พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19217/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิ ช.ค.บ. ผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญหลายประเภท ต้องรวมรายได้ทั้งหมดพิจารณา หากเกิน 5,100 บาท ไม่มีสิทธิได้รับ
พ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 มาตรา 4 นว, 4 ทศ มีเจตนารมณ์กำหนดให้ความช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญต่ำกว่าเดือนละ 5,100 บาท เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นสามารถดำรงชีพอยู่ได้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป กรณีผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญเกินกว่า 5,100 บาท หรือได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญหลายประเภทซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเกินกว่า 5,100 บาท เห็นได้ว่ามีรายได้ต่อเดือนสูงพอสมควรเพียงพอต่อการดำรงชีพแล้ว จึงไม่มีสาเหตุที่จะต้องได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) ช่วยเหลืออีก การพิจารณาเพื่อกำหนด ช.ค.บ. สำหรับผู้มีสิทธิได้รับบำนาญหลายประเภทจึงต้องรวมบำนาญหลายประเภทนั้นเข้าด้วยกัน จำเลยเป็นข้าราชการบำนาญได้รับบำนาญปกติและ ช.ค.บ. รวมกันเกิน 5,100 บาทอยู่แล้ว เมื่อรวมกับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดของผู้ตายก็ยิ่งเกิน 5,100 บาท มากขึ้นไปอีก จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มตามบทบัญญัติดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13294/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิง: การรับฟังพยานหลักฐาน, ความน่าเชื่อถือ, และการแก้ไขกฎหมาย
ผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่า จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายสองครั้ง การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองครั้ง จำเลยกระทำที่บ้านพักผู้เสียหาย การกระทำแต่ละครั้งเป็นการกระทำที่คล้ายกัน ลักษณะการเบิกความของผู้เสียหายเป็นการเบิกความที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันระหว่างการกระทำความผิดในครั้งแรกและครั้งหลังของจำเลย การที่ผู้เสียหายเบิกความถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยโดยละเอียดในครั้งแรก แล้วเบิกความถึงการกระทำความผิดในครั้งหลังต่อเนื่องไปในคราวเดียวกันว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอีกครั้ง เมื่อฟังคำเบิกความย่อมเข้าใจได้ว่าผู้เสียหายถูกจำเลยกระทำชำเรารวมสองครั้ง ด้วยพฤติการณ์ที่เหมือนกัน ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้โอนคดีของจำเลยในส่วนการกระทำความผิดของจำเลยในครั้งแรกไปพิจารณาที่ศาลจังหวัดชุมพรแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากขณะกระทำผิดในครั้งแรกจำเลยอายุ 17 ปี ยังถือเป็นเยาวชนอยู่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายที่เกี่ยวกับรายละเอียดของพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยต้องรับฟังแยกกันจนถือว่าเหตุการณ์ครั้งหลังโจทก์นำสืบโดยไม่มีรายละเอียดของพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยและเป็นการนำสืบไม่สมตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งจ่ายเช็คโดยไม่มีหนี้ที่อาจบังคับได้ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยและผู้เสียหายเป็นหุ้นส่วนกันลงทุนซื้อเหล็กในแต่ละครั้ง เมื่อขายเหล็กได้ จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คตามยอดเงินที่ขายได้ให้แก่ผู้เสียหายซึ่งจะมียอดเงินในเช็คพิพาททั้งยี่สิบสองฉบับเปรียบเทียบกับรายการซื้อขายเหล็ก ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า ขณะที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งยี่สิบสองฉบับแก่ผู้เสียหายตามมูลค่าการขายเหล็กซึ่งยังไม่ได้แบ่งเงินตามข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนกันเป็นยอดเงินสุทธิว่ามีจำนวนเท่าใด ทำให้ขณะนั้นจำเลยยังไม่มีหนี้ที่ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ ฉะนั้นเมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งยี่สิบสองฉบับโดยยังไม่มีมูลหนี้ซึ่งอาจบังคับได้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17235/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเป็นอำนาจของ ป.ป.ช. พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 ให้ความหมายคำว่า "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" รวมถึงข้าราชการด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามที่โจทก์ฟ้องจะเป็นความผิดต้องด้วยบทเฉพาะตาม ป.อ. มาตรา 149 ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัย หรือเป็นความผิดต้องด้วยบทเฉพาะตาม ป.อ. มาตรา 148 ดังที่โจทก์ฎีกา แต่ก็ถือได้ว่าฟ้องโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไป และความผิดตามบทมาตราทั้งสามดังกล่าวบัญญัติไว้ในหมวด 2 ของ ป.อ. ว่าด้วยความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการกระทำของจำเลยทั้งสามในส่วนนี้จึงเป็นการกล่าวหาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้สนับสนุน ซึ่งมาตรา 19 (3) 43 (4) และมาตรา 88 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเมื่อมีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ทั้งนี้ ตามมาตรา 4 ผู้ถูกกล่าวหายังหมายความรวมถึงตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนการกระทำดังกล่าวด้วย โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว แทนการให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. ดังเช่นคดีอาญาอื่นๆ การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจึงเป็นการสอบสวนโดยมิชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตามข้อหาดังกล่าว
แม้ต่อมาจะมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ยกเลิกความในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยมาตรา 19 (4) ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนและวินิจฉัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งไม่ใช่บุคคลตาม (2) หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกัน รวมทั้งดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว หรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการด้วย และตาม พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 มาตรา 17 (4) บัญญัติให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (คณะกรรมการ ป.ป.ท.) มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับการกระทำทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผลให้การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งไม่ได้เป็นข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือสูงกว่าผู้อำนวยการกอง ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ตาม แต่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน รวมตลอดถึงอำนาจของพนักงานอัยการในการยื่นฟ้องคดี ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กรณีจึงต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ฉบับเดิม
แม้ต่อมาจะมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ยกเลิกความในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยมาตรา 19 (4) ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนและวินิจฉัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งไม่ใช่บุคคลตาม (2) หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกัน รวมทั้งดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว หรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการด้วย และตาม พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 มาตรา 17 (4) บัญญัติให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (คณะกรรมการ ป.ป.ท.) มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับการกระทำทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผลให้การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งไม่ได้เป็นข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือสูงกว่าผู้อำนวยการกอง ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ตาม แต่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน รวมตลอดถึงอำนาจของพนักงานอัยการในการยื่นฟ้องคดี ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กรณีจึงต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ฉบับเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15847/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาช่วยเหลือสอบและคืนเงิน: สัญญาไม่ขัดต่อกฎหมายเมื่อไม่มีเจตนาให้สินบน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ทั้งสองมอบเงินให้แก่จำเลยคนละ 40,000 บาท เป็นค่าตอบแทนจากการที่จำเลยบอกว่าจะช่วยโจทก์ทั้งสองให้สอบแข่งขันผ่านเข้าทำงานได้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมอบเงินเพื่อให้จำเลยนำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือช่วยให้โจทก์ทั้งสองเข้าทำงานได้โดยไม่ต้องสอบ หรือสอบเข้าทำงานได้แม้คะแนนไม่ถึงอันเป็นวิธีการที่ไม่ชอบ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกับจำเลยให้สินบนแก่เจ้าพนักงานอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งการกระทำดังกล่าวก็หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงไม่ขัดต่อกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เมื่อจำเลยไม่สามารถดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองสอบผ่านและเข้าทำงานได้ตามที่รับรองไว้จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับไปแก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9203/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินส่วนเกินจากการขายทอดตลาดรถยนต์ของกลางในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด ผู้เช่าซื้อมีสิทธิได้รับเงินคืนตามสัญญา
รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ต่อมามีการขายทอดตลาดรถยนต์ของกลาง เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดรถยนต์ของกลางที่เกินกว่าจำนวนหนี้คงค้างชำระแก่ผู้ให้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อ ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดด้วย เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดรถยนต์ของกลางดังกล่าว จึงเป็นทรัพย์อันพึงริบตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากสัญญาจ้างทำไม้: อำนาจฟ้อง, สัญญาไม่เป็นโมฆะ, อายุความ 10 ปี
โจทก์ตั้งสิทธิฟ้องเรียกร้องคดีนี้สืบเนื่องจากการที่จำเลยผิดสัญญาจ้างทำไม้ต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จะต้องถูกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรียกร้องค่าปรับ ค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่า ไม่ใช่เรื่องการรับช่วงสิทธิที่โจทก์ต้องชำระค่าปรับก่อนแล้วจึงจะใช้สิทธิฟ้องบังคับเอาจากจำเลยได้ แม้ปรากฏว่าเคยมีมติคณะรัฐมนตรีไม่ให้หน่วยงานราชการฟ้องร้องกันก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการด้วยกันที่มีต่อกันระงับไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าปรับจากจำเลย
โจทก์ได้รับสัมปทานทำไม้จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วโจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยทำไม้โดยจำเลยผู้รับจ้างได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการที่โจทก์ผู้ว่าจ้างขายไม้ที่จำเลยทำได้นั้นให้จำเลยตามราคาที่ตกลงกัน ซึ่งถือเป็นสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการทำไม้แก่จำเลย สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่การขาย ให้เช่า มอบให้หรือโอนไปด้วยประการใดๆ ซึ่งสิทธิอันได้มาตามสัมปทานให้แก่จำเลย ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงไม่เป็นโมฆะ
สัญญาจ้างทำไม้ระบุว่า เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจจากกรมป่าไม้ได้กำหนดจำนวนเงินเบี้ยปรับการทำผิดของผู้รับจ้างและได้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ว่าจ้างนำเงินเบี้ยปรับไปชำระ ผู้รับจ้างจะต้องนำเงินเบี้ยปรับไปชำระแทนภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง โจทก์ได้รับแจ้งให้นำเงินค่าปรับไปชำระเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 โจทก์จึงอาจทวงถามให้จำเลยนำเงินค่าปรับไปชำระได้ในวันนั้น และจำเลยต้องนำเงินค่าปรับไปชำระภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2532 หากจำเลยไม่นำเงินค่าปรับไปชำระภายในกำหนด จึงจะถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญานับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดให้จำเลยต้องชำระซึ่งถือเป็นวันเริ่มนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/13 เมื่อนับแต่วันเริ่มนับอายุความคือวันที่ 11 สิงหาคม 2532 ถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 22 กรกฎาคม 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 193/30
โจทก์ได้รับสัมปทานทำไม้จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วโจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยทำไม้โดยจำเลยผู้รับจ้างได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการที่โจทก์ผู้ว่าจ้างขายไม้ที่จำเลยทำได้นั้นให้จำเลยตามราคาที่ตกลงกัน ซึ่งถือเป็นสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการทำไม้แก่จำเลย สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่การขาย ให้เช่า มอบให้หรือโอนไปด้วยประการใดๆ ซึ่งสิทธิอันได้มาตามสัมปทานให้แก่จำเลย ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงไม่เป็นโมฆะ
สัญญาจ้างทำไม้ระบุว่า เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจจากกรมป่าไม้ได้กำหนดจำนวนเงินเบี้ยปรับการทำผิดของผู้รับจ้างและได้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ว่าจ้างนำเงินเบี้ยปรับไปชำระ ผู้รับจ้างจะต้องนำเงินเบี้ยปรับไปชำระแทนภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง โจทก์ได้รับแจ้งให้นำเงินค่าปรับไปชำระเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 โจทก์จึงอาจทวงถามให้จำเลยนำเงินค่าปรับไปชำระได้ในวันนั้น และจำเลยต้องนำเงินค่าปรับไปชำระภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2532 หากจำเลยไม่นำเงินค่าปรับไปชำระภายในกำหนด จึงจะถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญานับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดให้จำเลยต้องชำระซึ่งถือเป็นวันเริ่มนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/13 เมื่อนับแต่วันเริ่มนับอายุความคือวันที่ 11 สิงหาคม 2532 ถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 22 กรกฎาคม 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต: การยื่นสำเนาทะเบียนพาณิชย์เป็นเพียงข้อมูลประกอบการพิจารณา
แม้การค้าเร่และการค้าแผงลอยจะไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 มาตรา 7 (1) แต่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 ได้บัญญัติให้ผู้ประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน โดยในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงและมีกฎกระทรวงว่าด้วยการขอและออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่าและแลกเปลี่ยน จำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2552 ข้อ 1 (1) (ค) ได้กำหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องนำเอกสารและหลักฐานซึ่งมีสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ยื่นต่อนายทะเบียนพร้อมคำอนุญาตด้วย เอกสารและหลักฐานดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลที่จะให้นายทะเบียนใช้ประกอบในการพิจารณาเท่านั้น ซึ่งการไม่ยื่นสำเนาทะเบียนพาณิชย์ก็ไม่ใช่คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์ตามที่มาตรา 39 ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น จึงยังมิอาจถือได้ว่าจำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์ในความหมายตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 อันจะทำให้ฟ้องของโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอายัดเงินสหกรณ์: เงินปันผล vs. เงินเฉลี่ยคืน/ค่าหุ้น เมื่อสมาชิกลาออก
ข้อความในหนังสือแจ้งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่มีสาระสำคัญว่า ขออายัดเงินปันผลและเงินอื่นๆ ของจำเลยที่ 1 ทุกปีจนกว่าจะชำระหนี้ตามหมายบังคับคดีเสร็จสิ้น นั้น ได้แยกการอายัดเงินของจำเลยที่ 1 ออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ เงินปันผลส่วนหนึ่ง และเงินอื่นๆ นอกจากนั้นอีกส่วนหนึ่ง ในส่วนของเงินปันผล พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 60 (1) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการขออายัดคดีนี้ บัญญัติให้สหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นของสมาชิกแต่ละคนที่ชำระแล้ว เงินปันผลจึงเป็นเงินที่ผู้คัดค้านต้องจ่ายแก่สมาชิกทุกคนเป็นรายปีทุกๆ ปีขณะที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ ส่วนเงินอื่นๆ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 60 (2) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น บัญญัติให้สหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีจ่ายเป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนธุรกิจที่สมาชิกได้กระทำไว้กับสหกรณ์ในระหว่างปีแต่ละปี เงินเฉลี่ยคืนจึงเป็นการจัดสรรจ่ายให้แก่เฉพาะสมาชิกบางคนที่ทำธุรกิจกับสหกรณ์ และจ่ายเฉพาะในปีที่ทำเท่านั้น จึงเป็นการจ่ายให้เป็นการเฉพาะในแต่ละครั้ง ไม่อาจจ่ายเป็นประจำทุกปีเสมอไปได้ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 เพราะ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 42 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะนั้นบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในเงินค่าหุ้นของสมาชิกนั้น เว้นแต่สมาชิกภาพนั้นจะสิ้นสุดลง ซึ่งไม่ทราบว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด และไม่ทราบล่วงหน้าด้วยว่าจะต้องจ่ายเมื่อใด จึงเป็นการจ่ายเฉพาะในแต่ละครั้งและไม่อาจจ่ายเป็นประจำปีรายได้เช่นกัน ดังนั้น คำขออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามหนังสือแจ้งอายัดในข้างต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งอายัดรวมถึงเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 ด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทสันนิษฐานการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ และการปรับบทกฎหมาย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม บัญญัติว่า "การผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย...(2) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป" ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีน้ำหนักสุทธิรวม 1.697 กรัม ซึ่งมีปริมาณน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวที่ให้ถือว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยมีเจตนามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงมีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 0.244 กรัม ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 66 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับจำนวนหน่วยการใช้หรือน้ำหนักสุทธิ ดังนั้น การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 18 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 1.697 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 0.244 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ปรับบทกฎหมายและกำหนดโทษใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 0.244 กรัม ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 66 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับจำนวนหน่วยการใช้หรือน้ำหนักสุทธิ ดังนั้น การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 18 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 1.697 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 0.244 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ปรับบทกฎหมายและกำหนดโทษใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225