คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมชัย ตันตยานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับ, อายุความ, และการติดตั้งอุปกรณ์: กรณีสัญญาบริการวงจรสัญญาณความเร็วสูง
สัญญาให้บริการวงจรสื่อสัญญาณความเร็วสูงภายในประเทศระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ใช้บริการผิดนัดชำระหนี้ค่าใช้บริการ...ผู้ใช้บริการยินยอมเสียค่าปรับในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน สำหรับค่าใช้บริการที่ค้างชำระ" อันเป็นกรณีที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 หาใช่ดอกเบี้ยไม่และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดอัตราไว้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดเบี้ยปรับกรณีจำเลยผิดนัดชำระหนี้ค่าใช้บริการในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรืออัตราร้อยละ 24 ต่อปีได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลดเบี้ยปรับลงเป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นคุณแก่จำเลยแล้ว
สิทธิเรียกร้องค่าบริการให้เช่าวงจรสื่อสัญญาณความเร็วสูงเป็นการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) อายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ค่าบริการรายเดือนถึงกำหนดชำระ ตามมาตรา 193/12 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2545 มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าว 523,123 บาท ต่อมาวันที่ 11 ตุลาคม 2545 จำเลยมีหนังสือยืนยันยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระต่อโจทก์ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2545 เป็นเงินจำนวนดังกล่าว รายการที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นให้ถือว่าไม่เกี่ยวข้อง แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นวิธีปฏิบัติของการตรวจสอบบัญชีแต่ก็ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) จะต้องเริ่มนับอายุความใหม่นับแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15 วรรคสอง ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าบริการรายเดือนที่ถึงกำหนดชำระนับแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2544 ตามใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับถึงวันฟ้องจึงสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความใหม่นับแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2545 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุด โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546 ยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจูงใจเจ้าพนักงานเพื่อกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ แม้เป็นการเปลี่ยนข้อหาความผิดก็ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144
จำเลยทั้งสองไปติดต่อกับดาบตำรวจ ช. เพื่อขอให้ช่วยเหลือ พ. กับพวก โดยเปลี่ยนข้อหาจากเดิมข้อหาร่วมกันมีแมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเป็นข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเสนอให้เงิน 70,000 บาท ย่อมเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ขอให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ดาบตำรวจ ช. ไปดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชากระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ เมื่อพันตำรวจตรี ต. ผู้บังคับบัญชาของดาบตำรวจ ช. ทราบความประสงค์ของจำเลยทั้งสองจากดาบตำรวจ ช. และวางแผนจับกุมโดยตอบตกลงและนัดหมายให้นำเงินมอบให้ และจับกุมได้พร้อมเงินของกลาง จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ขอให้ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. และพันตำรวจตรี ต. เพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144
โจทก์ฟ้องว่า ดาบตำรวจ ช. ได้จับกุม พ. กับพวกในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน จำเลยทั้งสองให้ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการปล่อยตัว พ. กับพวกซึ่งเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ แต่ในทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยทั้งสองกระทำการเพื่อจูงใจให้ดาบตำรวจ ช. ดำเนินการช่วยเหลือ พ. กับพวกโดยเปลี่ยนข้อหาให้เบาลง ก็มิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ทั้งนี้เพราะไม่ว่าจะเป็นการให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ปล่อยตัวหรือเปลี่ยนข้อหาก็ล้วนแต่เป็นการจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สินบนเจ้าพนักงานเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อหาความผิดเป็นความผิดที่เบากว่าเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 144
