พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15590/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำซัดทอดที่มีเหตุผล, ตัวการร่วม, ลักทรัพย์, แก้ไขบทลงโทษ, รับของโจร
เหตุที่สิบตำรวจโท จ. เดินทางไปที่บ้านของจำเลย ก็เพราะ อ. ให้การในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวนว่าร่วมกับจำเลยลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย โดย อ. ให้จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายหลบหนีไปที่บ้านของจำเลย แม้คำให้การของ อ. นี้มีลักษณะเป็นคำซัดทอดซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 บัญญัติให้ศาลต้องใช้ความระมัดระวังในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานดังกล่าว และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลยก็ตาม แต่คำซัดทอดของ อ. ก็มิใช่คำซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิด เพราะมีรายละเอียดของการกระทำความผิดทั้งสอง อ. และของจำเลย ทั้งยังพาไปสู่การได้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่จำเลยขับหลบหนีไปที่บ้านของจำเลยคืน นับว่าเป็นคำซัดทอดที่มีเหตุผล
พฤติการณ์ที่จำเลยรอ อ. อยู่นอกบ้านของผู้เสียหายซึ่งเป็นบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุในลักษณะที่จะเข้าช่วยเหลือ อ. ได้ทันทีเมื่อมีเหตุขัดข้องในขณะที่ อ. เข้าไปลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายในบ้าน แล้ว อ. เดินจูงรถจักรยานยนต์นั้นออกมานอกบ้านให้จำเลยขับหลบหนีไปที่บ้านของจำเลยเช่นนี้ นับเป็นตัวการในการกระทำความผิดด้วยกัน
แม้การกระทำของจำเลยกับ อ. จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ตามฟ้องโจทก์ และโจทก์ไม่ได้ฎีกา แต่โดยที่ความผิดฐานรับของโจรที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาลงโทษจำเลยมา กับความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติมิให้ถือว่าเป็นข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ ดังนั้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขบทลงโทษจำเลยในความผิดตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาเสียให้ถูกต้องได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษจำเลยให้สูงกว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามา เพราะจะเป็นการพิจารณาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
พฤติการณ์ที่จำเลยรอ อ. อยู่นอกบ้านของผู้เสียหายซึ่งเป็นบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุในลักษณะที่จะเข้าช่วยเหลือ อ. ได้ทันทีเมื่อมีเหตุขัดข้องในขณะที่ อ. เข้าไปลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายในบ้าน แล้ว อ. เดินจูงรถจักรยานยนต์นั้นออกมานอกบ้านให้จำเลยขับหลบหนีไปที่บ้านของจำเลยเช่นนี้ นับเป็นตัวการในการกระทำความผิดด้วยกัน
แม้การกระทำของจำเลยกับ อ. จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ตามฟ้องโจทก์ และโจทก์ไม่ได้ฎีกา แต่โดยที่ความผิดฐานรับของโจรที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาลงโทษจำเลยมา กับความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติมิให้ถือว่าเป็นข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ ดังนั้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขบทลงโทษจำเลยในความผิดตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาเสียให้ถูกต้องได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษจำเลยให้สูงกว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามา เพราะจะเป็นการพิจารณาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14319/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดจากการล้มละลาย, การประนอมหนี้, และผลกระทบต่อสิทธิการบังคับคดีของเจ้าหนี้
จำเลยได้รับการปลดจากการล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 81/1 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 มาตรา 13 หลังจากได้รับการปลดจากการล้มละลาย จำเลยได้ยื่นคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยขอชำระหนี้เต็มจำนวนต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. โจทก์ในคดีล้มละลาย โจทก์ในคดีล้มละลายตกลงตามข้อเสนอ ผู้ร้องจึงได้ชำระหนี้แทนจำเลย การที่จำเลยได้รับการปลดจากการล้มละลายโดยผลของกฎหมายนั้น ย่อมทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายและมีอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของตนเองต่อไป ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายเพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายต่อไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การที่จำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้โดยขอชำระหนี้เต็มจำนวนให้แก่โจทก์ในคดีล้มละลาย และได้มีการชำระให้แก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมจนครบถ้วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีเหตุต้องจัดการทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายของจำเลยอีกต่อไป การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์ในคดีแพ่งนั้นชอบแล้ว ส่วนการยกเลิกการล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 นั้นจะเกิดขึ้นก็โดยเหตุศาลมีคำสั่ง ในคดีนี้เมื่อจำเลยได้รับการปลดจากการล้มละลายอันทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายไปแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจำต้องสั่งยกเลิกการล้มละลายอีก แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่พึงจะขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 แต่เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวในคดีล้มละลายเกินกำหนดระยะเวลา และศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลล่างไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยได้รับการปลดจากการล้มละลายโดยผลของกฎหมายย่อมทำให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ เว้นแต่หนี้ที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) เมื่อหนี้ของโจทก์มิใช่หนี้ตามมาตรา 77 (1) และ (2) โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ของโจทก์อีกต่อไปและไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14022/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาคดียาเสพติดต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาพร้อมฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา แต่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้มีพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ เมื่อฎีกาของจำเลยมิได้มีคำขอโดยทำเป็นคำร้องมาพร้อมกับฎีกาเพื่อขอให้ศาลฎีกาพิจารณารับฎีกาของจำเลยไว้วินิจฉัย แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาจึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14015/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้สิทธิในฐานะเจ้าของร่วมกันและระยะเวลาการครอบครอง
