คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ ตันติภิรมย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8053/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษคดีอาญา: ซ่องโจร vs ลักทรัพย์ - การพิจารณาโทษกรรมเดียวและข้อจำกัดในการฎีกา
คดีศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 210, 335 (6) (7) วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานร่วมกันสมคบกันกระทำอันเป็นซ่องโจร จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันลักทรัพย์ จำคุกจำคุก 4 ปี รวมจำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันลักทรัพย์อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เมื่อหักโทษความผิดฐานเป็นซ่องโจรออกจากโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนด คงจำคุก 4 ปี เป็นกรณีศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8053/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดหลายบท: ลักทรัพย์และสมคบกันเป็นซ่องโจร ศาลอุทธรณ์ลดโทษเหลือโทษหนักสุด
ศาลชั้นต้นลงโทษฐานร่วมกันสมคบกันกระทำอันเป็นซ่องโจร จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันลักทรัพย์ จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับฐานร่วมกันลักทรัพย์เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันลักทรัพย์อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ซึ่งเมื่อหักโทษความผิดฐานเป็นซ่องโจรออกจากโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดคงจำคุก 4 ปี เป็นกรณีศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้าม: คดีประเด็นเดียวกันกับคดีที่ศาลแพ่งธนบุรีตัดสินแล้ว
ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับคดีที่จำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 6 ในคดีของศาลแพ่งธนบุรีมีประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ค้ำประกันและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้จริงหรือไม่ เมื่อศาลแพ่งธนบุรีได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยแล้ว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนคดีของศาลแพ่งธนบุรีแต่เมื่อศาลแพ่งธนบุรีได้พิพากษาชี้ขาดคดีแล้ว กรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 กรณีประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีที่ศาลอื่นชี้ขาดแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทและให้จดทะเบียนไถ่ถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาท พร้อมกับส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินคืนโจทก์ต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 6 ต่อศาลแพ่งธนบุรี ในฐานะผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่จำเลย ซึ่งศาลแพ่งธนบุรีได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่าจำเลยที่ 6 ทำสัญญาค้ำประกันและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. และพิพากษาให้จำเลยที่ 6 ร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 6 ในคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยประเด็นเดียวกันมาว่า โจทก์ได้ค้ำประกันและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้จริงหรือไม่ เมื่อศาลแพ่งธนบุรีได้มีคำพิพากษาโดยวินิจฉัยให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยแล้วฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนคดีของศาลแพ่งธนบุรีก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7705/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมทำให้เสียสิทธิแก้คดี ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย โดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้โจทก์ร่วมทั้งสองแก้อุทธรณ์แต่ประการใด ซึ่งบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 200 บัญญัติว่า "ให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์" เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ ดังนั้น พนักงานอัยการและผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จึงต่างมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้เฉพาะแก่พนักงานอัยการโจทก์ โดยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสองแก้ ย่อมเป็นการทำให้โจทก์ร่วมทั้งสองเสียสิทธิในการทำคำแก้อุทธรณ์ตามกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. อันว่าด้วยอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่า/บริวาร ค่าเช่าไม่เกิน 4,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าและบริวารออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาเช่าที่ดินพิพาทซึ่งมีค่าเช่าปีละ 30,000 บาท หรือเดือนละ 2,500 บาท อันเป็นการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท คู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ในชั้นบังคับคดีอันเป็นสาขาของคดีเดิมจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาคดี: คำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิเป็นคู่ความต้องห้ามฎีกา
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 นั้น เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 จำเลยที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิฎีกา คงมีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้วเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเฉพาะส่วนของเจ้าของรวม: การบังคับขายทอดตลาดต้องจำกัดเฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้น
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินเฉพาะส่วนและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า จำเลยจำนองทรัพย์เฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของจำเลยเท่านั้นเป็นประกันการชำระหนี้ แต่ตัวทรัพย์ทั้งหมดนั้นจำเลยจะก่อภาระติดพันได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง เมื่อเจ้าของรวมคนอื่นไม่ได้ยินยอมให้จำเลยทำนิติกรมจำนองด้วย การจำนองจึงไม่ผูกพันตัวทรัพย์ทั้งหมด การที่จำเลยเจ้าของรวมคนหนึ่งจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของตนต่อโจทก์จึงเป็นการจำนองเฉพาะส่วนแห่งสิทธิของตนเท่านั้นตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ศาลพิพากษาให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองที่ดินรวมเฉพาะส่วนสิทธิ การบังคับชำระหนี้จำกัดเฉพาะส่วนของจำเลย
ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเฉพาะส่วนและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า จำเลยจำนองทรัพย์ดังกล่าวเฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของจำเลยเท่านั้นเป็นประกันการชำระหนี้ แต่ตัวทรัพย์ทั้งหมดนั้นจำเลยจะก่อภาระติดพันได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าของรวมคนอื่นยินยอมให้จำเลยทำนิติกรรมจำนอง การจำนองดังกล่าวจึงไม่ผูกพันตัวทรัพย์ทั้งหมด การที่จำเลยเจ้าของรวมคนหนึ่งจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของตนต่อโจทก์จึงเป็นการจำนองเฉพาะส่วนแห่งสิทธิของตนเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่กระทบถึงส่วนแห่งสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5146/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดีลักทรัพย์: รถกระบะไม่ใช่เครื่องมือโดยตรงในการกระทำความผิด
จำเลยกับพวกใช้รถยนต์กระบะขับตระเวนลักทรัพย์และบรรทุกทรัพย์สินไปขายแก่ผู้รับซื้อของเก่า เป็นเพียงการใช้รถยนต์กระบะเป็นยานพาหนะเดินทางไปยังสถานที่ที่จะลักทรัพย์เท่านั้น ทั้งจำเลยกับพวกลักทรัพย์สำเร็จแล้วจึงนำทรัพย์ของผู้เสียหายที่ลักมาบรรทุกรถยนต์กระบะเพื่อนำไปขายแก่ผู้รับซื้อของเก่า ซึ่งตามปกติรถยนต์กระบะโดยสภาพมีไว้เพื่อบรรทุกคนหรือสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังที่อื่นอันเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไป รถยนต์กระบะจึงไม่ใช่เครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ที่ใช้กระทำความผิดโดยตรงริบไม่ได้
of 15