คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4440/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบริการแฟรนไชส์ต่างประเทศและผลประโยชน์ทางภาษี: การประเมินเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
แม้สัญญาแฟรนไชส์ระหว่างโจทก์กับบริษัท พ. จะไม่เข้าลักษณะเป็น "ค่าแห่งลิขสิทธิ์" แต่ก็มีลักษณะเป็นค่าตอบแทนในการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจัดเป็นค่าแห่งสิทธิอื่นๆ ทำนองเดียวกับค่าแห่งกู๊ดวิลล์และค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3)
การโฆษณาและส่งเสริมการขายตามสัญญาแฟรนไชส์ระหว่างโจทก์กับบริษัท พ. เจ้าของแฟรนไชส์ เป็นข้อตกลงที่กำหนดให้โจทก์ต้องปฏิบัติภายใต้การควบคุมและดุลพินิจของบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะ โจทก์ในฐานะผู้รับแฟรนไชส์ไม่มีอิสระที่จะทำการโฆษณาตามรูปแบบและเนื้อหาตามที่โจทก์ต้องการ ดังนั้น งบโฆษณาและส่งเสริมการขายที่โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ แม้โจทก์จะมิได้จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าวโดยตรงก็ตามแต่ก็เป็นประโยชน์ที่บริษัทดังกล่าวได้รับโดยไม่ต้องไปดำเนินการโฆษณาสินค้าภายใต้ "เครื่องหมาย" ของตนตามรูปแบบและเนื้อหาที่ตนพอใจ จึงถือได้ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39
การที่โจทก์ต้องใช้งบโฆษณาและส่งเสริมการขายตามสัญญาแฟรนไชส์ก็เพื่อตอบแทนการที่บริษัท พ. ยินยอมให้โจทก์เป็นผู้รับแฟรนไชส์ กรณีจึงถือได้ว่าบริษัท พ. ได้รับประโยชน์หรือ "เงินได้พึงประเมิน" เช่นว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าแฟรนไชส์นอกเหนือจากที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาเข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนในการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา อันเป็นค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3)
การที่โจทก์จ่ายเงินค่าแฟรนไชส์ที่เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนในการใช้สิทธิอย่างอื่นตามมาตรา 40 (3) ให้แก่บริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศและมิได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย ย่อมเข้าลักษณะเป็นการชำระค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัท พ. ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 83/6 (2) แห่ง ป.รัษฎากร
คำว่า "เงินได้พึงประเมินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 70 ต้องถือตามความหมายที่มาตรา 39 ได้กำหนดนิยามเอาไว้ ซึ่ง "...ให้หมายความรวมถึง ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน...ด้วย" แม้มาตรา 70 จะมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าให้หมายความรวมถึงประโยชน์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสรรพสามิตน้ำผลไม้: การเปลี่ยนแปลงขนาดบรรจุภัณฑ์และการยกเว้นภาษีตามประกาศกรมสรรพสามิต
พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เครื่องดื่ม" ไว้ว่า "สิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้โดยไม่ต้องเจือปนและไม่มีแอลกอฮอล์ โดยจะมีก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้วยหรือไม่ก็ตามอันบรรจุในภาชนะและผนึกไว้ เช่น น้ำแร่ น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำพืชผักและน้ำโซดา เป็นต้น..." ถ้อยคำที่ว่า สิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้โดยไม่ต้องเจือปน แสดงว่าสิ่งที่จะเป็นเครื่องดื่มจะต้องเป็นสิ่งซึ่งตามสภาพสามารถใช้ดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องเจือปนกับสิ่งอื่น น้ำหวานเข้มข้นโดยทั่วไปจะไม่ใช้ดื่มในสภาพที่ยังเป็นน้ำหวานเข้มข้นอยู่ แต่จะต้องนำไปผสมกับน้ำให้เจือจางลงก่อน จึงไม่ถือเป็นเครื่องดื่ม
น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายสามารถดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมกับน้ำให้เจือจางลงก่อน ส่วนการเติมน้ำแข็งเป็นแต่เพียงการทำให้มีความเย็นเท่านั้น จึงเป็นสิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้โดยไม่ต้องเจือปน และการที่น้ำผลไม้ดังกล่าวบรรจุในขวดมีฝาปิดจึงเป็นสิ่งที่บรรจุในภาชนะและผนึกไว้ตามนิยามของคำว่า เครื่องดื่ม ฉะนั้น น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายจึงเป็นเครื่องดื่มตาม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ น้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต การเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุได้รับการยกเว้นภาษีตามประกาศ
น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายสามารถดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมกับน้ำให้เจือจางลงก่อน ส่วนการเติมน้ำแข็งเป็นแต่เพียงการทำให้มีความเย็นเท่านั้น น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายจึงเป็นสิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้โดยไม่ต้องเจือปน และการที่น้ำผลไม้ดังกล่าวบรรจุในขวดมีฝาปิดจึงเป็นสิ่งที่บรรจุในภาชนะและผนึกไว้ตามนิยามของคำว่าเครื่องดื่มดังกล่าว ฉะนั้น น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายจึงเป็นเครื่องดื่มตาม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมและหลักเกณฑ์การหาปริมาณอัตราส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 30 เมษายน 2544 ที่การเพิ่มชนิดขนาดภาชนะบรรจุจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อนจึงจะได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ประกาศกรมสรรพสามิต ฉบับใหม่นี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป การเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุเครื่องดื่มน้ำผลไม้ของโจทก์ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 29 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นเวลาที่ประกาศกรมสรรพสามิตฉบับเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่จึงถือว่าโจทก์ได้รับอนุมัติให้ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามข้อ 4 วรรคสามของประกาศกรมสรรพสามิตฉบับเดิม เมื่อประกาศกรมสรรพสามิตฉบับใหม่ ข้อ 8 ระบุว่า ผู้ใดได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตอยู่ก่อนวันที่ 30 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศกรมสรรพสามิตฉบับใหม่ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามประกาศกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 103 ต่อไป โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตต่อไป ไม่ว่าโจทก์จะได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุให้กรมสรรพสามิตทราบหรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรกรณีสำแดงเท็จ และข้อยกเว้นตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร
การชำระอากรเพิ่มตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 และในการคำนวณเงินเพิ่ม เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน และเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร จะเห็นได้ว่า กฎหมายมิให้เรียกเก็บเงินเพิ่มดังกล่าวเฉพาะกรณีที่มีการชำระอากรเพิ่มตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 เท่านั้น จำเลยสำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายจริง จึงเป็นกรณีสำแดงเท็จตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 2 ไม่ว่าจะมีผู้แจ้งความนำจับหรือไม่ก็ไม่อาจเป็นกรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 เมื่อไม่อาจเป็นกรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 จึงเป็นกรณีที่เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่งและวรรคสามได้ แม้จะมิได้ระบุการเรียกเก็บมาในแบบแจ้งการประเมินก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงราคาสินค้านำเข้าเท็จ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
จำเลยสำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายจริงอันเป็นกรณีสำแดงเท็จตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 2 ไม่ว่าจะมีผู้แจ้งความนำจับหรือไม่ก็ไม่อาจเป็นกรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 เมื่อไม่อาจเป็นกรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 จึงเป็นกรณีที่เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่งและวรรคสามได้ แม้จะมิได้ระบุการเรียกเก็บมาในแบบแจ้งการประเมินก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกตรวจสอบภาษี และผลกระทบต่อการอุทธรณ์การประเมิน
เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 มีหนังสือเชิญหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบ แต่โจทก์อ้างว่ายังรวบรวมเอกสารไม่เสร็จ จึงไม่ได้ไปพบโดยมิได้แจ้งพนักงานของจำเลยที่ 1 ทราบ ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบเพื่อให้ถ้อยคำประกอบการตรวจสอบไต่สวนและให้นำเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไปส่งมอบ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ได้โทรศัพท์ไปขอเลื่อนนัดถึง 3 ครั้ง โดยอ้างว่าอยู่ระหว่างการประสานงานกับสำนักงานบัญชีเกี่ยวกับเอกสารที่จะต้องนำไปส่งมอบ เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือเตือนให้โจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียก แต่หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ก็มิได้ไปพบหรือส่งมอบเอกสารแต่อย่างใด หลังจากนั้นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหนังสือเชิญพบอีก 2 ครั้ง เพื่อรับทราบผลการตรวจสอบภาษี แต่หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ก็มิได้ไปพบ พฤติการณ์ของโจทก์ที่เพิกเฉย เป็นการไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามมาตรา 88 (3) แม้โจทก์นำส่งเอกสารในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ก็เป็นคนละขั้นตอนกับในชั้นตรวจสอบ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังโจทก์การประเมินจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 88/5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการต่อสู้สิทธิในที่ดิน การวินิจฉัยนอกฟ้องและคำให้การไม่ชอบ
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่เคยซื้อที่ดินจาก ก. จำเลยได้ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย และมีเจตนาเป็นเจ้าของ ทั้งได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยตั้งแต่จำเลยได้ซื้อมา โจทก์จึงไม่มีสิทธิออกโฉนดที่ดินรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลย โจทก์ไม่เคยครอบครองหรือทำประโยชน์ โจทก์ทราบมานานหลายปีแล้วว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ แต่มิได้ฟ้องภายใน 1 ปี จึงหมดสิทธิฟ้องร้องตามป.พ.พ. มาตรา 1374 มาตรา 1375 และมาตราอื่นๆ ในลักษณะ 3 ครอบครอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจำเลยมิได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองเป็นประเด็นข้อพิพาทด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวมา จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
จำเลยแก้ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินหรือเป็นเจ้าของที่ดิน มีอาณาเขตทั้งสี่ทิศจดที่ดินอะไรหรือของใคร และไม่ได้บรรยายฟ้องว่าที่ดินโจทก์ทั้งสี่ทิศมีความกว้างยาวเท่าไร จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 นั้น เป็นเรื่องนอกเหนือจากเหตุผลที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามที่จำเลยได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8581/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมโดยการโอนให้กัน ไม่ถือเป็นการขายและไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 การแบ่งทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธ์รวมพึงกระทำโดยการตกลงแบ่งทรัพย์สินกันเองระหว่างเจ้าของรวม หรือตกลงขายทรัพย์สินนั้นแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน เจ้าของรวมจึงมีสิทธิที่จะตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 2 วิธีดังกล่าว เมื่อที่ดินที่โจทก์และ ก. ต่างฝ่ายต่างจดทะเบียนโอนให้ซึ่งกันและกันนั้นเดิมเป็นกรรมสิทธิ์รวมของทั้งสองฝ่าย แต่ได้เปลี่ยนสภาพการถือกรรมสิทธิ์รวมมาเป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายตามส่วนของตน อันเข้าลักษณะเป็นการแบ่งทรัพย์สินกันเองระหว่างเจ้าของรวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 แม้เนื้อที่ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมแต่ละคนได้รับแตกต่างกัน แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงินเพิ่มขึ้น จากส่วนที่โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมากกว่า ก. กรณีมิใช่การโอนที่เป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) แม้การจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวจะจำเป็นต้องทำเป็นสัญญาซื้อขายตามระบบจดทะเบียนก็ตาม ก็ไม่อาจถือเป็นการซื้อขาย เพราะตามเจตนาและข้อเท็จจริงไม่ใช่การตกลงซื้อขายโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8581/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินรวมโดยการโอนที่ดินระหว่างเจ้าของรวม ไม่ถือเป็นการขาย จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตามข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่า โจทก์และ ก. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินผืนใหญ่ติดต่อกันซึ่งแบ่งแยกทางทะเบียนออกเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) 64 ฉบับ ตามฟ้อง การที่โจทก์ต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินจำนวน 33 แปลง ให้แก่ ก. และ ก. ดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดิน จำนวน 7 แปลง ให้แก่โจทก์ โดยที่ดินที่ต่างฝ่ายต่างจดทะเบียนโอนให้ซึ่งกันและกันนั้นเดิมเป็นกรรมสิทธิ์รวมของทั้งสองฝ่าย แต่ได้เปลี่ยนสภาพการถือกรรมสิทธิ์รวมมาเป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายตามส่วนของตน อันเข้าลักษณะเป็นการแบ่งทรัพย์สินโดยวิธีตกลงแบ่งทรัพย์สินกันเองระหว่างเจ้าของรวมตามวิธีแรกของมาตรา 1364 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้เนื้อที่ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมแต่ละคนได้รับแตกต่างกัน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงินเพิ่มขึ้นจากส่วนที่โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมากกว่า ก. กรณีมิใช่การโอนที่เป็นการขายตามความหมายในมาตรา 91/1 (4) แห่งประมวลรัษฎากร แม้การจดทะเบียนโอนดังกล่าวจะจำเป็นต้องทำเป็นสัญญาซื้อขายตามระบบจดทะเบียนก็ตาม ก็ไม่อาจถือเป็นการซื้อขาย เพราะตามเจตนาและข้อเท็จจริงไม่ใช่การตกลงซื้อขาย แต่เป็นเพียงการตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของรวมเท่านั้น เมื่อการโอนที่ดินจำนวน 33 แปลง ของโจทก์ให้แก่ ก. ไม่ถือเป็นการขายตามความหมายในมาตรา 91/1 (4) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะกรณีของโจทก์เช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนปัญหาตามอุทธรณ์ข้อต่อไปของโจทก์และจำเลยมีว่า กรณีมีเหตุงดหรือลดเบี้ยปรับหรือไม่ เห็นว่า เมื่อการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีโจทก์โอนที่ดินจำนวน 33 แปลง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีเบี้ยปรับที่โจทก์จะต้องเสียสำหรับการประเมินดังกล่าว ปัญหาการงดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะนี้จึงตกไป ส่วนการงดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีโจทก์ร่วมกับ ก. ขายที่ดินให้แก่ ด. นั้น ปรากฏว่า สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 8 ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์มาพบและส่งเอกสารหลักฐานมาให้ตรวจสอบรวม 4 ครั้ง โดยก่อนออกหนังสือครั้งที่ 4 โจทก์มาพบ แต่ไม่ให้ถ้อยคำ กรณีจึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ แต่เมื่อบทบัญญัติเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะใช้บังคับก่อนมีการขายที่ดินดังกล่าวไม่ถึง 2 เดือน โจทก์อาจไม่รู้หรือ ไม่เข้าใจระบบการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งในระหว่างนั้นมิได้มีการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ณ สำนักงานที่ดินในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขายอสังหาริมทรัพย์ แต่กำหนดให้เสีย ณ ที่ว่าการอำเภอภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป จึงไม่อาจถือว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ดังนั้น กรณีมีเหตุที่จะลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ ที่ศาลภาษีอากรกลางลดเบี้ยปรับให้ร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายนั้น จึงเหมาะสมแล้ว ส่วนการที่ ก. ได้รับการงดเบี้ยปรับ แต่โจทก์ได้รับการลดเบี้ยปรับเท่านั้น จะถือว่าไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ไม่ได้ เพราะเมื่อ ก. รู้ว่าต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะก็อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เฉพาะปัญหาเบี้ยปรับเท่านั้น แต่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งปัญหาการเสียภาษีและเบี้ยปรับด้วย ก. จึงควรได้รับความปรานีมากกว่าโจทก์ อุทธรณ์ข้อนี้ทั้งของโจทก์และจำเลยฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8451/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์พจนานุกรม: จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย, จำเลยที่ 2 ไม่ร่วมกระทำละเมิด
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 20 ของราคาขาย เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าลิขสิทธิ์ไม่ครบถ้วน จึงเป็นการไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาอันเป็นการผิดสัญญา มิใช่การละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์
แม้จำเลยที่ 1 จะมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 จัดทำไฟล์ข้อมูล ศัพทานุกรมและพจนานุกรมของโจทก์เพื่อจำหน่าย แต่โจทก์ก็เบิกความปฏิเสธว่า จำเลยที่ 1 เพิ่มชื่อศัพทานุกรมและพจนานุกรมดังกล่าวลงในใบเสร็จรับเงินเพื่อฉ้อฉลโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 จัดทำไฟล์ข้อมูลดังกล่าวและจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศัพทานุกรมและพจนานุกรมทั้ง 2 ฉบับ ของโจทก์
แม้จะปรากฏว่าการออกเสียงเป็นคุณสมบัติพิเศษของเครื่องปาล์ม (เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา) บางรุ่น และการออกเสียงได้เกิดจากโปรแกรมเสียงสังเคราะห์ที่ออกเสียงได้ไม่จำกัดเฉพาะพจนานุกรมของโจทก์เท่านั้น แต่เมื่อการออกเสียงดังกล่าวเป็นการออกเสียงตามพจนานุกรมฉบับดังกล่าวของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 นำพจนานุกรมฉบับดังกล่าวของโจทก์มาดัดแปลงใส่เสียงอ่านเป็น "ทอล์คกิ้ง ดิกชันนารี" โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ จึงถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานพจนุกรมฉบับดังกล่าวของโจทก์
ตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยที่ 1 คงระบุเพียงว่า โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 จัดพิมพ์และจำหน่ายบทประพันธ์พจนานุกรมของโจทก์ในสื่อชนิดไฟล์ข้อมูลรูปแบบที่แสดงผลในเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือเท่านั้น ไม่มีข้อความระบุให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิดัดแปลงได้ การที่จำเลยที่ 1 ดัดแปลงโดยการตัดประโยคตัวอย่างเดิมออกและมีการตั้งชื่อพจนานุกรมใหม่เป็น 5 ชื่อดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำดังกล่าวจึงถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
การที่จำเลยที่ 1 จัดทำฐานข้อมูลทั้งห้าดังกล่าวจำหน่ายทางเว็บไซต์โดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ แม้ว่าตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ จะบัญญัติว่า "ผู้ดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ จะมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้ดังแปลง แต่การได้ลิขสิทธิ์นั้นต้องเข้าเงื่อนไขที่ว่า การดัดแปลงนั้นได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การดัดแปลงฐานข้อมูลทั้งห้าดังกล่าวมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีลิขสิทธิ์ในการจัดทำฐานข้อมูลทั้งห้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำงานดังกล่าวไปจำหน่ายทางเว็บไซต์ จึงถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ และการที่จำเลยที่ 1 ให้ลูกค้าที่ซื้อเครื่องปาล์มสามารถอัพเกรดทางเว็บไซต์ได้ในราคาพิเศษโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ย่อมถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน
โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 1 เปิดตัวโปรแกรมไทยแฮคสำหรับเครื่องปาล์มรุ่นทังสเตนที โดยลูกค้าที่ซื้อเครื่องดังกล่าวสามารถอัพเกรดทางเว็บไซต์ได้ในราคาพิเศษ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเครื่องดังกล่าวรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งการอัพเกรดก็กระทำผ่านเว็บไซต์ของจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับประโยชน์คือจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวของโจทก์ นอกจากนี้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 นำข้อมูลจากพจนานุกรมของโจทก์มาทำซ้ำเป็นแผ่นซีดีขายหรือแจกแถมพร้อมเครื่องปาล์มของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวของโจทก์เช่นเดียวกัน
of 11