ขณะที่ ส. ซื้อที่ดินแปลงแรก และต่อมา พ. ซื้อที่ดินแปลงที่ 2 นั้น ส. และ พ. อยู่กินฉันสามีภริยาแล้ว แม้จะไม่ได้ความว่า ส. และ พ. ได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาต้องถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกัน ทั้งการที่จะมีภาระจำยอมได้จะต้องมีที่ดินสองแปลงโดยที่ดินแปลงหนึ่งตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินอีกแปลงหนึ่ง และการที่จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 จะต้องเป็นการใช้เพื่อตน มิใช่เป็นการอาศัยเมื่อการใช้สิทธิในที่ดินของ ส. ทั้งสองแปลงเป็นการใช้ในฐานะเจ้าของที่ดินร่วมกันกับ พ. มิใช่เป็นการใช้ในที่ดินของผู้อื่นอันจะเป็นผลให้ได้สิทธิภาระจำยอมในช่วงเวลาดังกล่าว โจทก์จะนำสิทธิที่ ส. มีอยู่ในที่พิพาทมานับต่อเนื่องกับสิทธิที่โจทก์ได้รับเพื่อให้ได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินแปลงพิพาทหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ได้รับโอนที่ดินมีโฉนดจาก ส. ในปี 2536 นับถึงวันฟ้องคดีนี้ยังไม่ถึง 10 ปี ทางพิพาทจึงยังไม่ตกอยู่ในภาระจำยอมโดยอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13104/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของประกาศคณะปฏิรูปฯ ต่อกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และการพิสูจน์ความผิดฐานซื้อเสียง
แม้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 จะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีฐานะเป็น พ.ร.บ.ฉบับหนึ่งที่มีการประกาศใช้แยกมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยฯ การที่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ สิ้นสุดลง หามีผลทำให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 สิ้นลงตามไปด้วยไม่ อีกทั้งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ข้อ 4 ยังได้บัญญัติด้วยว่า "ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญคงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย" อันเป็นการรับรองให้กฎหมายทั้งปวงที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนการปฏิรูปการปกครอง ยังมีผลบังคับใช้ต่อไปอีกด้วย ดังนั้น เมื่อไม่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับใดออกมาบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงยังมีผลใช้บังคับต่อไป
แม้ในระหว่างพิจารณาคดีได้มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ออกมาใช้บังคับโดยให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 แต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ก็ยังคงบัญญัติให้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง (1) ดังนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (5)
แม้ในระหว่างพิจารณาคดีได้มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ออกมาใช้บังคับโดยให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 แต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ก็ยังคงบัญญัติให้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง (1) ดังนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12934/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญา: การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนไม่ถูกต้องตามเขตอำนาจ แต่มีการสอบสวนเพิ่มเติมโดยพนักงานสอบสวนที่ถูกต้อง ทำให้การฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย
การสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 2 (6) ประกอบด้วยมาตรา 18 เมื่อเหตุเกิดในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลกลางใหญ่ จังหวัดอุดรธานี ร. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลางจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 128 บัญญัติไว้ การที่ ร. สอบสวนโจทก์ร่วมและ อ. จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลาง ส่งสำนวนการสอบสวนไปให้รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรตำบลกลางใหญ่ พ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลกลางใหญ่ ได้สอบสวนโจทก์ร่วมและ อ. อีกครั้งหนึ่ง แม้ อ. จะให้การยืนยันตามคำให้การที่ให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลางทุกประการก็ตาม แต่ อ. ก็ได้ให้การเกี่ยวกับรายละเอียดการกระทำความผิดของจำเลยไว้ด้วย ถือได้ว่ามีการสอบสวนโจทก์ร่วมและ อ. โดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้ว ส่วนที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลางได้สอบสวนโจทก์ร่วมเพิ่มเติมตามใบต่อคำให้การนั้น คงมีผลเพียงทำให้คำให้การดังกล่าวไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เท่านั้น หาเป็นเหตุให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดไม่ เมื่อการสอบสวนของ พ. พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นการสอบสวนชอบแล้ว การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 18 และมาตรา 120 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12162/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยมิชอบ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จะสุจริต
