พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินมรดกและการรอนสิทธิข้างเคียงกรณีบ่อส้วมละเมิดระยะร่น
แม้ขณะฟ้องคดี โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 137029 แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ห. บิดาโจทก์ ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินเป็นเจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าวมาตั้งแต่ที่ดินยังไม่มีเอกสารสิทธิ ต่อมาจึงออกเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์และเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินเมื่อปี 2543 ห. ยกที่ดินให้โจทก์เมื่อ 27 ปี ก่อน ขณะเป็นที่ดินมือเปล่า ซึ่งย่อมโอนให้แก่กันได้โดยเพียงเจ้าของแสดงเจตนาสละการครอบครอง เมื่อโจทก์เข้าครอบครองปลูกบ้านพักอาศัยในที่ดินพิพาทนับแต่เวลานั้น โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 137030 ที่อยู่ติดกัน แม้จะระบุชื่อ อ. สามีจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิเพียงคนเดียวก็ตาม แต่ก็ได้ความว่าที่ดินแปลงนี้ อ. กับจำเลยร่วมกันซื้อมา เมื่อ อ. เสียชีวิตแต่ยังมิได้เปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทางทะเบียน ที่ดินส่วนที่เป็นของ อ. ย่อมเป็นทรัพย์มรดกตกแก่ทายาท ซึ่งจำเลยก็เป็นทายาทคนหนึ่งและมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวด้วย จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 137030 รวมทั้งบ้านเลขที่ 85/1 ที่ปลูกบนที่ดินนั้นด้วย แม้บุตรจำเลยจะเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างก็เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เท่านั้น การปลูกสร้างบ้านและส้วมบนที่ดินเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลย และจำเลยย่อมต้องรู้เห็นและให้ความยินยอม ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1342 วรรคหนึ่ง เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของอาคารไม่มีสิทธิสร้างส้วมหรือบ่อบำบัดใกล้แนวเขตที่ดินข้างเคียงในระยะสองเมตร เมื่อจำเลยฝ่าฝืน โจทก์ซึ่งมีสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ข้างเคียงย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22783/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและการใช้เพื่อแสดงลักษณะการใช้
ภาพประดิษฐ์ และภาพประดิษฐ์ประกอบคำหรือชื่อ ดังที่ปรากฏในหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตรงส่วนด้านล่าง เป็นข้อเท็จจริงที่เข้าใจโดยทั่วไปว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพเครื่องหมายทั้งเครื่องหมายที่โจทก์ได้ยื่นคำขอและได้รับการจดทะเบียนไว้ โจทก์มิได้นำสืบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เห็นว่า นอกจากผู้ขอจดทะเบียนจะแสดงภาพประดิษฐ์ของตัวเครื่องหมายการค้าในคำขอจดทะเบียนแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนยังสามารถแสดงให้เห็นถึงลักษณะการใช้เครื่องหมายที่ขอจดทะเบียนให้ปรากฏในคำนำขอจดทะเบียนอันเป็นการเพิ่มเติมไปจากการแสดงให้เห็นถึงตัวเครื่องหมายการค้าได้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า ภาพประดิษฐ์และภาพประดิษฐ์ประกอบคำหรือชื่อของโจทก์เป็นเพียงภาพเครื่องหมายการค้าทั้งเครื่องหมายที่โจทก์ได้ยื่นคำขอและได้รับการจดทะเบียนไว้ มิได้มีความหมายสื่อไปถึงว่าเป็นภาพเครื่องหมายที่ถูกแสดงประกอบวิธีการใช้เครื่องหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22195/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาเจตนาเลียนแบบและความแตกต่างของเครื่องหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าว เหตุเกิดระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2549 ต่อเนื่องมาจนถึงวันฟ้องคดีนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงยังมีสิทธิได้รับความคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้าในวันเกิดเหตุคดีนี้ จึงมีอำนาจฟ้อง
สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 คือ คำว่า I - VISON ซึ่งเครื่องหมายการค้าของฝ่ายโจทก์มีรูปวงรีแบบเปิดอยู่เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติม และเครื่องหมายการค้าของฝ่ายจำเลยที่ 1 มีคำว่า by SAMART เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมเช่นกัน ดังนั้น หากเมื่อพิจารณาในส่วนอักษรโรมัน I และคำว่า VISION แล้ว รูปลักษณะเครื่องหมายทั้งสองมีถ้อยคำสาระสำคัญเหมือนกันและเสียงเรียกขานเป็นอย่างเดียวกัน บุคคลธรรมดาทั่วไปหากไม่ใช้ความสังเกตย่อมมีความเห็นไปได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรโรมัน I และคำว่า VISION ต่างเป็นถ้อยคำสามัญ โจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันเอาไว้ใช้เพียงผู้เดียว และโจทก์ยังได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมัน I แล้ว เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้ดัดแปลงประดิษฐ์ตัวอักษร S ตรงกลางเครื่องหมาย และยังเพิ่มคำว่า by SAMART ด้านล่างของเครื่องหมาย เพื่อให้แตกต่างจากของโจทก์ และหากจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะแสวงหาประโยชน์ในการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์แล้วก็ไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะต้องลงทุนโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะอ้างอิงแสวงหาประโยชน์ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะอยู่ระหว่างอุทธรณ์แต่ก็แสดงให้เห็นว่ายังมีข้อโต้เถียงเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าหรือคำว่า ว่า I - VISION ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 โดนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 มีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์
สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 คือ คำว่า I - VISON ซึ่งเครื่องหมายการค้าของฝ่ายโจทก์มีรูปวงรีแบบเปิดอยู่เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติม และเครื่องหมายการค้าของฝ่ายจำเลยที่ 1 มีคำว่า by SAMART เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมเช่นกัน ดังนั้น หากเมื่อพิจารณาในส่วนอักษรโรมัน I และคำว่า VISION แล้ว รูปลักษณะเครื่องหมายทั้งสองมีถ้อยคำสาระสำคัญเหมือนกันและเสียงเรียกขานเป็นอย่างเดียวกัน บุคคลธรรมดาทั่วไปหากไม่ใช้ความสังเกตย่อมมีความเห็นไปได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรโรมัน I และคำว่า VISION ต่างเป็นถ้อยคำสามัญ โจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันเอาไว้ใช้เพียงผู้เดียว และโจทก์ยังได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมัน I แล้ว เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้ดัดแปลงประดิษฐ์ตัวอักษร S ตรงกลางเครื่องหมาย และยังเพิ่มคำว่า by SAMART ด้านล่างของเครื่องหมาย เพื่อให้แตกต่างจากของโจทก์ และหากจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะแสวงหาประโยชน์ในการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์แล้วก็ไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะต้องลงทุนโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะอ้างอิงแสวงหาประโยชน์ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะอยู่ระหว่างอุทธรณ์แต่ก็แสดงให้เห็นว่ายังมีข้อโต้เถียงเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าหรือคำว่า ว่า I - VISION ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 โดนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 มีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21854/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในต่างประเทศ: หลักเกณฑ์ความถูกต้องและอำนาจฟ้องร้อง
โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองมีผู้รับมอบอำนาจโจทก์ร่วมทั้งสองเบิกความเป็นพยาน เมื่อหนังสือรับรองมีผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองลงลายมือชื่อและมีการรับรองต่อ ๆ กันมาตามลำดับ โดยมีตัวแทนของผู้มีอำนาจจะกระทำแทนโจทก์ร่วมทั้งสองยืนยันต่อหน้าโนตารีปับลิกว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจจริง แม้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองจะไม่ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าโนตารีปับลิก แต่ก็มีตัวแทนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองลงลายมือชื่อยืนยันต่อหน้าโนตารีปับลิกว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองได้ลงลายมือหนังสือมอบอำนาจจริง จึงรับฟังได้ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม ไม่ได้บังคับว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าโนตารีปับลิก เพียงแต่บัญญัติให้โนตารีปับลิกลงลายมือชื่อพยานก็เพียงพอ ดังนั้น การดำเนินการเกี่ยวกับการมอบอำนาจของโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งกระทำในต่างประเทศดังกล่าวถือว่าได้ว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานโนตารีและของสถานทูตไทยรับรองหนังสือมอบอำนาจของโจทก์อีกชั้นหนึ่งว่า ลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่โนตารีปับลิกและเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยจริงอีกชั้นหนึ่งด้วย จึงมีความน่าเชื่อถือ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่นำสืบหักล้างให้เห็นว่าผู้ที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสอง และไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสองได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์คดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจริง ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ร่วมทั้งสองจึงมีอำนาจร้องทุกข์และโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14094/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน: ต้องแสดงฐานะลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา อันเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ จ. เสียเปรียบ กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 237 แล้ว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าหนี้ที่ จ. เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. ซึ่งเป็นสามีภริยากันตามที่ได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) ถึง (4) อันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวร่วมกับ จ. ซึ่งจะมีผลให้จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามฟ้องระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12675/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิงและการพรากผู้เยาว์ แม้มีการสมรสภายหลัง ความผิดยังคงอยู่ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยพรากผู้เสียหายไปเพื่อเป็นภริยา มิใช่เพื่อการอนาจารนั้น เห็นว่า เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างและนำสืบในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นรับฎีกาข้อนี้มาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราเด็กหญิง ว. อายุ 14 ปี 8 เดือน อายุยังไม่เกิน 15 ปี ผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายจับตัวผู้เสียหายบังคับถอดเสื้อและกางเกงออก แล้วจับตัวนอนลงที่เตียง และใช้มืออุดปากผู้เสียหายไว้ไม่ให้ขัดขืน โดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แล้วขึ้นคร่อมนอนทับตัวและกระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่ แม้ฟ้องมิได้ระบุว่าผู้เสียหายมิใช่ภริยาจำเลย แต่ได้บรรยายตัวบุคคลที่ถูกกระทำชำเราว่าเป็นเด็กหญิง และเมื่อพิจารณาประกอบข้อหาพรากผู้เยาว์ที่ระบุว่า จำเลยพรากผู้เสียหายไปจาก ส. ผู้ปกครองและผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารแล้ว ฟ้องแสดงอยู่ในตัวว่าผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์และอยู่ในความปกครองของ ส. ผู้เสียหายจึงเป็นผู้ที่ยังไม่สมรสและมิใช่ภริยาของจำเลย จึงเป็นฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่งเดิม และเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจริง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ก็มีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง (เดิม) ได้
ส่วนที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า จำเลยกับผู้เสียหายสมรสและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาแล้ว ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป จึงขอถอนคำร้องทุกข์ นั้น ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีและพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของพนักงานอัยการและโจทก์ร่วมก็ไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และการกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับยกเว้นโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย (เดิม) จะต้องเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน แต่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายไม่ยินยอมแม้จำเลยและผู้เสียหายสมรสกัน การกระทำของจำเลยก็ไม่ได้รับยกเว้นโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราเด็กหญิง ว. อายุ 14 ปี 8 เดือน อายุยังไม่เกิน 15 ปี ผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายจับตัวผู้เสียหายบังคับถอดเสื้อและกางเกงออก แล้วจับตัวนอนลงที่เตียง และใช้มืออุดปากผู้เสียหายไว้ไม่ให้ขัดขืน โดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แล้วขึ้นคร่อมนอนทับตัวและกระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่ แม้ฟ้องมิได้ระบุว่าผู้เสียหายมิใช่ภริยาจำเลย แต่ได้บรรยายตัวบุคคลที่ถูกกระทำชำเราว่าเป็นเด็กหญิง และเมื่อพิจารณาประกอบข้อหาพรากผู้เยาว์ที่ระบุว่า จำเลยพรากผู้เสียหายไปจาก ส. ผู้ปกครองและผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารแล้ว ฟ้องแสดงอยู่ในตัวว่าผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์และอยู่ในความปกครองของ ส. ผู้เสียหายจึงเป็นผู้ที่ยังไม่สมรสและมิใช่ภริยาของจำเลย จึงเป็นฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่งเดิม และเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจริง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ก็มีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง (เดิม) ได้
ส่วนที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า จำเลยกับผู้เสียหายสมรสและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาแล้ว ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป จึงขอถอนคำร้องทุกข์ นั้น ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีและพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของพนักงานอัยการและโจทก์ร่วมก็ไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และการกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับยกเว้นโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย (เดิม) จะต้องเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน แต่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายไม่ยินยอมแม้จำเลยและผู้เสียหายสมรสกัน การกระทำของจำเลยก็ไม่ได้รับยกเว้นโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12115/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะนิติกรรมโอนสิทธิเช่าที่ดินราชพัสดุของผู้เยาว์ ฝ่าฝืนมาตรา 1574 (11) และ 1575
การทำนิติกรรมโอนสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุทำขณะที่โจทก์ทั้งสองยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ได้กระทำลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 1574 (11) นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะทันที และยังเป็นกิจการที่ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล กิจการนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1575 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมโอนสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุเกิดขึ้นเลย สิทธิการเช่าดังกล่าวยังคงเป็นของโจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวไว้ แม้จะอ้างว่า รับโอนโดยสุจริตก็หามีผลทำให้จำเลยกลับมีสิทธิตามนิติกรรมโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวไม่ และเป็นกรณีมิใช่โมฆียกรรม ไม่อาจให้สัตยาบันหรือบอกล้างนิติกรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9364/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระทำอนาจารเด็ก, พรากเด็ก, ความยินยอม, พยานบอกเล่า, ลดโทษ
ผู้เสียหายได้รับหมายเรียกให้มาเป็นพยานที่ศาล แต่ถึงวันนัดกลับไม่มาศาล และไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อเอาตัวมาเป็นพยาน แต่ก็ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาลถือได้ว่ามีเหตุจำเป็น เนื่องจากว่าไม่สามารถนำผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็นและได้ยินในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนี้ด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น ศาลสามารถนำพยานบอกเล่าดังกล่าวนี้ไปฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การใช้อาวุธปืนปล้นทรัพย์ - ลงโทษฐานหนักที่สุด
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตได้ไว้ในครอบครองและความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้ในบทมาตราเดียวกัน ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า มีความประสงค์จะให้ความผิดทั้งสองฐานนี้เป็นกรรมเดียวกัน ส่วนความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตได้ ตามมาตรา 78 วรรคสาม เป็นบทหนักสำหรับผู้กระทำความผิดฐานใช้อาวุธปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตได้ หากได้นำอาวุธปืนดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 มาตรา 313 มาตรา 337 มาตรา 339 หรือมาตรา 340 ดังนั้น เมื่อจำเลยร่วมกันมีอาวุธปืนและร่วมกันใช้อาวุธปืนดังกล่าวเพื่อประสงค์อันเดียวกันในการร่วมกันปล้นทรัพย์และร่วมกันใช้อาวุธปืนต่อเนื่องจากการร่วมกันมีอาวุธปืนการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 วรรคสาม อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารสิทธิ (หนังสือรับรองการส่งออก) เพื่อส่งออกสินค้า มีพฤติการณ์บรรเทาโทษได้
หนังสือรับรองการส่งออกสินค้าสิ่งทอของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหนังสือที่ทำให้ผู้ส่งออกที่เป็นเจ้าของสินค้าสิ่งทอดังกล่าวสามารถมีสิทธิส่งสินค้าของตนไปขาย จำหน่ายในต่างประเทศได้ หากไม่ได้หนังสือรับรองการส่งออกดังกล่าวก็ไม่สามารถที่จะส่งสินค้าสิ่งทอของตนออกไปได้ การทำปลอมสำเนาหนังสือรับรองการส่งออกสินค้าสิ่งทอ จึงเป็นการทำปลอมเอกสารสิทธิ แม้สำเนาหนังสือรับรองการส่งออกสินค้าสิ่งทอ เป็นใบกำกับสินค้าซึ่งผู้ส่งออกเป็นผู้จัดทำขึ้นเอง มิใช่เป็นเอกสารที่จัดทำโดยกรมการค้าต่างประเทศ แต่เมื่อเป็นเอกสารที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยและลงตราประทับพร้อมลายมือชื่อของพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อให้ได้สิทธิในการส่งออกสินค้าสิ่งทอไปต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ การทำปลอมสำเนาหนังสือรับรองการส่งออกสินค้าสิ่งทอ จึงเป็นการทำปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
แม้การกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ก่อให้เกิดความเสียหายอันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ แต่ในส่วนพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ยังไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับจำเลยที่ 3 เป็นหญิง ป่วยเป็นเนื้องอกสมอง อยู่ระหว่างการรักษา ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 3 แต่เพื่อให้จำเลยที่ 3 ได้รู้สำนึกในการกระทำของตนและไม่หวนกลับมากระทำความผิดอีก จึงให้ลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง
แม้การกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ก่อให้เกิดความเสียหายอันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ แต่ในส่วนพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ยังไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับจำเลยที่ 3 เป็นหญิง ป่วยเป็นเนื้องอกสมอง อยู่ระหว่างการรักษา ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 3 แต่เพื่อให้จำเลยที่ 3 ได้รู้สำนึกในการกระทำของตนและไม่หวนกลับมากระทำความผิดอีก จึงให้ลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง