ดำเนินการปกป้องสิทธิของตนเองเช่นนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อพิรุธของโจทก์อย่างยิ่ง ส่อแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ทราบดีว่าตนมีสิทธิเพียงเข้าทำกินในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่างดอกเบี้ยเท่านั้นเอง การทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องจึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน ทำให้นิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง
แม้กรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อ ต.และจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้อง เป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่าง ต. กับโจทก์ จึงมีผลบังคับกันได้
การที่ ต. และจำเลยที่ 1 มิได้ขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ แต่ ต. และจำเลยที่ 1 กู้เงินไปจากโจทก์และให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นการทำกินต่างดอกเบี้ย ต. และจำเลยที่ 1 มิได้สละการครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด แม้ว่าโจทก์จะครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นระยะเวลานานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ เพราะยังถือได้ว่าโจทก์ครอบครองแทน ต. หรือทายาทของ ต. และจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดไป
การที่โจทก์ปล่อยปละละเลยให้เวลาล่วงเลยมานานเกือบ 20 ปี นับแต่ที่อ้างว่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาจาก ต. และจำเลยที่ 1 โดยมิได้จัดให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนในที่ดินพิพาททั้งสองซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติที่ไม่ดำเนินการปกป้องสิทธิของตนเองเช่นนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อพิรุธของโจทก์อย่างยิ่ง ส่อแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ทราบดีว่าตนมีสิทธิเพียงเข้าทำกินในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่างดอกเบี้ยเท่านั้นเอง การทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องจึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน ทำให้นิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง
แม้กรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อ ต.และจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้อง เป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่าง ต. กับโจทก์ จึงมีผลบังคับกันได้
การที่ ต. และจำเลยที่ 1 มิได้ขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ แต่ ต. และจำเลยที่ 1 กู้เงินไปจากโจทก์และให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นการทำกินต่างดอกเบี้ย ต. และจำเลยที่ 1 มิได้สละการครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด แม้ว่าโจทก์จะครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นระยะเวลานานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ เพราะยังถือได้ว่าโจทก์ครอบครองแทน ต. หรือทายาทของ ต. และจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้งในคดีละเมิด: การฟ้องของโจทก์ไม่สะดุดอายุความฟ้องแย้งของจำเลย
การฟ้องคดีของโจทก์ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่ฝ่ายโจทก์ หาได้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองซึ่งฟ้องแย้งด้วยไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยทั้งสองรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: จำเลยไม่ประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบ
ในระหว่างที่โจทก์เจรจาตกลงกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อขอซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจนกระทั่งมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของจำเลยที่ 1 และทำสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทนั้น ยังมิได้มีการประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 ในราชกิจจานุเบกษา แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในวันที่ 13 ธันวาคม 2544 ก็ตาม แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้หรือควรจะรู้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จนกระทั่งมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 12 มีนาคม 2545 ซึ่งให้ถือว่าบุคคลทั่วไปต้องทราบคำสั่งเช่นนั้นแล้ว ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วหรือไม่ ก่อนที่จะทำสัญญาขายนั้น โจทก์มีหน้าที่นำสืบในประเด็นดังกล่าวเพื่อให้ศาลรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่ออย่างไร และจำเลยที่ 2 ต้องดำเนินการตรวจสอบอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะทราบได้ว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว พยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย