พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12054/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และการเพิ่มเติมโทษโดยศาลอุทธรณ์ที่ขัดต่อกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนลงโทษจำคุก 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ยกฟ้องข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะข้อหาที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน จึงต้องถือว่าโจทก์พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลยในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนแล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวเป็นไม่รอการลงโทษ และลงโทษปรับด้วย จึงเป็นการไม่ชอบเพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลย อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11351/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย และความผิดฐานครอบครองยาเสพติด โดยการฟ้องจำกัดเฉพาะกรรมเดียว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 149 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 2 เม็ด คดีของจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้อง ส่วนความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ความผิดฐานนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 145 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 149 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงกรรมเดียว มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นอีกกรรมหนึ่ง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษ จำเลยที่ 2 ฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกรรมหนึ่งจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมผู้บริโภค: ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความแพ้คดีชำระแทนได้ แม้กฎหมายยกเว้นให้โจทก์
แม้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 39 วรรคสอง เพียงแต่บัญญัติยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงให้แก่เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในการดำเนินคดีในศาล แต่มิได้มีบทบัญญัติใดกล่าวถึงอำนาจศาลในการที่จะพิจารณาสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งรับผิดชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลในนามของผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมศาลเหมือนเช่นกรณีการได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมศาลเพราะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 158 (เดิม) ก็ตาม แต่กรณีก็ต้องนำบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 158 (เดิม) ดังกล่าวมาใช้บังคับแก่กรณีการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมแก่เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในการดำเนินคดีในศาลในฐานะที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง ดังนั้น แม้กฎหมายจะยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงให้แก่เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคหรือโจทก์ก็ตาม แต่อานิสงส์เช่นว่านี้ก็ไม่ควรเป็นประโยชน์ที่ตกได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ฟ้องหรือสู้ความโดยไม่สุจริต โดยเหตุนี้หากในการพิพากษาคดีศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า จำเลยที่ 2 ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่แพ้คดีจะต้องเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 2 นั้นชำระค่าฤชาธรรมเนียมอื่น นอกจากค่าทนายความต่อศาลในนามของโจทก์ผู้ฟ้องคดีแทนผู้บริโภคที่ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมนั้นได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องซึ่งเป็นวันที่โจทก์ขอ แต่กลับพิพากษาให้ชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง อันเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนโดยมิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องซึ่งเป็นวันที่โจทก์ขอ แต่กลับพิพากษาให้ชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง อันเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนโดยมิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเนื่องคดียาเสพติด: อำนาจสอบสวนและความต่อเนื่องของการกระทำความผิด
เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางเขนจับกุม ว. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวนหนึ่งเป็นของกลาง จึงได้วางแผนให้ ว. โทรศัพท์สั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยและ ป. อีก จนจับกุมจำเลยและ ป. ได้ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ กรณีจึงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องเกี่ยวพันกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนซึ่งเป็นท้องที่ที่ ว. โทรศัพท์ล่อซื้อและสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยและ ป. พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวน ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขนจึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) การสอบสวนจึงเป็นไปโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15928/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: แม้คดีแรกยังไม่ถึงที่สุด แต่ฟ้องเรื่องเดียวกันย่อมเป็นฟ้องซ้อน
ป.วิ.พ. มาตา 148 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน..." ความในบทบัญญัติดังกล่าวให้ความหมายชัดเจนว่า คดีแรกซึ่งจะประกอบเป็นเหตุผลให้คดีหลังต้องห้ามมิให้ฟ้องนั้น จะต้องมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 ก่อนที่ คดีหมายเลขแดงที่ 1933/2550 ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 และก่อนที่ คดีหมายเลขแดงที่ 2764/2550 ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2550 ทั้งสองคดีดังกล่าวจึงอยู่ในระหว่างพิจารณา ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงหาต้องด้วยหลักเกณฑ์แห่งข้อห้ามตามบทบัญญัติในประโยคแรกแห่งมาตรา 148 วรรคหนึ่ง ไม่
ฟ้องของโจทก์คดีนี้ และคดีหมายเลขแดงที่ 1933/2550 และคดีหมายเลขแดงที่ 2764/2550 ล้วนเป็นฟ้องที่โจทก์อ้างสิทธิในการที่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมตามสัญญาว่าจ้างโจทก์พัฒนาโครงการที่พักอาศัยรวม 3 แห่ง เพียงแต่โจทก์แยกฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมแต่ละเดือนเป็นคดีไป คือ เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เดือนมีนาคม 2548 และเดือนเมษายน 2548 อันเป็นการอ้างสิทธิของโจทก์ตามสัญญาทั้งสามฉบับชุดเดียวกัน ฟ้องทั้งสามคดีนี้จึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน ดังนี้ เมื่อขณะโจทก์ยื่นฟ้อง คดีแรกคือ คดีหมายเลขดำที่ 890/2550 และคดีที่สองคือคดีหมายเลขดำที่ 1417/2550 ซึ่งศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ขณะนั้นจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าธรรมเนียมสำหรับเดือนเมษายน 2548 ตามสัญญาทั้งสามฉบับชุดเดียวกันดังที่โจทก์กล่าวอ้างและนำมาเป็นเหตุฟ้องคดีนี้แล้ว ข้อหาที่โจทก์กล่าวอ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิไม่ชำระค่าธรรมเนียมเดือนกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2548 จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ชอบที่โจทก์จะต้องฟ้องรวมกันมาเสียทีเดียว การที่โจทก์เพิ่งมาฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ฟ้องของโจทก์คดีนี้ และคดีหมายเลขแดงที่ 1933/2550 และคดีหมายเลขแดงที่ 2764/2550 ล้วนเป็นฟ้องที่โจทก์อ้างสิทธิในการที่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมตามสัญญาว่าจ้างโจทก์พัฒนาโครงการที่พักอาศัยรวม 3 แห่ง เพียงแต่โจทก์แยกฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมแต่ละเดือนเป็นคดีไป คือ เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เดือนมีนาคม 2548 และเดือนเมษายน 2548 อันเป็นการอ้างสิทธิของโจทก์ตามสัญญาทั้งสามฉบับชุดเดียวกัน ฟ้องทั้งสามคดีนี้จึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน ดังนี้ เมื่อขณะโจทก์ยื่นฟ้อง คดีแรกคือ คดีหมายเลขดำที่ 890/2550 และคดีที่สองคือคดีหมายเลขดำที่ 1417/2550 ซึ่งศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ขณะนั้นจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าธรรมเนียมสำหรับเดือนเมษายน 2548 ตามสัญญาทั้งสามฉบับชุดเดียวกันดังที่โจทก์กล่าวอ้างและนำมาเป็นเหตุฟ้องคดีนี้แล้ว ข้อหาที่โจทก์กล่าวอ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิไม่ชำระค่าธรรมเนียมเดือนกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2548 จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ชอบที่โจทก์จะต้องฟ้องรวมกันมาเสียทีเดียว การที่โจทก์เพิ่งมาฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14286/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีและจำหน่ายยาเสพติดเป็นกรรมเดียว ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุก
การที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อแล้วก็ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมทันที เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นตัวจำเลยพบผงเมทแอมเฟตามีนติดอยู่ในปลอกปากกาที่จำเลยใช้บรรจุเมทแอมเฟตามีน ผงเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีลักษณะเป็นคราบติดอยู่ด้านใน น้ำหนัก 0.01 กรัม ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเศษของเมทแอมเฟตามีนจำนวนอื่น ต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าเป็นผงเมทแอมเฟตามีนจากเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ที่จำเลยจำหน่ายให้แก่สายลับ ดังนี้เมื่อจำเลยมีผงเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันกับเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายไป จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเป็นความผิดหลายกรรมไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีผงเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ถือว่าได้ทำการสอบสวนในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ว ทั้งความผิดฐานมีผงเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องได้รวมการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีผงเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ถือว่าได้ทำการสอบสวนในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ว ทั้งความผิดฐานมีผงเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องได้รวมการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7910/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อวัสดุของรัฐ: การจัดซื้อที่ไม่ชอบด้วยระเบียบ, เจตนาทุจริต, และผลกระทบต่อผลประโยชน์ของรัฐ
องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการทำสัญญาสั่งซื้อฉลากโอพีพีฟิล์มจากโจทก์เป็นจำนวนมากเกินจำนวนที่จะต้องใช้อย่างเห็นได้ชัดโดยจำเลยที่ 2 ไม่คำนึงถึงว่าจำเลยที่ 1 จะสามารถใช้วัสดุได้คุ้มกับราคาที่ต้องจ่ายไปหรือไม่ ส่อแสดงว่าประสงค์ได้อามิสสินจ้างในการทำสัญญาครั้งนี้จึงมีเจตนาทุจริต ซึ่งย่อมกระทบถึงผลประโยชน์ของรัฐที่อาจต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดินจากการซื้อวัสดุในราคาที่ขาดการแข่งขันตามความเป็นธรรมและความเหมาะสมแห่งสภาพวัสดุนั้น เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยชัดแจ้งอีกโสดหนึ่ง และถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ร่วมกันเอาเปรียบต่อองค์การของรัฐส่อไปในทางแทรกแซงการบริหารในองค์การของรัฐจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7910/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายฉลากสินค้าขององค์การของรัฐที่ขัดต่อกฎหมายงบประมาณและส่อเจตนาทุจริต เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทองค์การของรัฐบาล โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการจำเลยที่ 1 ผู้ลงนามในสัญญา และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการจำเลยที่ 1 ผู้ลงนามขยายอายุสัญญา ทำสัญญาซื้อขายฉลากสินค้าประเภทนมเปรี้ยว ซึ่งกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องซื้อฉลากสินค้าจำนวน 57,600,000 ชิ้น ภายในกำหนดเวลา 7 ปี ปีละไม่น้อยกว่า 400,000 ชิ้น เป็นการทำสัญญาผูกพันซื้อสินค้าจากโจทก์ยาวนานต่อเนื่องถึง 7 ปี โดยไม่ใช้วิธีการพิเศษอันเป็นการไม่ดำเนินการตามข้อบังคับ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ทำให้เกิดความขัดแย้งผลประโยชน์ระหว่างเอกชนอื่นกับจำเลยที่ 1 และทำให้ไม่มีการเสนอราคาแข่งขัน ทั้งจำนวนฉลากที่สั่งซื้อก็มากกว่าจำนวนสินค้านมเปรี้ยวที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายได้อยู่มาก ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทุจริตประสงค์อามิสสินจ้างในการทำสัญญา ย่อมกระทบถึงผลประโยชน์ของรัฐ ทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6285-6286/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: โจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุจำนวนเงินในคำร้อง
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 3 และมาตรา 27 มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำผิดว่าจะต้องระบุว่าเป็นเงินจำนวนเท่าใดแน่นอนลงไป ดังนั้น โจทก์จึงไม่จำเป็นที่ต้องบรรยายถึงจำนวนเงินที่เหลืออยู่ในบัญชีเงินฝากในคำร้อง แต่เป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณา คำร้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญากู้ยืมเงินโดยมีเจตนาแปลงหนี้ และการขู่ว่าจะดำเนินคดีอาญาไม่ถือเป็นการข่มขู่
บุตรจำเลยเช่ารถยนต์รวม 3 คัน ซึ่งเป็นของโจทก์ ส. และ น. บุตรจำเลยกลับนำรถยนต์ไปจำนำผู้มีชื่อแล้วไม่สามารถนำรถยนต์มาคืนเพราะไม่มีเงินค่าไถ่รถที่จำนำไว้ โจทก์แจ้งความเพื่อนดำเนินคดีแก่บุตรจำเลย ก. บุตรเขยแจ้งแก่จำเลยว่า ว. ได้นำรถของโจทก์ไปจำนำไว้และได้มีการแจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้ว ขอให้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินพิพาทเกี่ยวกับการที่จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงิน เนื่องจากจำเลยเป็นมารดาของ ว. ซึ่งเช่ารถยนต์ของโจทก์กับพวกไปและนำรถไปจำนำแล้วไม่มีเงินค่าไถ่รถยนต์คืน โจทก์จึงไปแจ้งความกล่าวหาบุตรสาวจำเลยและได้เจรจากัน ต่อมาจำเลยจึงได้ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ การที่โจทก์ให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงิน หากไม่ทำก็จะดำเนินคดีอาญาแก่บุตรของจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริต อันถือได้ว่าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 สัญญากู้ยืมเงินจึงมีผลใช้บังคับได้ และการที่จำเลยซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้โจทก์มาทำสัญญากู้เนื่องจากบุตรจำเลยมีหนี้กับโจทก์เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจลูกหนี้เดิมแล้ว สัญญาแปลงหนี้ใหม่จึงใช้บังคับได้ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญากู้พิพาท