พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงรับผิดชอบความเสียหายจากการทุจริตบัตรภาษี เป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้ และการคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางในปัญหาที่มีการวินิจฉัยตามข้ออ้างตามคำฟ้องโจทก์ อันเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวได้ หามีบทกฎหมายห้ามแต่อย่างใด
จำเลยมีหนังสือขอรับโอนบัตรภาษีต่อโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยว่า ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีรายพิพาท หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริต และความเสียหายเกิดแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเมินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม จึงใช้บังคับได้
จำเลยมีหนังสือขอรับโอนบัตรภาษีต่อโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้นข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยว่า ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีรายพิพาท หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริต และความเสียหายเกิดแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเมินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม จึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4798/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาแก่บุตรไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/2 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 91/4 การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร ให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้... (6) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา..." การที่โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินตามฟ้องแก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายโดยเสน่หา แม้การให้โดยเสน่หาจะถือเป็นการขายตามมาตรา 91/1 (4) แห่ง ป.รัษฎากรฯ แต่การที่บุพการีให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาแก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางค้าหรือหากำไร การให้โดยเสน่หาดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมาตรา 91/2 แห่ง ป.รัษฎากรฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายบริการ: การร่วมลงทุน, การออกแบบ, และการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์จ้าง ส. ออกแบบเครื่องหมายบริการพิพาทแทนบริษัท ฟ. เนื่องจากโจทก์เป็นผู้ร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 2 ในบริษัท ฟ. บริษัท ฟ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจึงมีสิทธิในเครื่องหมายบริการพิพาท แม้โจทก์จะเป็นผู้คิดค้นคำว่า LA FIESTA อ่านว่า ลา เฟียสต้า แต่เป็นการกระทำในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้ร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 2 ในบริษัท ฟ. และการจ้างออกแบบเครื่องหมายบริการพิพาทก็เป็นการกระทำแทนบริษัท ฟ. บริษัท ฟ. จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการพิพาทที่แท้จริง การที่ ป. ได้จดทะเบียนเครื่องหมายบริการพิพาทและต่อมาโอนให้แก่โจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์ร่วมกับพวกนำเครื่องหมายบริการพิพาทไปขอจดทะเบียนแล้วโอนมาเป็นของโจทก์เพื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ: สิทธิในเครื่องหมาย, ชื่อเสียงแพร่หลาย, และการใช้ก่อน
โจทก์นำสืบเพียงว่าโจทก์ได้ใช้และโฆษณาเครื่องหมายบริการดังกล่าวสำหรับสถานบริการและสถานบันเทิงของโจทก์ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องหมายบริการพิพาทมีปริมาณการให้บริการจำนวนมากหรือโจทก์ได้ใช้หรือโฆษณาเครื่องหมายบริการดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี และเครื่องหมายบริการดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในหมู่ผู้บริโภค ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิได้เป็นเครื่องหมายบริการที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป เครื่องหมายบริการดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายบริการที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 (10) ประกอบมาตรา 6 (2) และมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าบริษัท ว. และเครื่องหมายบริการพิพาทมิใช่เครื่องหมายบริการที่ห้ามมิให้รับจดทะเบียน การขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการพิพาทของบริษัท ว. จึงเป็นการกระทำโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง แม้สินค้าต่างชนิดกัน หากทำให้สาธารณชนสับสนได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามภาพถ่ายรวม 10 รูปมีทั้งเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาพเสือโดยไม่มีตัวอักษรอยู่ด้วย และเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาพเสือโดยมีอักษรไทยคำว่า "ตราเสือ" และอักษรโรมันคำว่า "TIGER" อยู่ด้วย เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 10 เครื่องหมายจึงมีลักษณะเด่นอยู่ที่ภาพเสือคำว่า "ตราเสือ" และ "TIGER" เพื่อแสดงว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรไทยคำว่า "ไทเกอร์" แม้จะไม่มีภาพเสือ หรือคำว่า "ตราเสือ" และ "TIGER" อยู่ด้วย แต่คำว่า "ไทเกอร์" ก็เป็นคำอ่านในภาษาอังกฤษของคำว่า "TIGER" จึงเป็นเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่อฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป แต่จำเลยยังเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ แม้สินค้าหลักของโจทก์จะเป็นยาหม่อง ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นยากันยุงอันเป็นสินค้าคนละชนิดกัน ก็มีเหตุที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 61 (4) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
เมื่อฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป แต่จำเลยยังเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ แม้สินค้าหลักของโจทก์จะเป็นยาหม่อง ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นยากันยุงอันเป็นสินค้าคนละชนิดกัน ก็มีเหตุที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 61 (4) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอาคารให้กรมการศาสนาและการหักภาษีซื้อมูลค่าเพิ่ม กรณีเช่าที่ดินสร้างอาคาร
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับกรมการศาสนาเพื่อปลูกสร้างอาคารห้างสรรพสินค้า โดยตกลงว่าสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่เช่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาทันที แล้วโจทก์มีสิทธิเช่าอาคารดังกล่าว 30 ปี นับแต่วันที่กรมการศาสนารับมอบอาคารนั้น ถือได้ว่ากรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้นมาโดยทางนิติกรรมด้วยการจำหน่ายจ่ายโอนของโจทก์ ต้องด้วยบทนิยามคำว่า "ขาย" ตามมาตรา 91/1 (4) แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อโจทก์ขายอาคารห้างสรรพสินค้าดังกล่าวภายในกำหนด 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารดังกล่าวย่อมเป็นภาษีซื้อที่นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่ง ป. รัษฎากร ไม่ได้ ทั้งนี้ตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ป. รัษฎากร ประกอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ป. รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การขายอาคารให้กรมสรรพากร ทำให้เสียสิทธิหักภาษีซื้อ
การที่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากกรมการศาสนาโดยมีข้อตกลงให้โจทก์สร้างอาคารห้างสรรพสินค้าบนที่ดินเช่าด้วยทุนทรัพย์และสัมภาระของโจทก์และให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาทันทีที่ลงมือปลูกสร้าง แล้วโจทก์มีสิทธิเช่าอาคารดังกล่าวมีกำหนดเวลา 30 ปี นับแต่วันที่กรมการศาสนาได้รับมอบอาคารนั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามสัญญาเช่าใช้สิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินที่เช่า อาคารที่สร้างขึ้นจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ประกอบมาตรา 144 วรรคสอง กรมการศาสนาจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารดังกล่าวแต่อย่างใด การที่โจทก์ตกลงให้อาคารดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนานั้นถือได้ว่ากรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้นมาโดยนิติกรรมด้วยการจำหน่ายจ่ายโอนของโจทก์ อันต้องตามบทนิยามคำว่า "ขาย" ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/1 (4) แล้ว กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ได้ขายอาคารห้างสรรพสินค้าดังกล่าวให้แก่กรมการศาสนา
เมื่อโจทก์ได้ขายอาคารห้างสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนาให้แก่กรมการศาสนาและการขายนั้นเป็นการขายภายใน 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงถือเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนามาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 83 และมาตรา 84 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเป็นรายเดือนภาษีพร้อมกับชำระภาษีถ้ามี แต่ถ้ามีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อตามาตรา 82/3 ผู้ประกอบการดังกล่าวมีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาหรือมีสิทธิขอคืน พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียหรือขอคืนของแต่ละเดือนภาษีแยกต่างหากจากกัน การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตลอดจนการขอคืนภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องแยกกระทำเป็นรายเดือนต่างหากจากกัน การที่โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 17 เดือนภาษี และขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มรวม 18 เดือนภาษี โดยแยกจำนวนเงินเป็นรายเดือนภาษีที่มีการประเมินและขอคืนภาษี จึงถือได้ว่ามี 18 ข้อหาแยกต่างหากจากกัน มิใช่เพียงข้อหาเดียว การเสียค่าขึ้นศาลจึงต้องเสียเป็นรายข้อหาตามรายเดือนภาษี มิใช่เสียรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท
เมื่อโจทก์ได้ขายอาคารห้างสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนาให้แก่กรมการศาสนาและการขายนั้นเป็นการขายภายใน 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงถือเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนามาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 83 และมาตรา 84 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเป็นรายเดือนภาษีพร้อมกับชำระภาษีถ้ามี แต่ถ้ามีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อตามาตรา 82/3 ผู้ประกอบการดังกล่าวมีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาหรือมีสิทธิขอคืน พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียหรือขอคืนของแต่ละเดือนภาษีแยกต่างหากจากกัน การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตลอดจนการขอคืนภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องแยกกระทำเป็นรายเดือนต่างหากจากกัน การที่โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 17 เดือนภาษี และขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มรวม 18 เดือนภาษี โดยแยกจำนวนเงินเป็นรายเดือนภาษีที่มีการประเมินและขอคืนภาษี จึงถือได้ว่ามี 18 ข้อหาแยกต่างหากจากกัน มิใช่เพียงข้อหาเดียว การเสียค่าขึ้นศาลจึงต้องเสียเป็นรายข้อหาตามรายเดือนภาษี มิใช่เสียรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกันจนสับสน แม้มีรูปถ้วยและตัวอักษร ศาลยืนยกฟ้อง
แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างประกอบด้วยรูปถ้วยและตัวอักษร แต่ลักษณะรูปถ้วยแตกต่างกัน กล่าวคือ รูปถ้วยในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนหูมีลักษณะโปร่งเป็นรูปโค้งงอจับได้ ขาของถ้วยเป็นแนวตรง และฐานของถ้วยมีลักษณะเป็นรูปวงกลม แต่รูปถ้วยในเครื่องหมายการค้าของจำเลยส่วนหูจะมีลักษณะทึบคล้ายสามเหลี่ยม ขาของถ้วยสั้นและฐานของถ้วยมีขนาดใหญ่ แตกต่างกับของโจทก์ที่ฐานของถ้วยมีขนาดเล็กมาก นอกจากนี้เมื่อดูในภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรโรมันคำว่า Golden Cup เพราะมีขนาดใหญ่กว่าและเด่นกว่ารูปถ้วย ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยเน้นที่รูปถ้วยมากกว่าตัวอักษรเพราะรูปถ้วยมีขนาดใหญ่กว่าและเด่นกว่าตัวอักษร ตัวอักษร A.P.P. ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับคำว่า "Golden Cup" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งการเขียนและการอ่านออกเสียง คำว่า Golden Cup แปลว่า ถ้วยทอง ในขณะที่ตัวอักษร A.P.P. แปลความหมายไม่ได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมิได้คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อน และการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วและคดีอยู่ในระหว่างไต่สวน ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้อีกเพราะเป็นการร้องซ้อนกับคำร้องขอที่ตนได้ยื่นไว้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึงที่สุดตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีก แม้จะมีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียก่อน
แม้ผู้คัดค้านจะเพิ่งยกเรื่องคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายในคดีก่อนขึ้นอ้างในฎีกาโดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาก่อน แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องหรือร้องขอเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
แม้ผู้คัดค้านจะเพิ่งยกเรื่องคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายในคดีก่อนขึ้นอ้างในฎีกาโดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาก่อน แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องหรือร้องขอเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้อน-อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก: ศาลล่างผิดที่ตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อนหลังมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งถึงที่สุดแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้อีกขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านกับขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกด้วย คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเป็นการร้องซ้อนกับคำร้องขอที่ตนได้ยื่นไว้แล้วต้องห้ามมิให้ผู้คัดค้านร้องขอในเรื่องเดียวกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ส่วนคำร้องขอของผู้ร้องนั้น เมื่อมรดกรายนี้มีคำสั่งถึงที่สุดตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้อีก เนื่องจากเหตุจะสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น ไม่ใช่ประเด็นคดีนี้ ผู้ร้องชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเสียก่อน คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ตั้งผู้จัดการมรดกรายเดียวกันนี้อีกจึงไม่ชอบ