พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9047/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานใช้ธนบัตรปลอม: ศาลลงโทษฐานสนับสนุนได้แม้ฟ้องเป็นตัวการ
การที่จำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกพักที่บ้านของจำเลยที่ 3 เพื่อใช้เป็นสถานที่ปรึกษาหารือกันในการนำธนบัตรปลอมของกลางไปใช้นั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการนำธนบัตรปลอมของกลางไปใช้ จำเลยที่ 3 จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในฐานเป็นตัวการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 กระทำความผิดในฐานเป็นผู้สนับสนุน ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในฐานเป็นตัวการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 กระทำความผิดในฐานเป็นผู้สนับสนุน ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8680/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด: ความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน, ขาดความไว้วางใจ, และการดำเนินงานที่เหลือวิสัย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองคน คือโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของห้างจนถึงขั้นฟ้องร้องเป็นคดีอาญา ไม่ปรองดองกัน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่มีทางทำได้ เพราะมีจำเลยคนเดียวที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จึงมีเหตุทำให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ประกอบมาตรา 1080 ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นจำเลยด้วย
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8680/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน และอำนาจในการฟ้องเลิกห้างโดยตรง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือ โจทก์และจำเลย และเกิดมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการเงินของห้าง โดยโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยไม่ได้นำเงินค่าเวนคืนที่ดินที่ห้างได้รับจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในงวดที่ 3 ลงบัญชีเป็นรายรับของห้าง โจทก์จึงฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯและยักยอกทรัพย์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ แม้คดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษายกฟ้อง และห้างยังมีทรัพย์สินอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม แต่จากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ไว้วางใจกัน มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการเงินของห้างจนถึงขั้นฟ้องร้องกล่าวหากันเป็นคดีอาญาไม่ปรองดองกัน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่มีทางทำได้ เพราะมีจำเลยคนเดียวที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จึงมีเหตุทำให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ประกอบมาตรา 1080 ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันเสียได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นจำเลยด้วย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 คน โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดกับจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่เนื่องจากโจทก์กับจำเลยไม่ไว้วางใจกัน และมีกรณีพิพาทขัดแย้งกันอยู่ หากตั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือให้ร่วมกันเป็นผู้ชำระบัญชีคงไม่ร่วมมือกัน และเป็นอุปสรรคแก่การชำระบัญชีแน่นอน จึงสมควรตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นคนกลางทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นจำเลยด้วย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 คน โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดกับจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่เนื่องจากโจทก์กับจำเลยไม่ไว้วางใจกัน และมีกรณีพิพาทขัดแย้งกันอยู่ หากตั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือให้ร่วมกันเป็นผู้ชำระบัญชีคงไม่ร่วมมือกัน และเป็นอุปสรรคแก่การชำระบัญชีแน่นอน จึงสมควรตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นคนกลางทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6823/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยบัตรเอทีเอ็มและการนำสืบพยานหลักฐานการชำระหนี้
จำเลยนำสืบถึงการชำระหนี้เงินกู้คืนโจทก์ว่า จำเลยมอบบัตรเอทีเอ็มของธนาคาร ก. ให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีของจำเลยทุกเดือน และโจทก์ยอมรับว่าได้รับบัตรเอทีเอ็มดังกล่าวไว้ถอนเงินจากบัญชีของจำเลย จึงถือได้ว่าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลให้ศาลเห็นถึงวิธีการชำระหนี้ว่าได้ปฏิบัติต่อกันเช่นใด ไม่อยู่ในบทบังคับเฉพาะตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6738/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการฟ้องคดีอาญา: อำนาจฟ้องเมื่อผู้ต้องหาไม่ได้ถูกจับกุมตามกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 บัญญัติว่า ในคดีอาญา การจับและคุมขังบุคคลใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยผู้ถูกจับจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับ โดยไม่ชักช้า และตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับนั้นไม่ได้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา 80 (2) เมื่อพบว่าบุคคลนั้นกำลังพยายามกระทำความผิดหรือพบโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะกระทำความผิด โดยมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด (3) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี (4) เมื่อมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว ดังนั้น การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 การที่จำเลยเข้าหาพนักงานสอบสวนและมีการแจ้งข้อหาให้ทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีคำสั่งหรือหมายของศาล และไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับ หรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6635/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การแจ้งข้อหาไม่ใช่การจับกุม ทำให้ไม่ต้องผูกพันระยะเวลาฟ้อง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 นั้น การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ การที่จำเลยเข้าหาพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2548 และพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีคำสั่งหรือหมายของศาลและไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับหรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการถอนอุทธรณ์ของกรรมการบริษัท, ผลผูกพันต่อบริษัท, และขอบเขตอำนาจฎีกาของโจทก์
คดีนี้โจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ที่ 1 ขอถอนฟ้องและถอนอุทธรณ์เฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 ถอนอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวมิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจที่จะฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216
ในการพิจารณาถึงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันโจทก์ที่ 1 ขณะที่โจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ย่อมต้องถือเอาข้อความในหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นหลักฐาน เมื่อหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทของโจทก์ที่ 1 ระบุว่าโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ที่ 1 มีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ขอถอนอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 แทนโจทก์ที่ 1 และมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 2 ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 จะกลับมาขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งของศาลอุทธรณ์หาได้ไม่
การที่โจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ขอถอนอุทธรณ์ในคดีนี้จะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อโจทก์ที่ 1 ผลดีหรือผลเสียดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 ด้วยในลักษณะอย่างเดียวกัน จะถือว่าประโยชน์ได้เสียของโจทก์ที่ 1 ขัดกับประโยชน์ได้เสียของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 74 หาได้ไม่
ในการพิจารณาถึงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันโจทก์ที่ 1 ขณะที่โจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ย่อมต้องถือเอาข้อความในหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นหลักฐาน เมื่อหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทของโจทก์ที่ 1 ระบุว่าโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ที่ 1 มีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ขอถอนอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 แทนโจทก์ที่ 1 และมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 2 ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 จะกลับมาขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งของศาลอุทธรณ์หาได้ไม่
การที่โจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ขอถอนอุทธรณ์ในคดีนี้จะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อโจทก์ที่ 1 ผลดีหรือผลเสียดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 ด้วยในลักษณะอย่างเดียวกัน จะถือว่าประโยชน์ได้เสียของโจทก์ที่ 1 ขัดกับประโยชน์ได้เสียของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 74 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนอุทธรณ์ของกรรมการ, ความขัดแย้งประโยชน์, และการรับอำนาจแทน
โจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ที่ 1 ขอถอนฟ้องและถอนอุทธรณ์เฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 1 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 ถอนอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวมิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจที่จะฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216
การที่โจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ขอถอนอุทธรณ์ในคดีนี้จะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อโจทก์ที่ 1 ผลดีหรือผลเสียดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 ด้วยในลักษณะอย่างเดียวกัน จะถือว่าประโยชน์ได้เสียของโจทก์ที่ 1 ขัดกับประโยชน์ได้เสียของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 74 หาได้ไม่
การที่โจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ขอถอนอุทธรณ์ในคดีนี้จะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อโจทก์ที่ 1 ผลดีหรือผลเสียดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 ด้วยในลักษณะอย่างเดียวกัน จะถือว่าประโยชน์ได้เสียของโจทก์ที่ 1 ขัดกับประโยชน์ได้เสียของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 74 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6256/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกรอการลงโทษ ต้องมีหลักฐานยืนยันการยอมรับหรือไม่ได้คัดค้านของจำเลย
การที่จะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยที่ศาลพิพากษาในคดีหลังตาม ป.อ. มาตรา 58 ได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองหรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานก็ตาม จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าจำเลยยอมรับหรือไม่คัดค้านในข้อที่ว่าเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนให้ลงโทษจำคุกและโทษจำคุกนั้นศาลรอการลงโทษไว้เสียก่อน ศาลจึงจะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีหลังได้ คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธ ทั้งโจทก์ไม่สืบพยานให้ปรากฏความในเรื่องนี้ ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 783/2543 ของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกและโทษจำคุกนั้นศาลรอการลงโทษไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความหลังโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ และสิทธิในการขอให้ศาลมีคำพิพากษาโดยขาดนัด
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้โจทก์แก้คดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับหมาย ณ บ้านของโจทก์โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลโดยชอบแล้ว โจทก์ต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2544 แต่โจทก์มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าวถือว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 และผู้ร้องต้องมีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้โจทก์ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด โดยนับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2544 ครบกำหนดสิบห้าวันคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 เมื่อผู้ร้องไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว