คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พินิจ บุญชัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศกรณีสินค้าสูญหายจากการทุจริตของลูกจ้าง
พฤติการณ์แห่งคดีมีน้ำหนักน่าเชื่อว่า สินค้าสูญหายไปเพราะจำเลยทั้งสองปล่อยให้ลูกจ้าง ตัวแทนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทุจริตลักขโมยสินค้าไป ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะมีข้อตกลงยกเว้นและจำกัดความรับผิดในความสูญหายของสินค้าจากการขนส่งทางอากาศ ก็ไม่อาจนำข้อตกลงยกเว้นและจำกัดความรับผิดในการขนส่งทางอากาศดังกล่าวมาใช้บังคับได้ มิฉะนั้นจะเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 373 ที่ว่า "ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนนั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ" สำหรับจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้น เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยไป ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าที่ส่งสินค้าผิดพลาด และข้อจำกัดความรับผิดที่ใช้ไม่ได้ตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งสินค้าที่พิพาทแต่ไม่นำสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งตามสัญญา เนื่องจากลูกจ้างของจำเลยทั้งสองที่ปลายทาง นำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้รับตราส่งและไม่ตรงตามสถานที่ที่ระบุไว้ในใบรับขนทางอากาศ ทำให้ไม่สามารถนำสินค้าที่พิพาทกลับคืนมา ถือว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของลูกจ้างจำเลยทั้งสอง แม้จะมีเงื่อนไขจำกัดความรับผิดในความสูญหายของสินค้าไว้ที่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศก็ไม่อาจนำเงื่อนไขจำกัดความรับผิดในการขนส่งทางอากาศมาใช้บังคับแก่กรณีดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดเต็มมูลค่าราคาสินค้าโดยไม่อาจอ้างข้อจำกัดความรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้ากรณีสินค้าสูญหายจากการส่งมอบผิดพลาด การจำกัดความรับผิดไม่อาจใช้ได้หากเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
คดีนี้จำเลยทั้งสองไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำการตามข้ออ้างของโจทก์แต่อย่างใด เพียงแต่ให้การว่าจำเลยทั้งสองจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับขนทางอากาศไม่เกิน 500 ดอลลาร์สหรัฐ กรณีจึงถือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์ว่าผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าพิพาทเนื่องจากลูกจ้างของจำเลยทั้งสองที่ปลายทางนำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้อื่นที่มิใช่ผู้รับตราส่ง และไม่ตรงตามสถานที่ส่งมอบที่ระบุไว้ในใบรับขนทางอากาศ ที่จำเลยทั้งสองนำสืบต่อสู้ว่าผู้ส่งระบุที่อยู่ของผู้รับตราส่งผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสินค้าไปส่งผิดสถานที่ ก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การนอกประเด็น แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง เมื่อคดีรับฟังได้ดังกล่าวถือได้ว่าผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าพิพาท อันเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสองและลูกจ้างซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 บัญญัติว่า "ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนนั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ" ดังนั้น แม้จำเลยจะมีเงื่อนไขจำกัดความผิดในความสูญหายของสินค้าไว้ที่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศก็ไม่อาจนำเงื่อนไขความรับผิดในการขนส่งทางอากาศดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การกระทำละเมิดต่อผู้ส่งสินค้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ กรณีส่งสินค้าผิดที่จนเกิดความเสียหาย แม้มีข้อจำกัดความรับผิด
จำเลยประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ การดำเนินการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับโดยถูกต้องเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยโดยตรง จำเลยสามารถควบคุม สั่งการและป้องกันมิให้เกิดการผิดพลาดขึ้นได้ การที่พนักงานของจำเลยนำสินค้าไปส่งที่เลขที่ 15403 เชอร์แมนเวย์ ห้อง 102 แทนที่จะไปส่งที่ห้อง 120 อาคารเดียวกัน อันเป็นที่อยู่ของผู้รับที่ระบุในใบรับขนทางอากาศ เมื่อบริษัท ค. ผู้ซื้อยังไม่ได้รับสินค้า จำเลยจึงต้องรับผิดชอบต่อบริษัท อ. ผู้ส่งตามสัญญารับขนของ ทั้งตามพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นกรณีพนักงานของจำเลยได้กระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลผู้ประกอบอาชีพเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และพนักงานของจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ ถือได้ว่า จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เกิดความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญารับขนของ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ถูกขโมยไปเต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขน กรณีสัญญารับขนมีอายุความเฉพาะ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการรับขนจัดส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศแก่บุคคลทั่วไปเพื่อบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติ จำเลยได้ขนสินค้าผ่านทางจำเลยร่วมที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ และตามเงื่อนไขจำเลยมีหน้าที่และรับผิดชอบมอบสินค้ายังสถานที่ปลายทาง แต่ปรากฏว่าสินค้าได้สูญหายไปทั้งหมด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับสินค้า ถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตนดังกล่าว และให้จำเลยรับผิดในการที่ของสูญหาย จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับขน ต้องนำอายุความลักษณะรับขนตามมาตรา 624 มาใช้บังคับ มิใช่นำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า การเลียนแบบบรรจุภัณฑ์และการสร้างความสับสนแก่ผู้บริโภค
งานที่จะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานศิลปกรรม แม้กฎหมายจะไม่ได้มุ่งประสงค์ให้งานนั้นต้องมีคุณค่าทางศิลปะ แต่ก็ต้องเป็นงานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง (Originality) ในลักษณะที่ควรจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หาใช่เป็นเพียงงาน (Work) ซึ่งทำขึ้นโดยทั่วไปเท่านั้น
ภาพกราฟฟิครูปประกายดาว (Starburst) ของโจทก์ทั้งสอง แม้นาย ม. จะเป็นผู้สร้างขึ้นด้วยตนเอง โดยอ้างว่าสร้างสรรค์จากมโนภาพการระเบิดของดาวหางพุ่งชนกับวัตถุที่โคจรอยู่ในระบบบจักรวาลแต่พยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองนำสืบ จะเห็นได้ว่าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดต่างก็ใช้รูปประกายดาวเป็นภาพประกอบเช่นกันซึ่งน่าจะเป็นการสื่อให้เห็นถึงคุณสมบัติในการทำความสะอาดของสินค้านั่นเอง แนวคิดหรือมโนภาพที่นาย ม. กล่าวอ้างจึงเป็นแนวคิดที่ใช้กันอยู่สำหรับสินค้าประเภทนี้นอกจากนี้ภาพกราฟฟิครูปประกายดาวของโจทก์ทั้งสอง แม้จะมีความแตกต่างจากรูปประกายดาวตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบมา แต่ความแตกต่างดังกล่าวยังเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยและไม่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดที่จะเป็นงานสร้างสรรค์อันควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ส่วนภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์แม้จะเป็นรูปทรงกลมอันเป็นรูปทางเรขาคณิตทั่วไปและภาพวาดรูปมือมีลักษณะของการจัดวางมือสองข้างที่จับอยู่บนเสื้อ ก็เป็นงานสร้างสรรค์รูปทางที่ประกอบด้วยเส้นและสี โดยไม่ปรากฏว่าได้ลอดเลียนหรือดัดแปลงมาจากงานที่มีอยู่เดิม จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นงานสร้างสรรค์ที่สร้างขึ้นด้วยตนเองงานดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม อันได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์แล้ว แม้ต่อมามีการนำงานนี้ไปใช้ในทางการค้า ก็ไม่เป็นเหตุให้งานดังกล่าวขาดคุณสมบัติที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ส่วนข้อความที่ว่า สูตรมาตรฐาน สำหรับซักมือ เป็นเพียงคำสามัญทั่วไปที่ระบุถึงคุณสมบัติของสินค้าผลซักฟอก ทั้งลักษณะที่ใช้ก็มุ่งเน้นสื่อให้เห็นถึงคุณสมบัติของสินค้ามากกว่าที่จะสร้างคำบรรยายดังกล่าวในแง่งานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมในตัวเอง จึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 4 บัญญัติเกี่ยวกับงานศิลปประยุกต์ไว้ โดยวัตถุประสงค์ของการให้ความคุ้มครองงานศิลปประยุกต์ คือการนำงานศิลปกรรมลักษณะต่าง ๆ มาใช้ในลักษณะที่เกิดประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าว เมื่อรับฟังได้ว่า ภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์กับภาพวาดรูปมือเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม และเมื่อภาพดังกล่าวถูกนำไปใช้ประกอบกันบนซองบรรจุภัณฑ์เพื่อประกอบเครื่องหมายการค้า อันเป็นการนำเอางานศิลปกรรมไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า การออกแบบซองบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นงานศิลปประยุกต์
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า สินค้าของโจทก์ทั้งสองอยู่ในกลุ่มที่มีคุณภาพและราคาสูง ส่วนของจำเลยทั้งสองอยู่ในกลุ่มที่มีคุณภาพและราคาต่ำกว่า กลุ่มผู้บริโภคจึงแตกต่างกัน และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 กับของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันทั้งในรูปลักษณะและเสียงเรียกขานอย่างชัดเจนแล้ว โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าอันจะเป็นการลวงขายสินค้าจึงเป็นไปได้น้อย คดีจึงไม่อาจรับฟังว่า จำเลยทั้งสองเจตนาเอารูป รอยประดิษฐ์ลวดลายและข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของโจทก์ที่ 2 มาใช้ หรือทำให้ปรากฏในสินค้าบรรจุภัณฑ์ของจำเลยทั้งสองเพื่อเป็นการลวงขายสินค้าว่าสินค้าของจำเลยทั้งสองเป็นสินค้าของโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า: การละเมิดและการเลียนแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าซักผ้า
