คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญส่ง โพธิ์พุทธชัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ขนยาเสพติด: ศาลฎีกาชี้ว่าคำรับสารภาพจำเลยเป็นหลักฐานสำคัญในการพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 ว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมีพืชกระท่อมอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 บรรจุกระสอบพลาสติก 3 กระสอบ และกระเป๋าหิ้ว 1 ใบ น้ำหนัก 38.90 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และบรรยายฟ้องในข้อ 2 ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยกับพวกได้พร้อมยึดพืชกระท่อมและรถยนต์กระบะซึ่งเป็นยานพาหนะที่จำเลยกับพวกใช้ในการกระทำความผิดบรรทุกขนพืชกระท่อมเป็นของกลาง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยไม่ได้โต้เถียงว่ารถยนต์กระบะของกลางที่ยึดได้นั้นจำเลยมิได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงต้องฟังว่ารถยนต์กระบะของกลางที่ยึดได้เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ฟังว่ารถยนต์กระบะของกลางมิใช่ยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษโดยตรงอันจะพึงริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ นั้น เป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ผิดไปจากคำรับสารภาพของจำเลยเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถบรรทุกน้ำหนักเกินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) ศาลอุทธรณ์มีดุลพินิจไม่ริบได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยและสั่งริบรถยนต์บรรทุกของกลาง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์บรรทุกของกลางบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย รถยนต์บรรทุกของกลางจึงเป็นทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่ ก็ฟังได้แล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ทั้งการสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) เป็นดุลพินิจของศาล การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าเห็นควรไม่ริบรถยนต์บรรทุกของกลางเท่ากับเป็นการใช้ดุลพินิจไม่ริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แล้ว
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน และปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าไม่ริบรถยนต์บรรทุกของกลาง เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5433/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่และการระงับหนี้เดิมจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่จำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยทั้งสองในการเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจำนวน 22 คัน ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบริษัทซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าว โดยโจทก์จะเป็นผู้ชำระหนี้ให้แก่บริษัทจำนวน 14,683,970 บาท โดยบริษัทจะโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกทั้งหมดให้แก่โจทก์ และไม่ติดใจจะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ อีกต่อไป ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ โดยลูกหนี้เก่าคือจำเลยทั้งสองให้ความยินยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ดังนั้น หนี้เดิมตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไปตามมาตรา 349 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีอาญา การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และการกำหนดโทษที่เหมาะสม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้มีดปลายแหลม 1 เล่ม และไม้ปลายแหลม 1 อัน เป็นอาวุธแทงผู้เสียหาย 2 ครั้ง ถูกบริเวณหน้าแข้งซ้ายส่วนล่าง บาดแผลกว้าง 3 เซนติเมตร และ 4 เซนติเมตร ลึกตัดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นส่วนหน้าขาด เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 297 ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดเจนแล้วว่าจำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสอันเป็นความผิดตาม ป.อ. 297 (8) ส่วนบาดแผลของผู้เสียหายจะเกิดจากไม้ปลายแหลมหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา และโจทก์ไม่จำต้องระบุอนุมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ฟ้องของโจทก์จึงได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่เกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย แม้ฟ้องขอลงโทษตามมาตราอื่น ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดที่พิสูจน์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม แต่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้นรวมการกระทำความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรกด้วย เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก ศาลก็ปรับบทลงโทษจำเลยตามความผิดที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษและเป็นการพิพากษาเกินคำขอดังที่โจทก์กล่าวอ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมแปลงเช็คเพื่อเบิกเงิน – ศาลฎีกาวินิจฉัยเจตนาหลักคือการได้เงิน
จำเลยเอาไปเสียซึ่งเช็คของผู้เสียหายแล้วปลอมเช็คดังกล่าวโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินในเช็คกับปลอมลายมือชื่อของผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค แล้วนำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคารตามเช็ค ได้รับเงินจำนวน 850,000 บาท ไป เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะได้เงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของผู้เสียหายเป็นหลัก การกระทำต่าง ๆ เป็นเพียงวิธีการเพื่อจะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำแต่ละอย่างจะเป็นความผิดแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมลายมือชื่อบนบัตร ATM แม้ไม่กระทบการเบิกถอนโดยตรง ก็อาจเข้าข่ายความผิดฐานใช้เอกสารปลอมได้
การที่ธนาคารผู้ออกบัตร ATM ทั้งหลายต่างออกแบบให้ด้านหลังของบัตร ATM มีช่องให้เจ้าของบัตรลงลายมือชื่อไว้นั้น นอกจากจะมีวัตถุประสงค์มีไว้เพื่อระบุตัวเจ้าของบัตรแล้วยังอาจมีวัตถุประสงค์เป็นประการอื่น ๆ ด้วย การที่จำเลยปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในบัตร ATM ของโจทก์ร่วม แม้ลายมือชื่อปลอมจะมิใช่สาระสำคัญของการใช้บัตร ATM ในการทำรายการเบิกถอนเงินที่ตู้เบิกถอนเงิน ATM ก็ตาม การกระทำของจำเลยที่ลงลายมือชื่อปลอมที่หลังบัตร ATM ของโจทก์ร่วมก็ถือได้ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมและธนาคารผู้ออกบัตร และได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารแท้จริง อันเป็นการครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ความล่าช้าของผู้ร้องและการแต่งตั้งทนายความใหม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำสั่งให้คู่ความฟัง คดีของผู้ร้องรูปคดีไม่ซับซ้อน ผู้ร้องมีทนายความคนเดิมซึ่งมีอำนาจอุทธรณ์ได้ย่อมอยู่ในวิสัยที่จะยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ได้ และหากผู้ร้องประสงค์จะแต่งตั้งทนายความคนใหม่แทนทนายความคนเดิมเพื่อยื่นอุทธรณ์ ผู้ร้องต้องติดต่อและแต่งตั้งให้เป็นทนายความแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้มีระยะเวลาเพียงพอที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ แต่ผู้ร้องกลับปล่อยปละละเลยเพิ่งแต่งตั้งทนายความคนใหม่เพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ในวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์และทนายความผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป โดยอ้างในคำร้องว่าผู้ร้องเพิ่งติดต่อให้ยื่นอุทธรณ์และคดีมีรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารจำนวนมาก อันเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเอง กรณีของผู้ร้องยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางกระบวนการยุติธรรม: การกระทำของทนายความ พี่ชายจำเลย และผู้ใหญ่บ้าน ที่มีผลต่อการพิจารณาคดี
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4 รับผู้กล่าวหาทั้งสองไปศาลและพากลับจากศาลโดยทราบดีว่าผู้กล่าวหาทั้งสองไปศาลเพื่อเบิกความต่อศาลตามหมายเรียก โดยไม่ให้ผู้กล่าวหาทั้งสองเบิกความต่อศาลตามหมายเรียก จึงเป็นการร่วมกับผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และที่ 3 ขัดขวางการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล อันเข้าลักษณะเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลซึ่งถือว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1)
ฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ที่ว่า สถานที่ที่เกิดเหตุมิใช่บริเวณศาลเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งหยิบยกขึ้นมาว่ากล่าวในภายหลังซึ่งขัดแย้งกับคำรับสารภาพผิดของผู้ถูกกล่าวที่ 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา
ฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ที่ว่า องค์คณะของผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีและพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะรายชื่อผู้พิพากษาในองค์คณะพิจารณาคดีและพิพากษาคดีเป็นรายชื่อผู้พิพากษาคนละองค์คณะกัน เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง และถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4 ได้ร่วมกับผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 พี่ชายจำเลยและผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ทนายความของจำเลยกระทำการขัดขวางการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาลด้วยการพาและบอกให้ผู้กล่าวหาทั้งสองซึ่งมาศาลในวันนัดตามหมายเรียกแล้วกลับบ้าน เพื่อมิให้ผู้กล่าวหาทั้งสองเบิกความเป็นพยานต่อศาล โดยมีเจตนาเพื่อจะช่วยให้จำเลยไม่ต้องรับโทษ การกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นข้อเท็จจริงในสาระสำคัญที่มีลักษณะเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาเรื่องมีเหตุสมควรรอการลงโทษให้แก่ผู้ถูกกล่วหาที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 หรือไม่ ไปพร้อมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10312/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีลักทรัพย์ และค่าธรรมเนียมการยื่นฎีกา
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 252 ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยเสียค่าคำร้อง 40 บาท จึงไม่ถูกต้อง
of 10