พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11149/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขับขี่ที่ก่อเหตุแล้วไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและหลบหนี มีองค์ประกอบความผิดฟ้องได้
คดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ว่า ภายหลังจากที่จำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ก. แล้ว จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่รถในทางและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่นดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ก. แล้ว มิได้หยุดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บตามสมควร และมิได้นำเหตุที่เกิดไปแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีโดยจำเลยหลบหนีไป และขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78, 160 ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดตามมาตราที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยแล้ว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า มิได้หยุดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บตามสมควร โดยไม่ได้บรรยายว่าหยุดอะไรนั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องตอนต้นแล้วว่า จำเลยเป็นผู้ขับขี่รถในทางและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่น ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าจำเลยมิได้หยุดรถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องได้ดี จึงมิใช่ฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10854/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องคดีพยายามลักทรัพย์: รายละเอียดทรัพย์สินที่เพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปในห้องของโรงแรมที่เกิดภัยพิบัติ เพื่อลักทรัพย์สินของโรงแรมและนักท่องเที่ยวที่เก็บรักษาไว้ในห้องพัก จำเลยทั้งสองลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด เพราะมีผู้พบเห็นและเข้าขัดขวางถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายครบถ้วนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว เพียงแต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองพยายามลักเท่านั้นเพราะลักษณะของความผิดย่อมยังไม่อาจทราบได้ว่าเป็นทรัพย์อะไรมีมูลค่าเท่าใด แต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันพยายามลักทรัพย์ของผู้อื่น ฟ้องโจทก์จึงระบุข้อเท็จจริงรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งของพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีและต่อสู้คดีได้ หาจำต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองพยายามลักดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10616/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญา: ศาลอุทธรณ์ปรับลดโทษและวรรคของบทความผิด จำเลยฎีกาไม่ได้ในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 148, 157 ประกอบมาตรา 86, 83 และมาตรา 337 ประกอบมาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 148 ประกอบมาตรา 86, 83 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 10 ปี กับให้จำเลยใช้เงิน 70,000 บาทแก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 148 ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 337 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ให้จำคุก 5 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นการปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานสนับสนุนให้เจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืน หรือจูงใจให้บุคคลใดมอบให้ หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินแก่ตนเองหรือผู้อื่น และระบุวรรคในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 เป็นการแก้ไขเพียงแต่ปรับบทกำหนดโทษและปรับวรรคของบทความผิดให้ถูกต้อง โดยมิได้แก้ฐานความผิดแต่อย่างใด แม้จะแก้โทษด้วยก็ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10298-10299/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างวิธีการทำร้ายไม่กระทบสาระสำคัญคดีอาญา หากยังคงเป็นการใช้กำลังทำร้ายร่างกาย
แม้โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าจำเลยทำร้ายโจทก์ที่ 2 โดยการชกต่อย แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทำร้ายโจทก์ที่ 2 โดยการเตะ ก็มิใช่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ อันเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้อง เพราะเป็นเพียงข้อแตกต่างในวิธีการประทุษร้ายซึ่งสาระสำคัญอยู่ที่ว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายโจทก์ที่ 2 จริงหรือไม่ ข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ในชั้นพิจารณาจึงหาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9535/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญาหลังศาลตัดสินแล้ว: จำเลยต้องใช้สิทธิอุทธรณ์เท่านั้น การยื่นคำร้องใหม่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 แล้ว หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ใช้สิทธิดังกล่าว กลับมายื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ โดยเลี่ยงอ้างว่าเป็นการบังคับคดีให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้ หากศาลฟังตามที่จำเลยที่ 1 อ้างแล้ววินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9433/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: การบรรยายฟ้องรวมความผิดต่อผู้เสียหายหลายคนโดยมีเจตนาเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยมีเจตนาฆ่าและใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิงประทุษร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จำนวน 2 นัด กระสุนไม่ถูกผู้เสียหายที่ 1 แต่ถูกบริเวณสะโพกผู้เสียหายที่ 2 จำเลยลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล เนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหายที่ 1 โดยผู้เสียหายที่ 1 วิ่งหลบหนีได้ทัน ส่วนผู้เสียหายที่ 2 แพทย์ทำการรักษาพยาบาลได้ทันท่วงที ผู้เสียหายทั้งสองจึงไม่ถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลย แต่เป็นเหตุทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส อันเป็นการบรรยายฟ้องมีสาระสำคัญรวมกันมาโดยไม่ได้แยกข้อเท็จจริงของการกระทำที่เกี่ยวกับผู้เสียหายทั้งสองแต่ละคนออกจากกัน ในลักษณะที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่กระทำต่อผู้เสียหายทั้งสองโดยมีเจตนาเดียวกันและเป็นกรรมเดียวกัน แม้โจทก์จะระบุมาตรา 91 แห่ง ป.