งานที่จะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานศิลปกรรมแม้กฎหมายจะไม่ได้มุ่งประสงค์ให้งานนั้นต้องมีคุณค่าทางศิลปะ แต่ก็ต้องเป็นงานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง (Originality) ในลักษณะที่ควรจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย มิใช่เป็นเพียงงาน (Work) ซึ่งทำขึ้นโดยทั่วไปเท่านั้น
ภาพกราฟฟิครูปประกายดาว (STARBURST) ของโจทก์ทั้งสอง แม้จะมีความแตกต่างจากรูปประกายดาวของจำเลย แต่ความแตกต่างดังกล่าวยังเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยและไม่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดที่จะเป็นงานสร้างสรรค์ (Original) อันควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 2 ได้ว่าจ้างให้บริษัท ด. เป็นผู้ออกแบบงาน โดยมี อ. เป็นผู้ดำเนินการ มีการปรับเปลี่ยนร่างหลายครั้งใช้เวลากว่า 5 เดือน จึงเป็นการสร้างงานดังกล่าวขึ้นด้วยตนเอง ภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์ที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นโมเลกุลและแสดงออกถึงพลังและอานุภาพของเม็ดผงซักฟอกสีฟ้า แม้ภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์จะเป็นรูปทรงกลมอันเป็นรูปทรงเรขาคณิตทั่วไป แต่ก็เป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้นและสี โดยไม่ได้ลอกเลียนหรือดัดแปลงมาจากงานที่มีอยู่เดิมจึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นงานสร้างสรรค์ (Original) ที่สร้างขึ้นด้วยตนเอง จึงมีลักษณะเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม อันได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
อ. เป็นผู้สร้างงานขึ้น โดยภาพวาดรูปมือในงานนั้นมีลักษณะของการจัดวางมือทั้งสองข้างที่จับอยู่บนเสื้อ ซึ่งเป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้นและสี เมื่อไม่เป็นการลอกเลียนหรือดัดแปลงมาจากงานที่มีอยู่เดิม ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเป็นงานสร้างสรรค์ (Original) ที่สร้างขึ้นด้วยตนเอง จึงมีลักษณะเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม อันได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แม้ต่อมาจะมีการนำงานนี้ไปใช้ในทางการค้าก็ไม่เป็นเหตุขาดคุณสมบัติที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข้อความที่ว่า "สูตรมาตรฐาน สำหรับซักมือ" เป็นเพียงคำสามัญทั่วไปที่ระบุถึงคุณสมบัติของสินค้ามากกว่าที่จะสร้างคำบรรยายดังกล่าวในแง่ของงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมในตัวเอง จึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แม้ อ. นำมาใช้ประกอบกับภาพวาดรูปมือและประสงค์จะใช้เป็นงานชิ้นเดียวกัน แต่ก็เห็นได้ว่า ในการสร้างงานขึ้นมานี้ ภาพวาดกับคำบรรยายดังกล่าวสามารถแยกส่วนออกจากกันได้อย่างชัดเจน ในส่วนของคำบรรยายจึงไม่ได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมทั้งภาพ
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 บัญญัติว่า "งานศิลปประยุกต์ ได้แก่ งานที่นำเอางานตาม (1) ถึง (6) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าวนั้น เช่น นำไปใช้สอย นำไปตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า" วัตถุประสงค์ของการให้ความคุ้มครองงานศิลปประยุกต์จึงหมายถึงการนำงานศิลปกรรมลักษณะงานต่าง ๆ มาใช้ในลักษณะที่เกิดประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าว เมื่อภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์กับภาพวาดรูปมือเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม และถูกนำไปใช้ประกอบกันบนซองบรรจุภัณฑ์ เพื่อประกอบเครื่องหมายการค้า ภาพและข้อความอื่น ๆ อันเป็นการนำเอางานศิลปกรรมไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า การออกแบบซองบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นงานศิลปประยุกต์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมและงานศิลปประยุกต์: พิจารณาความสร้างสรรค์และประโยชน์ใช้สอย
งานที่จะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานศิลปกรรมนั้น แม้กฎหมายจะไม่ได้มุ่งประสงค์ให้งานนั้นต้องมีคุณค่าทางศิลปะ แต่ก็ต้องเป็นงานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง (Originality) ในลักษณะที่ควรจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หาใช่เป็นเพียงงาน (Work) ซึ่งทำขึ้นโดยทั่วไปเท่านั้น สำหรับภาพกราฟฟิครูปประกายดาว (STARBURST) แม้จะเป็นงานที่สร้างสรรค์ด้วยตนเองแต่ก็มีความแตกต่างจากรูปประกายดาวที่ปรากฏอยู่ทั่วไปสำหรับสินค้าอื่นๆ เพียงส่วนเล็กน้อยและไม่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดที่จะเป็นงานสร้างสรรค์ (Original) อันควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ส่วนภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์ แม้จะเป็นรูปทรงกลมอันเป็นรูปทรงเรขาคณิตทั่วไป แต่ก็เป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้นและสี โดยไม่ปรากฏว่าได้ลอกเลียนหรือดัดแปลงมาจากงานที่มีอยู่เดิม จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นงานสร้างสรรค์ (Original) ที่สร้างขึ้นด้วยตนเอง จึงเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แม้ต่อมาจะมีการนำงานนี้ไปใช้ในทางการค้าก็ไม่เป็นเหตุให้งานดังกล่าวขาดคุณสมบัติที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
สำหรับข้อความที่ว่า "สูตรมาตรฐาน สำหรับซักมือ" เป็นเพียงคำสามัญทั่วไปที่ระบุถึงคุณสมบัติของสินค้าผงซักฟอก ทั้งลักษณะที่ใช้ก็มุ่งเน้นที่จะสื่อให้เห็นถึงคุณสมบัติของสินค้ามากกว่าที่จะสร้างคำบรรยายดังกล่าวในแง่ของงานศิลปกรรมในลักษณะงานจิตรกรรมในตัวเอง จึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ตามนิยามศัพท์คำว่า "งานศิลปประยุกต์" ใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 วัตถุประสงค์ของการให้คุ้มครองงานศิลปประยุกต์ที่หมายถึงการนำงานศิลปกรรมลักษณะงานต่างๆ มาใช้ในลักษณะที่เกิดประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าว เมื่อภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์กับภาพวาดรูปมือเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมและถูกนำไปใช้ประกอบกันบนซองบรรจุภัณฑ์เพื่อประกอบเครื่องหมายการค้า ภาพ และข้อความอื่นๆ อันเป็นการนำเอางานศิลปกรรมไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า การออกแบบซองบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นงานศิลปประยุกต์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5037/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้เครื่องหมายการค้าผู้อื่นกับสินค้าต่างจำพวก และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275
สินค้าบางส่วนในคดีที่เอาชื่อ รูปรอยประดิษฐ์ และข้อความในการประกอบการค้าของผู้เสียหายมาใช้เป็นสินค้าเสื้อยืดคอกลมแขนสั้นและกางเกงซึ่งอยู่ในสินค้าจำพวก 25 คนละจำพวกกับสินค้า ปากกา ดินสอ ที่อยู่ในสินค้าจำพวก 16 ซึ่งผู้เสียหายจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วในราชอาณาจักร และผู้เสียหายประกอบอาชีพขายสินค้านี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 272 (1) คนละฐานกับความผิดฐานจำหน่ายและเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108, 109

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสูญหายของสินค้าจากการขนส่งทางทะเล ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเหตุสุดวิสัยมิได้เกิดขึ้นจริง ผู้ขนส่งต้องรับผิด
พายุที่เกิดขึ้นเป็นประจำในทะเลจีนใต้และมิใช่พายุที่มีความรุนแรงมิอาจคาดหมาย ทั้งก่อนออกเรือนายเรือก็ทราบข่าวพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรง นายเรือยังอาจหลีกเลี่ยงไม่ไปเผชิญกับพายุโดยหยุดเรือรอจนกว่าคลื่นลมสงบก่อนก็ได้ จึงไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือภยันตรายหรืออุบัติเหตแห่งท้องทะเลหรือน่านน้ำที่ใช้เดินเรือ เมื่อเหตุแห่งการสูญหายของสินค้าได้เกิดขึ้นระหว่างที่ของอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง และจำเลยร่วมที่ 2 ผู้ขนส่งอื่นโดยที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมที่ 2 ไม่อาจอ้างข้อยกเว้นความรับผิดได้ จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง จำเลยร่วมที่ 2 ผู้ขนส่งอื่น และจำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 2 กับจำเลยร่วมที่ 2 ตามลำดับ จึงต้องรับผิดเพื่อการสูญหายนั้น ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534
โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิตามสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งโจทก์รับช่วงสิทธิมาโดยไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันให้ใช้ HAGUE RULES ในใบตราส่งที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้อง จึงเท่ากับว่าโจทก์ไม่เคยกล่าวอ้างว่า ในสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างผู้ส่งกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง มีข้อตกลงกันให้ใช้ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม HAGUE RULES ซึ่งกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้าเกินกว่า 10,000 บาท ต่อ 1 หน่วยการขนส่ง หรือเกินกว่า 30 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม อันเป็นข้อจำกัดความรับผิดโดยผลของมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้กับการขนส่งครั้งพิพาทด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีดทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2535 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
of 20