พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่จัดการทรัพย์สินเบียดบังเงินบริจาค – อำนาจฟ้อง – เหตุบรรเทาโทษ
แม้จำเลยเป็นเจ้าอาวาสของโจทก์ร่วมและได้รับเงินเดือนประจำที่เรียกว่านิตยภัตจากเงินงบประมาณของรัฐ แต่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนประจำที่จะถือว่าเป็น "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งเจ้าอาวาสไม่อยู่ในความหมายดังกล่าว และในปัจจุบันวัดจัดตั้งขึ้นโดยวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ซึ่งกำหนดให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทน แต่ก็มีอำนาจอย่างจำกัดตามมาตรา 37 เฉพาะในการบำรุงวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม และอื่นๆ อันเป็นกิจการของสงฆ์โดยเฉพาะ ส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมการศาสนาและกระทรวงศึกษาธิการ วัดจึงหาใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ไม่ว่าในตำแหน่งเจ้าอาวาสหรือในตำแหน่งอื่นใดก็ตาม จึงหาได้อยู่ในความหมายของคำจำกัดความว่า "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ส่วน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ มาตรา 45 ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา" ก็เป็นเรื่องเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้นำบทบัญญัติลักษณะความผิดเกี่ยวกับการปกครองตามประมวลกฎหมายที่ต้องการให้นำบทบัญญัติลักษณะความผิดเกี่ยวกับการปกครองตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับแก่พระภิกษุบางตำแหน่งเท่านั้น และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ก็เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และฉบับปัจจุบันบัญญัติให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติขึ้น โดยบัญญัติถึงกระบวนการสอบสวนเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้เป็นกรณีพิเศษโดยใช้วิธีการไต่สวนเท่านั้น บุคคลอื่นๆ คงใช้กระบวนการสอบสวนตามปกติตาม ป.วิ.อ. ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนมิได้ส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจึงชอบแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
มาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) กำหนดให้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือนับตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทบัญญัติให้มีผลบังคับย้อนหลัง จึงไม่กระทบต่อกระบวนวิธีพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนั้น ข้อความในมาตรา 233 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่จำเลยเบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของจำเลยย่อมใช้ยันจำเลยนั้นได้ และศาลอาจรับฟังคำเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ แต่การที่จำเลยตอบคำถามก่อนที่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จำเลยย่อมไม่อาจคาดหมายได้ว่าคำเบิกความของตนจะใช้รับฟังลงโทษตนเองได้ บทบัญญัติดังกล่าวมีผลเป็นโทษแก่จำเลย จึงไม่อาจมีผลย้อนหลัง และถือไม่ได้ว่าโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในมาตรา 40 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ ข้อ 5 บัญญัติให้การเก็บรักษาเงินของวัดในส่วนที่เกิน 3,000 บาท ขึ้นไปให้เก็บรักษาโดยฝากกรมการศาสนา จังหวัด อำเภอ หรือธนาคาร หรือนิติบุคคลที่กรมการศาสนาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ให้ฝากในนามของวัด ดังนั้น การฝากเงินของวัดคือโจทก์ร่วมต้องฝากในนามของโจทก์ร่วมเท่านั้น หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวโดยเจตนาก็เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 ได้ ส่วนการจัดการทรัพย์สินของวัดก็ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเป็นสำคัญ แต่การนำเงินค่าผาติกรรมซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมอย่างหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ของโจทก์ร่วม โดยมิได้เบียดบังเป็นของตนเองหรือผู้อื่น การกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการใช้เงินผิดไปจากมติมหาเถรสมาคม หรือเป็นการใช้เงินผิดระเบียบเท่านั้น
มาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) กำหนดให้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือนับตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทบัญญัติให้มีผลบังคับย้อนหลัง จึงไม่กระทบต่อกระบวนวิธีพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนั้น ข้อความในมาตรา 233 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่จำเลยเบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของจำเลยย่อมใช้ยันจำเลยนั้นได้ และศาลอาจรับฟังคำเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ แต่การที่จำเลยตอบคำถามก่อนที่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จำเลยย่อมไม่อาจคาดหมายได้ว่าคำเบิกความของตนจะใช้รับฟังลงโทษตนเองได้ บทบัญญัติดังกล่าวมีผลเป็นโทษแก่จำเลย จึงไม่อาจมีผลย้อนหลัง และถือไม่ได้ว่าโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในมาตรา 40 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ ข้อ 5 บัญญัติให้การเก็บรักษาเงินของวัดในส่วนที่เกิน 3,000 บาท ขึ้นไปให้เก็บรักษาโดยฝากกรมการศาสนา จังหวัด อำเภอ หรือธนาคาร หรือนิติบุคคลที่กรมการศาสนาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ให้ฝากในนามของวัด ดังนั้น การฝากเงินของวัดคือโจทก์ร่วมต้องฝากในนามของโจทก์ร่วมเท่านั้น หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวโดยเจตนาก็เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 ได้ ส่วนการจัดการทรัพย์สินของวัดก็ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเป็นสำคัญ แต่การนำเงินค่าผาติกรรมซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมอย่างหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ของโจทก์ร่วม โดยมิได้เบียดบังเป็นของตนเองหรือผู้อื่น การกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการใช้เงินผิดไปจากมติมหาเถรสมาคม หรือเป็นการใช้เงินผิดระเบียบเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6912/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: การพิจารณาคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งในคำร้องและคำสั่งรับอุทธรณ์ประกอบกัน
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องดังกล่าวว่า "พิเคราะห์แล้ว มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้" และมีคำสั่งในอุทธรณ์ในวันเดียวกันว่า "ศาลรับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ รับอุทธรณ์ของจำเลย..." ซึ่งการรับรองอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ต้องเป็นการรับรองโดยชัดแจ้ง แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในคำร้องขอให้รับรองอุทธรณ์จะไม่มีข้อความยืนยันว่าตนรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ขณะเดียวกันศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวกันได้มีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความยืนยันรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เมื่อนำคำสั่งที่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องและอุทธรณ์มาพิจารณาประกอบกันรับฟังได้ว่า คำรับรองของศาลชั้นต้นมีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงถือว่าเป็นการรับรองอุทธรณ์โดยชัดแจ้งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6601/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจพนักงานสอบสวนในการรวบรวมหลักฐานคดีอาญา และการตรวจค้นโดยชอบ
แม้การรวบรวมหลักฐานจะเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131 แต่พนักงานสอบสวนจะรวบรวมหลักฐานใดบ้าง อย่างไร เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะพิจารณาและใช้ดุลพินิจดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น จนสามารถพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้เท่านั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 132 เมื่อการรวบรวมหลักฐานของพนักงานสอบสวนได้ความชัดว่าตรวจพบเมทแอมเฟตามีนของกลางในห้องนอนของจำเลยแล้ว พนักงานสอบสวนอาจมีความเห็นว่ากรณีไม่จำต้องดำเนินการจัดทำบันทึกภาพถ่ายของกลางที่ตรวจพบ ตลอดจนไม่ทำแผนที่แสดงจุดตรวจพบเมทแอมเฟตามีนของกลางก็ได้ หาทำให้การสอบสวนไม่ชอบไม่ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจทำบันทึกการจับกุมโดยมีรายละเอียดแห่งการค้นและสิ่งของที่ค้นได้ กับมีการจัดทำบัญชีทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึด ถือว่าเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 103 แล้ว จึงเป็นการตรวจค้นโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6030/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย, ค่าเสียหายเพิ่มเติม, และความรับผิดในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
แม้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ โดยยึดเอาเบี้ยปรับในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหาย และพิสูจน์ค่าเสียหายยิ่งกว่านั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคสองก็ตาม แต่เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ 2,000,000 บาท นั้นเป็นจำนวนพอสมควรและไม่สูงเกินส่วนแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายยิ่งกว่าจำนวนเบี้ยปรับนั้น
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่ฝ่ายเดียวตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาจะซื้อขาย ข้อ 3 แต่ก็เป็นความรับผิดที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะพึงต้องปฏิบัติตามสัญญาในฐานะผู้ขายเมื่อไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและมีคำขอบังคับในส่วนนี้ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ระบุเงื่อนไขข้อนี้ลงไว้ในคำพิพากษาจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่ฝ่ายเดียวตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาจะซื้อขาย ข้อ 3 แต่ก็เป็นความรับผิดที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะพึงต้องปฏิบัติตามสัญญาในฐานะผู้ขายเมื่อไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและมีคำขอบังคับในส่วนนี้ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ระบุเงื่อนไขข้อนี้ลงไว้ในคำพิพากษาจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งทนายความให้จำเลยเมื่อแถลงไม่ต้องการ และอำนาจฟ้องคดีเช็ค
ตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 3 มีนาคม 2551 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วและมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา จึงสอบถามจำเลยเรื่องทนายความ เป็นการสอบถามในชั้นพิจารณา มิใช่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง กรณีจึงไม่อาจนำ ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคสอง ประกอบมาตรา 171 มาใช้บังคับได้ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 40 ก็ไม่ได้กำหนดรายละเอียดของสิทธิในกระบวนการยุติธรรม หากแต่กำหนดหลักการอันเป็นสาระสำคัญไว้เท่านั้น กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง ศาลชั้นต้นเพิ่งอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังกับสอบคำให้การจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 20 มีนาคม 2551 ดังนี้ ถือว่าในวันที่ 3 มีนาคม 2551 ศาลชั้นต้นยังไม่ได้เริ่มพิจารณาคดี เมื่อต่อมาในวันที่ 20 มีนาคม 2551 ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง สอบคำให้การจำเลย และสอบจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การของจำเลยไว้แล้ว จึงเป็นกรณีที่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นได้ถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่แล้ว เมื่อจำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นต้องตั้งทนายความให้จำเลย กระบวนการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบโทรศัพท์มือถือในคดียาเสพติด: ต้องมีหลักฐานการใช้เพื่อกระทำความผิดโดยตรง
โจทก์มิได้นำสืบถึงรายการการใช้โทรศัพท์ระหว่างสายลับกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นใดซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง และไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดตามฐานที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดอันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย แม้ไม่ได้ร่วมทำร้ายโดยตรง
ระหว่างจำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายผู้ตาย จำเลยที่ 2 ยืนอยู่ด้านหลังจำเลยที่ 1 และพูดกับผู้ตายว่า "มึงรู้ไหมว่ากูเป็นใคร กูเป็นตำรวจ กูจะเอาปืนมายิงมึง" แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ร่วมทำร้ายผู้ตายด้วย แต่การพูดของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการข่มขู่ให้ผู้ตายเกิดความกลัวไม่กล้าต่อสู้และเป็นการปลุกเร้าให้จำเลยที่ 1 ฮึกเหิมทำร้ายร่างกายผู้ตายต่อไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น จึงเป็นการสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่ไม่เป็นความผิดฐานตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว ศาลฎีกาลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องเพราะข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญ และจำเลยที่ 2 มิได้หลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้าง การริบหลักประกันต้องรอผลอนุญาโตตุลาการ
สัญญาจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ผู้รับจ้างคือ ผู้ร้องและบริษัท ฟ. คู่สัญญาร่วมนำหลักประกันเป็นจำนวนเงิน 16,850,000 บาท มามอบให้ผู้ว่าจ้าง คือ ผู้คัดค้าน เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา หลักประกันเป็นเงินสดหรือหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร ผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมได้ดำเนินการตามข้อกำหนดข้อนี้ของสัญญาเรียบร้อยแล้ว สัญญาค้ำประกันจึงเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขของสัญญาจ้าง ซึ่งเป็นสัญญาหลักหรือสัญญาประธาน ต้องถือว่าสัญญาค้ำประกันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้าง หาใช่เป็นสัญญาที่แยกจากสัญญาจ้าง
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ชัดเจนว่า ธนาคารผู้ค้ำประกันจะต้องชำระเงินที่ค้ำประกันไว้ตามสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้ร้องหรือบริษัทคู่สัญญาร่วมก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ หรือต้องชำระค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายใดๆ หรือผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญาจ้าง มีความหมายว่า สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่จะเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามที่ค้ำประกันไว้แก่ผู้คัดค้านจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ร้องหรือบริษัทคู่สัญญาร่วมก่อให้เกิดความเสียหาย หรือต้องชำระค่าปรับ หรือค่าใช้จ่าย หรือมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญา การที่ผู้คัดค้านบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างว่าผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมไม่สามารถสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าได้ทันภายในกำหนดเวลาในสัญญาจ้างได้ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมผิดสัญญาจ้างและขอริบหลักประกัน แต่เมื่อผู้ร้องได้ขอบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างว่าผู้คัดค้านผิดสัญญาจ้างเช่นกัน จึงเป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญา อันจะต้องเสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาและชี้ขาดตามสัญญาจ้าง ข้อ 20
ผู้ค้ดค้านจะริบหลักประกันตามสัญญาจ้างได้หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่ว่าอนุญาโตตุลาการได้พิจารณาและชี้ขาดเสียก่อนว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้ผู้คัดค้านทวงถามหรือขอรับเงินอันเป็นหลักประกัน การที่ศาลมีหนังสือห้ามมิให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินที่ค้ำประกันแก่ผู้คัดค้าน ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันคือ ห้ามผู้คัดค้านได้รับเงินอันเป็นหลักประกันไว้ชั่วคราวจนกว่าอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาชี้ขาดข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทแล้ว จึงมิใช่เป็นการห้ามเกินคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือสั่งเกินคำขอของผู้ร้อง
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ชัดเจนว่า ธนาคารผู้ค้ำประกันจะต้องชำระเงินที่ค้ำประกันไว้ตามสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้ร้องหรือบริษัทคู่สัญญาร่วมก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ หรือต้องชำระค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายใดๆ หรือผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญาจ้าง มีความหมายว่า สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่จะเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามที่ค้ำประกันไว้แก่ผู้คัดค้านจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ร้องหรือบริษัทคู่สัญญาร่วมก่อให้เกิดความเสียหาย หรือต้องชำระค่าปรับ หรือค่าใช้จ่าย หรือมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญา การที่ผู้คัดค้านบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างว่าผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมไม่สามารถสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าได้ทันภายในกำหนดเวลาในสัญญาจ้างได้ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมผิดสัญญาจ้างและขอริบหลักประกัน แต่เมื่อผู้ร้องได้ขอบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างว่าผู้คัดค้านผิดสัญญาจ้างเช่นกัน จึงเป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญา อันจะต้องเสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาและชี้ขาดตามสัญญาจ้าง ข้อ 20
ผู้ค้ดค้านจะริบหลักประกันตามสัญญาจ้างได้หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่ว่าอนุญาโตตุลาการได้พิจารณาและชี้ขาดเสียก่อนว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้ผู้คัดค้านทวงถามหรือขอรับเงินอันเป็นหลักประกัน การที่ศาลมีหนังสือห้ามมิให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินที่ค้ำประกันแก่ผู้คัดค้าน ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันคือ ห้ามผู้คัดค้านได้รับเงินอันเป็นหลักประกันไว้ชั่วคราวจนกว่าอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาชี้ขาดข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทแล้ว จึงมิใช่เป็นการห้ามเกินคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือสั่งเกินคำขอของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2915/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้พิพากษาแก้เฉพาะจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 3 ความผิดฐานมีส่วนร่วมกระทำผิดยังคงมีผลตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์และโจทก์ร่วมมีแต่คำซัดทอดของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และ ส. คำซัดทอดดังกล่าวเป็นเพียงพยานบอกเล่าซึ่งมีน้ำหนักให้รับฟังได้น้อย เช่นเดียวกับบันทึกคำให้การของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 นำสืบปฏิเสธว่า ที่ให้การเช่นนั้นเกิดจากการชี้นำของเจ้าพนักงานตำรวจโดยบอกว่าจะกันไว้เป็นพยาน อันเป็นการนำสืบว่าโจทก์และโจทก์ร่วมได้พยานหลักฐานชิ้นนี้ด้วยการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ไม่เป็นการให้การด้วยความสมัครใจ รับฟังไม่ได้ แต่แม้จะรับฟังได้หรือไม่ บันทึกคำให้การดังกล่าวก็เป็นเพียงพยานบอกเล่ามีน้ำหนักให้รับฟังได้น้อยเช่นกัน
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่อาจนำสืบพิสูจน์ให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างหนึ่งอย่างใด อันจะเป็นข้อเท็จจริงแวดล้อมที่ทำให้น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วยแล้ว พยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมเท่าที่นำสืบมาจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่า ไม่เพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง กรณียังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง และต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่อาจนำสืบพิสูจน์ให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างหนึ่งอย่างใด อันจะเป็นข้อเท็จจริงแวดล้อมที่ทำให้น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วยแล้ว พยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมเท่าที่นำสืบมาจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่า ไม่เพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง กรณียังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง และต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกายบุพการี ไม่ถึงเจตนาฆ่า ศาลลดโทษ
เหตุที่จำเลยถือขวานวิ่งไล่ฟันผู้เสียหาย เพราะโกรธที่ถูกกล่าวหาว่าลักพระจตุคามรามเทพ ผู้เสียหายวิ่งเข้าห้องนอนปิดประตู จำเลยฟันผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวถูกประตูห้องนอนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยเลือกที่จะฟันอวัยวะสำคัญที่จะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย และไม่ได้ฟันผู้เสียหายซ้ำอีกทั้งที่จำเลยสามารถทำได้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้ขวานฟันผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น จำเลยกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายผู้เสียหายซึ่งเป็นบุพการี และเป็นความผิดที่รวมอยู่กับความผิดฐานพยายามฆ่าบุพการีตามฟ้องของโจทก์ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย