พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งมรดก: ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนเป็นเกณฑ์พิจารณาการฎีกา
โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของ น. ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของ น. จากจำเลยทั้งสองโดยให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนการโอนที่ดินและนำมาแบ่งแยกเป็น 5 ส่วน แล้วโอนให้แก่โจทก์ทั้งสามคนละหนึ่งส่วนคิดเป็นเนื้อที่คนละ 2 งาน 71 ตารางวา จึงเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิฟ้องเรียกส่วนแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยทั้งสองเฉพาะตัว โจทก์แต่ละคนชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้โดยลำพัง แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องคดีรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกต่างหากจากกัน เมื่อโจทก์ทั้งสามตีราคาที่ดินดังกล่าวเป็นเงิน 339,250 บาท และโจทก์ที่ 2 ขอให้โอนที่ดินแก่โจทก์ที่ 2 เพียง 1 ใน 5 ส่วน คิดเป็นเนื้อที่ 2 งาน 71 ตารางวา คิดเป็นเงิน 67,850 บาท เฉพาะโจทก์ที่ 2 จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามใบสั่งจ่ายสินค้าปุ๋ย ผู้รับโอนมีสิทธิรับปุ๋ยได้ แม้ผู้ขายจะอ้างเหตุส่วนตัวกับผู้ขายเดิม
จำเลยที่ 1 ขายปุ๋ยโดยออกใบสั่งจ่ายสินค้าแก่ลูกค้าเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้าในการมารับปุ๋ย ใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวเป็นเอกสารที่อาศัยความไว้วางใจกันในประเพณีในการค้าขายปุ๋ยว่า จำเลยที่ 1 สัญญาจะส่งมอบปุ๋ยแก่ผู้นำใบสั่งจ่ายสินค้ามารับปุ๋ยจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และลูกค้าที่มาซื้อปุ๋ยมีข้อตกลงโดยปริยายแต่ต้นว่า ผู้ซื้อสามารถโอนขายใบสั่งจ่ายสินค้าให้แก่บุคคลใดก็ได้และจำเลยที่ 1 จะมอบปุ๋ยแก่ผู้นำใบสั่งจ่ายสินค้ามาแสดงในการส่งมอบใบสั่งจ่ายสินค้าให้แก่ลูกค้าไม่ต้องสลักหลังและลงลายมือชื่อในใบสั่งจ่ายสินค้าเพียงแต่ส่งมอบให้เท่านั้น แสดงว่าผู้ซื้อที่ได้รับใบสั่งจ่ายสินค้าจากจำเลยที่ 1 สามารถโอนใบสั่งจ่ายสินค้านั้นให้แก่บุคคลอื่นต่อไปได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และผู้โอนไม่จำต้องสลักหลังการโอนใบสั่งจ่ายสินค้า การโอนสิทธิในการรับปุ๋ยระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโอนหนี้อันพึงจะต้องชำระแก่ผู้ถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 312 ประกอบมาตรา 313 โจทก์ผู้ครอบครองใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าว สามารถนำไปรับหรือเบิกปุ๋ยจากจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1 จะยกเหตุส่วนตัวระหว่างลูกค้าที่รับใบสั่งจ่ายสินค้าจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มาปฏิเสธไม่ส่งมอบปุ๋ยแก่โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงิน: การซุกซ่อนเงินที่ได้จากการค้ายาเสพติดโดยไม่มีเจตนาปกปิดแหล่งที่มา ไม่ถือเป็นความผิด
ตามมาตรา 5 (2) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ บัญญัติว่า "การกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มา แหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฟอกเงิน" ในข้อนี้แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำนวนเงิน 710,000 บาท ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่าเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 1 และตรวจค้นพบเงินจำนวนดังกล่าวบรรจุอยู่ในกล่องสุราที่จำเลยที่ 1 ถืออยู่ และจำเลยที่ 1 รับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาของเงินจำนวนนี้ในลักษณะที่เป็นการฟอกเงิน กล่าวคือ ทำให้เงินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแปรสภาพเป็นเงินที่ได้มาโดยเสมือนหนึ่งถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานฟอกเงินตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงกระทงโทษอาญาที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ปฏิบัติผิดพลาด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้แม้คู่ความมิได้ยกขึ้น
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ให้ประหารชีวิต ฐานร่วมกันมีอาวุธปืน จำคุกคนละ 1 ปี ฐานร่วมกันพาอาวุธปืน จำคุกคนละ 6 เดือน รวมโทษทุกกระทงแล้ว ให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสองสถานเดียว แล้วจึงลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) เป็นจำคุกคนละตลอดชีวิตนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะที่ถูกต้องแล้วศาลชั้นต้นจะต้องลดโทษให้จำเลยทั้งสองเป็นรายกระทงก่อน แล้วจึงรวมโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) และศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยมิได้พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง ก็เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขการเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 2 เสียใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวระหว่างพิจารณา ไม่เป็นคำสั่งที่ทำให้คดีเสร็จสิ้น โจทก์ยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้ก่อนจนกว่าจะทราบผลที่สุดของคดีแพ่งของศาลชั้นต้น และให้จำหน่ายคดีชั่วคราว โดยได้สั่งไว้ด้วยว่าเมื่อคดีแพ่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้วให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปภายใน 1 เดือน นับแต่คดีถึงที่สุด คำสั่งดังกล่าวไม่ใช่เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีโดยเด็ดขาด เพียงแต่เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว เป็นคำสั่งที่ไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จไปแต่อย่างใด จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและจำหน่ายยาเสพติด: การรับฟังพยานหลักฐาน และการแก้ไขโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 2,680 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 29.705 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ปรากฏว่า เมทแอมเฟตามีน 180 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด แม้โจทก์จะนำสืบถึงรายงานการตรวจพิสูจน์ตามเอกสารหมาย จ. 1 ซึ่งระบุปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวไว้ แต่ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่ปรากฏในชั้นพิจารณามิใช่ส่วนหนึ่งของคำฟ้อง จึงนำมาประกอบคำฟ้องเพื่อเป็นองค์ประกอบความผิดในเหตุฉกรรจ์ที่จะทำให้จำเลยรับโทษหนักขึ้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นในคดีฟื้นฟูกิจการ: ตัดสิทธิการควบคุมกำกับดูแลเมื่อมีกฎหมายล้มละลายเฉพาะ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ได้ถูกตัดสิทธิในการควบคุมกำกับดูแลกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการบริษัทลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/25 มาตรา 90/59 และมาตรา 90/69 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษแล้วทั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการของบริษัทลูกหนี้โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทลูกหนี้และกรรมการเจ้าหนี้ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สิน และไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทลูกหนี้ด้วย โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทลูกหนี้ยกคดีขึ้นฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้บริหารแผน ผู้ทำแผนและเจ้าหนี้ตามลำดับขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอันเกิดจากการร่วมกันทำให้บริษัทลูกหนี้เสียหายให้แก่บริษัทลูกหนี้โดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตามมาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามมาตรา 151 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตามมาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามมาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการ vs. กฎหมายล้มละลาย: การตัดสิทธิควบคุมกิจการในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
นอกจากผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจะมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้แล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ยังได้บัญญัติให้บรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ ยกเว้นเฉพาะสิทธิที่จะได้เงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และในที่สุดตกแก่ผู้บริหารแผนตามลำดับด้วย ที่โจทก์อ้างว่า สิทธิของผู้ถือหุ้นที่จะขอตรวจดูเอกสารบันทึกรายงานการประชุม สิทธิที่จะได้รับสำเนางบดุลบัญชีของบริษัท สิทธิในการขอรับสำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น สิทธิในการเข้าประชุมในที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207, 1197, 1140 และ 1176 เป็นสิทธิที่กฎหมายได้กำหนดไว้เป็นเรื่องเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับตัวของผู้ถือหุ้นคนนั้น ๆ เท่านั้น เช่นเดียวกับสิทธิในการรับเงินปันผลตามมาตรา 1201 ซึ่งต่างกับสิทธิของผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ที่ให้ผู้ถือหุ้นมีอำนาจฟ้องกรรมการแทนบริษัทได้ นั้น ป.