พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10316/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีซื้อสำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลังการเกิดภาษีซื้อ
ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคหนึ่ง ใช้คำว่า "ผู้ประกอบการ" มิได้ใช้คำว่า "ผู้ประกอบการจดทะเบียน" แต่เมื่อภาษีขายหมายถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77/1 (17) และมาตรา 82/4 วรรคสาม และภาษีซื้อหมายถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บตาม มาตรา 77/1 (18) และมาตรา 82/4 วรรคสี่ คำว่า "ผู้ประกอบการ" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/3 วรรคหนึ่ง จึงหมายถึงผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ประกอบการที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่อาจเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือน
โจทก์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มวันที่ 10 ตุลาคม 2545 โจทก์จะนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนภาษีมีนาคมถึงเดือนภาษีกันยายน 2545 ก่อนที่โจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้
โจทก์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มวันที่ 10 ตุลาคม 2545 โจทก์จะนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนภาษีมีนาคมถึงเดือนภาษีกันยายน 2545 ก่อนที่โจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10316/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหักภาษีซื้อสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดช่วงเวลาภาษีซื้อ
ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 82/7 มาตรา 82/8 และมาตรา 82/16 ให้ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี" แม้บทบัญญัตินี้จะใช้คำว่า "ผู้ประกอบการ" มิได้ใช้คำว่า "ผู้ประกอบการจดทะเบียน" แต่เมื่อภาษีขายหมายถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (17) และมาตรา 82/4 วรรคสาม และภาษีซื้อหมายถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (18) และมาตรา 82/4 วรรคสี่ คำว่า "ผู้ประกอบการ" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/3 วรรคหนึ่ง จึงหมายถึงผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ประกอบการที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่อาจเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ เมื่อโจทก์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มวันที่ 10 ตุลาคม 2545 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นก่อนที่โจทก์จะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8830/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารใหม่เข้าสู่ชั้นศาล: ศาลรับฟังได้แม้ไม่ได้ยื่นในชั้นอุทธรณ์
แม้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จะมิได้นำเอกสารไปพิสูจน์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำเอกสารนั้นมาพิสูจน์ในชั้นศาลในประเด็นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แล้ว ทั้งข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 20 ข้อ 15 และข้อ 16 ก็กำหนดให้คู่ความอ้างและส่งเอกสารเป็นพยานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนได้ โดยมิได้บังคับว่าเอกสารนั้นต้องเป็นเอกสารที่ส่งในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ฉะนั้น แม้เอกสารที่โจทก์นำมาพิสูจน์ในชั้นศาลจะมิใช่เอกสารที่ได้นำไปพิสูจน์ในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เอกสารนั้นก็รับฟังในชั้นศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8592/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลภาษีอากร: การยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดเมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาต่างท้องที่
มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 เป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะกรณีที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 มิได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการยื่นคำฟ้องคดีภาษีอากรต่อศาลจังหวัดไว้แล้ว จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 17 ที่จะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น แม้มูลคดีนี้จะเกิดที่จังหวัดหนองบัวลำภู แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงไม่สามารถยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดหนองบัวลำภูได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6931/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรยานยนต์: เกณฑ์การพิจารณาจำนวนที่นั่งที่ 'นั่งได้ตามปกติวิสัย' เพื่อเสียอากรที่ถูกต้อง
ของตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.02 คือ ยานยนต์โดยสารสาธารณะซึ่งตามหมายเหตุของตอนที่ 87 หมายถึง ยานยนต์ที่ออกแบบสำหรับขนส่งผู้โดยสารตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป (รวมถึงคนขับ) ส่วนของตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.03 คือ รถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบสำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก (นอกจากของตามประเภทที่ 87.02) รวมถึงรถสเตชั่นแวกอนและรถแข่ง เมื่อมีการดัดแปลงรถยนต์ที่มีที่นั่งน้อยกว่า 10 ที่นั่ง ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.03 อัตราอากรร้อยละ 80 ของราคาของ ให้เป็นรถยนต์ที่มีที่นั่งตั้งแต่ 10 ที่นั่งขึ้นไป เพื่อจะได้เสียอากรในอัตราร้อยละ 40 ของราคาของ ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.02 กรณีจึงมีปัญหาว่ารถยนต์ที่ดัดแปลงนั้นจะต้องมีสภาพอย่างไรจึงจะจัดเป็นสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.02 ซึ่งเสียภาษีน้อยกว่าถึง 1 เท่า อันเป็นปัญหาในการจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากร อธิบดีกรมศุลกากรของจำเลยย่อมอาศัยอำนาจตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร ฯ ตีความในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.02 และประเภทที่ 87.03 ได้ การที่อธิบดีกรมศุลกากรออกประกาศ เรื่อง แจ้งพิกัดอัตราศุลกากร ป.อ.1/2544 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2544 กำหนดว่า รถยนต์ที่จะจัดเข้าพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.02 ต้องมีสภาพอย่างไรจึงเป็นการตีความโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 15 ดังกล่าว ประกาศดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
ตามประกาศดังกล่าวรถยนต์ที่นำเข้าจะจัดเป็นรถยนต์ที่มีที่นั่งตั้งแต่ 10 ที่นั่งขึ้นไปตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.02 หรือไม่ ให้พิจารณาจาก Specification มาตรฐานใน Worldwide Catalog หรือ Product Literature ของโรงงานผู้ผลิตในต่างประเทศเป็นเกณฑ์ว่ามีขนาดจำนวนที่นั่งเท่าใด การนับจำนวนที่นั่งนั้นหากรถยนต์ที่นำเข้าติดตั้งที่นั่งมาทั้งหมดให้พิจารณาว่าที่นั่งที่ติดตั้งมานั้นยึดและติดตั้งบนจุดติดตั้งถาวร และสามารถนั่งได้ตามปกติวิสัยหรือไม่ ตามบทนิยามศัพท์คำว่า "นั่งได้ตามปกติวิสัย" หมายถึง สภาพที่นั่งมีความสะดวกสบายตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิตในต่างประเทศ (Original Specification) ที่ได้ออกแบบ (designed for) สำหรับรถยนต์ประเภทนั้น ๆ โดยพิจารณาจาก Worldwide Catalog หรือ Product Literature ของโรงงานผู้ผลิตในต่างประเทศ จึงเป็นการให้พิจารณาสภาพของในเวลาที่นำเข้า รถยนต์ที่โจทก์นำเข้ามีที่นั่ง 2 ที่นั่ง ที่มีขนาดเล็กกว่าที่นั่งที่เหลืออีก 9 ที่นั่ง เป็นการเล็กกว่าทั้งขนาดของเบาะที่นั่งและพนักพิงหลัง โดยเฉพาะพนักพิงหลังนั้นไม่มีที่รองรับศีรษะเหมือนที่นั่งที่เหลืออีก 9 ที่นั่ง หากเกิดอุบัติเหตุผู้โดยสารที่นั่งบนที่นั่งขนาดเล็ก 2 ที่นั่ง มีโอกาสที่จะได้รับอันตรายมากกว่าผู้โดยสารที่นั่งบนที่นั่งที่เหลือ 9 ที่นั่ง ยิ่งที่นั่งขนาดเล็ก 2 ที่นั่งไม่มีเข็มขัดนิรภัยเหมือนกับที่นั่งที่เหลืออีก 9 ที่นั่ง ยิ่งมีโอกาสได้รับอันตรายมากกว่า ฉะนั้น ที่นั่งขนาดเล็ก 2 ที่นั่ง จึงมิใช่ที่นั่งที่นั่งได้ตามปกติวิสัย แม้กรมการขนส่งทางบกจะรับจดทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวเป็นประเภทรถยนต์นั่งเกิน 7 คน (จำนวนที่นั่ง 11 คน) ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มิใช่การปฏิบัติหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับกันจึงไม่อาจนำการรับจดทะเบียนดังกล่าวมาใช้ยันจำเลยได้ เมื่อที่นั่งขนาดเล็ก 2 ที่นั่งมิใช่ที่นั่งที่นั่งได้ตามปกติวิสัย รถยนต์ดังกล่าวจึงเป็นรถยนต์ที่มีที่นั่งน้อยกว่า 10 ที่นั่ง เข้าลักษณะเป็นสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.03 อัตราอากรร้อยละ 80 ของราคาของ
ตามประกาศดังกล่าวรถยนต์ที่นำเข้าจะจัดเป็นรถยนต์ที่มีที่นั่งตั้งแต่ 10 ที่นั่งขึ้นไปตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.02 หรือไม่ ให้พิจารณาจาก Specification มาตรฐานใน Worldwide Catalog หรือ Product Literature ของโรงงานผู้ผลิตในต่างประเทศเป็นเกณฑ์ว่ามีขนาดจำนวนที่นั่งเท่าใด การนับจำนวนที่นั่งนั้นหากรถยนต์ที่นำเข้าติดตั้งที่นั่งมาทั้งหมดให้พิจารณาว่าที่นั่งที่ติดตั้งมานั้นยึดและติดตั้งบนจุดติดตั้งถาวร และสามารถนั่งได้ตามปกติวิสัยหรือไม่ ตามบทนิยามศัพท์คำว่า "นั่งได้ตามปกติวิสัย" หมายถึง สภาพที่นั่งมีความสะดวกสบายตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิตในต่างประเทศ (Original Specification) ที่ได้ออกแบบ (designed for) สำหรับรถยนต์ประเภทนั้น ๆ โดยพิจารณาจาก Worldwide Catalog หรือ Product Literature ของโรงงานผู้ผลิตในต่างประเทศ จึงเป็นการให้พิจารณาสภาพของในเวลาที่นำเข้า รถยนต์ที่โจทก์นำเข้ามีที่นั่ง 2 ที่นั่ง ที่มีขนาดเล็กกว่าที่นั่งที่เหลืออีก 9 ที่นั่ง เป็นการเล็กกว่าทั้งขนาดของเบาะที่นั่งและพนักพิงหลัง โดยเฉพาะพนักพิงหลังนั้นไม่มีที่รองรับศีรษะเหมือนที่นั่งที่เหลืออีก 9 ที่นั่ง หากเกิดอุบัติเหตุผู้โดยสารที่นั่งบนที่นั่งขนาดเล็ก 2 ที่นั่ง มีโอกาสที่จะได้รับอันตรายมากกว่าผู้โดยสารที่นั่งบนที่นั่งที่เหลือ 9 ที่นั่ง ยิ่งที่นั่งขนาดเล็ก 2 ที่นั่งไม่มีเข็มขัดนิรภัยเหมือนกับที่นั่งที่เหลืออีก 9 ที่นั่ง ยิ่งมีโอกาสได้รับอันตรายมากกว่า ฉะนั้น ที่นั่งขนาดเล็ก 2 ที่นั่ง จึงมิใช่ที่นั่งที่นั่งได้ตามปกติวิสัย แม้กรมการขนส่งทางบกจะรับจดทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวเป็นประเภทรถยนต์นั่งเกิน 7 คน (จำนวนที่นั่ง 11 คน) ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มิใช่การปฏิบัติหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับกันจึงไม่อาจนำการรับจดทะเบียนดังกล่าวมาใช้ยันจำเลยได้ เมื่อที่นั่งขนาดเล็ก 2 ที่นั่งมิใช่ที่นั่งที่นั่งได้ตามปกติวิสัย รถยนต์ดังกล่าวจึงเป็นรถยนต์ที่มีที่นั่งน้อยกว่า 10 ที่นั่ง เข้าลักษณะเป็นสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.03 อัตราอากรร้อยละ 80 ของราคาของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6572/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิบัตร: การประเมินขอบเขตการคุ้มครองตามข้อถือสิทธิและการพิจารณาคุณสมบัติประโยชน์ใช้สอย
จากบทบัญญัติ พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 36 ทวิ ผลิตภัณฑ์ที่ให้อาหารสัตว์ปีกของจำเลยที่ 1 จะถือว่าละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ให้อาหารสัตว์ปีกของโจทก์ ต่อเมื่อการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ที่ให้อาหารสัตว์ปีกของจำเลยที่ 1 มีขอบเขตของการประดิษฐ์ตามที่ระบุในข้อถือสิทธิของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ให้อาหารสัตว์ปีกของโจทก์ ขอบเขตของการประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรของโจทก์มีเพียงใดจะต้องพิจารณาลักษณะของการประดิษฐ์ตามที่ระบุในรายละเอียดการประดิษฐ์และรูปเขียนประกอบด้วย ขอบเขตของการประดิษฐ์ดังกล่าวย่อมคลุมถึงลักษณะของการประดิษฐ์ที่แม้จะมิได้ระบุในข้อถือสิทธิโดยเฉพาะเจาะจง แต่เป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติประโยชน์ใช้สอย และทำให้เกิดผลทำนองเดียวกับลักษณะของการประดิษฐ์ที่ระบุในข้อถือสิทธิตามความเห็นของบุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญในศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์นั้นด้วย สิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ให้อาหารสัตว์ปีกของโจทก์มีข้อถือสิทธิรวม 11 ข้อ ส่วนผลิตภัณฑ์ให้อาหารสัตว์ปีกของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับสิทธิบัตรในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเมื่อเปรียบเทียบกับขอบเขตของการประดิษฐ์ตามที่ระบุในข้อถือสิทธิของสิทธิบัตรที่ให้อาหารสัตว์ปีกของโจทก์แล้ว จะเห็นได้ว่าการปรับความตื้นและลึกของกระทะที่ให้อาหารสัตว์ปีกของจำเลยที่ 1 และตามข้อถือสิทธิข้อ 2 และรูปที่ 9 ของสิทธิบัตรของจำเลยที่ 1 มีวิถีทางในการปรับโดยมีชิ้นส่วนที่มีการเชื่อมกันโดยไม่มีการเคลื่อนไหวตามกันระหว่างวงแหวนและกระทะอาหารเช่นเดียวกับข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรของโจทก์ข้อ 1, 2 และ 4 ทั้งกรรมวิธีการใช้ที่ให้อาหารสัตว์ปีกของจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต่างกับกรรมวิธีตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรของโจทก์ข้อ 10 และ 11 โดยโครงสร้างหลักและกรรมวิธีการใช้ ตลอดจนประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ที่ให้อาหารสัตว์ปีกของจำเลยที่ 1 เป็นเช่นเดียวกับของโจทก์ แม้จะมีข้อแตกต่างกันในข้อปลีกย่อยก็ถือได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ให้อาหารสัตว์ปีกของจำเลยที่ 1 มีขอบเขตของการประดิษฐ์เช่นเดียวกับที่ระบุในข้อถือสิทธิของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ให้อาหารสัตว์ปีกของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและให้จำเลยที่ 3 นำเข้ามาในราชอาณาจักรจึงเป็นการร่วมกันละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในประเทศสหรัฐอเมริกาและดินแดนไต้หวัน แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้อ้างว่าได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวมาก่อนโจทก์ จึงไม่มีผลทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิบัตรดังกล่าวจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ของประเทศไทยแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 36 ที่บุคคลอื่นจะละเมิดมิได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 หยุดการกระทำการละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ให้อาหารสำหรับสัตว์ปีก และวิธีการนำเอาลูกไก่เข้าไปในกรงเลี้ยง ตามสิทธิบัตรของโจทก์ โดยห้ามผลิตและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดสิทธิบัตรจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6436/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยไม่มีสัญญาเป็นหนังสือและส่งมอบการครอบครอง ทำให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์และส่งมอบการครอบครองให้แล้ว โดยไม่มีเจตนาที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือจึงตกเป็นโมฆะ แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า การที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบการครอบครองเป็นการโอนการครอบครองที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่จำเลยที่ 2 เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: สัญญาให้สินเชื่อพร้อมวงเงินทดรองจ่าย มีอายุความ 2 ปี ตาม พรบ.แพ่งและพาณิชย์
จำเลยให้การว่า จำเลยเบิกถอนเงินจากโจทก์เพียง 10,000 บาท และผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เรื่อยมา จำเลยชำระหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2540 เมื่อนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2540 ถึงวันฟ้องวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 เป็นเวลา 2 ปี 5 เดือน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ 2 ปี ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความโดยแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความไว้ชัดแจ้งแล้ว ไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ 2 ปี เป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมายต่อไป คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีมีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ให้การว่าเหตุใดจึงมีอายุความ 2 ปี โดยเพิ่งยกเหตุที่คดีโจทก์มีอายุความ 2 ปี เนื่องจากเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปจากจำเลยขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นเรื่องอายุความจึงไม่ชอบและเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการระบายน้ำในที่ดินของผู้อื่น และหน้าที่ของเจ้าของที่ดินในการยอมรับน้ำจากที่สูงกว่า
ตามสำเนาโฉนดที่ดินระบุว่า ที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองทุกด้านติดต่อกับที่ดินแปลงอื่นไม่ปรากฏว่ามีลำรางสารธารณะติดที่ดินของโจทก์หรือจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าลำรางร่องเหมืองหรือร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะ แต่เป็นร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสอง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินสูง ส่วนที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินต่ำตามที่โจทก์ฟ้อง การที่โจทก์ระบายน้ำฝนตามธรรมชาติจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองไปสู่ลำน้ำเสียวจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องยอมรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และ 1340 วรรคหนึ่ง ดังนี้ไม่ว่าโจทก์และประชาชนจะใช้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นเวลานานเพียงใดก็หาทำให้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองกลายเป็นลำรางสาธารณะหรือตกเป็นภาระจำยอมไม่ แต่การที่จำเลยทั้งสองไถดินกลบลำรางร่องน้ำพิพาท เป็นเหตุให้น้ำท่วมขังที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำที่พิพาทให้เป็นลำรางระบายน้ำตามเดิมได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าลำรางร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะหรือเป็นทางภาระจำยอม แต่ฟ้องโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงโดยได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นไว้ชัดเจนแล้วว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินได้รับความเสียหายเพราะจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางร่องน้ำซึ่งเป็นทางระบายน้ำที่ไหลจากบริเวณที่ดินของโจทก์ผ่านลำรางดังกล่าวไปสู่ลำน้ำเสียว อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ลำรางร่องน้ำพิพาทได้กับมีคำขอไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น ซึ่งในคดีแพ่งโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนบทกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาปรับแก่คดีเองเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1340 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินสูง ส่วนที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินต่ำตามที่โจทก์ฟ้อง การที่โจทก์ระบายน้ำฝนตามธรรมชาติจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองไปสู่ลำน้ำเสียวจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องยอมรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และ 1340 วรรคหนึ่ง ดังนี้ไม่ว่าโจทก์และประชาชนจะใช้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นเวลานานเพียงใดก็หาทำให้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองกลายเป็นลำรางสาธารณะหรือตกเป็นภาระจำยอมไม่ แต่การที่จำเลยทั้งสองไถดินกลบลำรางร่องน้ำพิพาท เป็นเหตุให้น้ำท่วมขังที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำที่พิพาทให้เป็นลำรางระบายน้ำตามเดิมได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าลำรางร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะหรือเป็นทางภาระจำยอม แต่ฟ้องโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงโดยได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นไว้ชัดเจนแล้วว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินได้รับความเสียหายเพราะจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางร่องน้ำซึ่งเป็นทางระบายน้ำที่ไหลจากบริเวณที่ดินของโจทก์ผ่านลำรางดังกล่าวไปสู่ลำน้ำเสียว อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ลำรางร่องน้ำพิพาทได้กับมีคำขอไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น ซึ่งในคดีแพ่งโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนบทกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาปรับแก่คดีเองเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1340 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการระบายน้ำในที่ดินของผู้อื่น: หน้าที่ยอมรับน้ำจากที่สูงกว่าและการรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำ
ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินสูง ส่วนที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินต่ำ การที่โจทก์ระบายน้ำฝนตามธรรมชาติจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองไปสู่ลำน้ำเสียวจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องยอมรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และ 1340 วรรคหนึ่ง ไม่ว่าโจทก์และประชาชนจะใช้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นเวลานานเพียงใด ก็หาทำให้กลายเป็นลำรางสาธารณะหรือตกเป็นภาระจำยอมไม่ แต่การที่จำเลยทั้งสองไถดินกลบลำรางร่องน้ำพิพาทเป็นเหตุให้น้ำท่วมขังที่ดินของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำที่พิพาทให้เป็นลำรางระบายน้ำตามเดิมได้
ฟ้องโจทก์ว่าลำรางร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะหรือเป็นทางภาระจำยอม และบรรยายถึงข้อเท็จจริงไว้ชัดเจนอีกว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินได้รับความเสียหายเพราะจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางร่องน้ำซึ่งเป็นทางระบายน้ำที่ไหลจากบริเวณที่ดินของโจทก์ผ่านลำรางดังกล่าวไปสู่ลำน้ำเสียว อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ลำรางร่องน้ำพิพาทได้กับมีคำขอไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น ซึ่งในคดีแพ่งโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้ว ส่วนบทกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาปรับแก่คดีเอง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1340 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำขอของโจทก์ที่ว่าหากจำเลยทั้งสองไม่รื้อถอนคันเดินออกจากลำรางร่องน้ำพิพาทก็ให้โจทก์มีอำนาจรื้อถอนไถดินออกโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดีซึ่งโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการให้ตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาและจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษานั้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจมีคำพิพากษาตามคำขอส่วนนี้ของโจทก์ได้
ฟ้องโจทก์ว่าลำรางร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะหรือเป็นทางภาระจำยอม และบรรยายถึงข้อเท็จจริงไว้ชัดเจนอีกว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินได้รับความเสียหายเพราะจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางร่องน้ำซึ่งเป็นทางระบายน้ำที่ไหลจากบริเวณที่ดินของโจทก์ผ่านลำรางดังกล่าวไปสู่ลำน้ำเสียว อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ลำรางร่องน้ำพิพาทได้กับมีคำขอไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น ซึ่งในคดีแพ่งโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้ว ส่วนบทกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาปรับแก่คดีเอง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1340 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำขอของโจทก์ที่ว่าหากจำเลยทั้งสองไม่รื้อถอนคันเดินออกจากลำรางร่องน้ำพิพาทก็ให้โจทก์มีอำนาจรื้อถอนไถดินออกโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดีซึ่งโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการให้ตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาและจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษานั้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจมีคำพิพากษาตามคำขอส่วนนี้ของโจทก์ได้