คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญส่ง โพธิ์พุทธชัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4268/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาจำเลยมิอาจอ้างเหตุใหม่นอกเหนือจากที่ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์และยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดด้วย ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายตามฟ้อง จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหายจึงเป็นอันยุติ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ด้วยและพิพากษาแก้เฉพาะบทจากความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นปล้นทรัพย์ มิได้แก้ไขโทษ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เกินห้าปี แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิฎีกาได้เฉพาะในปัญหาว่าจำเลยที่ 3 มิได้ร่วมกระทำความผิดด้วยอันจะทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยที่ 1 จะหวนกลับมาใช้สิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหายอีกไม่ได้ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานทำร้ายร่างกาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นโทษในความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ที่สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ยังไม่เกิดขึ้นในขณะที่หนี้ของเจ้าหนี้ขาดอายุความแล้ว ไม่อาจหักกลบลบได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วก็นำมาหักกลบลบหนี้ได้ แต่ในเวลาที่อาจจะหักกลบลบกับสิทธิเรียกร้องอีกฝ่ายได้นั้น สิทธิเรียกร้องฝ่ายตนต้องยังไม่ขาดอายุความ คดีนี้ก่อนหนี้บัตรเครดิตขาดอายุความ 2 ปี จำเลยยังไม่ได้นำเงินเข้าบัญชี จำเลยเพิ่งนำเงินเข้าฝากเข้าบัญชีหลังจากหนี้บัตรเครดิตขาดอายุความแล้ว สิทธิเรียกร้องในการหักเงินฝากของจำเลยจึงเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความไปแล้ว โจทก์จึงไม่สามารถหักกลบลบหนี้โดยหักเงินฝากของจำเลยมาชำระหนี้บัตรเครดิตได้ เพราะในเวลาที่โจทก์จะหักกลบลบหนี้กับสิทธิเรียกร้องของจำเลยได้นั้น สิทธิเรียกร้องโจทก์ขาดอายุความไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำทางอาญา: การรับของโจรต่างช่วงเวลาไม่ถือเป็นกรรมเดียว
ในคดีแรกศาลฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยว่าเหตุกระทำผิดฐานรับของโจรเกิดระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เวลากลางวัน แต่คดีนี้คำฟ้องในข้อหารับของโจรระบุว่าเหตุเกิดวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากับการที่จำเลยรับของโจรในคดีแรก แม้ ธ. จับจำเลยและยึดของกลางทั้งสองสำนวนไว้ในคราวเดียวกัน และโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยรับทรัพย์ของกลางทั้งสองคดีนั้นไว้มาคราวเดียวกันหรือรับมาเมื่อใด แต่ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยรับของโจรคดีนี้ไว้ในวันเดียวกันและในคราวเดียวกันกับการรับของโจรในคดีแรก การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับการกระทำความผิดของจำเลยในคดีแรก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำทางอาญา: การรับของโจรช่วงเวลาต่างกัน ไม่เป็นกรรมเดียว
คดีก่อนศาลจังหวัดกาญจนบุรีฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุกระทำผิดฐานรับของโจรเกิดระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เวลากลางวัน แต่คดีนี้คำฟ้องในข้อหารับของโจรระบุว่า เหตุเกิดวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากับการที่จำเลยรับของโจรในคดีดังกล่าว ดังนั้นแม้มีการจับจำเลยและยึดของกลางทั้งสองสำนวนไว้ในคราวเดียวกัน และโจทก์ไม่ได้นำสืบว่า จำเลยรับทรัพย์ของกลางทั้งสองคดีนั้นไว้มาคราวเดียวกันหรือรับมาเมื่อใด แต่ข้อเท็จจริงก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยรับของโจรคดีนี้ไว้ในวันเดียวกันและในคราวเดียวกันกับการรับของโจรในคดีดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับการกระทำความผิดของจำเลยในคดีก่อนจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4142/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงและการสมรสย่อมไม่ทำให้พ้นผิดในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงที่อายุต่ำกว่าสิบสามปี
การที่จำเลยไม่ต้องรับโทษถ้าศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงสมรสกันมีเพียงการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 เท่านั้น แม้จะมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 277 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดบังคับ ซึ่งมาตรา 277 วรรคห้า (เดิม) ที่ใช้บังคับแก่คดีนี้บัญญัติให้การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน แต่ในคดีนี้จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ยินยอมในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุยังไม่เกินสิบสามปีกระทงหนึ่ง และอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีกระทงหนึ่ง เมื่อศาลได้อนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน การกระทำของจำเลยเฉพาะความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี จึงไม่ต้องรับโทษ ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุยังไม่เกินสิบสามปี ไม่เข้าเหตุที่จะไม่ต้องรับโทษ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อการกระทำความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารแม้ผู้นั้นจะยินยอม จำเลยจึงต้องรับโทษในความผิดฐานดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ฎีกาประเด็นใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง ถือเป็นการต้องห้ามฎีกาตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิด โดยลักรถยนต์คันพิพาทไปขณะที่ออกเวรปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยแล้ว อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะส่วนตัว กับบรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดในฐานะผู้ว่าจ้างดูแลทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัยในบริเวณที่เกิดเหตุ อันเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์แยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นปัญหาดังกล่าวให้เป็นการไม่ชอบ ฎีกาของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเรา-พรากผู้เยาว์: ศาลฎีกาพิพากษา ยกประโยชน์แห่งความสงสัยและแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ที่ยืนยันว่าถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรามีพิรุธไม่น่าเชื่อถือ เพราะเมื่อแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวบรรยายฟ้องไว้ ย่อมแสดงว่าคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ต่อศาลในชั้นพิจารณาแตกต่างกับคำให้การชั้นสอบสวนที่ผู้เสียหายที่ 1 เคยให้การไว้ซึ่งพนักงานอัยการใช้เป็นข้อมูลในการบรรยายการกระทำของจำเลยในคำฟ้อง แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายที่ 1 ให้การต่อพนักงานสอบสวนและเบิกความต่อศาลแตกต่างขัดแย้งกันไม่อยู่กับร่องกับรอย ทำให้คำเบิกความของพนักงานสอบสวนและเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 เป็นพิรุธไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้น คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ที่กล่าวอ้างว่า ถูกจำเลยบังคับให้ดื่มสุราสาโทประมาณ 2 แก้ว จนผู้เสียหายที่ 1 หมดสติไม่รู้สึกตัว เมื่อรู้สึกตัวก็รู้ตัวว่าถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้เพราะเมาสุราหมดสติ เป็นการขัดต่อเหตุผล จึงยังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 จริงตามฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
หลักเกณฑ์การบรรยายฟ้องความผิดหลายกระทงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การที่โจทก์บรรยายฟ้องในฟ้องข้อ 1 ก. รวมการกระทำความผิดฐานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร และพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารอยู่ในฟ้องข้อเดียวกัน แยกออกจากฟ้องข้อ 1 ข. ฐานข่มขืนกระทำชำเรานั้น โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจารและพรากผู้เยาว์เพียงกรรมเดียว หาใช่มุ่งประสงค์ให้ลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 เหมือนเช่นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ตามฟ้องข้อ 1 ข. อีกกระทงหนึ่งไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยฐานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก กระทงหนึ่ง และฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรา 319 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและนอกความประสงค์ของโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3302/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์คดีอาญา: การพิจารณาโทษและข้อจำกัดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลจะต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามคำฟ้องว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยใช้ยานพาหนะ ตามป.อ. มาตรา 83, 339, 340 ตรี มีระวางโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจูงใจเจ้าพนักงานเพื่อกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ แม้เป็นการเปลี่ยนข้อหาความผิดก็ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144
จำเลยทั้งสองไปติดต่อกับดาบตำรวจ ช. เพื่อขอให้ช่วยเหลือ พ. กับพวก โดยเปลี่ยนข้อหาจากเดิมข้อหาร่วมกันมีแมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเป็นข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเสนอให้เงิน 70,000 บาท ย่อมเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ขอให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ดาบตำรวจ ช. ไปดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชากระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ เมื่อพันตำรวจตรี ต. ผู้บังคับบัญชาของดาบตำรวจ ช. ทราบความประสงค์ของจำเลยทั้งสองจากดาบตำรวจ ช. และวางแผนจับกุมโดยตอบตกลงและนัดหมายให้นำเงินมอบให้ และจับกุมได้พร้อมเงินของกลาง จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ขอให้ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. และพันตำรวจตรี ต. เพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144
โจทก์ฟ้องว่า ดาบตำรวจ ช. ได้จับกุม พ. กับพวกในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน จำเลยทั้งสองให้ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการปล่อยตัว พ. กับพวกซึ่งเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ แต่ในทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยทั้งสองกระทำการเพื่อจูงใจให้ดาบตำรวจ ช. ดำเนินการช่วยเหลือ พ. กับพวกโดยเปลี่ยนข้อหาให้เบาลง ก็มิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ทั้งนี้เพราะไม่ว่าจะเป็นการให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ปล่อยตัวหรือเปลี่ยนข้อหาก็ล้วนแต่เป็นการจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สินบนเจ้าพนักงานเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อหาความผิดเป็นความผิดที่เบากว่าเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 144
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ดาบตำรวจ ช. ได้จับกุม พ. กับพวก ในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน จำเลยทั้งสองให้ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการปล่อยตัว พ. กับพวกซึ่งเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ แม้ในทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยทั้งสองกระทำการเพื่อจูงใจให้ดาบตำรวจ ช. ดำเนินการช่วยเหลือ พ. กับพวก โดยเปลี่ยนข้อหาให้เบาลงก็ตาม ก็หาใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญไม่ ทั้งนี้เพราะไม่ว่าจะเป็นการให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ปล่อยตัวหรือเปลี่ยนข้อหาก็ล้วนแต่เป็นการจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองได้
of 10