พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นสัญญาเช่าและผลผูกพันตามประกาศของรัฐวิสาหกิจ การบังคับสัญญาเช่าเมื่อมีเงื่อนไขครบถ้วน
ประกาศการรถไฟแห่งประเทศไทยมีข้อความระบุถึงการจัดพื้นที่ชดเชยให้แก่กลุ่มร้านค้าบริเวณตลาดนัดซันเดย์ที่ตกลงยินยอมเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่กับจำเลย จะได้รับสิทธิการเช่าโครงการใหม่มีกำหนดระยะเวลา 10 ปี ข้อความดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยผู้ให้เช่าฝ่ายเดียว ประกาศดังกล่าวจึงถือเป็นคำมั่นแก่ผู้ค้ารวมทั้งโจทก์ว่าหากผู้ค้าตกลงเข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิเช่าอาคารมีกำหนด 10 ปี โดยเงื่อนไขว่าผู้จะได้รับสิทธิการเช่าจะต้องร่วมออกค่าก่อสร้างโครงการใหม่ ต้องชำระค่าเช่าตามอัตราที่จำเลยกำหนด และชำระค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ล่วงหน้าจำนวน 10,000 บาท ตลอดจนให้ความร่วมมือในการรื้อถอนอาคารร้านค้าเดิมที่กีดขวางการก่อสร้างโครงการใหม่
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทต่อกัน แสดงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศของจำเลยซึ่งเป็นคำมั่นจะให้เช่า และเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ที่จะสนองรับคำมั่นตามประกาศของจำเลยภายในเวลาที่กำหนดแล้ว จำเลยจึงต้องผูกพันตามคำมั่นของตนและตกเป็นลูกหนี้ที่โจทก์มีสิทธิจะฟ้องบังคับให้จำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับโจทก์ต่อไปจนครบระยะเวลาตามประกาศดังกล่าวได้
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทต่อกัน แสดงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศของจำเลยซึ่งเป็นคำมั่นจะให้เช่า และเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ที่จะสนองรับคำมั่นตามประกาศของจำเลยภายในเวลาที่กำหนดแล้ว จำเลยจึงต้องผูกพันตามคำมั่นของตนและตกเป็นลูกหนี้ที่โจทก์มีสิทธิจะฟ้องบังคับให้จำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับโจทก์ต่อไปจนครบระยะเวลาตามประกาศดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์แก้โทษ คดีปลอมเอกสารสิทธิ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265, 264 วรรคแรก, 83 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกคนละ 9 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก, 83 จำคุกคนละ 6 เดือน ข้อหาอื่นให้ยก จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ซึ่งห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11662/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'การกสิกรรม' ในความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขบทลงโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) คำว่า การกสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูก ไก่จึงไม่ใช่เป็นสัตว์ที่ได้มาจากการกสิกรรมตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11465/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินโดยความยินยอมแล้วเบียดบัง ยักยอกทรัพย์ ไม่ใช่ลักทรัพย์หรือฉ้อโกง
จำเลยเป็นคนนำรถเกรดถนนของ ส. ที่ฝากไว้แก่ผู้เสียหายไปจากความครอบครองของผู้เสียหาย ตามที่ผู้เสียหายแจ้งให้จำเลยเคลื่อนย้ายไปจากปั้มแก๊สของผู้เสียหาย เป็นกรณีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองทรัพย์ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยด้วยความสมัครใจ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
แม้จำเลยรับรถเกรดถนนไปเพราะได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องนำรถเกรดถนนไปคืนแก่ทายาทของ ส. การที่จำเลยไม่นำไปคืน แต่กลับนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งๆ ที่ไม่ใช่รถเกรดถนนของตน ถือได้ว่าเมื่อจำเลยรับรถเกรดถนนไว้ในครอบครองแล้ว จำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 แต่เป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก
ผู้จัดการมรดกของ ส. รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดและร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่ามีการร้องทุกข์ภายในสามเดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้อง ก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญและจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
แม้จำเลยรับรถเกรดถนนไปเพราะได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องนำรถเกรดถนนไปคืนแก่ทายาทของ ส. การที่จำเลยไม่นำไปคืน แต่กลับนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งๆ ที่ไม่ใช่รถเกรดถนนของตน ถือได้ว่าเมื่อจำเลยรับรถเกรดถนนไว้ในครอบครองแล้ว จำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 แต่เป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก
ผู้จัดการมรดกของ ส. รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดและร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่ามีการร้องทุกข์ภายในสามเดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้อง ก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญและจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11030/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนปริมาณเกินเกณฑ์ตามกฎหมาย ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่ายได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 19 เม็ด น้ำหนัก 1.77 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.327 กรัม แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องโดยใช้คำว่า "น้ำหนักสุทธิ" แต่ก็เห็นได้ว่าการใช้คำว่า "น้ำหนัก" เป็นการหมายถึงเฉพาะน้ำหนักของเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องเท่านั้น ซึ่งมีความหมายเดียวกัน เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไปไว้ในครอบครอง ดังนี้ เมทแอมเฟตามีนตามฟ้องจึงมีปริมาณต้องด้วยบทบัญญัติตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 19 เม็ด ของกลางไว้ในครอบครอง กรณีจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติของกฎหมาย ที่ให้ถือว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10591/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำหลังศาลวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงไม่มีมูลความผิด สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมาย
คดีเดิมที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นความผิดอย่างเดียวกันและเป็นการกระทำความผิดอันเดียวกันกับคดีนี้ ซึ่งศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องและวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการไต่สวนมูลฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลเป็นความผิดตามบทมาตราที่ระบุมาในคำขอท้ายฟ้อง แม้หากจะถือว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด และศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องได้ ก็เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจประทับรับฟ้องได้ เป็นกรณีที่ศาลในคดีเดิมได้พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามฟ้อง ชอบที่โจทก์ต้องอุทธรณ์คำพิพากษาคดีดังกล่าว ไม่อาจนำมาฟ้องใหม่ได้ เมื่อความผิดซึ่งได้ฟ้องในคดีนี้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9321/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ จำเป็นต้องพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโจทก์โดยตรง
เอกสารสิทธิที่มีการปลอมและนำไปใช้ไม่จำต้องเป็นของโจทก์ เพียงแต่มีการนำเอกสารที่รับฟังได้ว่ามีการปลอมไปใช้เป็นผลเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายและถือเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9041/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าหนี้หลังเลิกบริษัท: ศาลพิจารณา ณ เวลาฟ้อง และกฎหมายยังคุ้มครองสิทธิแม้ชำระบัญชีสิ้นสุด
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ศาลจะพิจารณาในขณะยื่นฟ้องเป็นสำคัญ และการที่บริษัทเลิกกัน ป.พ.พ. มาตรา 1249 บัญญัติให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดยผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไป รวมทั้งมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามบริษัทในคดีพิพาทตามมาตรา 1250, 1259 (1) นอกจากนี้มาตรา 1272 ยังให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทเป็นหนี้อยู่ได้ แม้การชำระบัญชีจะสิ้นสุดไปแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่า ระหว่างพิจารณาโจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2539 และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2539 แต่ก็เป็นเวลาภายหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว จึงไม่มีผลให้อำนาจฟ้องที่โจทก์มีอยู่แล้วในขณะยื่นฟ้องสิ้นไปแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9036/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่งและอาญา: ทุนทรัพย์ที่พิพาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเพียงแต่ชกต่อยทำร้ายผู้เสียหาย หากจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายก็เป็นเงินจำนวนไม่เกิน 10,000 บาท นั้น เห็นว่า สิทธิในการฎีกาในคดีส่วนแพ่งนั้น ต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายเป็นเงิน 179,000 บาท จำเลยฎีกาโต้เถียงว่าจำเลยต้องรับผิดไม่เกิน 10,000 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8717/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการต้องอยู่ภายในสัญญา การปฏิบัติตามสัญญาและการปรับลดค่าปรับ
คำร้องของผู้ร้องแสดงเหตุอย่างชัดแจ้งว่าคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการไม่อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาหรือเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการอย่างไร และขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าว เป็นคำร้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ร้องนำสืบแต่เพียงลอยๆ ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อธรรมเนียมการก่อสร้าง จึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 34 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 โดยไม่นำสืบว่าธรรมเนียมการก่อสร้างนั้น
ปฏิบัติกันอย่างไร ข้ออ้างของผู้ร้องตามคำแก้อุทธรณ์จึงฟังไม่ขึ้น
สัญญาว่าจ้างข้อที่ 3 ข้อที่ 18 และข้อที่ 20 มีข้อตกลงกล่าวโดยสรุปว่า การขอขยายระยะเวลาทำงานหรือระยะเวลาก่อสร้าง ผู้ร้องจะต้องแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบเพื่อขออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นที่อนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า แม้งานบางส่วนมีอุปสรรคเกี่ยวกับการรอแบบและวัสดุที่แก้ไข แต่มีงานหลายอย่างที่ไม่มีปัญหาแต่ผู้ร้องกลับทำไม่แล้วเสร็จ และผู้ร้องไม่ทำหนังสือขอขยายเวลาทำการตามสัญญาข้อที่ 20 ถือว่าผู้ร้องสละสิทธิการขอขยายเวลาและถือว่าผู้ร้องผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงชอบนั้น เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักและเงื่อนไขตามสัญญาว่าจ้างงานภูมิสถาปัตย์แล้ว จึงอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ
การที่ผู้ร้องอ้างเหตุทำนองว่าความล่าช้าของงานเกิดจากความผิดของผู้คัดค้านที่มีส่วนร่วมด้วยหรือผู้คัดค้านทราบเหตุแห่งการล่าช้าทุกครั้งเมื่อไม่มีการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรโดยไม่มีเหตุผล ผู้ร้องมีสิทธิขอขยายระยะเวลาทำงานออกไปได้นั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งการที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกันย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบ
การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่าผู้ร้องปฏิบัติผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ ผู้ร้องจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามสัญญาข้อที่ 21 แต่เห็นว่าค่าปรับที่ตกลงเป็นค่าเสียหายกรณีปฏิบัติผิดสัญญามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วนจึงปรับลดให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาและเป็นไปตามกฎหมายแล้ว ไม่ใช่การวินิจฉัยนอกเหนือสัญญาและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงไม่ใช่คำชี้ขาดข้อพิพาทซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และไม่เป็นกรณีที่ว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง (1) (ง), (2) (ข) อันจะเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้
ผู้ร้องนำสืบแต่เพียงลอยๆ ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อธรรมเนียมการก่อสร้าง จึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 34 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 โดยไม่นำสืบว่าธรรมเนียมการก่อสร้างนั้น
ปฏิบัติกันอย่างไร ข้ออ้างของผู้ร้องตามคำแก้อุทธรณ์จึงฟังไม่ขึ้น
สัญญาว่าจ้างข้อที่ 3 ข้อที่ 18 และข้อที่ 20 มีข้อตกลงกล่าวโดยสรุปว่า การขอขยายระยะเวลาทำงานหรือระยะเวลาก่อสร้าง ผู้ร้องจะต้องแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบเพื่อขออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นที่อนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า แม้งานบางส่วนมีอุปสรรคเกี่ยวกับการรอแบบและวัสดุที่แก้ไข แต่มีงานหลายอย่างที่ไม่มีปัญหาแต่ผู้ร้องกลับทำไม่แล้วเสร็จ และผู้ร้องไม่ทำหนังสือขอขยายเวลาทำการตามสัญญาข้อที่ 20 ถือว่าผู้ร้องสละสิทธิการขอขยายเวลาและถือว่าผู้ร้องผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงชอบนั้น เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักและเงื่อนไขตามสัญญาว่าจ้างงานภูมิสถาปัตย์แล้ว จึงอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ
การที่ผู้ร้องอ้างเหตุทำนองว่าความล่าช้าของงานเกิดจากความผิดของผู้คัดค้านที่มีส่วนร่วมด้วยหรือผู้คัดค้านทราบเหตุแห่งการล่าช้าทุกครั้งเมื่อไม่มีการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรโดยไม่มีเหตุผล ผู้ร้องมีสิทธิขอขยายระยะเวลาทำงานออกไปได้นั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งการที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกันย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบ
การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่าผู้ร้องปฏิบัติผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ ผู้ร้องจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามสัญญาข้อที่ 21 แต่เห็นว่าค่าปรับที่ตกลงเป็นค่าเสียหายกรณีปฏิบัติผิดสัญญามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วนจึงปรับลดให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาและเป็นไปตามกฎหมายแล้ว ไม่ใช่การวินิจฉัยนอกเหนือสัญญาและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงไม่ใช่คำชี้ขาดข้อพิพาทซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และไม่เป็นกรณีที่ว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง (1) (ง), (2) (ข) อันจะเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้