คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พินิจ บุญชัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าของสินค้าที่ถูกยึดหน่วงและขายทอดตลาดตามสัญญารับขนของทางทะเล
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้ามีหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายที่จะต้องส่งสินค้าให้แก่บริษัท ค. ผู้ซื้อที่เมืองดีทรอยท์ประเทศสหรัฐอเมริกา และโจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองให้ขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ แต่จำเลยทั้งสองไม่นำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญา กลับยึดหน่วงสินค้าไว้แล้วนำไปขายเสีย ดังนี้ โจทก์ในฐานะผู้ส่งของซึ่งเป็นคู่สัญญาตามสัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ขนส่งย่อมมีสิทธิฟ้องร้องให้ผู้ขนส่งรับผิดต่อโจทก์ได้ตามสัญญารับขนของทางทะเล เมื่อโจทก์จัดส่งสินค้าพิพาทลงเรือแล้ว โจทก์ได้นำใบตราส่งไปส่งมอบให้ธนาคารเพื่อขอรับเงินค่าสินค้าที่ผู้สั่งซื้อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับทางธนาคารดังกล่าว แต่เมื่อผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าตามที่สั่งซื้อจึงอายัดเงินค่าสินค้า โจทก์จึงยังไม่ได้รับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร และธนาคารได้คืนใบตราส่งให้แก่โจทก์ โจทก์ยังเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทดังกล่าวทั้งเมื่อบริษัท ค. ผู้ซื้อสินค้าพิพาทจากโจทก์ไม่ได้รับสินค้า บริษัทดังกล่าวก็ไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระให้โจทก์ และไม่มีส่วนได้เสียในสินค้าเพราะไม่ใช่เจ้าของ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายและผู้ส่งย่อมได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยินยอมขยายเวลาไม่ถือเป็นการสละอายุความ และการคำนวณความรับผิดของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.รับขน
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าทุเรียน โดยทั้งสองฝ่ายคาดว่าสินค้าจะถึงดินแดนไต้หวันไม่เกินวันที่ 25 มีนาคม 2543 แต่เรือที่ใช้ขนส่งสินค้าเกิดขัดข้องกลางทางไม่สามารถเดินทางต่อได้ จึงขนส่งสินค้าพิพาทกลับและมีการสำรวจความเสียหายเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 หลังจากนั้นโจทก์และจำเลยที่ 1 เจรจาเรื่องค่าเสียหายกันเรื่อยมาโดยมีหนังสือโต้ตอบกัน หนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ตามเอกสารหมาย จ. 7 มีเนื้อความว่า " ยินยอมให้ขยายเวลาออกไป 3 เดือน จนถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2544" จากพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าหนังสือของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ. 7 ทำขึ้นก่อนระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาอันควรส่งมอบสินค้าพิพาทสิ้นสุดลง โดยทำขึ้นเพื่อให้มีผลบังคับผูกพันกันได้จริง ดังนั้น การตีความการแสดงเจตนานั้นตาม ป.พ.พ มาตรา 171 ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร จึงแปลเจตนาอันแท้จริงได้ว่าประสงค์จะให้มีผลเป็นหนังสือยินยอมว่าจะไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลภายในวันที่ 25 มิถุนายน 2544 และความยินยอมนี้ใช้บังคับกันได้ตาม พ.ร.บ. รับขนของทางทะเล ฯ มาตรา 47 ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งระบุว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งเป็นทุเรียนสด จำนวน 1,260 กล่อง อันเป็นการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งที่รวมกันนั้นไว้ในใบตราส่ง ดังนี้ จึงต้องถือว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งมีจำนวนหน่วยการขนส่ง 1,260 หน่วย เมื่อคำนวณข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เป็นเงิน 12,600,000 บาท สูงกว่าการคำนวณตามน้ำหนักสินค้า 30 บาท ต่อน้ำหนักสุทธิ 1 กิโลกรัม โดยสินค้าพิพาทตามใบตราส่งมีน้ำหนักสุทธิ 13,860 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเพียง 415,800 บาท ต้องถือจำนวนข้อจำกัดความรับผิดจำนวนที่สูงกว่า แต่เมื่อความเสียหายของโจทก์มีเพียง 263,755.56 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินที่พึงจำกัดความรับผิดได้ตามกฎหมาย จึงต้องถือเอาตามความเสียหายนั้นตามมาตรา 58 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 263,755.56 บาท พร้อมดอกเบี้ยในหนี้เงินนี้อัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนในการขนส่งทางทะเล ความเสียหายสินค้า
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่น เมื่อเหตุแห่งการเสียหายของสินค้ามิได้เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมาย จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดในการเสียหายของสินค้าตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39
ตัวแทนคนใดจะต้องรับผิดตามสัญญาแต่ลำพังตนเองนั้น จะต้องเป็นกรณีตัวแทนนั้นทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 824 ของ ป.พ.พ. แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนสายการเดินเรือซึ่งต่างเป็นตัวการซึ่งอยู่ในต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศก็ตาม แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนตัวการดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 824

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางเครื่องยนต์ดีเซลที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
เครื่องยนต์ดีเซลเพื่อการเกษตรของกลางมีเครื่องหมายการค้าปลอมปรากฏอยู่ จึงเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมซึ่งจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่าย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ริบของกลางดังกล่าวได้ตามมาตรา 115

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์: การพิจารณาคำสั่งรับฎีกาที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 4 โดยเห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1) และมีคำสั่งยืนตามคำสั่งปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: ประมาทเลินเล่อธรรมดา vs. ประมาทเลินเล่อร้ายแรง และการกำหนดอายุความ
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 ที่กำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งนั้นอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 58 ที่บัญญัติให้จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ แต่การจำกัดความรับผิดก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 60 ด้วย เหตุที่ไม่นำข้อจำกัดความรับผิดมาใช้ในกรณีตามมาตรา 60 ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ขนส่งมีความบกพร่องอย่างร้ายแรง ซึ่งไม่รวมถึงการประมาทเลินเล่อธรรมดา กล่าวคือ ต้องเป็นการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในลักษณะละเลยไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบล่าช้าอาจเกิดขึ้นได้เท่านั้น จึงจะไม่ได้รับประโยชน์จากการจำกัดความรับผิด ส่วนกรณีประมาทเลินเล่อธรรมดา อันรวมถึงละเมิดด้วยนั้น ผู้ขนส่งก็ต้องรับผิดตามมาตรา 39 กล่าวคือต้องรับผิดในความสูญเสีย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้า ภายใต้จำนวนจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58
การขนส่งสินค้าคดีนี้เป็นการขนส่งภายใต้เงื่อนไขให้ผู้ส่งนำสินค้าไปมอบให้แก่ผู้ขนส่ง จากนั้นผู้ขนส่งเป็นผู้บรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์เอง โดยนำสินค้าของผู้ส่งหลายรายรวมไว้ในตู้เดียวกัน เมื่อถึงปลายทางผู้ขนส่งเป็นผู้เปิดตู้คอนเทนเนอร์เอง แล้วนำสินค้าของผู้ส่งแต่ละรายไปเก็บไว้ในคลังสินค้ารอผู้รับตราส่งมารับสินค้า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2543 บริษัท ท. ได้นำใบสั่งปล่อยสินค้าไปดำเนินพิธีทางศุลกากรและออกของ และไปติดต่อขอรับสินค้าของคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย และได้รับแจ้งว่าสินค้าได้รับความเสียหาย ซึ่งเจ้าหน้าที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ออกใบรายการสำรวจสินค้า จึงต้องถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่ผู้ขนส่งได้มอบสินค้าที่แท้จริงให้แก่ผู้รับตราส่ง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 (1) ของ พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 กรณีไม่ใช่เป็นการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ทั้งตู้ให้แก่ผู้รับตราส่งที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์เพื่อรับตู้ไปเปิดเอง ซึ่งจะนับอายุความตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 40 (3) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2543 จึงเป็นฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล การฟ้องขาดอายุความ และการแบ่งแยกมูลละเมิดกับมูลการรับขน
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 อันเป็นบทมาตราที่กำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งบัญญัติให้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 58 ที่บัญญัติให้จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้โดยเฉพาะ ส่วนที่มาตรา 58 บัญญัติให้การจำกัดความรับผิดต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 60 (1) ที่จะไม่นำข้อจำกัดความรับผิดมาใช้นั้นต้องเป็นเรื่องที่ผู้ขนส่งมีความบกพร่องอย่างร้ายแรง เมื่อความเสียหายของสินค้าเกิดจากการขนถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่ระมัดระวังทำให้เกิดการกระแทกเป็นเหตุให้ลังไม้ที่บรรจุสินค้า 1 ลัง แตกหัก สินค้าหลุดออกมาจากลังไม้ได้รับความเสียหาย จำเลยหรือตัวแทนไม่ได้กระทำหรืองดเว้นกระทำการประการใด โดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการเสียหายหรือโดยละเลยหรือไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าการเสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 60 (1) ดังนี้ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามมาตรา 58
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ขนส่งทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักรมายังที่อีกแห่งหนึ่งในราชอาณาจักร จึงต้องนำ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ประกอบด้วยมาตรา 58 และ 60 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ขนส่งที่รวมถึงกรณีละเมิดด้วยแล้วไว้โดยเฉพาะมาใช้บังคับ จะนำลักษณะละเมิดของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้
การขนส่งสินค้าครั้งพิพาทเป็นการขนส่งภายใต้เงื่อนไขให้ผู้ส่งนำสินค้าไปมอบให้แก่ผู้ขนส่ง จากนั้นผู้ขนส่งเป็นผู้บรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์เอง โดยนำสินค้าของผู้ส่งหลายรายรวมไว้ในตู้เดียวกัน เมื่อถึงปลายทางผู้ขนส่งเป็นผู้เปิดตู้คอนเทนเนอร์เอง แล้วนำสินค้าของผู้ส่งแต่ละรายไปเก็บไว้ในคลังสินค้ารอผู้รับตราส่งมารับสินค้า บริษัท ท. นำใบสั่งปล่อยสินค้าไปดำเนินวิธีทางศุลกากรและออกของ และไปติดต่อขอรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย จึงได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยว่า สินค้าได้รับความเสียหาย จึงต้องถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่แท้จริงให้แก่ผู้รับตราส่ง ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (1) กรณีไม่ใช่เป็นการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ทั้งตู้ให้แก่ผู้รับตราส่งที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์เพื่อรับตู้ไปเปิดเอง ซึ่งจะเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือตามมาตรา 40 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อสินค้าเสียหายจากการบรรจุและการขนส่งที่ไม่ระมัดระวังของผู้ส่ง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 3 ทำการขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าทางเรือจากประเทศสิงคโปร์มายังท่าเรือกรุงเทพภายใต้เงื่อนไขแบบซีวาย/ซีวาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้าได้รับความเสียหายตั้งแต่ก่อนเปิดตู้สินค้าแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าตู้สินค้าดังกล่าวอยู่ในสภาพผิดปกติหรือมีรอยชำรุดเสียหายที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ทำการขนส่งด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าถูกกระทบกระแทก จึงรับฟังได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลจากเหตุอื่นที่มิใช่ความผิดหรือความประมาทเลินเล่อหรืออยู่ในความรู้เห็นของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายของสินค้านั้น ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 52 (13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องซ้ำเพื่อขอให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
จำเลยยื่นคำร้องฉบับแรก ขอให้ศาลคำมีสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ศาลมีคำสั่งโดยไม่ได้ไต่สวนว่า ตามคำร้องยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียม ให้ยกคำร้อง แม้ศาลจะมิได้ล่าวถึงกรณีโจทก์ไม่มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักร แต่คำสั่งดังกล่าวก็เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่ง จำเลยมิได้อุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องฉบับหลังว่า ศาลสมควรจะมีคำสั่งให้รับคำร้องของจำเลยฉบับแรกไว้พิจารณาไต่สวนแล้วมีคำสั่ง ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น โดยอ้างข้อเท็จจริงและเหตุผลเหมือนกับคำร้องฉบับแรก เพียงแต่เพิ่มเติมว่ามีคดีอื่นที่โจทก์ฟ้องจำเลยและบัดนี้ศาลในคดีดังกล่าวเพิ่งมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำร้องของจำเลยไว้แล้ว ซึ่งแม้ส่วนที่อ้างเพิ่มเติมเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ก็ยังเป็นเพียงข้อที่อ้างเพื่อสนับสนุนว่าหากโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เสียไปอันควรที่จะสั่งให้โจทก์วางเงินเหมือนคำร้องฉบับแรก จึงมีข้ออ้างอันเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยชี้ชาดเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดมาตรา 35 พ.ร.บ.ความลับทางการค้า การปฏิบัติการตามกฎหมายและการเปิดเผยข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงาน
องค์ประกอบความผิดในส่วนของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 35 วรรคแรก คือ ผู้กระทำที่เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของผู้ควบคุมความลับทางการค้า จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้กระทำได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ซึ่งผู้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการเท่านั้น ส่วนองค์ประกอบในส่วนของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 35 วรรคสอง คือ ผู้กระทำที่ได้มาหรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงใดจากผู้ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 โดยได้มาหรือล่วงรู้เนื่องในการปฏิบัติราชการหรือการสอบสวน หรือการพิจารณาคดีแล้วเปิดเผยข้อเท็จจริงนั้น
ฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงให้ได้ความว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 หรือจำเลยได้มาหรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงจากผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 อันเป็นองค์ประกอบความผิดในมาตรา 35 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องจึงชอบแล้ว
of 20