พ.พ. ไม่ได้มีบทบัญญัติระบุไว้เลยว่า สิทธิของผู้ถือหุ้นดังกล่าวมีข้อจำกัดที่จะต้องเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องในส่วนของผู้ถือหุ้นแต่ละคนเท่านั้น จึงเป็นสิทธิที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะเข้าควบคุมกำกับดูแลเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทได้ในลักษณะเดียวกับสิทธิที่จะฟ้องกรรมการตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ต่างกันแต่เพียงว่าสิทธิอื่น ๆ ข้างต้นนั้นเป็นการดำเนินการกันอยู่ภายในบริษัท ส่วนสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิผู้ถือหุ้นใช้สิทธิควบคุมดูแลโดยผ่านทางศาลได้ ดังนั้นจึงมิใช่สิทธิเป็นการเฉพาะส่วนของตัวและต้องอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25 และ 90/59 เช่นเดียวกัน
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/67 ได้บัญญัติกระบวนการควบคุมตรวจสอบการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ไว้แล้ว ซึ่งถ้าหากมีการจัดการไม่เป็นไปตามแผนหรือโดยทุจริต หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ก็มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ คณะกรรมการเจ้าหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้ตรวจสอบ สามารถรายงานหรือมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องโดยตรงขอให้ศาลที่กำกับการจัดการอยู่อีกชั้นหนึ่งมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบควบคุมและกำกับดูแลที่กว้างขวาง รวดเร็วและรัดกุมมากยิ่งกว่าที่ ป.พ.พ. บัญญัติถึงสิทธิการตรวจสอบครอบงำการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัทเสียอีก นอกจากนี้ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนเข้ามาจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยความยินยอมของที่ประชุมเจ้าหนี้ และด้วยความเห็นชอบของศาล โดยให้ดำเนินการไปตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทลูกหนี้ อยู่ภายใต้การตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรรมการเจ้าหนี้และผู้บริหารของลูกหนี้ภายใต้การกำกับดูแลของศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25, 90/59 และ 90/67 ซึ่งเป็นบทกฎหมายพิเศษ แต่กรรมการบริษัทแต่งตั้งได้เฉพาะที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นและต้องจัดการกิจการและทรัพย์สินตามข้อบังคับของบริษัทและอยู่ภายใต้การครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1144 และมาตรา 1151 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีที่มาและขอบข่ายของอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจึงไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทและในระหว่างการฟื้นฟูกิจการบริษัทลูกหนี้ โจทก์ผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ได้ถูกตัดสิทธิในการควบคุมกำกับดูแลการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษแล้ว และอีกทั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการของบริษัทลูกหนี้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และกรรมการเจ้าหนี้ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สิน และไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทลูกหนี้ด้วย โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทลูกหนี้ยกคดีขึ้นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่งได้
ที่ศาลล่างทั้งสองไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นศาลชั้นให้โจทก์ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ไม่
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/67 ได้บัญญัติกระบวนการควบคุมตรวจสอบการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ไว้แล้ว ซึ่งถ้าหากมีการจัดการไม่เป็นไปตามแผนหรือโดยทุจริต หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ก็มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ คณะกรรมการเจ้าหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้ตรวจสอบ สามารถรายงานหรือมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องโดยตรงขอให้ศาลที่กำกับการจัดการอยู่อีกชั้นหนึ่งมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบควบคุมและกำกับดูแลที่กว้างขวาง รวดเร็วและรัดกุมมากยิ่งกว่าที่ ป.พ.พ. บัญญัติถึงสิทธิการตรวจสอบครอบงำการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัทเสียอีก นอกจากนี้ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนเข้ามาจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยความยินยอมของที่ประชุมเจ้าหนี้ และด้วยความเห็นชอบของศาล โดยให้ดำเนินการไปตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทลูกหนี้ อยู่ภายใต้การตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรรมการเจ้าหนี้และผู้บริหารของลูกหนี้ภายใต้การกำกับดูแลของศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25, 90/59 และ 90/67 ซึ่งเป็นบทกฎหมายพิเศษ แต่กรรมการบริษัทแต่งตั้งได้เฉพาะที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นและต้องจัดการกิจการและทรัพย์สินตามข้อบังคับของบริษัทและอยู่ภายใต้การครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1144 และมาตรา 1151 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีที่มาและขอบข่ายของอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจึงไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทและในระหว่างการฟื้นฟูกิจการบริษัทลูกหนี้ โจทก์ผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ได้ถูกตัดสิทธิในการควบคุมกำกับดูแลการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษแล้ว และอีกทั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการของบริษัทลูกหนี้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และกรรมการเจ้าหนี้ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สิน และไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทลูกหนี้ด้วย โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทลูกหนี้ยกคดีขึ้นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่งได้
ที่ศาลล่างทั้งสองไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นศาลชั้นให้โจทก์ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าหลายกรรม: การพิจารณาเจตนาและสถานที่เกิดเหตุที่แยกต่างหาก
ขณะที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 กับพวก ผู้เสียหายที่ 2 ยืนอยู่บริเวณที่เกิดเหตุด้วย แต่ผู้เสียหายที่ 2 ไม่ได้ร่วมมากับผู้เสียหายที่ 1 กับพวกแต่แรก โดยเพิ่งเข้ามาบริเวณที่เกิดเหตุภายหลัง และยืนอยู่ห่างผู้เสียหายที่ 1 กับพวกที่ใช้ไม้ตีทำร้ายจำเลยประมาณ 10 เมตร การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงครั้งแรกด้วยประสงค์ยิงผู้เสียหายที่ 1 กับพวก เนื่องจากพวกของผู้เสียหายที่ 1 ที่มาพร้อมกับผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ใช้ไม้ตีจำเลยก่อน ส่วนผู้เสียหายที่ 2 ถูกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงในภายหลังห่างจากที่เกิดเหตุที่ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกถูกยิงครั้งแรกถึง 200 เมตร ต่างสถานที่กัน แม้จะเป็นการกระทำในเวลาต่อเนื่องกัน แต่ก็เป็นการใช้อาวุธปืนยิงโดยมีเจตนาแยกการกระทำเป็นรายบุคคล การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9145/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: การส่งมอบทรัพย์สินยังไม่สมบูรณ์ ถือเป็นความผิดพยายามจำหน่าย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ บัญญัติคำนิยามของคำว่า จำหน่าย หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าการซื้อขายตาม ป.พ.พ. แม้เป็นการจ่าย แจก ซึ่งไม่มีค่าตอบแทนก็ถือว่าเป็นการจำหน่าย แสดงว่าถือเอาการส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายเป็นสำคัญ แม้จะมีการตกลงซื้อขายกัญชากันแล้ว แต่สายลับยังไม่ได้ส่งมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง และจำเลยทั้งสองเพียงเอากัญชาของกลางจากที่ซ่อนเพื่อให้สายลับดูยังไม่ทันได้ส่งมอบกัญชาของกลางให้แก่สายลับ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับจำเลยทั้งสองกับพวกเสียก่อน ทั้งกัญชาของกลางที่ยึดไว้มีเพียง 40 กิโลกรัม ไม่ครบจำนวน 50 กิโลกรัม ตามที่สายลับตกลงซื้อจากพวกของจำเลยทั้งสอง การที่สายลับเพียงแต่ได้ดูกัญชาของกลาง ยังถือไมได้ว่าเป็นการส่งมอบกัญชาของกลางโดยปริยาย การซื้อขายกัญชาของกลางระหว่างจำเลยทั้งสองและพวกกับสายลับจึงไม่สำเร็จบริบูรณ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายกัญชาของกลาง