พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์และการมีอำนาจฟ้องคดีธนาคารพาณิชย์
การกระทำที่จะครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์นั้น จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต เงินฝากในบัญชีของโจทก์ที่ 1 ที่ฝากไว้กับจำเลยทั้งสองตกเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากประการใดก็ได้ คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินตามที่โจทก์ทั้งสองฝากไว้เท่านั้น โดยไม่จำต้องคืนเงินจำนวนเดียวกับที่ฝากไว้ การที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
ข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม... เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองเป็นเอกชน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรม... เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ กับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม อันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองเป็นเอกชน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีสิทธิบริหารจัดการเงินฝากลูกค้าได้ แต่ต้องคืนเงินตามจำนวนที่รับฝาก การเบิกถอนเงินไม่ใช่ความผิดฐานลักทรัพย์
การกระทำที่จะครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตแต่กรณีตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ ปรากฏว่าเงินจำนวนที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนไปนั้นเป็นเงินที่อยู่ในบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 ที่ฝากไว้กับจำเลยทั้งสองเงินจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับฝากย่อมมีสิทธิที่จะบริหารจัดการเงินฝากจำนวนดังกล่าวนั้นประการใดก็ได้ จำเลยทั้งสองคงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินฝากตามจำนวนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองไม่จำต้องส่งคืนเป็นเงินจำนวนอันเดียวกับที่ฝากไว้ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองเบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองไป การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดไว้ว่า "กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินหรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ..." เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศกับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมอันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดไว้ว่า "กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศหรือแก่ประโยชน์ของประชาชนหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เป็นธรรมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือต่อการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินหรือเป็นการผูกขาดหรือจำกัดตัดตอนทางเศรษฐกิจ..." เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจและการเงินของประเทศกับเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมอันเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ฯ มาตรา 12 (9) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยืนยันการถวายที่ดินมีผลเป็นหนังสือแสดงเจตนาให้ที่ดินแก่โจทก์ แม้ไม่เป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
แม้ในตอนบนของเอกสารจะมีข้อความว่า "หนังสือพินัยกรรม" แต่ไม่มีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรอง จึงไม่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย และหนังสือดังกล่าวมีข้อความว่า ข้าพเจ้า ล. หรือ ช. ได้ถวายที่ดินจำนวนประมาณ 15 ไร่ ให้วัดวังก์พงในปีที่วัดวังก์พงได้วางศิลาฤกษ์สร้างพระอุโบสถนั้น... เนื่องจากทราบว่าเอกสาร น.ส.3 ที่ได้ถวายได้สูญหายไปจากวัดวังก์พงเมื่อปี 2525 และยังติดตามไม่พบและในเอกสารยังมีชื่อของข้าพเจ้าอยู่ ข้าพเจ้าจึงขอทำหนังสือฉบับนี้ยืนยันการถวายที่ดินแปลงดังกล่าวและหากข้าพเจ้าถึงแก่กรรมขอให้ถือหนังสือฉบับนี้เป็นพินัยกรรมยืนยันการถวายมอบกรรมสิทธิ์ให้แก่วัดวังก์พงต่อไป ตามข้อความในเอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนังสือยืนยันการยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งในปัจจุบันขณะทำหนังสือดังกล่าวจนถึงว่าหากถึงแก่กรรมก็ยังยืนยันยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนังสือแสดงเจตนาของ ล. ที่ยืนยันว่ามีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์มาตั้งแต่แรกจนถึงขณะทำหนังสือดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ล. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้วที่ดินพิพาทจึงเป็นธรณีสงฆ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติดเข้าข่ายความผิดฐานผลิตหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยต้องมีลักษณะเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม
คำว่า "ผลิต" ที่ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 บัญญัติ ให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุด้วยนั้น ต้องหมายถึงการกระทำอันมีลักษณะที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม ในทำนองเดียวกับการ เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนจำนวนเพียง 80 เม็ด ใส่หลอดกาแฟ ซึ่งเป็นเพียงวัตถุห่อหุ้มโดยไม่มีการกระทำใด ๆ แก่สภาพของเมทแอมเฟตามีนนั้นและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยทั้งสองแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการ เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียน การครอบครองปรปักษ์ต้องสงบ เปิดเผย และมีเจตนาเป็นเจ้าของ
การซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 แต่หากผู้ซื้อได้ครอบครองที่ดินที่ซื้อขายกันโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทและครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านซึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดและอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต: พยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยกับของกลาง
เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณมากบรรจุเป็นมัดเก็บซ่อนในกล่องทึบอยู่ในสถานที่มิดชิดซ่อนเร้นยากที่จะตรวจค้นพบได้โดยง่าย แม้ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางบางส่วนจะแยกซุกซ่อนอยู่ที่กองขยะริมรั้วหลังบ้านด้านนอก และบางส่วนซุกซ่อนอยู่กับลูกระเบิดที่ข้างเล้าไก่จากบ้านเกิดเหตุถึงประมาณ 10 เมตร และ 7 ถึง 8 เมตร ตามลำดับ แต่รอบสวนด้านหลังบ้านเกิดเหตุมีรั้วอีกชั้นหนึ่ง แสดงว่าสถานที่ซุกซ่อนของกลางมีรั้วล้อมรอบยากที่บุคคลภายนอกจะเข้ามารู้เห็นหรือเข้ามาซุกซ่อนของกลางเหล่านั้นไว้ได้ เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลาง จำเลยแจ้งว่าเป็นของนาย น. สามีจำเลย ซึ่งหากจำเลยไม่ทราบแน่ชัดอยู่ก่อนแล้ว ก็ไม่น่าที่จะระบุเช่นนั้น เพราะคงไม่มีใครที่จะกล่าวหาซัดทอดสามีของตนเป็นคนร้ายกระทำความผิดร้ายแรงมีโทษสถานหนักเช่นคดีนี้ได้ หากไม่เป็นความจริง ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยไม่รู้เห็นมีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกระทำความผิดกับนาย น. ด้วย จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้
เมื่อผลการตรวจพิสูจน์ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ระบุว่า ลูกระเบิดของกลางเป็นลูกระเบิดขว้างสังหารอันเป็นเครื่องกระสุนปืน และเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ แต่อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากชนวนเสื่อมสภาพ อันแสดงว่าสิ่งที่ใช้ประกอบต่างๆ ของลูกระเบิดยังมีอยู่ครบถ้วน ดังนั้น ลูกระเบิดของกลางจึงเป็นเครื่องกระสุนปืนและเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เมื่อผลการตรวจพิสูจน์ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ระบุว่า ลูกระเบิดของกลางเป็นลูกระเบิดขว้างสังหารอันเป็นเครื่องกระสุนปืน และเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ แต่อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากชนวนเสื่อมสภาพ อันแสดงว่าสิ่งที่ใช้ประกอบต่างๆ ของลูกระเบิดยังมีอยู่ครบถ้วน ดังนั้น ลูกระเบิดของกลางจึงเป็นเครื่องกระสุนปืนและเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย และผลผูกพันของสัญญาประนีประนอมยอมความในการแบ่งทรัพย์มรดก
การสละมรดกมี ป.พ.พ. มาตรา 1612 บัญญัติให้กระทำได้ 2 แบบคือ แสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ คำว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 หมายถึง ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอหรือหัวหน้ากิ่งอำเภอและหมายรวมถึงบุคคลที่กระทำหน้าที่แทนด้วย ดังนั้น การที่บุตรทั้งเจ็ดของเจ้ามรดกไปให้ถ้อยคำและทำบันทึกหลักฐานเป็นหนังสือระบุชัดแจ้งว่าไม่ขอรับโอนมรดกที่ดินไว้ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำสำนักงานที่ดินอำเภอสวี ในฐานะเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอ ซึ่งนายอำเภอมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 (10) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นที่จะมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการที่ประจำอยู่ในอำเภอปฏิบัติราชการแทนได้ จึงเป็นการแสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว แต่การที่บุตรทั้งเจ็ดระบุว่า ไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว ไม่ใช่การสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 เพราะเป็นการสละมรดกโดยมีเงื่อนไข ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1613 อย่างไรก็ตามบันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลใช้บังคับผูกพันบุตรทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 และ 1750
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4657/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากการชำระหนี้ซ้ำซ้อน คดีนี้จำเลยต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์
โจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์แก่จำเลยที่ 1 ตามเช็คและรายการชำระเงินจำนวน 3,320,150 บาท อันเป็นการชำระหนี้ซ้ำซ้อน จำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวนนี้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ และเนื่องจากทรัพย์ที่ต้องคืนเป็นเงิน จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 คืนเงินดังกล่าวก่อนฟ้องคดี จึงให้คิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระแล้วเสร็จ
โจทก์โดยกรรมการโจทก์เพิ่งรู้ว่า โจทก์ได้ชำระราคารถจักรยานยนต์ที่เข้าใจกันว่า ค้างชำระอยู่ให้แก่จำเลยที่ 1 จนครบถ้วนไปก่อนแล้ว อันเป็นผลให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระให้จำเลยทั้งสองตามฟ้องคดีนี้คือในฐานลาภมิควรได้ เมื่อเดือนตุลาคม 2543 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์โดยกรรมการโจทก์รู้สิทธิเรียกคืนนั้น จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
โจทก์โดยกรรมการโจทก์เพิ่งรู้ว่า โจทก์ได้ชำระราคารถจักรยานยนต์ที่เข้าใจกันว่า ค้างชำระอยู่ให้แก่จำเลยที่ 1 จนครบถ้วนไปก่อนแล้ว อันเป็นผลให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระให้จำเลยทั้งสองตามฟ้องคดีนี้คือในฐานลาภมิควรได้ เมื่อเดือนตุลาคม 2543 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์โดยกรรมการโจทก์รู้สิทธิเรียกคืนนั้น จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4657/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ซ้ำซ้อนจากสัญญาเช่าซื้อ การเรียกร้องเงินคืนในฐานลาภมิควรได้
คำพิพากษาคดีแพ่งของศาลจังหวัดอุบลราชธานี (เดชอุดม) ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 และ พ. เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองในคดีดังกล่าวรับผิดชำระเงินตามเช็คที่โจทก์โดย พ. กรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ส่วนที่ค้างชำระ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองคืนเงินค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ได้ชำระไปก่อนแล้วในฐานะลาภมิควรได้ อันเป็นหนี้คนละจำนวนกัน ซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวข้างต้นยังมิได้มีการวินิจฉัยชี้ขาด การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้จึงไม่เกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาความผิด พ.ร.บ.ค้าประเวณี และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.282 องค์ประกอบความผิดครอบคลุมกัน
ความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ที่พนักงานสอบสวนแจ้งเป็นข้อหาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในชั้นสอบสวนมีองค์ประกอบครอบคลุมความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรกอยู่แล้ว ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาดังกล่าวจึงถือได้ว่า พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรกด้วยแล้ว จึงมีการสอบสวนความผิดฐานนี้โดยชอบเป็นผลให้พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในความผิดดังกล่าวในคดีนี้ได้