คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญส่ง โพธิ์พุทธชัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษลดลงเล็กน้อย โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เฉพาะโทษโดยลดมาตราส่วนโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 76 แม้จะยกฟ้องความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นบทเบากว่าและศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวด้วย ก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาให้ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพิเศษนายกฯ ตามธรรมนูญการปกครอง 2520 และความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งจำคุก
เมื่อคณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 และประกาศให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2519 ต่อมาได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520 ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญซึ่งจะได้จัดร่างขึ้นใหม่ตามบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้ ดังนั้น ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 จึงเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศและบริหารราชการแผ่นดินในขณะนั้น
เมื่อตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนหรือทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันใช้ธรรมนูญการปกครองนี้และไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและของสภานโยบายแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำของนายกรัฐมนตรีรวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย" ถ้อยคำในมาตรา 27 ที่ว่า ...ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและของสภานโยบายแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้" ย่อมรวมถึงการสั่งจำคุก ในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร
เมื่อปรากฏตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 28/2521 ว่า อ. ถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกมีเฮโรอีนน้ำหนัก 92 กิโลกรัมเศษ มอร์ฟีน 98 กิโลกรัมเศษ และฝิ่นสุกอีก 81 กิโลกรัมเศษ อันเป็นยาเสพติดให้โทษจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นการบ่อนทำลายเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ บ่อนทำลายสุขภาพอนามัยของประชาชน เป็นภัยร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ครบองค์ประกอบความผิดที่นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นสามารถใช้อำนาจตามมาตรา 27 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและสภานโยบายแห่งชาติสั่งให้จำคุกตลอดชีวิต อ. ในข้อหาร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และพยายามส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายได้ อันเป็นการใช้อำนาจโดยชอบตามที่กำหนดไว้ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 มาตรา 27 คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 28/2521 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2521 จึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้การออกคำสั่งดังกล่าวมีผลเป็นการลงโทษจำกัดสิทธิเสรีภาพบุคคล ซึ่งโดยปกติจะกระทำได้โดยอาศัยคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่เป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการและมาตรา 29 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาญาจักร พ.ศ.2520 จะบัญญัติว่า "ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย" ก็ตาม ก็ไม่ขัดหรือแย้งกันเอง และหาทำให้คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 28/2521 กลับกลายเป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายไม่ ทั้งนี้เพราะการใช้อำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 เป็นการใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะมีคำสั่งใดๆ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 27 ดังกล่าว ส่วนอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาและตุลาการสำหรับคดีที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากอำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 27
กรณีไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 ที่บัญญัติว่า "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย" เพราะการสั่งจำคุก อ. ในคดีนี้เป็นการสั่งโดยชอบด้วยธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 มาตรา 27 หาใช่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรนี้ใช้บังคับไม่ ดังนั้น คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 28/2521 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2521 จึงชอบด้วยกฎหมาย กรณีของผู้ร้องไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 90 ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ปล่อยตัว อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมปลอม & ขอบเขตการนำสืบพยาน: ศาลฎีกาพิพากษากลับ ยกฟ้อง เหตุโจทก์นำสืบพยานนอกประเด็น
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยปัญหานี้ไว้ในคำพิพากษาว่า การขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยจงใจ ปัญหาเรื่องจงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่จึงถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ จำเลยจะฎีกาอีกว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดพิจารณาอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15019/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่รับคำให้การและการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา การตีความประเภทของคำสั่งศาล
ระหว่างพิจารณาภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยอ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบพร้อมทั้งยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องและไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 1 ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ส่วนคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสาม ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ มิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 มีสิทธิอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11181/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลาง: เจ้าของรถไม่รู้เห็นการกระทำผิด และการสั่งริบซ้ำซ้อน
คดีร้องขอคืนของกลางมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนรถยนต์บรรทุกของกลางให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดเพราะจำเลยไม่รู้ว่ารถยนต์บรรทุกของกลางบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นเรื่องที่จำเลยต้องยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นร้องขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลางไม่ได้
ในคดีหลักศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางและคดีถึงที่สุดแล้ว แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนรถยนต์บรรทุกของกลางแก่ผู้ร้องกึ่งหนึ่ง ศาลชั้นต้นก็ไม่จำต้องสั่งให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางเพียงกึ่งหนึ่งอีกเพราะเป็นการสั่งซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10680/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินของรัฐ แม้ลงโทษอาญาแล้ว ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่
ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้าง และบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินได้ แม้บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยเร็วโดยไม่จำต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก ดังนี้แม้ศาลลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 360 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ด้วย ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของรัฐและที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10523/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา: การฟ้องซ้ำหลังแยกฟ้อง และการหยุดนับอายุความ
ป.อ. มาตรา 95 วรรคแรก บัญญัติว่า "ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความ" ซึ่งหมายความว่า เมื่อฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้วอายุความจึงหยุดนับ คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2547 ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 100 บาท จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) โจทก์นำจำเลยมาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2547 ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 580/2549 ของศาลชั้นต้น ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิด อายุความจึงหยุดนับ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ และโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ภายในกำหนดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 26 เมษายน 2549 คดีโจทก์สำหรับความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือไม่มีเหตุสมควรจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9283/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาล, วิชาชีพเวชกรรม, และโรคศิลปะ เป็นความผิดคนละกรรม, ศาลลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้องได้
สถานพยาบาลตามมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 หมายความว่า สถานที่ซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม ดังนั้น การที่จำเลยประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงเป็นการกระทำด้วยเจตนาจัดสถานที่เพื่อการตรวจรักษาโรคโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต่างจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต ที่จำเลยมีเจตนาตรวจรักษาโรคให้สตรี ตรวจภายใน หรือทำแท้ง การกระทำของจำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จึงเป็นความผิดคนละกรรมกับความผิดฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
เมื่อพิจารณาใจความที่ศาลบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาประกอบกับบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลแล้วได้ความว่า จำเลยประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยใช้บ้านพักของจำเลยเป็นสถานให้บริการทำแท้งโดยไม่ได้รับใบอนุญาต อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 57 มิใช่มาตรา 47 ที่โจทก์ระบุมาในคำขอท้ายฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง กรณีเป็นเรื่องโจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 2 ปี ฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จำคุก 2 ปี ฐานประกอบโรคศิลปะ โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต จำคุก 6 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี 3 เดือน ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ความผิดฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานประกอบโรคศิลปะ โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจำคุก 6 เดือน รวมจำคุก 1 ปี 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 9 เดือน ไม่ริบบัตรประจำตัวประชาชนลูกค้า บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวนักศึกษาวิทยาลัยราชภัฏเลย และให้คืนแก่เจ้าของ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษ ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9134/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนพยานหลักฐานในคดีละเมิดอำนาจศาลต้องชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ผู้ถูกกล่าวหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลโดยที่มิได้กระทำต่อหน้าศาล และผู้ถูกกล่าวหาให้การปฏิเสธ ศาลจำต้องไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อหาข้อเท็จจริงก่อน การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ไต่สวนดาบตำรวจ ท. พยานของผู้กล่าวหา แล้วรับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามบันทึกข้อความเรื่องรายงานมีผู้กระทำความผิดในบริเวณศาลของดาบตำรวจ ท. ว่า ผู้ถูกกล่าวหานำข้าวกล่อง 2 กล่อง ซึ่งซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีน 4 เม็ด ไปฝากให้ น. ผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในห้องควบคุมผู้ต้องหาของศาล ดังนี้ บันทึกข้อความดังกล่าวเป็นพยานบอกเล่ายังรับฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ การไต่สวนของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ผู้ถูกกล่าวหามิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 จึงพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8914/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลจังหวัดต้องมีผู้พิพากษาสองคนในการพิจารณาคดีอาญา การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทโดยผู้พิพากษาคนเดียวไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 การที่ผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบโดยฟังข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 26 เนื่องจากการพิพากษาคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะออกคำสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยยกคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181 ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน
of 10