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันพิพาท มิได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาท จำเลยที่ 2 รับซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทนำรถยนต์คันพิพาทไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเข้าหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ทั้งการที่ บ. และจำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันพิพาทของโจทก์มาจัดไฟแนนซ์กับบริษัท ด. ซึ่งเป็นบริษัทของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เป็นการซื้อขายในท้องตลาดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมาย
แม้ตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์จะขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในรถยนต์คันพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถยนต์คันพิพาทที่นายทะเบียนขนส่งจังหวัดขอนแก่นออกให้แทนฉบับเดิม ก็เป็นการดำเนินการของนายทะเบียนขนส่งจังหวัดขอนแก่นตามที่ได้รับแจ้งข้อความเท็จจากจำเลยที่ 2 ถือว่าใบแทนคู่มือการจดทะเบียนเป็นการออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนแต่โจทก์ก็มีคำขอให้ใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับของโจทก์มีผลใช้บังคับได้ตามเดิมศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถยนต์คันพิพาทที่ออกโดยไม่ชอบนั้นได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่เกินคำขอ
แม้ตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์จะขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในรถยนต์คันพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถยนต์คันพิพาทที่นายทะเบียนขนส่งจังหวัดขอนแก่นออกให้แทนฉบับเดิม ก็เป็นการดำเนินการของนายทะเบียนขนส่งจังหวัดขอนแก่นตามที่ได้รับแจ้งข้อความเท็จจากจำเลยที่ 2 ถือว่าใบแทนคู่มือการจดทะเบียนเป็นการออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนแต่โจทก์ก็มีคำขอให้ใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับของโจทก์มีผลใช้บังคับได้ตามเดิมศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถยนต์คันพิพาทที่ออกโดยไม่ชอบนั้นได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12162/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนรถยนต์โดยมิชอบ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเหนือผู้โอน ศาลเพิกถอนทะเบียนได้
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันพิพาทมิได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาท จำเลยที่ 1 ใช้หนังสือมอบอำนาจบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ไปจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทตามหลักกฎหมายที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
การที่ บ. และจำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันพิพาทของโจทก์มาจัดไฟแนนซ์กับบริษัท ด. จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นบริษัทของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การซื้อขายในท้องตลาดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนใบแทนคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าใบแทนคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์มีคำขอให้ใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับของโจทก์มีผลใช้บังคับดังเดิม ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนใบแทนคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถยนต์คันพิพาทนั้นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
การที่ บ. และจำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันพิพาทของโจทก์มาจัดไฟแนนซ์กับบริษัท ด. จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นบริษัทของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การซื้อขายในท้องตลาดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนใบแทนคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าใบแทนคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์มีคำขอให้ใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับของโจทก์มีผลใช้บังคับดังเดิม ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนใบแทนคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถยนต์คันพิพาทนั้นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11776/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง - การคืนเงิน - สิทธิเรียกร้อง - ที่ดิน - คดีอาญา
จำเลยขายที่ดินให้ผู้เสียหาย โดยหลอกลวงว่าที่ดินตามโฉนดดังกล่าวตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟสระแก้ว ความจริงที่ดินนั้นตั้งอยู่ที่อื่นและมีเนื้อที่น้อยกว่ามาก โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหาย เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จำเลยต้องคืนเงินแก่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนที่ดินที่จำเลยจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้เสียหายแล้ว หากผู้เสียหายไม่โอนคืนให้แก่จำเลย จำเลยชอบที่จะดำเนินคดีทางแพ่งตามสิทธิของจำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11776/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง - การคืนเงินที่ได้จากการหลอกลวง - สิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติว่า "คดีลักทรัพย์...ฉ้อโกง...ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย" ดังนี้ เมื่อจำเลยหลอกลวงเอาเงิน 80,000 บาท ของผู้เสียหายไปอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและโจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนเงิน 80,000 บาท ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 43 ให้อำนาจไว้จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวน 80,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่ดินที่จำเลยจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้เสียหายแล้วนั้น หากผู้เสียหายไม่โอนที่ดินคืนแก่จำเลย จำเลยชอบที่จะดำเนินคดีทางแพ่งตามสิทธิของจำเลยต่อไป