อ.ไว้ในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม แต่ก็มีความผิดข้อหาอื่นที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยมาในคำฟ้องเดียวกันนี้ด้วย และไม่อาจถือได้ว่าเป็นการขยายความพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์แตกต่างไปจากที่โจทก์บรรยายในฟ้องได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9366/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบ หากจำเลยฎีกาให้ยกฟ้องจำเลยอื่นร่วมด้วย การดำเนินคดีกับจำเลยหลบหนีไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาเพื่อขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 เสียด้วย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการฎีกาในปัญหาใดต่อศาลฎีกา เป็นปัญหาเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีข้อโต้แย้งและคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ถูกต้องและผิดต่อกฎหมายอย่างใด ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 3 และที่ 4 เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ชั่วคราว การดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากนั้นไม่ได้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ถือว่ายังไม่ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ในศาลชั้นต้น เมื่อไม่ได้มีการยกคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ขึ้นพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อจากนั้นจึงไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 คงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยอื่นที่ไม่ได้ถูกจำหน่ายคดี แม้หากคดีนี้จะฟังข้อเท็จจริงได้ดังที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 อ้าง ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่มีความผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ตาม ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย
ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 3 และที่ 4 เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ชั่วคราว การดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากนั้นไม่ได้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ถือว่ายังไม่ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ในศาลชั้นต้น เมื่อไม่ได้มีการยกคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ขึ้นพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อจากนั้นจึงไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 คงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยอื่นที่ไม่ได้ถูกจำหน่ายคดี แม้หากคดีนี้จะฟังข้อเท็จจริงได้ดังที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 อ้าง ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่มีความผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ตาม ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9325/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การฟ้องขอเปิดทางเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ และการชดใช้ค่าทดแทนที่เหมาะสม
การฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นโจทก์จะฟ้องได้ต่อเมื่อที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1349 แต่หากเป็นกรณีแบ่งแยกที่ดินแปลงเดียวกัน ทำให้ที่ดินที่แบ่งแยกนั้นแปลงใดไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะซึ่งหมายถึงทางสาธารณะที่มีอยู่ในขณะแบ่งแยกนั้นแล้ว ก็จะเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1350 เมื่อปรากฏว่า การแบ่งแยกที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1275 กระทำกันในปี 2531 ก่อนมีถนนพุทธมณฑลสาย 1 ในปี 2541 กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1350 มาบังคับได้
ทางจากที่ดินของโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะทั้ง 3 ทาง เป็นเส้นทางที่ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นและไม่ปรากฏว่าเป็นทางสาธารณะ อีกทั้งไม่ใช่ทางที่เป็นภารยทรัพย์ของที่ดินของโจทก์ ซึ่งเจ้าของอาจจะอนุญาตให้โจทก์ใช้ทางดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ และแม้เจ้าของที่ดินนั้นจะยินยอมให้โจทก์ผ่านที่ดินของตนได้ก็ไม่ใช่สิทธิตามกฎหมาย ประกอบกับมีระยะทางจากที่ดินของโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะไกลไม่สะดวก จึงฟังได้ว่า ที่ดินของโจทก์ถูกล้อมรอบด้วยที่ดินของผู้อื่นจนไม่อาจออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้ แต่การที่จะเปิดทางจำเป็นนั้น ต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของโจทก์โดยคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยที่ดินพิพาทให้เสียหายน้อยที่สุด
จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนเป็นเงิน 2,000,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชำระเป็นเงิน 420,000 บาทแล้ว จำเลยฎีกาขอให้ชดใช้เป็นเงินจำนวนตามที่ขอในฟ้องและชำระค่าขึ้นศาลเต็มจำนวนดังกล่าวมา อันเป็นการชำระค่าขึ้นศาลเกินมา จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ชำระเกินมาให้แก่จำเลย
??
??
??
??
1/1
ทางจากที่ดินของโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะทั้ง 3 ทาง เป็นเส้นทางที่ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นและไม่ปรากฏว่าเป็นทางสาธารณะ อีกทั้งไม่ใช่ทางที่เป็นภารยทรัพย์ของที่ดินของโจทก์ ซึ่งเจ้าของอาจจะอนุญาตให้โจทก์ใช้ทางดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ และแม้เจ้าของที่ดินนั้นจะยินยอมให้โจทก์ผ่านที่ดินของตนได้ก็ไม่ใช่สิทธิตามกฎหมาย ประกอบกับมีระยะทางจากที่ดินของโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะไกลไม่สะดวก จึงฟังได้ว่า ที่ดินของโจทก์ถูกล้อมรอบด้วยที่ดินของผู้อื่นจนไม่อาจออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้ แต่การที่จะเปิดทางจำเป็นนั้น ต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของโจทก์โดยคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยที่ดินพิพาทให้เสียหายน้อยที่สุด
จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนเป็นเงิน 2,000,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชำระเป็นเงิน 420,000 บาทแล้ว จำเลยฎีกาขอให้ชดใช้เป็นเงินจำนวนตามที่ขอในฟ้องและชำระค่าขึ้นศาลเต็มจำนวนดังกล่าวมา อันเป็นการชำระค่าขึ้นศาลเกินมา จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ชำระเกินมาให้แก่จำเลย
??
??
??
??
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9325/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การแบ่งแยกที่ดินก่อนมีถนนสาธารณะ และการพิสูจน์การถูกล้อมรอบด้วยที่ดินผู้อื่น
ทางจำเป็นจะขอได้ต่อเมื่อที่ดินมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1349 แต่หากเป็นกรณีแบ่งแยกที่ดินแปลงเดียวกันทำให้ที่ดินที่แบ่งแยกนั้นแปลงใดไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะซึ่งหมายถึงทางสาธารณะที่มีอยู่ในขณะแบ่งแยกนั้นแล้ว ก็จะเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1350 เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์และที่ดินพิพาทถูกแบ่งแยกออกจากที่ดินแปลงเดียวกันก่อนมีถนนพุทธมณฑลสาย 1 กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1350 มาบังคับได้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินของโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะ 3 ทาง แต่เป็นเส้นทางที่ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นและไม่ปรากฏว่าเป็นทางสาธารณะ อีกทั้งไม่ใช่ทางที่เป็นภารยทรัพย์ของที่ดินของโจทก์ ซึ่งเจ้าของที่ดินอาจจะอนุญาตให้โจทก์ใช้ทางหรือไม่ก็ได้ และแม้เจ้าของที่ดินนั้นจะยินยอมให้โจทก์ผ่านที่ดินของตนได้ก็ไม่ใช่สิทธิตามกฎหมาย ประกอบกับมีระยะทางจากที่ดินของโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะไกลไม่สะดวก จึงฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์ถูกล้อมรอบด้วยที่ดินของผู้อื่นจนไม่อาจออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้ แต่การที่จะเปิดทางจำเป็นนั้นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของโจทก์โดยคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยที่ดินพิพาทให้เสียหายน้อยที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวหลังศาลเปลี่ยนข้อกล่าวหา
แม้ความผิดที่โจทก์ฟ้องคือความผิดฐานปลอมเอกสารและลักทรัพย์จะเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน แต่เมื่อศาลพิจารณาแล้วได้ความว่าข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นความผิดฐานยักยอกและศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดฐานยักยอกอันเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์ร่วมย่อมถอนคำร้องทุกข์ในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)