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ดาบตำรวจ ช. ได้จับกุม พ. กับพวก ในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน จำเลยทั้งสองให้ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการปล่อยตัว พ. กับพวกซึ่งเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ แม้ในทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยทั้งสองกระทำการเพื่อจูงใจให้ดาบตำรวจ ช. ดำเนินการช่วยเหลือ พ. กับพวก โดยเปลี่ยนข้อหาให้เบาลงก็ตาม ก็หาใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญไม่ ทั้งนี้เพราะไม่ว่าจะเป็นการให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ปล่อยตัวหรือเปลี่ยนข้อหาก็ล้วนแต่เป็นการจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการเบิกเงินเดือนล่วงหน้า หากเข้าใจผิดว่าได้รับอนุมัติ ย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่า ป. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจบริษัทโจทก์ร่วมอนุมัติให้จำเลยเบิกเงินเดือนของจำเลยล่วงหน้าได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ขออนุมัติจาก ป. ก่อนตามระเบียบการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าของพนักงาน ก็ไม่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยมีเจตนาทุจริต จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2352/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานบริการไม่ใช่สถานเต้นรำหากไม่มีพื้นที่เฉพาะสำหรับการเต้นรำ แม้มีลูกค้าเต้นตามจังหวะเพลง
คำว่า "เต้นรำ" ไม่มีกำหนดไว้ในบทนิยามของ พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 แต่คำว่า "เต้นรำ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายความถึงเคลื่อนไปโดยมีระยะก้าวตามกำหนดให้เข้าจังหวะกับดนตรี ซึ่งเรียกว่าลีลาศ โดยปรกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง รำเท้า ก็ว่า เช่น ฝรั่งรำเท้า ส่วนคำว่า ลีลาศ หมายความถึง เต้นรำแบบตะวันตกบางชนิด เช่น ออกไปลีลาศ แสดงว่าต้องมีเวทีหรือพื้นที่สำหรับเต้นรำหรือลีลาศ ฉะนั้น เมื่อสถานบริการที่เกิดเหตุไม่มีเวทีหรือพื้นที่สำหรับเต้นรำหรือลีลาศได้ จึงไม่ใช่สถานเต้นรำตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 3 (1) แม้นักร้องจะชักชวนลูกค้าให้ร่วมสนุกด้วยโดยลูกค้ายืนเต้นหรือนั่งเต้นตามจังหวะเพลงบริเวณโต๊ะอาหารหรือเครื่องดื่ม ก็มิใช่เป็นการจัดให้มีการเต้นรำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2352/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานบริการไม่มีพื้นที่เต้นรำ ไม่ถือเป็นสถานเต้นรำตามกฎหมาย
สถานบริการที่ไม่มีเวทีหรือพื้นที่สำหรับเต้นรำหรือลีลาศได้ไม่ใช่สถานเต้นรำตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 3 (1) การที่นักร้องชักชวนลูกค้าให้ร่วมสนุกด้วยโดยลูกค้ายืนเต้นหรือนั่งเต้นตามจังหวะเพลงบริเวณโต๊ะอาหารหรือเครื่องดื่มก็มิใช่เป็นการจัดให้มีการเต้นรำที่จะทำให้เป็นสถานเต้นรำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของรถไฟในกรณีสินค้าเสียหาย: ละเมิด vs. สัญญา
บทบัญญัติมาตรา 609 แห่ง ป.พ.พ. กับบทบัญญัติมาตรา 50 และมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยเฉพาะความรับผิดทางสัญญาไม่รวมถึงกรณีละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิด จำเลยจะยกกฎหมายดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ประกันค่าระวางสินค้าก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการตกรางของรถไฟ การรถไฟต้องรับผิดแม้สินค้าไม่ตกจากรถโดยตรง
รถพ่วงบรรทุกตู้สินค้าตกรางทำให้ตู้บรรจุสินค้าเลื่อนไหลไปกระแทกกับตู้บรรจุสินค้าที่อยู่ด้านหน้าอันเป็นผลให้ม้วนกระดาษพิมพ์เขียนของโจทก์ที่อยู่ในตู้บรรจุสินค้าได้รับความเสียหาย เกิดจากการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นผู้ประมาทเลินเล่อ จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แม้ตู้บรรจุสินค้าไม่ได้ตกจากรถพ่วงบรรทุกตู้บรรจุสินค้ามากระแทกพื้น ก็มิใช่ข้อสาระสำคัญที่จะทำให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 บัญญัติว่า "การรับขนของหรือคนโดยสารในหน้าที่ของกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม... ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้นๆ" แต่พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา 50 และมาตรา 51 ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยเฉพาะความรับผิดทางสัญญาไม่รวมถึงกรณีละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิด จำเลยจะยกกฎหมายดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ประกันค่าระวางสินค้าไว้กับจำเลย โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของบริษัทรถไฟต่อความเสียหายสินค้า แม้ไม่ได้ทำประกันค่าระวาง
ป.พ.พ. มาตรา 609 บัญญัติว่า "การรับขนของหรือคนโดยสารในหน้าที่ของกรมการรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม... ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้นๆ" ส่วน พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา 50 บัญญัติว่า "ข้อที่กรมรถไฟแผ่นดินจะต้องรับผิดชอบในการที่ผู้โดยสารต้องบาดเจ็บเสียหายก็ดี ฤๅว่าครุภาระ ห่อวัตถุ ฤๅสินค้า ซึ่งรับบรรทุกนั้นแตกหักสูญหายก็ดี... ท่านให้ใช้บังคับตามพระราชกำหนดกฎหมายส่วนแพ่งว่าด้วยการบรรทุกส่ง เว้นไว้แต่จะต้องด้วยบทมาตราดังกล่าวต่อไปในพระราชบัญญัตินี้ จึงให้บทมาตรานั้นๆ บังคับ" มาตรา 51 บัญญัติว่า "กรมรถไฟแผ่นดินไม่ต้องรับผิดชอบในการที่ครุภาระ ห่อวัตถุ ฤๅสินค้าที่บรรทุกส่งไปฤๅมอบฝากไว้กับรถไฟนั้นแตกหักบุบสลาย...เว้นไว้แต่พนักงานรถไฟจะได้รับของนั้นลงบัญชีประกันและได้ออกใบรับให้ไปเป็นสำคัญ" แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวให้คุ้มครองแก่จำเลยเฉพาะความรับผิดทางสัญญาไม่รวมถึงกรณีละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิด จำเลยจะยกกฎหมายดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ประกันค่าระวางสินค้าก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาซื้อขายบ้าน - การคืนสิทธิไทม์แชร์และเงินมัดจำ - การกลับคืนสู่ฐานะเดิม
จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ดำเนินการปลูกบ้านตามแบบที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันตลอดมา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อจำเลยที่ 1 โดยไม่ยินยอมชำระเงินตามงวดที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันเท่านั้น มิได้ให้การถึงว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะมิได้ดำเนินการโอนสิทธิใดๆ หรือได้ชำระเงินใดๆ ตามสัญญาไทม์แชร์ให้แก่จำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า โจทก์ยังไม่ได้ทำหนังสือติดต่อไปยัง ฮ. เพื่อโอนสิทธิในสัญญาไทม์แชร์ให้แก่จำเลยที่ 1 สัญญาไทม์แชร์จะยกเลิกไม่ได้นั้น จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาต้องห้ามมิให้รับฟัง และถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ข้อตกลงในการซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาอย่างหนึ่ง เมื่อโจทก์ยกเลิกการซื้อขายและจำเลยที่ 1 ได้คืนเงินมัดจำที่ได้รับไว้ตามสัญญาให้แก่โจทก์ไปแล้ว แสดงว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมเลิกสัญญาซื้อขายที่มีอยู่ต่อกันนั้นโดยปริยาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อผลของการเลิกสัญญาทำให้สิทธิตามสัญญาไทม์แชร์ที่โจทก์มอบให้แก่จำเลยที่ 1 อันเป็นส่วนหนึ่งของราคาบ้านและที่ดินที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 ยังอยู่ที่จำเลยที่ 1 และอยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 1 จะส่งมอบคืนแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องรับสิทธิตามสัญญาไทม์แชร์ดังกล่าวคืนเพื่อให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมก่อนมีการซื้อบ้านและที่ดิน ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 คืนสิทธิตามสัญญาไทม์แชร์ที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาก็พิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนสิทธิตามสัญญาไทม์แชร์แก่โจทก์ได้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการเลิกสัญญาไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องแต่ประการใด
of 10